|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ถือเป็นสถานการณ์ที่ใหญ่จนเราไม่อาจนิ่งดูดาย ที่ต้องนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
แต่กระแสของข้อมูลที่หลั่งไหลผ่านทางสื่อต่างๆ ตลอด 1 เดือนเศษที่ผ่านมา การหยิบยกประเด็นใดมานำเสนอสำหรับบทบาทของนิตยสารที่วางแผงเพียงเดือนละ 1 ครั้งนั้น ถือเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง
เพราะกว่าที่นิตยสารฉบับนี้จะถึงมือท่านผู้อ่าน ผู้คนทั่วไปคงรับรู้ถึงกระบวนการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยซึ่งได้ถูกวางแผนเอาไว้อย่างเป็นระบบมานานแล้ว โดยเฉพาะแผนบริหารจัดการตามแนวทางพระราชดำริที่ทุกๆ ฝ่ายยอมรับว่าเป็นแผนการบริหารจัดการน้ำได้ดีที่สุด
รู้แล้วว่าแนวทางการผันน้ำของประเทศไทย จากเหนือสุด ต้นแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ลงมาถึงปากอ่าวที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีเส้นทางการไหลและเส้นทางการผันน้ำไปทางใดบ้าง ทั้งทางฝั่งตะวันออกและตะวันตก
รู้แล้วว่าในพื้นที่ราบลุ่มปากอ่าวของไทย พื้นที่ใดที่ถูกจัดเอาไว้เป็นเส้นทางการไหลของน้ำเพื่อออกสู่ทะเล
ที่สำคัญที่สุด คือทุกคนคงรับรู้แล้วว่า ที่ผ่านมา “ใคร” ทำอะไร “ใคร” ที่ไม่ได้ทำอะไร และ “ใคร” ที่ไม่ยอมทำอะไร หรือ “ใคร” ที่ทำตรงกันข้ามกับแนวทางที่ได้วางเอาไว้ไปหมดแล้ว
ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกับเรานี้ มีความเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ วิถีความเป็นอยู่ของพวกเรา เป็นวิถีที่ถูกกำหนดเอาไว้ให้ต้องอยู่กับน้ำ
การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนในภูมิภาคนี้จะยึดตามลุ่มน้ำ หรือริมแม่น้ำเป็นหลัก
เราอยู่กันแบบนี้มาเป็นร้อย เป็นพันปี สะสมองค์ความรู้เอาไว้เป็นจำนวนมากว่า ถ้าเราจะอยู่กับน้ำแล้ว เราจะต้องทำอย่างไร ทั้งในเวลาที่มีน้ำ และไม่มีน้ำ
องค์ความรู้เหล่านี้จึงเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ยิ่ง หากเราได้นำเอากรณีของชุมชนต่างๆ ที่ต้องอยู่กับความผันแปรของปริมาณน้ำมาศึกษา
เรื่องจากปกของนิตยสารผู้จัดการ 360ํ ฉบับนี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับน้ำ แต่เราก็ไม่ได้เพิ่มน้ำหนักข้อมูลไปกับวิกฤตการณ์น้ำที่คนไทยได้เผชิญ และกำลังคลี่คลายลงในทุกขณะนี้มากนัก
แต่เราอยากจะมองไปถึงอนาคต โดยอาศัยข้อมูลในอดีต และข้อมูลที่เป็นอยู่ในปัจจุบันในพื้นที่ต่างๆ
เป็นกรณีศึกษา เพื่อเตรียมรับกับความผันแปรที่เชื่อว่าจะมีเข้ามาอีก ในไม่กี่ปีที่จะมาถึงนี้
ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
|
|
 |
|
|