Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2554
ไม่ชอบงานนั่งอยู่กับที่             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
search resources

Oil and gas
ตรังน้ำมันปาล์ม, บจก.
มานิต วงษ์สุรีรัตน์




มานิต วงศ์สุรีรัตน์ มีจุดหักเหของชีวิตหลายครั้ง เริ่มต้นทำงานเป็นเซลส์แมน แต่ชีวิตก็ผกผันไปเป็นครู ปัจจุบันเป็นนักธุรกิจพันล้านจากธุรกิจน้ำมันปาล์ม ทว่าบั้นปลายชีวิตปรารถนาปลดพันธนาการไปตั้งชมรมอาสาพัฒนาประเทศไทย

มานิต วงศ์สุรีรัตน์ วัย 57 ปี ไม่ได้วางแผนชีวิตไว้อย่างชัดเจน หลังจากจบการศึกษาปริญญาตรี ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2518

มานิตยอมรับว่าเขาไม่ใช่เด็กเรียนที่เข้ามหาวิทยาลัยเพื่อตั้งหน้าตั้งตาเรียนเพียงอย่างเดียว แต่เขาเป็นนักกิจกรรมตัวยง เริ่มจากสมัครเป็นสมาชิกสภานักศึกษา ตั้งแต่ปีที่ 1 และจนถึงปีสุดท้ายเข้าร่วมเป็นผู้บริหาร ทำให้ได้ประสบการณ์มากมาย และมีเพื่อนฝูงมาก

นอกจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งวิชาการและค่ายอาสาแล้ว เขายังเล่นกีฬาเกือบทุกประเภท ฟุตบอล บาสเกตบอล รักบี้ แทบจะเรียกได้ว่า อะไรที่ทำให้เขาได้เรียนรู้ สนุก และมีความสุข เขาจะไม่พลาด จึงทำให้ชีวิตในวัยเรียนไม่น่าเบื่อ

หลังจากจบการศึกษา เขาเริ่มทำงานครั้งแรกเป็นเซลส์แมน ขายอุปกรณ์โรงงานและสารเคมี บริษัท ริชมอน จำกัด นับว่าตรงกับความรู้ที่ร่ำเรียนมา แต่ก็มีโอกาสทำงานเพียง 1 ปีเท่านั้น เนื่องจากบิดาเสียชีวิต ทำให้ตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่จังหวัดตรัง เพื่อกลับไปดูแลครอบครัว

เมื่อกลับมาอยู่บ้านเขาเลือกอาชีพครู โรงเรียนตรังวิทยา สอนวิชาเคมี ชีวะและฟิสิกส์ ระดับมัธยมปลาย แต่สอนได้เพียง 3 ปีเศษเท่านั้น เพราะในใจมีความคิดตลอดเวลาว่า ปรารถนามีธุรกิจเป็นของตนเอง

ในช่วงที่มานิตเป็นครูสอนหนังสือ เขาทำสวนปาล์มควบคู่กันไป ตอนนั้นมีพื้นที่ปลูก 100 ไร่ ส่วนผลปาล์มที่ได้จะนำไปจำหน่ายที่จังหวัดกระบี่และสตูล ตอนนั้นต้องขับรถไปส่งผลปาล์มด้วยตนเอง ขับรถจากตรังไปกระบี่ประมาณ 200 กิโลเมตร

“ผมไม่ชอบงานที่นั่งอยู่กับที่” วลีดังกล่าวของมานิตบ่งบอกถึงบุคลิกการทำงานของเขาเป็นอย่างดีว่า เขาชอบทำงานอิสระ มีโอกาสได้ใช้ความคิด รวมไปถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น ทำให้การทำงานในแต่ละวันมีความท้าทาย

จากการคลุกคลีอยู่ในธุรกิจปาล์ม เขาจึงเริ่มศึกษาธุรกิจน้ำมันปาล์มอย่างจริงจัง ทำให้มองเห็นโอกาสธุรกิจ จึงได้รวมตัวกับเกษตรกรด้วยกันเอง ซึ่งเขามีอายุน้อยที่สุดในตอนนั้น แต่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำเพื่อไปศึกษากระบวนการผลิตปาล์มในประเทศมาเลเซีย

หลังจากได้เห็นกระบวนการผลิตปาล์ม ทำให้เห็นโอกาสมากมายจากผลปาล์ม และโชคดีที่เพื่อนสมาชิกรู้จักคนมาเลเซียที่มีความรู้ด้านโรงงาน

จึงทำให้กลุ่มเกษตรกรรวมตัวสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีโรงงานในจังหวัดตรัง เมื่อโรงงานสร้างแล้วเสร็จ ผลปาล์มที่ปลูกในจังหวัดตรังและใกล้เคียง ก็ถูกส่งเข้าโรงงานทั้งหมด

ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบที่ได้จากโรงงานเป็นส่วนหลักที่สร้างรายได้ให้กับบริษัท แต่โรงงานก็สร้างผลเสียด้านสิ่งแวดล้อม เพราะมีน้ำเสียออกจากโรงงาน ทำให้บริษัทได้ศึกษาจากบริษัท เอเชียปาล์ม จำกัด นำน้ำเสียมาบำบัด และยังร่วมกับสถาบันพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำน้ำเสียมาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้านอกจากการนำน้ำเสียมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า บริษัทยังได้นำเส้นใยปาล์มมาเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผา

แนวคิดการสร้างกระแสไฟฟ้าจากน้ำเสีย หรือนำวัตถุดิบที่เหลือใช้จากการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ได้เกิดขึ้นในบริษัท ตรังน้ำมันปาล์ม จำกัดเพียงแห่งเดียว

มานิตต่อยอดความรู้ด้านเคมีที่ได้ร่ำเรียนมา พร้อมกับการแบ่งความรู้จากเพื่อนสนิทของเขาก็คือ ปรีชา โกวิทยา ประธาน บริษัท ลานนาโปรดักส์ จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกวาซาบิเพื่อนร่วมรุ่นในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะบริษัท ลานนาฯ มีแนวคิดในการทำธุรกิจต่อยอดผลิตไฟฟ้าจากน้ำเสียเช่นเดียวกัน

จากพื้นฐานความรู้ด้านเคมี ทำให้มานิต เชื่อว่าวิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้อยู่บนเหตุและผล จะช่วยพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมได้อีกมาก เพราะวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ โดยเฉพาะมานิตและปรีชาพิสูจน์ให้เห็นแล้วในระดับหนึ่ง

แม้ว่าปัจจุบันบริษัท ตรังน้ำมันปาล์ม จำกัด จะมีรายได้ถึง 1,200 ล้านบาทต่อปี แต่มานิตพบว่า น้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตและจำหน่ายในปัจจุบันยังสามารถต่อยอดให้กับธุรกิจได้อีก เพราะวัตถุดิบมีคุณสมบัติพัฒนาไปสู่สินค้าอื่นได้อีกมากมาย เช่น เครื่องสำอาง น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าจะทำให้บริษัทมีความมั่นคงและยั่งยืนมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้น มานิตปรารถนาที่ปลดพันธนาการของตัวเอง ให้ออกมาทำงานร่วมกับสังคมมากขึ้น

ความฝันของเขาก็คือการตั้ง “ชมรมอาสาสมัครพัฒนาประเทศไทย” ด้วยการร่วมทำงานกับคนไทยทุกเหล่าอาชีพ เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นด้านสังคม เกษตร การค้า ให้สามารถพัฒนาประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าและเท่าเทียมกัน

ถ้าหากเป็นไปได้ เขาปรารถนามีเพื่อนร่วมเส้นทางประมาณ 1 ล้านคน เพื่อกระตุ้นให้คนที่อาสาจะไปเป็นรัฐบาลทำงานและดูแลประชาชนอย่างจริงจัง

โดยเฉพาะภาคการเกษตรควรมีโครงสร้างชัดเจน เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น โดยให้หน่วยงานทุกฝ่ายของรัฐทำงานร่วมกัน

แม้มานิตจะทำงานหนักในภาคธุรกิจ แต่อีกด้านหนึ่งเขาก็ยังมีความเป็นห่วงสังคมไทยไม่น้อย เพราะสิ่งที่เขาอยากเห็นมากที่สุดคือคนมีงานทำ และรายได้ดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us