ไทยในนิวยอร์ก ส่วนใหญ่ทำธุรกิจร้านอาหาร ไทยซึ่งตัวเลขคร่าวๆ มีอยู่เกินร้อยแห่งในเขต
5 เขต ย่อยของนครนิวยอร์ก และอีกเกือบร้อยในเขตปริมณ ฑล คือ ลองไอส์แลนด์กับรัฐนิวเจอร์ซีย์รวมถึงเขต
ทางตอนเหนือของรัฐนิวยอร์กที่เรียกว่า นิวยอร์กอัพ สเตท
ที่ต้องเป็นตัวเลขคร่าวๆ เพราะไม่ได้มีสมาคม ใดถือเป็นธุระทำการสำรวจไว้ข้อมูลล่าสุดที่รวบรวมโดยสถานทูตไทยเมื่อสักสี่ปีก่อน
แต่ร้านอาหารไทยมีปิดตัวไปจากธุรกิจประมาณปีละ 2-3 แห่งและเปิดใหม่ปีละ 5-6
แห่ง ช่วงปีที่ผ่านมานี้มีเปิดใหม่ถี่กว่า เดิม ตกถึงเดือนละ 2 แห่ง คะเนว่าหลังจากปีที่แล้ว
อเมริกาเศรษฐกิจดี คนไทยที่เป็นลูกจ้างสามารถรวบ รวมเงินทุนได้มากพอ
กลุ่มนักเรียนไทย เป็นอีกกลุ่มที่มีจำนวนมาก และเป็นแรงงานสำคัญของร้านอาหารไทย
นักเรียนไทยที่มานิวยอร์ก ส่วนมากต้องมีกำลังทรัพย์จากทาง บ้านหนุนพอสมควรเพราะเป็นเมืองที่ค่าครองชีพสูง
แต่พออยู่ไปสักพักก็อาจมีรายได้พอเพียงจากการแบกจ๊อบ นักเรียนไทยจำนวนมากเรียนที่สถาบันแห่งเดียวกัน
เพราะเป็นสถาบันที่เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ Toefl ต่ำและค่าเรียนไม่สูงนัก แต่ก็มีนักเรียนไทยอีกไม่น้อยที่เรียนในสถาบันการศึกษาซึ่งเข้าเรียนยากอย่าง
NYU ซึ่งค่าเรียนแพงมาก และ Columbia ซึ่งเกณฑ์สูงมากและค่าเรียนมาก พวกหลังนี้มีทุนทรัพย์พอเพียง
และไม่มีเวลานอกตำรา พอที่จะมาแบกจ๊อบจึงไม่ค่อยว่างมาคลุกคลีกับสังคมคนไทย
นอกจากนั้นก็มีคนไทยที่อยู่มานาน แล้วตั้งแต่สมัยที่อเมริกาขาดพยาบาล คนไทยกลุ่ม
นี้ก็ไม่ค่อยได้อยู่ในแวดวงคนทำร้านอาหารไทย แต่มีอาชีพอย่างอื่นและบ้านอยู่นอกเมืองออกไปและมีลูกหลานที่เป็นพลเมืองอเมริกัน
มีภาษาที่ได้เปรียบ และมีช่องทางทำมาหากินแตกแขนง คนไทยอยู่อาศัยกระจัดกระจายไป
แต่ที่มีมากหน่อยก็เป็นย่าน "คนอพยพรุ่นใหม่" แถว Woodside, Roostvelt และ
Elmhurst ในควีนส์ ซึ่งยังคับคั่งไปด้วย ละตินอเมริกา อินเดีย และ จีน ย่านนี้ถือว่าไม่ค่อยปลอดภัยนัก
เพราะเป็นเขต "คนอพยพรุ่นใหม่" อย่างที่บอกถึงมีพวกที่เข้ามา ในประเทศนานแล้ว
และเป็นเจ้าของบ้านเช่าแถว นั้น แต่ก็มีพวกมาใหม่ที่ริประกอบอาชญากรรม เพราะหางานทำไม่ได้
โดยเฉพาะละตินอเมริกา เวลาเดินกลางคืนจึงต้องระวังมากหน่อย คนไทยที่มีฐานะเพราะได้เป็นเจ้าของร้านอาหารไทย
ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่ก็จะเช่าอพาร์ตเมนต์ใน เมืองอยู่ แต่ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะซื้อบ้านในนิวเจอร์ซีย์
หรือลองไอส์แลนด์ไว้เหมือนคนในกรุงเทพฯ ที่ในเมืองมีพื้นที่แคบๆ ต้องไปซื้อบ้านชานเมือง
ถึงจะได้บ้านหลังโต ระยะทางขับรถไปมาก็ราว 1 ถึง 2 ชั่วโมง สองปริมณฑลนี้ยังมีร้านอาหารไทยกระจัดกระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ
ส่วนมากมักประสบความสำเร็จกว่าการมาตั้งร้านอยู่ในนิวยอร์ก ซึ่งคู่แข่งมากและค่าเช่าแพง
สมัยก่อนนั้น การเปิดร้านอาหารไทยไม่ยาก หาผ้าพื้นเมืองมาปูโต๊ะ ตั้งโขน
ตั้งชฎา เครื่องแกงก็ใช้เครื่องแกงกระป๋อง ยี่ห้อแม่พลอย แม่ศรี เมนูก็จะมี
แกงแดง แกงเขียวหวาน ไก่สะเต๊ะ และผัดไทยเป็นหลักเท่านั้น ก็รับทรัพย์มาได้สิบปีกว่าจนร่ำรวยอื้อฟ่า
เพราะรสชาติอาหารไทยอย่างไรก็ กินขาดร้านอาหาร จีน ซึ่งเป็นอาหารเพียงอย่างเดียวที่มีลักษณะใกล้เคียง
กัน
แต่ตอนนี้ คนเปิดร้านอาหารไทยมีมากและรุ่น หลังๆ พ่อครัวแม่ครัวขาดคว้าคนทำกับข้าวไม่เป็นมา
ทำ รสมืออาจตก ขนาดที่เปิดเครื่องแกงกระป๋องก็ทำ อาหารได้ไม่อร่อย ยิ่งพวกผัดต่างๆ
ยิ่งทำยาก เมื่อรสชาติแต่ละร้านต่างกันมาก คนก็ขาดความเชื่อมั่นที่จะเปลี่ยนจากร้านอาหารเจ้าประจำ
การออกไปตั้งร้านอาหารไทยตามหัวเมืองปริมณฑลที่ยังไม่มีร้านอาหารไทยอยู่
ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกเดียวที่จะทำร้านอาหารไทยให้ประสบความสำเร็จในเขตนิวยอร์ก
กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์อีกอย่าง ที่ยังเป็นช่องทางให้แทรกตลาดได้ คือ การทำร้านอาหารไทยที่เป็นไทย
ประยุกต์กับรสชาติฝรั่งมากๆ ซึ่งไม่ใช่แค่การทำแกงเผ็ดรสอ่อนแต่ต้องล้ำเส้นมากกว่านั้น
อย่างเช่นการทำสเต็กที่ปรุงรสด้วยพริกไทยและน้ำปลา เพราะในปัจจุบันร้านอาหารไทยสองร้านที่ประสบความสำเร็จมากนั้น
ต่างเป็นร้านฝรั่งกลิ่นไทยทั้งคู่ คือ ร้าน Vong ซึ่งเจ้าของเป็นฝรั่งเศส
การนำเสนออาหารแต่ละจาน ของเขาใช้ศิลปะจัดจานแบบฝรั่ง และตั้งราคาอาหารสูง
ส่วนอีกร้านชื่อร้าน Rain ว่ากันว่าเจ้า ของเป็นคนไทย คนในครัวเป็นไทยหมด
และพนัก งานเสิร์ฟหน้าร้านเป็นไทยหมด อาหารที่ขายมีไม่กี่อย่างนับว่าทำให้ง่ายขึ้นสำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องมึนงงกับเมนู
ประเมินว่าในยุคโลกาภิวัตน์นี้ อย่าทำร้านอาหารไทยที่คนต่างชาติต้องรำลิเกเข้าไปกิน
เช่น ประดับด้วยเครื่องชฎา หิ้งพระ และรูปภาพสิ่งสักการะทั้งหลายร้านแบบนี้เป็นแนวทางในสมัยก่อน
ซึ่งสร้างความตื่นตา ตื่นใจ ให้คนกินรุ่นแรก ซึ่งสนใจวัฒนธรรมหน้าตาแปลกประหลาดด้วย
แต่ปัจจุบัน ร้านไทยในต่างแดนหน้าตาโบราณแบบนี้มีมากพอแล้ว ในขณะที่ตลาดของกลุ่มลูกค้าหัวใจคนรุ่นใหม่
ซึ่งชอบความเก๋ ศิลปะร่วมสมัย เรียบง่าย หรือจี๊ดจ๊าด ยังมองหาร้านไทยในฝันอยู่
ข่าวล่าสุด ซึ่งหน่วยราชการของไทยคิดตั้งโครงการแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยนัยว่า
เพื่อสนับสนุนสินค้าอาหารไทยในต่างแดน และพิทักษ์รสชาติอาหารไทยแท้ๆ จึงเป็นโครงการที่ฮากลิ้ง
ฝรั่งที่ได้ฟังโครงการนี้ เขาก็ส่ายหน้าปนเอ็นดูกับแนวคิดของหน่วยราชการไทยซึ่งมีทีท่าว่า
จะเอาจริงกับไอเดียบรรเจิดครั้งนี้ บอกว่า "บารือ จะให้ฉันกินอาหั่นไทยรสไทยแทๆ
เผ็ดแท หวั่นแทๆ เปรียวแทๆ ฉันม่ายเอาหรอกนา"
รูปแบบนั้น นัย ว่าจะขอ Knowhow จาก ร้านไทยที่ประสบความสำเร็จมา (ขอบอกว่า
ฝรั่ง ประเทศเดียวกัน แต่คน ละเมืองลูกค้าก็มีความชอบคนละแบบ แล้วโนว์ ฮาวข้ามประเทศจะใช้ได้หรือ)
จากนั้นจะทำแฟรนไชส์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปการเปิดร้านใหม่หรือให้คำรับรองร้านที่มีอยู่แล้วว่า
ผ่านมาตรฐานแบบไทยแท้ (ร้านอาหารไทยเขาบอกว่า ถ้า ว่างลองช่วยดูเรื่องการส่งออกวัตถุดิบ
ทำไมบางประเทศยังขาดโน่น ขาดนี่ นำเข้าไม่ได้ หรือต้องไปหาซื้อกันข้ามเมืองข้ามประเทศ)
คนไทยในนิวยอร์กส่วนใหญ่ไม่ได้ซื้อของชำไทย จากร้านคนไทย เพราะร้านคนไทยที่ขายของชำ
ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2-3 ร้านในควีนส์ และ 2-3 ร้านในแมน ฮัตตัน ต่างเป็นร้านเล็กๆ
มีข้าวของไม่มากนัก คนไทย ส่วนใหญ่ซื้อของจากร้านคนจีน ซึ่งมีสินค้าทั้งไทย
และจีนแต่ก็มีแผนกสินค้าไทยเป็นชั้นขนาดใหญ่ เพราะคนไทยเป็นลูกค้าหลักรายหนึ่ง
ร้านคนจีนที่ว่าตั้งอยู่ในย่าน Elmhurst ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านให้เช่าวิดีโอไทยรายใหญ่
และร้านหนังสือไทยแห่งเดียวของนิวยอร์ก อีกแห่งชื่อร้าน Hongkong ซึ่งมีหลายสาขา
ทั้งที่เอ็ล์มเฮิร์ท และย่านไชน่าทาวน์ คนไทยในนิวยอร์กทำอย่างอื่นบ้างไหม
เท่าที่ทราบมีคนไทยทำร้านดอกไม้ร้านขายของเก่า มีร้านเบเกลชื่อร้าน เดวิดเบเกล
ซึ่งรสชาติใช้ได้ มีลูกค้าหนาแน่นมีอยู่สองสาขา แถวย่านถนน "สิบสี่ฝั่งตะวันออก
และมีคนไทยเปิดร้านใหญ่มากขาย ของแต่งบ้านอยู่ย่านอัพทาวน์ ชื่อร้าน Better
Your home ซึ่งสินค้าในร้านที่เก๋ไก่นั้น ล้วนนำเข้ามาจากเมืองไทยนับเป็นช่องทางการตลาดหนึ่ง
ที่ดีสำหรับยุคปัจจุบัน ขณะที่นิวยอร์กก็ยังมีร้านเล็กๆ ที่ขายของกิฟต์ช็อปไทยซึ่งมีแต่คนไทยซื้อ
แถมนานๆ ซื้อที อย่างเกล็ดสบู่ที่ปั้นเป็นพวงมาลัย หรือชุดไทยให้เช่าแบบนี้น่าเสียดายที่หน้าร้าน
คน ไทยมีวัดไทยสองวัด วัดหนึ่งเป็นบ้านในเมือง เขตควีนส์ และอีกวัดมีบริเวณกว้างขวางหน่อย
อยู่ในเขตลองไอส์แลนด์ วัดเป็นที่พบปะในวันสำคัญต่างๆ เป็นที่ทำบุญสำหรับคนที่อยากทำด้วยเหตุ
ผลต่างๆ กันไป และเป็นที่แต่งงานของคนไทยในวัดที่มีบริเวณก็จะมีงานปีใหม่ไทยด้วยทุกปี
คนไทยมีหนังสือพิมพ์ไทยรายเดือนสองเล่ม ชื่อว่า นิวยอร์กไทย และเมืองนอกทั้งสองเล่ม
ราย งานข่าวที่รวบรวมจากหนังสือพิมพ์รายวันในเมืองไทยโดยเลือกหัวข้อข่าวที่น่าสนใจในประเภทต่างๆ
มา นอกนั้นก็มีโฆษณาจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับคนไทยทั้งร้านอาหารไทยที่ขายอาหารแบบไทยแท้
เจาะตลาดคนไทย หรือต้องการรับสมัครพนักงาน บริษัทขายตั๋วคนไทย หมอฟันคนไทย
และหมอคนไทยซึ่งมีอยู่อย่างละคนสองคน ส่วนช่างไม้ ช่าง แอร์ ช่างซ่อมรถ คนไทยนั้น
ถ้าเปิดหนังสือพิมพ์สมัยก่อนจะเห็นโฆษณา แต่สมัยนี้ไม่ค่อยมีเข้าใจว่าตอนนี้มีลูกค้าฝรั่งเต็มมือแล้ว
คนไทยมีแหล่งพบปะสองสามแห่ง แห่งหนึ่ง อยู่แถวในเมืองย่านถนนห้าสิบกับอเวนิวที่แปด
เป็น ร้านคาราโอเกะที่เด็กนักเรียนไทยชอบไปสังสรรค์กันจนย่ำรุ่งสนนราคาค่าเบียร์ในร้านนี้เทียบเท่า
กับร้านฝรั่งที่มีดนตรีแจ๊ซหรือร็อกบรรเลงทีเดียว ส่วนอีกร้านเพิ่งเปิดใหม่
อยู่แถวควีนส์ ย่านเอ็ล์ม เฮิร์ท ที่บอกว่าเป็นแหล่งเล็กๆ ของคนไทยร้านหลัง
นี้กลายเป็นที่พบปะของคนรุ่นใหญ่หน่อย ส่วนร้าน คาราโอเกะอื่นๆ มีความพยายามเปิดแบบปุ๊บปั๊บ
ก็ล้มหายไป
นิวยอร์ก Y2K จะจบลงเพียงตอนนี้ คอลัมน์ต่อไปจะเปลี่ยนเป็น USA CORP. Y2K1
ซึ่งจะมีเรื่องราวการเยี่ยมชมบริษัท และ/หรือบทสัมภาษณ์ของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในอเมริกา