Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2554
ชนกลุ่มน้อยกับโจทย์ CSR             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
www resources

INTOUCH Homepage

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ICT (Information and Communication Technology)
รัชฎาวรรณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา




“ซีเอสอาร์แบบไทยๆ เน้นบริจาคแต่ไม่มีระบบคิดที่เป็นกิจกรรม”

จุดอ่อนของการดำเนินงานซีเอสอาร์ที่รัชฎาวรรณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้จัดการสำนักประชาสัมพันธุ์ Intouch มองเห็นตลอดช่วงที่ทำงานกับอินทัชมานานกว่า 17 ปี ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าซีเอสอาร์ของบริษัท หรืออดีตชินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเธอมีหน้าที่ดูแลอยู่ด้วยนั้นก็เคยทำตามเทรนด์ซีเอสอาร์แบบไทยๆ มาก่อนเช่นกัน

อินทัชเริ่มทำซีเอสอาร์ที่มีแนวทางชัดเจนภายใต้โครงการแคมป์สนุกคิดของชินคอร์ป ตามชื่อเก่าขององค์กรเมื่อ 11 ปี ก่อน เพิ่งเปลี่ยนแปลงแนวคิดการทำซีเอส อาร์ครั้งใหญ่เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยน้อม นำแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบกิจกรรม เปลี่ยนกิจกรรมจากที่ทำกับเด็กระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย และกำหนดชัดเจนว่าแต่ละโครงการจะต้องมีชุมชน โรงเรียน และเยาวชน เป็นองค์ประกอบหลักของโครงการ เพื่อให้การทำงานที่คิดขึ้นสามารถปักหลักแนวคิดให้อยู่กับชุมชนต่อไปในระยะยาว

“ถ้าเราจะทำโครงการให้ยั่งยืนต้องเริ่มรับปัญหามาจากชาวบ้าน ดูว่าท้องถิ่นมีอะไร มีปัญหาหรือขาดแคลนอะไร ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลที่เป็นรูปธรรม ที่สำคัญต้องเป็นข้อมูลที่ชาวบ้านบอกมาเอง แล้วเอาปัญหาที่รวบรวมได้มาพัฒนาโครงการกลับไปให้เขา ไม่อย่างนั้นไม่ยั่งยืน” รัชฎาวรรณเล่าถึงแนวคิดขององค์กรที่เริ่มตกผลึกมาได้ไม่กี่ปี

แนวคิดนี้กำหนดว่าต้องประสานระหว่าง 3 องค์ประกอบสำคัญ ก็เพราะโครงการซีเอสอาร์ที่ผ่านมาในยุคต้นๆ ของบริษัทไม่ได้ประสบความสำเร็จเต็มร้อยทุกโครงการ บางโครงการขับเคลื่อนต่อไปได้น้อย ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาหาสาเหตุก็จะพบว่าเป็นเพราะโครงการเกิดจาก “คนคิด” กับ “คนทำ” ไม่ได้เริ่มต้นเรียนรู้ร่วมกัน (Participation learning) เมื่อผู้ให้กับผู้รับคิดคนละทาง “ความสมประโยชน์” จึงไม่เต็มร้อย

“เราอยากให้ชุมชนช่วยตัวเองด้วยในการทำโครงการ เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ดังนั้นเราก็ต้องเริ่มจากรู้ความต้องการ รู้บริบท สิ่งแวดล้อมของชุมชนก่อน ซึ่งเด็กๆ ที่คัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่จะมีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ เมื่อชุมชนให้ข้อมูลหรือได้ความรู้จากปราชญ์ชุมชน ก็จะได้ข้อมูลสองส่วนผสมกัน เราจะเป็นคนตบประเด็น โครงการขนาดนี้งบเท่านี้ทำได้ไหมแล้วค่อยดำเนินงาน เด็กไปคิดไปทำร่วมกับชุมชน ทำเสร็จ ชุมชนก็นำไปสานต่อโดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง” รัชฎาวรรณเล่ากระบวนการ และบอกด้วยว่า

รูปนี้เป็นรูปแบบโครงการที่แม้แต่สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ยอมรับว่าเป็นการพัฒนาโครงการที่แตกต่าง จากที่องค์กรอื่นๆ เคยทำมา เพราะมีการเชื่อมโยงระหว่าง 3 ส่วนคือ เยาวชน โรงเรียน และชุมชน ขณะที่ขององค์กรอื่นที่ทำส่วนใหญ่จะลงไปที่ชุมชน หรือไม่ก็โรงเรียนอย่างใดอย่างหนึ่ง งบ 40 ล้านบาท ต่อปีสำหรับการทำซีเอสอาร์ของอินทัช จึงลงตัวว่าจะต้องออกมาเป็นรูปแบบนี้ตั้งแต่ปี 2551

ภายใต้ซีเอสอาร์รูปแบบล่าสุด อินทัชสนับสนุนเด็กทำแคมป์ไปแล้ว 8 แห่ง เกิดศูนย์เรียนรู้แล้ว 3 ศูนย์ หากรวมเครือข่ายเด็กระดับมัธยมปลายที่ผ่านค่ายของบริษัทในช่วงแรกก็จะมีจำนวนเด็กที่เข้าแคมป์สนุกคิดรวมแล้วกว่า 5 พันคนจาก 700 กว่าโรงเรียนทั่วประเทศ

ในยุคแรกที่อินทัชทำซีเอสอาร์โดยเน้นที่กลุ่มเด็กมัธยมปลายพบข้อจำกัดด้วย ว่า มัธยมปลายของไทยเป็นช่วงวัยที่เด็กยังไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเองเต็มที่ เพราะอยู่ในความดูแลของพ่อแม่เป็นหลัก ทำให้กิจกรรมที่ทำจำกัดอยู่แค่การให้ความรู้ และประสบการณ์กับเด็กในการเข้าค่าย พอจบโครงการก็แยกย้ายกันไป

แต่กระบวนการค้นหาและตีโจทย์โครงการของค่ายรูปแบบใหม่ที่ต้องทำร่วมกับชุมชน นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไปในการทำโครงการ เป็นเหตุผลแรกที่ทำให้อินทัชต้องเปลี่ยนเป้าหมายจากเด็กมัธยมปลายมาเป็นเด็กมหาวิทยาลัย เพื่อให้สะดวกต่อการทำค่ายและกำหนดให้นักศึกษาที่จะเข้าร่วมมาจากมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดและทักษะที่แตกต่างกัน

“กระบวนการนี้จะเห็นเลยว่านักศึกษาแต่ละที่จะมีความถนัดต่างกัน ก็ได้มา แลกเปลี่ยนความคิดและทำงาน พวกเด็กๆ จะได้รับความรู้จากชุมชน ฝึกพัฒนาความรู้ที่ได้มา ฝึกบริหารจัดการ เด็กส่วนใหญ่มีศักยภาพและเข้มแข็งมาก ซึ่งเด็กบางคนก็เป็นเด็กที่เคยร่วมแคมป์สนุกคิดกับเราสมัยอยู่มัธยมปลาย เราก็มีโอกาสได้เห็นเขาเติบโตขึ้น”

เป้าหมายของแต่ละโครงการที่เด็กๆ คิดขึ้น จะเน้นการพัฒนาที่ตัวเด็ก เพราะเป้าหมายหลักของโครงการคือให้เด็กเข้าใจ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากการลงมือปฏิบัติ เป็นผู้ริเริ่มความคิด แล้วพัฒนาภาย ใต้ความคิดนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อชาวบ้าน

“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่อยู่กับเราตลอดเวลา ตอนแรกยอมรับว่า เราเองก็ไม่เคลียร์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หลายคนรู้แต่ไม่ซึมซาบในใจ จนกว่าจะได้ลองทำ ด้วยตัวเอง อยากให้เด็กรู้ ก็ต้องเปิดโอกาส ให้ลองทำและส่งต่อให้คนอื่น ก็คิดว่าบริษัท เรามีเทคโนโลยีที่มีบทบาทเยอะ ประเทศเราก็มีของดีอยู่ ถ้าลองเอาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้อย่างจริงจังจะปรับตัวเข้ากันอย่างไร”

อินทัชเชื่อว่ารูปแบบการทำแคมป์แบบนี้เป็นวิธีที่ทำให้เด็กซึมซับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริงทั้งในแง่วิชาการและภาคปฏิบัติ จากการเอาตัวเอาใจเข้าไปคลุกคลีกับการทำงาน ขับเคลื่อนให้เห็น จนกระทั่งส่งให้ชาวบ้านรับช่วงไปดำเนินต่อได้ในขั้นตอนสุดท้าย

ศูนย์เรียนรู้แห่งล่าสุดจากค่ายของอินทัชที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาคือ ศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิตภูมิปัญญาผ้าทอมือปกาเกอะญอที่โรงเรียนบ้านป่าเลา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นโครงการที่รวมเอาเด็กจากมหาวิทยาลัย 3 แห่งในจังหวัดทางภาคเหนือ มาศึกษาวิถีชีวิตเพื่อ ดึงเอาภูมิปัญญาที่มีอยู่ของปกาเกอะญอ ซึ่งอาศัยอยู่จำนวนมากในพื้นที่มาพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สะท้อนคุณค่าวิถีชีวิต และอัตลักษณ์ของปกาเกอะญอให้เป็นที่รู้จัก แก่คนภายนอกมากขึ้น มีแหล่งให้ศึกษาข้อมูล และแลกเปลี่ยน เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในพื้นที่นี้มีดีอะไร มีอะไรให้เผยแพร่และสามารถนำมาใช้พัฒนาชุมชนและสร้างรายได้อย่างไร

สองโครงการก่อนหน้านี้ก็เป็นการนำ วิถีชีวิตและของใกล้ตัวที่ชุมชนมีมาพัฒนาให้เกิดรายได้เช่นกัน โครงการหนึ่งที่นครพนม พัฒนาทำถ่านจากต้นไมยราบที่มีอยู่มากในพื้นที่มาเป็นสินค้าสร้างรายได้ ให้ชุมชน ส่วนอีกโครงการที่จังหวัดตรัง เป็นการจำลองอัตลักษณ์ของชาวมุสลิมพัฒนาเป็นตุ๊กตาและกลายเป็นสินค้าสร้างรายได้ให้ชุมชนเช่นกัน

“จากแนวคิดที่เป็นนามธรรม การทำแคมป์ของเด็กจะเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรมทำให้เกิดการขับเคลื่อนวิถีชีวิตที่ดี โครงการที่เกิดขึ้นอาจจะ ไม่รู้ในวงกว้าง แต่คนในละแวกนั้นรู้ สร้างความภูมิใจให้คนทำงาน ได้ความรู้ ช่วยเรื่องรายได้ชุมชน นั่นเป็นเพราะเราจะไม่เอาสิ่งที่คิดไปใส่ให้เด็ก แต่จะเกาะไปกับเขา จากผลที่ทำมาแสดงให้เห็นว่าศักยภาพในตัวเด็กสามารถดึงเอาสิ่งดีๆ ที่เป็นแกนของชุมชนที่มีอยู่ในแต่ละที่มาปรับเข้ากับวิธีการสมัยใหม่ได้อย่างเห็นผล นอกจากผลต่อวิถีชีวิต เรามีการประมวลผลเชิงตัวเลข ลด รายจ่ายเพิ่มรายได้วัดผลได้ ทำแล้วมีประโยชน์กับคนอื่น”

สำหรับที่ป่าเลา จากบทสรุปการค้น หาจุดเด่นในพื้นที่พบว่า ชาวปกาเกอะญอ เด่นเรื่องทอผ้าทำเองใช้เองมานาน ทำขาย ก็ได้ การแสดงในศูนย์ที่นักศึกษาคิดและพัฒนาร่วมกับชุมชน จึงจัดแสดงให้เห็นลำดับขั้นของการพัฒนาเป็น 4 ส่วน เริ่มจากทำความรู้จักวิถีชีวิตปกาเกอะญอ การทำผ้าทอมือ จุดสาธิตแสดงการย้อมสีและทอผ้า และจุดจำหน่ายสินค้าเป็นจุดสุดท้าย

หากจะถามถึงจุดสิ้นสุดหรือจุดบรรจบระหว่างซีเอสอาร์กับแบรนด์อินทัช ระหว่างความเป็นชนเผ่าปกาเกอะญอกับโฮลดิ้งคอมปะนีของกลุ่มบริษัทสื่อสารเทคโนโลยีว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร ก็ต้องอ้างถึงเป้าหมายของการเปลี่ยนชื่อองค์กรจากชินคอร์ปอเรชั่น เป็นอินทัช ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 ที่ผ่านมาหลังจากใช้ชื่อเดิมมานานถึง 20 ปี

“เรามีแผนจะเปลี่ยนชื่อมานานตั้งแต่เทมาเส็กเข้ามาถือหุ้นและติดที่กระบวนการ ในฐานะโฮลดิ้งคอมปะนีที่ไม่มีสินค้าและบริการชัดเจนเหมือนเอไอเอสและไทยคม หลังแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบ จากนั้นเราก็อยากให้กิจกรรมที่ทำเป็นตัวสะท้อนถึงคาแรกเตอร์ใหม่ที่เปลี่ยนไป”

อินทัชมีสโลแกนองค์กรว่าเชื่อมโลกสู่อนาคต คาแรกเตอร์เดิมก็เป็นบริษัทเทคโนโลยีจ๋า แต่คาแรกเตอร์ปัจจุบันที่ต้องการแสดงให้คนทั่วไปเห็นกำหนดไว้ 4 ประการ ได้แก่ humble, reliable, caring และ pioneering

“อินทัชเราต้องการติดดิน เข้าถึงชาวบ้านมากขึ้น ภายใต้อินทัชเราจะมีลักษณะแบบนี้ เราอ่อนน้อมถ่อมตน เราเข้าถึง เราใกล้ชิด ที่เน้นมากคืออ่อนน้อมถ่อมตนซึ่งเราจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ทำให้คนรักเรา อยากจะช่วยเหลือเรา ในลักษณะของการพึ่งพาอาศัยและเป็นสังคมพึ่งพาระยะยาวและทุกส่วนของสังคมควรจะเข้มแข็งเติบโตไปพร้อมกัน”

ทั้งหมดนี้คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ซีเอสอาร์ขององค์กรระดับแนวหน้าหาจุดลงตัวมาทำโครงการกับชนกลุ่มน้อยในครั้งนี้ แม้ว่าโครงการต่อไปพวกเขากำลังจะเริ่มโครงการใหม่กับโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีโจทย์ที่ท้าทายพวกเขาว่าจะสร้าง ความแตกต่างและน่าสนใจให้เกิดขึ้นจากการค้นหาความต้องการใหม่ๆ ในแหล่งที่มีความพร้อมและเจริญแล้วก็ตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us