Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2529
เหตุผลที่ยีสต์ต้องมีค่า "แสนล้าน"…!             
 


   
search resources

Food and Beverage




1. ยีสต์ชนิดนี้เกิดจากการคัดเลือกและผสมพันธุ์เพื่อหมักแอลกอฮอล์จากกากน้ำตาล เชื้อที่ได้คัดเลือกสามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส และตกตะกอนได้ดีเมื่อสิ้นสุดการหมัก จึงเป็นเชื้อที่มีความเหมาะสมกับเมืองไทยอย่างยิ่ง

2. เชื้อนี้เหมาะสำหรับการหมักแบบต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการหมักแบบสมัยใหม่ เช่น ใช้ถังหมักแบบหอคอย หรือถังหมักในระบบหมุนเวียนเชื้อเพื่อเอากลับไปหมักใหม่ ถึงหมักดังกล่าวทำให้มีปริมาณเชื้อยีสต์ที่มากกว่าถังหมักแบบธรรมดา (แบบเดิม) หลายสิบเท่าตัว เหมาะสำหรับการผลิตแอลกอฮอล์เพื่ออุตสาหกรรมหรือเชื้อเพลิง

3. ถ้าใช้เชื้อนี้หมักแบบธรรมดา 1 ชั่วโมง ก็สามารถที่จะใช้เชื้อนี้เติบกลับไปหมักใหม่ได้ โดยไม่ต้องเติมเชื้อกล้าใหม่ลงไปอีก เพราะปริมาณเชื้อที่ตกตะกอนอยู่ มีจำนวนมากพอที่จะเริ่มการหมักใหม่ได้ทันที ทำให้ย่นระยะเวลาการหมักได้อีกประมาณ 6 ชั่วโมง

4. การที่เชื้อตกตะกอนเมื่อสิ้นสุดการหมัก ทำให้แยกเชื้อยีสต์ออกมาได้ง่าย เพียงแต่ทิ้งให้มันตกตะกอนเท่านั้น เมื่อแยกตะกอนยีสต์ออกมาก็จะใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ เป็นผลพลอยได้จากการหมักแอลกอฮอล์ และจะลดมลพิษของน้ำกากส่าลงได้ส่วนหนึ่ง

5. ในภาวะที่กากน้ำตาลราคาถูกเช่นนี้ อาจจะนำไปใช้หมักยีสต์สายพันธุ์ที่ได้คัดเลือกนี้ เพื่อเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงแทนกากถั่วเหลือง หรือปลาป่น โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองนั้นจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นปริมาณที่มากในขณะนี้ ประมาณกันว่ากากน้ำตาล 3 ก.ก. จะเลี้ยงยีสต์ได้ 1 ก.ก. จึงคาดว่าต้นทุนการเลี้ยงยีสต์จะตก ก.ก.ละ5 บาท โดยจะมีโปรตีนประมาณ 40% ถ้าหากการผลิตมีประสิทธิภาพสูง ราคาก็จะถูกลงกว่านี้ (คิดราคากากน้ำตาล ก.ก.ละ 1 บาท/ในต่างประเทศที่ใช้อุปกรณ์ทันสมัยจะใช้กากน้ำตาลประมาณ 1.5 ก.ก.-2.5 ก.ก. ต่อยีสต์จำนวน 1 ก.ก.)

6. โรงงานทางประเทศญี่ปุ่นได้นำเชื้อยีสต์นี้ไปใช้แล้ว และยังมีหลายประเทศกำลังติดต่อเข้ามาแม้ในญี่ปุ่นเองก็ยังเอาไปใช้ในการสร้างธุรกิจเหล้า

7. เชื้อที่คัดเลือกได้ ยังไม่ได้ทดสอบคุณภาพของแอลกอฮอล์ เพื่อเอาไปเป็นเครื่องดื่ม เพราะเชื้อที่ใช้ในโรงงานเมืองไทย ขณะนี้ก็เป็นเชื้อที่อยู่ในเกณฑ์ดี ทางโรงงานยังไม่ประสงค์จะเปลี่ยนเพราะเกรงผลเสียต่อกลิ่นรสได้ วัตถุประสงค์ของการทำงานคัดเลือกพันธุ์ก็เพื่อลดต้นทุนการผลิตสำหรับแอลกอฮอล์ที่จะใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us