|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด หรือ Thai Solar Energy Co., Ltd (TSE) ทุ่มกว่า 900 ล้านบาท เปิดโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ผนึกสถาบันพลังงานที่มีชื่อเสียงหลายประเทศทั่วโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มุ่งลดการใช้พลังงานฟอสซิลแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นผู้นำของโลกในการนำเทคโนโลยีแบบ ดีเอสจี (Direct Steam Generation) มาใช้
แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปฏิบัติการ และคณะผู้บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ระบุว่า บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2551 มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ แบบรางพาราโบลา โดยบริษัทฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันพลังงานที่มีชื่อเสียง หลายประเทศทั่วโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเพื่อพัฒนาและ สร้างพลังงานสะอาดเพื่อรองรับความต้องการในการใช้พลังงาน ที่เพิ่มสูงขึ้นภายในประเทศ และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“บริษัทจัดตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าแห่งแรกที่อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี บนเนื้อที่กว่า 150 ไร่ ด้วยงบลงทุนกว่า 900 ล้านบาท กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ จำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งบริษัทได้วางแผนขยายเต็มกำลังการผลิต และตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่ 9 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการ ก่อสร้างลดลงประมาณ 20-30% พร้อมกับการเปิด 2 โครงการคาดอีก 3-5 ปี สามารถขยายกำลังการผลิตเป็น 135 เมกะวัตต์”
“ทีเอสอี” มีทุนจดทะเบียนบริษัทฯ 1,365 ล้านบาท โดยผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัท พี.เอ็ม. เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด 53%, บริษัทเวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 25% และรายย่อยอื่นๆ 22% ซึ่งกลุ่มผู้ถือหุ้นทุกคนมีวิสัยทัศน์ที่จะให้โครงการของบริษัทฯ เป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในอนาคต โดยเฉพาะด้านพลังงานทดแทนจากการใช้พลังงานฟอสซิล เช่นน้ำมันและถ่านหินที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก นำไปสู่ปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น สำหรับกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของ “ทีเอสอี” จะเป็นระบบ Parabolic Trough หรือ แบบรางรวมแสง เป็นระบบที่ทำงานโดยใช้หลักการรวมรังสีดวงอาทิตย์ด้วยการสะท้อนจากผิวโค้งรูปพาราโบลาที่เป็นรางยาว เข้าสู่ท่อรับรังสี (receiver) ซึ่งจะเป็นท่อโลหะอยู่ภายในท่อแก้ว โดยช่องว่างระหว่างท่อทั้งสองเป็นสุญญากาศเพื่อลดการสูญเสียความร้อน โดยจะมีน้ำวนอยู่ภายใน เพื่อพาความร้อนและเปลี่ยน เป็นไอน้ำ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องยนต์กังหันไอน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า
“น้ำถูกส่งเข้าสู่ระบบ Parabolic Trough ในพื้นที่กว่า 150 ไร่ หรือที่เรียกว่า Solar Field เพื่อรับความร้อนจากแสงอาทิตย์จนน้ำกลายเป็นไอน้ำแห้ง ที่อุณหภูมิ 330 องศาเซลเซียส และความดัน 30 บาร์ ไอน้ำเหล่านี้ถูกป้อนเข้าสู่กังหันไอน้ำ (Steam Turbine) เพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า หลังจากไอน้ำผ่านกระบวน การผลิตไฟฟ้าแล้วจะถูกทำให้กลายเป็นน้ำ ด้วยระบบหล่อเย็น (Cooling Tower) เพื่อส่งกลับเข้าระบบรางรวมแสงในการผลิตไอน้ำใหม่ต่อไป (Close Loop) ทั้งนี้ระบบสามารถต่อขยายเพื่อ เพิ่มชั่วโมงการผลิตกระแสด้วยเทคโนโลยีกักเก็บความร้อน (Heat- Storage System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต ระบบนี้มีการนำมาใช้ในประเทศในแถบยุโรป และประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเทคโนโลยีที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะถ้าได้มีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่การเก็บรักษาพลังงานความร้อนหรือ Heat Storage ได้”
บริษัทตั้งเป้าว่าจะสามารถขยายการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขาย PPA ที่มีอยู่กว่า 10 สัญญา ปัจจุบันเตรียมการเปิด 1 โครงการ และกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 3 โครงการ นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะขยายการลงทุนกับพันธมิตร โดยใช้เงินทุนที่ได้จากการเพิ่มทุนเมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมาจำนวน 1,000 ล้านบาท วงเงิน project financing จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
รายได้ของ “ทีเอสอี” (TSE) คาดว่าเมื่อกำลังการผลิต เต็มที่ รายได้ต่อเมกะวัตต์จะประมาณ 20-30 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 100-150 ล้านบาทในปีแรก คาดว่าภายใน 2 ปี เราน่าจะขยายกำลังการผลิตจากปัจจุบัน 5 เมกะวัตต์ เป็น 35 เมกะวัตต์ ปัจจุบันจากโรงงานแห่งแรก 5 เมกะวัตต์ จะสามารถขยายเป็น 9 เมกะวัตต์ เราอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โรงงานที่ 2, 3, 4 ในจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี นอก จากนี้เรายังวางแผนที่จะขยายการก่อสร้างต่อเนื่องจากใบอนุญาตซื้อขายไฟฟ้าที่เรามีอยู่กับ กฟภ.อีกกว่า 45 เมกะวัตต์ รวมถึงการขยายผ่านการร่วมทุนกับพันธมิตรอื่นๆ รวมทั้งสิ้นคาดว่าจะสามารถขยายการผลิตได้กว่า 135 เมกะวัตต์ ภายในแผนงาน 3-5 ปี
สำหรับแนวโน้มอัตราการเติบโตของธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากธรรมชาติ ของการผลิตไฟฟ้าที่ไม่มีต้นทุนวัตถุดิบ และไม่หมดสิ้นไปเมื่อ เทียบกับการใช้เชื้อเพลิงในรูปแบบเดิม การพัฒนาของเทคโน โลยีที่รวดเร็วและการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะประเทศ ในแถบยุโรป เช่น รัฐบาลเยอรมนีได้วางแผนระยะยาวที่จะเพิ่มปริมาณพลังงานทดแทนอย่างมีนัยสำคัญ
“ไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและมีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กว่า 70% เป็นการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมาก หากเป็นเช่นนี้ต่อไป เราจะมีก๊าซในประเทศเหลือใช้อีกกว่า 20 ปี เท่านั้น การนำเอาพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในขณะนี้ เพราะถือเป็นความหวังใหม่ของอนาคต” แคทลีนระบุปิดท้าย
|
|
|
|
|