Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2529
NEW GENERATION อยากให้ปิยะบุตร-เศรณี-กรพจน์ จับมือกัน             
 


   
search resources

ธนาคารสหธนาคาร
กรพจน์ อัศวินวิจิตร
ปิยะบุตร ชลวิจารณ์
เศรณี เพ็ญชาติ
ชำนาญ เพ็ญชาติ
บรรเจิด ชลวิจารณ์
Banking




สหธนาคารเป็นธนาคารที่เหลือไม่กี่แห่งที่บริหารงานโดย GENERATION เดียว

เหตุผลหนึ่งที่น่ากล่าวถึง คือ บรรเจิด ชลวิจารณ์ และชำนาญ เพ็ญชาติ ผู้ถือหุ้นใหญ่ (ที่มีเหตุผลชอบธรรม) บริหารธนาคารนี้ปัจจุบันทายาทของตระกูลอายุน้อยเกินไป

ขณะที่บรรเจิดอายุ 72 ปี บุตรชายคนแรก-ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ เพิ่งอายุ 36 ปี ชำนาญก็เช่นกันอายุเกือบ 60 ปี แต่เศรณี เพ็ญชาติ ลูกชาย เพิ่งมีอายุประมาณ 30 ปีเท่านั้น

ที่เป็นกฎอันหนึ่งของธุรกิจในประเทศด้อยพัฒนาอย่างประเทศเราต้องเผชิญปัญหาการต่อเนื่องการบริหารงาน ยิ่งผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่นิยม PROFESSIONAL MANAGER ด้วยแล้ว ก็จะเป็นอย่างที่เห็นและเป็นอยู่

สหธนาคารมีข้อน่าจะยกไว้นิดหนึ่ง ที่บรรเจิดยังทรงพลังแรงงานและสมองบริหารธนาคารอย่างน่ายกย่องทีเดียวในช่วงที่ผ่านมา แต่ทุกวันนี้ย่อมคิดถึงปัญหานี้เหมือนกัน

“ผู้จัดการ” ขอละออกจากวังวนความขัดแย้งระหว่างชลวิจารณ์-เพ็ญชาติ และอัศวินวิจิตรออกไป โดยกล้าคาดการณ์ว่า ผู้บริหารธนาคารแห่งนี้ต่อจากนี้น่าจะได้แก่ ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ เศรณี เพ็ญชาติ และกรพจน์ อัศวินวิจิตร ในฐานะตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 3 กลุ่มแรก

ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ บุตรชายคนโตของบรรเจิด ชลวิจารณ์ ดูจะได้เปรียบคนอื่น ๆ ตรงที่มีประสบการณ์ทำงานที่ธนาคารนี้มานาน ปัจจุบันเป็นคนหนุ่มคนเดียวของธนาคารนี้ที่ก้าวเป็นผู้บริหารระดับสูง

ปิยะบุตรจบการศึกษาปริญญาตรีและโททางเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินและโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ตามลำดับ เมื่อเขามาทำงานที่สหธนาคาร ซึ่งบิดาเป็นผู้บริหารสูงสุด โดยใช้เวลาเพียง 8 ปีเท่านั้น (เช่นเดียวกับแบงก์ลักษณะครอบครัวอยู่ทั่วไป) ก็ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยผู้จัดการ และผู้อำนวยการกิจการสาขาพร้อมทั้งดูแลกิจการด้านสินเชื่อและหลักทรัพย์ด้วย

งานที่ปิยะบุตรรับผิดชอบถือเป็นหัวใจของธนาคารทีเดียว!

จากครอบครัวที่มีระเบียบวินัยประกอบกับการทำงานที่บิดา-บรรเจิด ชลวิจารณ์ ดูแลอย่างใกล้ชิด ปิยะบุตรจึงค่อนข้าง “ถอดแบบ” จากบิดา “เขาเป็นคนรอบคอบ สุขุมเกินวัย มีปัญหาอะไรก็วิ่งถึงพ่อทันที” พนักงานสหธนาคารกล่าวถึงสไตล์การทำงานของปิยะบุตร

ปิยะบุตรเป็นคนเรียบ ๆ ไม่หวือหวา “คุณบรรเจิดฝึกลูกชายคนนี้ดีมาก ผมว่าเขาเหมาะนะ ทำงานด้านสินเชื่อและกิจการสาขาในยุคปัจจุบัน รอบคอบ ละเอียด เป็นงาน ถือเป็นมืออาชีพคนหนึ่ง” นายธนาคารคนหนึ่งกล่าว

เศรณี เพ็ญชาติ บุตรชายคนโตของชำนาญ เพ็ญชาติ การศึกษาไม่น้อยหน้าปิยะบุตร จนปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น สหรัฐฯ ไปเป็นทหารเสียหลายปี พอได้ยศร้อยเอกก็ลาออกมา เข้าทำงานที่สหธนาคารตามคำขอร้องของบิดา

ทำงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2526 ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ ว่ากันว่าพอเศรณีเข้ามา เค้าของความขัดแย้งก็เริ่มก่อตัวขึ้น

ห้วงเวลาที่ความขัดแย้งประทุขึ้นบางกระแสข่าวระบุว่า ที่มาคือ “ความไม่พอใจของเศรณี” พอควันจางสหธนาคารก็ตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา สำนักบริหารการเงิน โดยที่เศรณีเข้าสวมตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักนี้ทันทีเมื่อเดือนตุลาคม 2528

พูดกันทีเล่นทีจริงว่า ตำแหน่งที่เศรณีได้มาเพราะแสดงฝีมือให้เห็นโดยยืมเวทีที่ธนาคารแหลมทอง

เศรณีเป็นตัวแทนซุมม่ากรุ๊ฟแห่งอินโดนีเซียในประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ ในช่วงเวลาที่สุระ-สมบูรณ์ระเบิดศึกแย่งหุ้นในธนาคารแหลมทองนั้น เศรณีก็เข้าพบ สมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ กรรมการจัดการธนาคารนั้นเพื่อเจรจาขอซื้อหุ้นในนามของซุมม่ากรุ๊ฟ จนสามารถซื้อได้จำนวนหนึ่ง

“เรื่องมาแดงทีหลังว่า คุณเศรณีเป็นตัวแทนของสุระนั่นเอง”

แหล่งข่าวบางกระแสระบุว่า เศรณีก็คือกุนซือของสุระ จันทร์ศรีชวาลานั่นเอง

พอดีช่วงนั้นศึกที่สหธนาคารพักรบชั่วคราว เศรณีคงจะเหงาจึงมาฝึกวิทยายุทธ์ที่ธนาคารแหลมทอง

ดังนั้นจึงเหมาะอย่างยิ่งในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักบริหารการเงิน และในอนาคตเขาก็น่าจะได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศด้วย

กรพจน์ อัศวินวิจิตร ลูกชายคนที่สองของอวยชัย อัศวินวิจิตร กรรมการสหธนาคารคนล่าสุด เขาเป็นพ่อค้าเต็มตัวตั้งแต่เรียนเศรษฐศาสตร์ (ภาคค่ำ) ที่ธรรมศาสตร์ ประสบการณ์ทางการค้าต่างประเทศของเขายากที่จะหาคนหนุ่มรุ่นเดียวกันทาบได้

“ในบรรดา YOUNG GENERATION ของผู้ส่งออกข้าวนั้น ลูกชายคุณอวยชัยนี่เก่งมากคนหนึ่ง” ผู้ส่งออกข้าวคร่ำหวอดคนหนึ่งบอก “ผู้จัดการ” และอรรถาธิบายต่อไปว่า “วงการส่งออกข้าวมีปัญหาผู้สืบทอดกิจการมากทีเดียว หลายรายลดบทบาทหรือแทบจะเลิกกิจการค้าไปเลยเพราะไม่มีทายาท แต่คุณอวยชัยเขาเก่ง”

ครั้นเมื่อกรพจน์ข้ามน้ำข้ามทะเลไปศึกษา MBA ที่ SOUTHERN CALIFORNIA UNIVERSITY เวลา 3 ปี ทำให้เขาเปลี่ยนแนวคิดพอสมควร อาจจะเป็นได้ว่าสาขาการเงินการคลังที่ร่ำเรียนมาครอบครัว “อัศวินวิจิตร” จึงจัดวางบทบาทของเขาต่อมาและในอนาคตว่ากรพจน์จะเป็น “หัวหอก” ที่คุมกิจการด้าน FINANCE และ INSURANCE ของอัศวินวิจิตร ที่พุ่งเป้า DIVERSIFIED อย่างเต็มตัว ขณะที่เขากำลังฝึกวิทยายุทธ์ที่บริษัทไทยเศรษฐกิจประกันชีวิต

หากในอนาคตอันใกล้กรพจน์เข้ามามีตำแหน่งในสหธนาคาร ผู้อำนวยการฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับด้านการตลาด ด้าน TRADE FINANCING น่าจะเป็นของเขา

“ผู้จัดการ” ขอสรุปไว้ตอนนี้ว่าหาก 3 แรงแข็งขันนี้ผนึกกันได้ ในอนาคตสหธนาคารน่าจะสดใสกว่าตอนนี้

ทว่าการ “จับแพะชนแกะ” ครั้งนี้ “ผู้จัดการ” เกรงว่าจะเป็นไปไม่ได้ ไม่มีพื้นฐานความเป็นจริงรองรับ ว่ากันว่า “ความขัดแย้ง” ที่แท้ของสหธนาคารที่คุกรุ่นเวลานี้ก็เกิดจาก NEW GENERATION นี่เอง

ก็นับว่าเป็นความ “โชคร้าย” ของสหธนาคาร!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us