Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
Collaborative Advantage             
 





ในหนังสือ The Machine That Changed the World เจมส์ โวแม็ค แดเนียล โจนส์ และ แดเนียล รูส์ ระบุว่าฟอร์ดเป็นบริษัทรถยนต์อเมริกันที่นำเอายุทธศาสตร์การผลิตแบบไม่เต็มรูป (lean production strategies) มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และยุทธศาสตร์ดังกล่าวก็เคย สร้างความสำเร็จให้กับผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นมาก่อนแล้ว โดยในช่วงทศวรรษ 1990 ความสามารถในการทำกำไรต่อจำนวนรถยนต์ของ ไครสเลอร์นั้นอยู่ในระดับคงที่และสูงกว่าของฟอร์ดอย่างมาก ทั้งนี้ เจฟฟรีย์ เอช. ไดเออร์ ศาสตราจารย์ทางด้านยุทธศาสตร์ ของ BYU อธิบายว่าเป็นเพราะไครสเลอร์ตระหนักดีว่า หน่วยพื้นฐานของการแข่งขันไม่ใช่บริษัทคู่แข่งแต่ละแห่งแต่เป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า "extended enterprise" ซึ่งหมายถึง "กลุ่มเครือข่ายของบริษัทที่ร่วมมือกันผลิตสินค้าที่สำเร็จรูปออกมา" อย่างในอุตสาหกรรมรถ ฟอร์ดซึ่งมีทีมงานพร้อมทั้งเครือข่ายซัปพลายเออร์ของตนเองกำลังแข่งขัน อยู่กับทีมของไครสเลอร์ซึ่งก็มีเครือข่ายซัปพลายเออร์เช่นกัน แต่ทีมของไครสเลอร์สามารถนำยุทธศาสตร์การผลิตแบบไม่เต็มรูป (lean production strategies) มาใช้ได้อย่างประสบผลสำเร็จทั่วทั้งเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

‘ องค์ประกอบหลักสี่ประการ

ใน Collaborative Advantage ไดเออร์ได้ใช้ประสบการณ์ของโตโยต้าในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 และประสบการณ์ของ ไครสเลอร์ในช่วงทศวรรษ 1990 มาอธิบายว่าองค์กรต้องทำอะไรบ้างจึงจะสร้างเครือข่ายกิจการ ที่เรียกว่า "extended enterprise" อันจะทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขันขึ้น ทั้งนี้ เขาได้วางกรอบแนวทางที่มีองค์ประกอบสี่ประการดังนี้

1. กำหนดขอบเขตขององค์กร เป็นการพิจารณาในประเด็น ที่ว่าองค์กรควรจะผนวกประสานกระบวนการทำงานในแนวตั้งให้ครบวงจรมากน้อยเพียงใด มีส่วนไหนบ้างที่ควรมอบหมายให้ซัปพลายเออร์หรือหุ้นส่วนรับไปดำเนินการ ไดเออร์มีความเห็นว่าไม่ควรผนวกประสานงานอย่างครบวงจรหากไม่ใช่กรณีจำเป็นจริงๆ เขายกตัวอย่างว่า "บริษัทรถยนต์อเมริกันส่วนใหญ่มีกำไรจากการเปลี่ยนหน่วยงานที่อยู่ในเครือข่ายองค์กรให้เป็นหุ้นส่วน และแยกแผนกผลิตส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ในองค์กรออกไปเป็นหน่วยอิสระ"

2. ลงทุนในสินทรัพย์ที่เน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายกิจการ สินทรัพย์ที่เป็นประโยชน์จะต้องเป็นการลงทุนโดยบริษัทหนึ่งโดยมีเป้าหมายอยู่ที่บริษัทอื่นๆ ที่อยู่ในเครือข่ายกิจการ ตัวอย่างเช่น ซัปพลายเออร์รายหนึ่งอาจจะสร้างโรงงานใกล้กับลูกค้ารายใหญ่เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านคลังสินค้าและการขนส่ง ลงทุนในด้านเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือระบบข้อมูลที่เอื้ออำนวยแก่ลูกค้าเป็นการเฉพาะ หรือส่งวิศวกรไปทำงานยังโรงงานของลูกค้า เป็นต้น

3. สร้างแบบวิธีการทำงานประจำวันที่ทำให้เกิดการแบ่งปันความรู้ระหว่างองค์กรร่วมกัน ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายกิจการ "extended enterprise" ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการและเรียนรู้จากกิจกรรมที่ทำให้ความรู้ถูกแบ่งปันกันในหมู่บริษัทต่างๆ ตัวอย่างเช่น โตโยต้าใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการโอนย้ายความรู้ อาทิ วิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพ การลดคลังสินค้า หรือการปรับปรุงคุณภาพ ให้รับรู้กันทั่วทั้งเครือข่ายการผลิต

4. สร้างความไว้วางใจกันให้เกิดขึ้นทั่วทั้งเครือข่ายกิจการ การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันในหมู่ผู้ร่วมธุรกิจจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวกับธุรกรรมต่างๆ และทำให้เกิดความยืดหยุ่นสูงสุดรวมทั้งมีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ไว บริษัทบางแห่งอาจต้องเสียเวลากับการประชุมพร้อมหน้าพร้อมตากับซัปพลายเออร์ในเรื่องข้อสัญญาต่างๆ ซึ่งเป็นการใช้เวลาอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ไดเออร์เห็นว่าความไว้วางใจไม่ได้สร้างขึ้นจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเท่านั้น แต่ยังสร้างขึ้นได้จากแบบวิธีการทำงานประจำวันด้วย ซัปพลายเออร์ของ ไครสเลอร์มีความไว้วางใจผู้ผลิตรถยนต์มากขึ้น หลังจากที่มีการปรับโครงสร้างองค์กรให้มีการทำงานเป็นทีมแบบข้ามสายงานกันซึ่งเป็นการลดข้อเรียกร้องในการแข่งขันกันระหว่างแผนกหรือส่วนงานต่างๆ ลง

ภาพรวมความคิดของเครือข่ายกิจการที่เรียกว่า "extended enterprise" นั้นมีลักษณะหลายประการที่คล้ายกับ "เคอิเรทสึ" ของญี่ปุ่น และเป็นระบบที่บริษัทอย่างนิสสันใช้แล้วพบปัญหาบางอย่าง แต่โตโยต้าและไครสเลอร์ประสบความสำเร็จอย่างสูง รายละอียด ต่างๆ มีใน Collaborative Advantage น่าติดตามไม่น้อย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us