Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2554
เขตเศรษฐกิจช่องทาง             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

Commercial and business
Vietnam




เขตเศรษฐกิจช่องทางในเวียดนาม เป็นบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่กำหนดให้ผูกพันกับช่องทางนานาชาติหรือช่องทางหลักของชาติ มีพลเมืองดำรงชีพและได้มีการใช้ระบบกลไก นโยบายพัฒนาเป็นพิเศษ สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น มุ่งนำมาซึ่งประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ-สังคมสูงที่สุดโดยอาศัยการวางผัง การใช้ประโยชน์ และการพัฒนาทรัพยากรต่างๆ อย่างยั่งยืนโดยรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีตัดสินใจให้ก่อตั้ง

นโยบายพัฒนา

ตั้งแต่ปี 2539 รัฐบาลเวียดนามเริ่มดำเนินการทดลองก่อสร้างเขตเศรษฐกิจม้องก๊าย ผ่านการอนุมัติระบบให้สิทธิพิเศษแก่เขตเศรษฐกิจนี้บนพื้นที่ม้องก๊าย ปี 2541 รัฐบาลดำเนินการทดลองกว้างขวางขึ้น ด้วยการอนุมัตินโยบายให้สิทธิพิเศษแก่เขตเศรษฐกิจช่องทางหมกบ่าย และเขตการค้าลาวบ๋าว นี่เป็นครั้งแรกที่ได้มีการใช้การเรียกชื่อเขตเศรษฐกิจช่องทางอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจช่องทาง

ปี 2544 นายกรัฐมนตรีออกมติว่าด้วยนโยบายสำหรับเขตเศรษฐกิจช่องทางชายแดน และกระทรวงการคลังออกหนังสือเวียน แนะนำการปฏิบัติตามนโยบายการคลังที่ใช้สำหรับเขตเศรษฐกิจช่องทางชายแดน

ปลายเดือนธันวาคม 2545 รัฐบาลจัดประชุมสรุปสถานการณ์การปฏิบัติตามนโยบายเขตเศรษฐกิจช่องทางชายแดน ภายหลังการประชุม รัฐบาลยืนยันว่า “เกี่ยวกับเศรษฐกิจมีการพัฒนาทำให้ความเป็นอยู่ตามเขตช่องทางต่างๆ คึกคัก มีส่วนร่วมในโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัด เป็นช่องทางของภูมิภาคและทั้งประเทศ ส่งเสริมให้แขนงการผลิตพัฒนา ขณะเดียวกันก็มีส่วนเพิ่มรายรับงบประมาณ สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้แก่เขตเศรษฐกิจช่องทางและพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ด้านสังคมได้สร้างงานทำให้คนงาน ยกระดับชีวิตพลเมืองในพื้นที่ และสร้างโฉมหน้าใหม่ให้แก่พื้นที่เขตแดนที่เมื่อก่อนนี้เป็นพื้นที่ลึก พื้นที่ห่างไกล ยากลำบากเป็นพิเศษ กลายเป็นเขตคึกคัก ส่งเสริมกระบวนการทำให้เป็นศูนย์ธุรกิจ”

เดือนตุลาคม 2548 รัฐบาลอนุญาตให้ก่อตั้งเขตปลอดภาษีอย่างเป็นทางการในเขตเศรษฐกิจช่องทาง

ต้นปี 2551 นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้อนุมัติ “แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจช่องทางของเวียดนามถึงปี 2563” ตามแผนนี้เมื่อถึงปี 2563 เวียดนามจะมี 30 เขตเศรษฐกิจช่องทาง จะได้รับความสนใจในการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจช่องทางม้องก๊าย, หล่าวกาย, โด่งดัง-หล่างเซิน, ลาวบ๋าว, เกิ่วแตรว, เบ่ออี, หมกบ่าย, อานยาง และโด่งทาป ครบวงจรทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน รูปแบบการจัดการ ระบบกลไกและนโยบาย

ลักษณะเฉพาะ

เกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไป เขตเศรษฐกิจช่องทางมีลักษณะเฉพาะโดยทั่วไปดังนี้

- เขตเศรษฐกิจช่องห่างไกลศูนย์เศรษฐกิจ-การเมือง-วัฒนธรรมของประเทศ

- พลเมืองที่เขตเศรษฐกิจช่องทางกับพลเมืองท้องถิ่นใกล้เคียงของประเทศเพื่อนบ้าน มีความคล้ายคลึงกันด้านวัฒนธรรม ประเพณีและความศรัทธาศาสนา

- มีความแตกต่างทางด้านมาตรฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต

- ความร่วมมือและการแข่งขันคือลักษณะสำคัญเป็นพิเศษ

- เคารพสิทธิของกันและกัน มีผลประโยชน์เท่าเทียมกัน


บทบาท

- เขตเศรษฐกิจช่องทางสามารถมีส่วนร่วมอย่างมากกับเศรษฐกิจเวียดนาม มีผลต่อทุกด้านของชีวิตสังคมประเทศโดยรวม โดยเฉพาะจังหวัดชายแดน แต่ในภาพรวมมีบทบาทสำคัญดังนี้

- สร้างความสะดวกในการพัฒนาศักยภาพของบรรดาท้องถิ่นชายแดน

- มีส่วนขยายการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการค้า

- มีส่วนปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชาชนท้องถิ่นและบริเวณใกล้เคียง

- ทำให้โครงสร้างพื้นฐานดีขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมท้องถิ่น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา

- ปัจจัยธรรมชาติ

- ปัจจัยประวัติศาสตร์

- มาตรฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของฝ่ายต่างๆ

- นโยบายต่างประเทศและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ-การเมือง

ปัจจุบันใน 15 จังหวัดชายแดนของเวียดนามมีเกือบ 30 เขตเศรษฐกิจช่องทาง เขตที่ได้รับก่อตั้งเร็วที่สุดด้วยจุดมุ่งหมายนำร่องคือเขตเศรษฐกิจช่องทางม้องก๊าย (จังหวัดกว๋างนิญ) ก่อนปี 2558 รัฐบาลเวียดนามมีแผนเพิ่มอีก 4 เขตเศรษฐกิจช่องทางคือ อาเดิ๊ตที่จังหวัดเถื่อเทียน-เว้, เหนิ่มกั้น-ทาญถุยที่จังหวัดเหงะอาน, นาแหม่วที่จังหวัดทาญฮว้า, เขตเศรษฐกิจช่องทางลองอานที่จังหวัดลองอาน

ตั้งแต่ปี 2558-2563 จะเพิ่มอีก 3 เขตเศรษฐกิจช่องทางคือ ลาไลที่จังหวัดกว๋างตริ, ดั๊กแปร์ที่จังหวัดดั๊กนง, ดั๊กรูเอที่จังหวัดดั๊กลัก

ที่มา: Wikipedia ภาษาเวียดนาม ปรับปรุงล่าสุด 31 พฤษภาคม 2554   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us