Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2554
มุมมองเปรียบเทียบสินค้าไทย-เวียดนาม             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

Commercial and business
International
Vietnam
Cambodia




กรณีพิพาทพรมแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เพิ่มช่องทางตลาดให้สินค้าจากเวียดนามเป็นอย่างมาก แต่ในทัศนะของผู้บริโภคแล้ว สินค้าจากไทยยังได้รับความนิยมอยู่ในภูมิภาคนี้มากกว่า

เว็บไซต์ RFA ภาษาเวียดนามมีรายงานถึงความสัมพันธ์การค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนาม ว่าได้พัฒนาขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่กัมพูชากับไทยเริ่มมีข้อพิพาททางพรมแดนระหว่างกัน

การพัฒนาดังกล่าวเป็นไปอย่างเข้มข้นทั้งสองด้านคือ ด้านการส่งออกสินค้า และด้านความร่วมมือการค้า

รายงานชิ้นนี้ได้กล่าวว่า กัมพูชายัง คงเป็นตลาดของสินค้าเวียดนาม ในขณะที่ ประเทศนี้กำลังมีข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย โดยเฉพาะในห้วง 8 เดือนแรกของปี 2554 กัมพูชาขาดดุลการ ค้าจากเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน

ตามข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ดัชนีการส่งออกของกัมพูชา ไปยังเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2554 มีมูลค่า 105.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 116% จากระดับ 48.6 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ ในช่วงเดียวกันของปี 2553 ส่วนดัชนีนำสินค้าเวียดนามเข้ากัมพูชามีมูลค่า 976 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 43% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

Kong Putheara อธิบดีกรมสถิติ สังกัดกระทรวงพาณิชย์กัมพูชากล่าวว่าสินค้าส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งอาศัยการเจรจาให้สิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสำหรับสินค้ามีแหล่งกำเนิดภายในประเทศกว่า 60 รายการ ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 สินค้าส่งออกของกัมพูชาที่สำคัญคือสินค้าเกษตรกรรม เช่น ยางพารา ข้าวเปลือก และข้าวโพด ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญจากเวียดนามประกอบด้วยเครื่องบริโภค เครื่อง จักรกล เสื้อผ้าสำเร็จรูป และวัตถุดิบการผลิต ในจำนวนนี้มีสินค้า 13 รายการจากเวียดนามได้รับประโยชน์จากพิกัดอัตราภาษีศุลกากร 0% เมื่อนำเข้าตลาดกัมพูชา

อธิบดีกรมสถิติยังแจ้งให้ทราบถึงสาเหตุการนำเข้าสินค้าเวียดนามที่เพิ่มขึ้นกะทันหัน เป็นเพราะบรรดาสถานประกอบ การประเทศนี้ได้ฉวยโอกาสจากเหตุการณ์พิพาทระหว่างกัมพูชา-ไทย สินค้าตามระบบ ช่องทางนานาชาติ หรือช่องทางหลักระหว่างสองประเทศ ได้ช่วยให้การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างสองประเทศ และการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ของพลเมืองสองฝ่ายรวดเร็วและสะดวก

Kong Putheara กล่าวว่า “โดยรวมแล้วมีหลายเหตุผล เวียดนามได้ฉวยโอกาสส่งออกไปยังกัมพูชา ขณะที่กัมพูชากำลังมีปัญหาชายแดนกับไทย นั่นเป็นโอกาสของเวียดนาม สินค้าเวียดนามก็ส่งไปยังกัมพูชามากมาย เวลานี้นักลงทุนเวียดนามสนใจตลาดกัมพูชาและเข้าลงทุน ในกัมพูชา นั่นก็เป็นจุดประสงค์ของภูมิภาค เป็นเศรษฐกิจภูมิภาค หมายความว่าประเทศใดรวยเป็นต้องช่วยประเทศจน รัฐบาลต้องส่งเสริมนักลงทุนของประเทศนั้น เพื่อให้ลงทุนในประเทศยากจนในภูมิภาค”

เกี่ยวกับความร่วมมือการค้า กัมพูชา-เวียดนามได้ก่อตั้งเขตเศรษฐกิจช่องทางบนแนวชายแดนด้วยกัน โดยมีการ ก่อตั้งตลาดชายแดนหลายแห่ง สร้างความสะดวกให้พลเมือง สถานประกอบการในบริเวณชายแดนและภายในประเทศในการค้าขายสินค้า จนถึงเวลานี้ยังไม่มีข่าวว่ามีปัญหาขัดแย้งใดๆ ระหว่างประชาชนกัมพูชาและคนเวียดนามที่เขตตลาดชาย แดน นอกจากเรื่องบริษัทเวียดนาม บางบริษัทถูกประท้วงเกี่ยวกับการเช่าที่ดินประชาชนที่บริเวณชายแดนเพื่อทำนาและการเพาะปลูก

(รายละเอียดของ “เขตเศรษฐกิจช่องทาง” อ่านได้ในล้อมกรอบ)

Kang Chandararot หัวหน้าสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจกัมพูชา ประเมินว่าได้มีการปรับปรุงระบบคมนาคม โดยรัฐบาลของสองประเทศให้ความสนใจ ลงทุนระบบช่องทางชายแดน มีการก่อตั้งธนาคารพัฒนาของเวียดนาม ซึ่งได้สร้างความสะดวกให้กับบรรดาสถานประกอบการในการขยายการลงทุน

เรื่องนี้ทำให้ประชาชนไม่อาจปฏิเสธ การใช้สินค้าเวียดนาม เพราะพวกเขาสามารถจัดหาสินค้าได้รวดเร็วตามความต้องการของตลาดและมีราคาที่เหมาะสม

เพิ่มระดับการลงทุน

ตามการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าสถาบันวิจัยเศรษฐกิจกัมพูชา การที่แหล่งลงทุนจากเวียดนามมีเพิ่มขึ้น ก็มีส่วนในการเติบโตทางด้านดัชนีส่งออกของสองประเทศ เรื่องนี้ก็สร้างความสะดวกให้กับเศรษฐกิจของกัมพูชา เพราะสถานประกอบ การในโลกจะเชื่อมั่นในเศรษฐกิจกัมพูชา

อย่างไรก็ดี เขาประเมินว่าประชาชน กัมพูชายังคงสามารถเปลี่ยนแปลงจุดยืนภายหลัง หมายความว่าพวกเขาจะเริ่มกลับ มาใช้สินค้าไทย หลังจากได้มีการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชา-ไทย

เนื่องจากสถานการณ์ชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยยังไม่สงบ รัฐมนตรีพาณิชย์กัมพูชาได้ตัดสินใจเลื่อนการจัดงานนิทรรศการการค้าไทยเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

กัมพูชาไม่สามารถรับประกันการตอบสนองนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์ของไทยได้ หลังจากไทยประกาศหยุดส่งออก เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เข้ากัมพูชา กัมพูชาให้เหตุผลว่าในช่วงเวลามีการพิพาท กัน ก็ไม่ควรจะโฆษณาผลิตภัณฑ์ของไทย แต่ในการเจรจากับนายกรัฐมนตรีหญิงของไทยที่เพิ่งผ่านมา ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเริ่มกระตุ้นให้เปิดช่องทางชำระภาษี ศุลกากรและแลกเปลี่ยนสินค้าเพิ่มขึ้นและฮุน เซนไม่อนุญาตให้หนังสือพิมพ์ลงข่าว อ่อนไหวกระทบถึงความสัมพันธ์สองประเทศ

Son Chhay สมาชิกรัฐสภาจากพรรค Sam Rainsy ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในกัมพูชา ได้ประเมินคล้ายกับหัวหน้าสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจ เขากล่าวว่าเนื่องจากนโยบายเปิดเผยของรัฐบาล ไม่สนใจช่วยเหลือนักธุรกิจขนาดเล็กภายในประเทศและเชิดชูคุณค่าผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ทำให้บรรดาผู้ผลิตไม่มีความสามารถแข่งขันในตลาด จนถึงเวลานี้ทั้งพืชผักผลไม้ ยากำจัดแมลงศัตรูพืช ต่างก็นำเข้าจากเวียดนาม

Son Chhay กล่าวว่ามูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศเพื่อนบ้านยังคงต่ำ อาจจะไม่ถึง 10% ของมูลค่าการ นำเข้าสินค้าจากเวียดนามและไทย และรัฐมนตรีพาณิชย์ยังกล่าวว่าจะขาดดุลการ ค้ากับเวียดนามในปี 2554 ต่อไปอีก

กังวลสินค้าไทย

ส่วนประธานสมาคมธุรกิจชาวเวียด นามในกัมพูชา เหงียน วัน ดิ่ญ กล่าวว่า กิจกรรมส่งเสริมการลงทุนนำสินค้าเวียดนาม เข้าตลาดกัมพูชา กำลังมีผลทางบวก

นอกจากตลาดกัมพูชา เวียดนามยังขยายการลงทุนเข้าตลาดลาวด้านการเพาะปลูกยางพารา เหมืองแร่ และพลังงาน

ดิ่ญประเมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าเวียดนามที่ตลาดกัมพูชาว่า “โดยภาพรวม สินค้าของเราราคาต่ำ ผู้บริโภคก็ยอมรับราคาและคุณภาพได้ พวกเขาได้ใช้และพวก เขาก็คุ้นเคยแล้ว แต่สินค้าของเราเปรียบเทียบกับสินค้าไทยในราคาใกล้เคียงกัน เราก็แข่งขันกับสินค้าไทยยาก”

ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์เศรษฐกิจกัมพูชา Ou Virak มีการประเมิน ว่าสินค้าเวียดนามแทรกอยู่ในตลาดกัมพูชา ได้ เพราะกัมพูชาและเวียดนามได้เคลียร์ภาษีศุลกากรหลายช่องทางนานาชาติ และสินค้าเวียดนามกำลังถูกนำเข้าไปยังประเทศ นี้ได้อย่างเสรี

เขากล่าวว่าถ้ากัมพูชาเปิดเพิ่มหลาย ช่องทางกับไทย ประเทศต่างๆ ในกลุ่ม ASEAN ตกลงเห็นด้วยกับการให้สิทธิพิเศษ ภาษีศุลกากรในปี 2558 สินค้าเวียดนามก็ต้องทนรับการแข่งขันอย่างหนัก

Ou Virak อธิบายเพิ่มเติมว่า สินค้าไทยมีราคาสูงกว่าสินค้าเวียดนาม แต่ประชาชนยังคงเชื่อถือ เหตุผลคือมีคุณภาพ สินค้ารับประกันชัดเจน ปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นพิเศษคือมาตรฐานทางเทคนิคเหมาะสมกับการใช้ตามวัตถุประสงค์

Ou Virak ยังกล่าวอีกว่าผู้บริโภคสินค้าเวียดนามจะค่อยๆ ลดลง หลังจากผลิตภัณฑ์ไทยเริ่มกลับมาตลาดกัมพูชา

ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์เศรษฐกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า เวียดนามอาจจะส่งออกสินค้าของตนเข้าตลาดประเทศต่างๆ ที่ยอมรับแรงกดดันจากรัฐบาลเวียดนาม เช่น กัมพูชาและลาว เกี่ยวกับการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยากำจัดแมลงศัตรูพืช ประชาชนก็จะเลือกผลิตภัณฑ์เวียดนาม ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ด้านโรงแรม การท่องเที่ยว สาธารณสุข พวกเขาเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงกว่า

เศรษฐกิจกัมพูชาได้เติบโตขึ้น 9% จากหนึ่งทศวรรษผ่านมา

ขอบเขตที่พัฒนาอย่างเข้มแข็งและกำลังนำหน้าในประเทศนี้ ประกอบด้วย แขนงงานตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องประดับ การท่องเที่ยว และเกษตรกรรม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us