ในขณะที่โครงการดาวเทียมเพืjอการสื่อสารภายในประเทศของกระทรวงคมนาคม ที่เปิดให้เอกชนยื่นขอสัมปทานยังเป็นเรื่องที่พิจารณากันไม่เสร็จ
กลุ่มล็อกเล่ย์ซึ่งประกอบด้วยผู้ร่วมทุน 3 ฝ่าย คือล็อกซเล่ย์--ปิยะนันท์-ฮัดชิสัน
เทลคอม ( ฮ่องกง) ได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญานดาวเทียมเพื่อถ่ายทอดสัญญานโทรทัศน์ไปยังประเทศต่าง
ๆในแถบเอเซียให้กับคณะกรรมการบริหารวิทยุและวิทยุโทรทัศน์( กบว.) และกรมไปรษณีย์โทรเลขพิจารณาในนามของบริษัทไทยแซท
จำกัด อันเป็นโครงการใหม่ล่าสุดของกลุ่มนี้
โครงการขอจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญยานโทรทัศน์ดาวเทียม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสำเร็จในรการนำดาวเทียใเอแซทนี้สู่ห้วงอวกาศที่สาะารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2533 ที่ผ่านมา ของกลุ่มบริษัทร่วมทุนการค้าใหญ่ 3
บริษัท คือบริษัทฮัดจิสัน เทเลคอม ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมที่มีชื่อเสียงที่สุดของฮ่องกงรวมกับบริษัทเคเบิล
แอนด์ วายเลซ บริษัททางด้านโทรคมนาคม ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ของโลก และบริษัท
ไชน่า อินเตอร์ เนชั่นแนล ทรัสต์ แอนด์ ินเเวสต์เม้นท์ ซึ่งเป็นบริษัทการลงทุนของจีนในอ่องกง
ฮัดจิสัน เทเลคอม ในฐานะผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในโครงการดาวเทียมเอเซียแซท ได้ทำการเช่าช่องสัญญานดาวเทียมจากเอเซียแซท
จำนวน 7 ทรานสปอนเดอร์ เพื่อทำธุรกิจใหม่คือถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ไปทั่วทวีเอเซีย
จากโครงการดังกล่าวนี้ เองจำเป็นที่ฮัดชินสัน จะต้องจัดตั้งสถานีภาคพื้นดินในการส่งสัญญานโทรทัศน์
( up link station) ผ่านดาวเทียม เอเวียแซท และแผนงานที่วางไว้ นั้นสถานีที่จะใช้ในการส่งสัญญานโทรทัศน์จะมีด้วยกัน
2 สถานี สถานีหนึ่งที่ใช้สถานีหลักในการถ่ายทอดจัดตั้งในฮ่องกง ส่วนอีกสถานีหนึ่งเป็นสถานีสำรองซึ่งอยู่ในสระหว่างการเลือกหาสถานที่จัดตั้ง
ซึ่งประเทศไทยเองก็เป็นประเทศที่ฮัดชินสัน หมายตาไว้
ฮัดชินสัน ได้เสนอโครงการขอจัดตั้งสถานีภาคพื้นดินเป็นสถานีสำรองในประเทศไทย
โดยผ่านบริษัทล็อกซเล่ย์ ( ซึ่งมีสายสัมพันธ์กันมากว่า 5 ปี ในฐานะบริษัทร่วมทุนโดยเสนอมามาเมือ่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาด้วยงบประมาณฝนการลงทุนสร้างสถานีราว
500-600 ล้านบาท)
บาร์บาร่า บูรศิลปิน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของล็อกซเล่ย์ เป็นผู้รับผิดชอบในการผลักดันดครงการนี้ให้สำเร็จ
นอกเหนือจากความรับผิดชอบที่มีอยู่ในโครงการดาวเทียมเพื่อการสื่อสารภายในประเทศไทย
( ไทยแซท) เสนอในนามปิยะยันท์) และโครงการ วิทยุโทรศัพท์ติดตามตัว ( เสนอในนามบริษัทฮัดชินสัน
คอมิวนิเคชั่น) ประเทศไทย และเพิ่งได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์
อีกคนหนึ่งที่ก้าวเข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการจัดตั้งสถานีสำรองภาคพื้นดินให้กับฮัดจิสัน
คือ ดร. สุทธพร ปทุมเทวภิบาล ผู้อำนวยการศูนย์การบริการสารสนเทศทางเทคดนโลยี
ในฐานะที่ปรึกษาโครงการของล็อกซเล่ย์
ความต้องการของฮัดชินสัน เทเลคอม ก็คือการถ่ายทอดรายการโทรทัศน์เผยแพร่ในประเทศเอเซียโดยผ่านช่องสัญญานดาวเทียมเอเชียแซท
ที่ได้เช่าไว้ 7 ช่องสัญญาน โดยมุ่งขายโฆษณาเป็นหลัก ตามโครงการที่จัดเตรียมไว้นั้นการถ่ายทอดรายการจะมีตลอด
24 ชั่วโมง มีอยู่ด้วยกัน 3 ภาษา คือ ภาาาอังกฤษ จีน และ ญี่ปุ่น เช่นเดียวกับสถานี
3,5,7,9ของเรา ภาษาจีนอาจจะแบ่งไปช่องหนึ่ง ภาาาญี่ปุ่นอีกช่องหนึ่งที่เหลือจะเป็นภาาาอังกฤษทั้งหมด
ทางด้านรายการแบ่งออกเป็นรายการข่าว รายเการเด็ก เพลง ภาพยนต์ แล้วจะทำการถ่ายทอดนั้นอาจผลิตขึ้นที่ฮ่องกง
หรือซื้อจากประเทสอื่นอย่างจีน หรืออเมริกาใต้ แต่การส่งสัญญานแพร่ภาพจะต้องผ่านสถานีหลักที่ฮ่องกง
ส่วนการรับสัญญานโทรทัศนืจากดาวเทียมเอเซียแซทนั้น ผผู้รับจำเป็นจะต้องติดตั้งจานดาวเทียมที่เรียกว่า
elevision receive only (tvro) ตั้งรับแล้วต่อเข้าเครื่องโทรทัศน์จึงรับได้
ในความเป็นจริงแล้วทางด้านเทคนิคนั้นทมีหลายประเทศที่สามารถใช้เป็นสถานีสำรแงเห่งที่
2 ได้อย่างเช่น ปากีสถาน, ลังกลาเทศ, เนปาล,พม่า, ไทย แต่ในสายตาของ
ทางฮัดชินสัน แล้วเห้ฯว่าประเทศไทยเหมาะที่สุด ด้วยเหตุผลที่ว่าเศรษฐกิจของไทยดี
การเมืองมั่นคงและมีพื้นที่มาก ในขณะที่รัฐบาลของบังกลาเทศ ได้เสนอที่จะให้ไปตั้งสถานีสำรองที่ประเทศของตนโดยใช้สิทธิพิเศษ
ล็อกซเล่ย์ ได้ทำเรืองการจัดตั้งสถานีสำรองในนามของบริษัท ไทยแซท ไปยัง
กบว. และกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อต้น เดือนกรกฏาคม ที่ผ่านมาในฐานะ ที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์
โดยขะจอจัดตั้งขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หรือจังหวัดทางตอนเหนือของประเทสไทย
ด้วยข้อแลกเปลี่ยนที่เสนอให้รัฐบาลไทย คือเวลาออกอากาศฟรี 4 ชั่วโมง ต่อวัน
โดยไม่มีการระบุอายุสัญญา
ซึ่งตามขั้นตอนของการพิจารณาแล้วเรื่องนี้จะต้องผ่านคณะอนุกรรมการด้านวิชาการของกบว.
กลั่นกรองเรื่องแล้วจึงส่งต่อให้คณะกรรมการ กบว. ทางกบว. จะเป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติโดยผสานงานกับทางกรมไปรษณีย์โทรเลขที่จะพิจารณาด้านการจัดสรรความถี่
ในขณะที่กลุ่มล็อกซเล่ย์พยายามผลักดัน ให้หน่วยงานรัฐบาลรับผิดชอบเล้งเห็นถึงประโยชน์ถึงประเทศไทยพึงได้รับการอนุมัติจัดตั้งสถานีสำรองขึ้นในประเทศให้ได้นั้น
ทางวที่ปรึกษาโครงการของล็อกซเล่ย์เองก็พยายามที่จะเสนอแนะให้ทางฮัดชินสัน
ย้ายสถานีหลักมาตั้งในประเทศไทยแทนการเป็นเพียงสถานีสำรอง ซึ่งความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ค่อนข้างสูง
เนื่องจากปัจจุบันสถานีหลักที่ฮ่องกงยังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการหาสถานที่จัดตั้งเท่านั้น
และด้วยขอ้เปรียบเทียบในเรื่องของราคาที่ดินในฮ่องกงซึ่งมีราคาแพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย
รวมถึงจำนวนเนื้อที่ของไทยมีมากและหาได้ง่ายกว่า น่าจะเป็นแรงจูงใจให้ไทยกลายเป็นสถานีหลักได้
ตามปกติแล้วการส่งสัญญานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเซียแซท เพือ่แพร่ภาพลงไปทั่วทวีปเอเซีย
จะเป็นหน้าที่ของสถานีหลัก สถานีสำรองซึ่งเป็นสถานีที่ 2 จะทำหน้าที่ตามโปรแกรมที่ได้รับมอบหมายให้อาจจะออกเพียงช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด
หรืออาจจะทำหน้าที่ส่งสัญญานโทรทัศน์แทนในกรณีที่สถานีหลักมีปัญหาต้องปิดเพื่อซ่อมแซม
หรือในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้, พายุ,แผ่นดินไหว และสถานีหลักไม่สามารถส่งสัญญานโทรทัศน์ได้
ถ้าจะพูดถึงผลประโยชน์ที่ประเทศไทย จะได้รับในกรณีที่ได้รับให้จัดตั้งสถานีถ่ายทอดได้นั้น
ประการแรก เวลาออกอากาศฟรี 4 ชั่วโมง ต่อวันที่ บริษัทไทยแซทเสนอให้รัฐบาลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ข่าวสาร
กิจกรรมหรือชื่อเสียงของประเทศ โดยส่งรายการของไทยออกไป เช่นพวกรายการพระราชพิธีต่าง
ๆ หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก้สามารถใช้เวลาที่มีอยู่นี้ โปรโมทการท่องเที่ยวออกไปซึ่งตรงเป้าหมายโดยตรง
เพราะคนที่รับสัญญานโทรทัศนืได้ส่วนมากจะเป็นคนที่มีฐานะและการศึกษาค่อนข้สางดี
นั่นในกรณีที่รัฐบาลสามารถจัดทำรายการได้เจ็มเวลาที่มีอยู่
แต่ถ้าหากหน่วยงานที่รับผิดชอบของรัฐบาลไม่สามารถจัดทำรายการได้ทั้งหมด
อาจแบ่งช่วงเวลาที่ได้มา 4 ชั่วโมง ต่อวันขายให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่งที่สนใจจะเข้ามาทำรายการแทนหรือขายเวลาให้ทั้งหมดก็ได้
ซึ่งบริษัทที่เสนอตัวเข้ามาสามารถดำเนินธุรกิจด้วยการขายโฆษณาในรายการได้เช่นกัน
ในกรณีนี้รัฐก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
อีกประการหนึ่ง ถ้าหากทางฮัดชินสัน ยอมที่จะย้ายสถานหลักเข้ามาตั้งในประเทศไทย
และทางรัฐบาลก็อนุมัตินั่นหมายถึงภาพพจน์ในเรื่องความมั่นคงของประเทศจะตามมาเพราะธุรกิจนั้นมีมูลค่าปีหนึ่งนับแสนล้านบาท
นอกเหนือจากธุรกิจโฆษณาแล้ว ถ้าเป็นสถานีหลักก็เท่ากับว่าทางฮัดชินสัน จะต้องมาตั้งสำนักงานใหญ่ที่นี่
อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะตามมาอีกมากมายอย่างเชาน สตูดิโอ, โรงถ่าย เพื่อรองรับการผลิตรายการที่จะมีขึ้นภายในประเทศ
ซึ่งประเทศต่าง ๆสามารถเข้ามาผลิตรายการของตนป้อนให้กับสถานีได้
ทางด้านผลกระทบต่อการเข้ามาจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาานโทรทัศน์ของฮัดชินสัน
ครั้งนี้ ทางด้านเทคนิคแล้ว หลายคนมองว่าอาจจะไปรบกวนคลื่นของสถานีโทรทัศน์ช่องต่ง
ๆ ที่มีอยู่ แต่ได้รับการยืนยันจากนักวิชาการหลชายท่านว่ามันคนละแบบกัน รายการทีวีปัจจุบันเปิดเครื่องรับสามารถรับได้เลยแต่การถ่ายทอดสัญญานโทรทัศน์โครงการใหม่นี้ผู้รับจำเป็นจะต้องติดตั้งจานรับจึงจะรับภาพได้
ธุรกิจที่น่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงน่าจะเป็นธุรกิจเคเบิลทีวี เนื่องจากผู้ชมรายการจะต้องจ่ายค่าติดตั้งเครื่องรับสัญญาน
และค่าสมาชิกเป็นประจำทุกเดือนในขณะที่ผู้ชมรายการจากเอเซียแซท จะเสียค่าใช้จ่ายซื้อจานดาวเทียมรับภาพเท่านั้น
การควบคุมรายการที่จะแพร่ภาพออกไปทั่วทวีปเอเซียนั้น ในกรณีที่ตั้งสถานีหลักในประเทศไทย
ทางกบว. จะทำหน้าที่ควบคุมรายการ ซึ่งในความเป็นจริง แล้วตัวเจ้าของสถานีคือฮัดชินสัน
เองเขาก็ทำหน้าที่ของเขาเองอยู่แล้ว เพราะธุรกิจหรือรายได้หลักอยู่ที่การโฆษณา
ซึ่งจะระมัดระวังมากที่จะไม่ให้รายการไม่ดีเผยแพร่ออกไป อย่างเช่นรายการด่าทอกันระหว่างประเทศ,
หนังเอ๊กซ์ หรือหนังโหดเหี้ยม เพราะถ้ามีหลาย ๆ ประเทศ ไม่อนุญาตให้ประชาชนของเขาดูรายการเหล่านี้แล้ว
นั่นหมายถึง โฆษณาหรือ รายได้ของบริษัทก็หดหายไป
ถึงแม้ว่าขณะนี้โครงการจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญานโทรทัศน์จะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
แต่มีข้อคิดอยู่อย่างหนึ่งที่อาจนำมาประกอบการพิจารณาได้ก็คือ ไม่ว่ารัฐบาลไทยจะอนุมัติให้มีการจัดตั้งสถานีถ่ายทอดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่ด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ประเทศไทยก็ยังอยู่ในขอบข่ายที่สามารถรับสัญญานโทรทัศน์จากเอเซียแซทได้ตลอดเวลา
หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ( ในกรณีที่มีจานรับอยู่)