Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2554
เขตเศรษฐกิจเฉพาะ “นาคราชนคร” โอกาสที่มาหลังวิกฤติ             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
www resources

AAC Green City Laos Homepage

   
search resources

Real Estate
Greater Mekong Subregion
สิชา สิงห์สมบุญ
เอเอซี กรีนซิตี้ ลาว




“นาคราชนคร” โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอยู่ในทำเลที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของ GMS ได้เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้ง และเป็นจุดเปลี่ยนซึ่งทำให้โครงการนี้มีความโดดเด่นขึ้น หลังจากต้องเงียบเหงามาเกือบ 2 ปี

“นาคราชนคร” โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ที่บ้านดอนไข่นก เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ตรงข้ามกับบ้านดอนมหาวัณ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทเอเอซี กรีน ซิตี้ บริษัทร่วมทุนระหว่างนักลงทุนไทยและเกาหลี เคยตก เป็นข่าวใหญ่เมื่อเกือบ 2 ปีก่อน

เนื่องจากหน่วยงานซึ่งเป็นตัวแทนทั้งของรัฐบาล สปป.ลาว และรัฐบาลไทย ได้วางแนวก่อสร้างถนนเมื่อลงจากสะพานมิตรภาพฯ เพื่อไปเชื่อมต่อกับเส้นทางสาย R3a พาดผ่านกลาง พื้นที่ของโครงการนาคราชนครพอดี นอกจากนี้ ยังวางผังให้ริมถนนสายนี้ ต้องมีการก่อสร้างอาคารตรวจคนเข้าเมืองและสำนักงานศุลกากร ตรงช่วงลงจากสะพานอีกด้วย

ส่งผลให้บริษัทเอเอซี กรีน ซิตี้ ต้องถูกหั่นพื้นที่จากเดิมที่ได้รับสัมปทานมากว่า 200 เฮกตาร์ เหลือเพียง 100 กว่าเฮกตาร์ เท่านั้น (1 เฮกตาร์เท่ากับ 6.25 ไร่)

(อ่าน “นาคราชนคร โครงการเชื่อม สัมพันธ์ 3 ชาติที่ยังต้องเผชิญกับอุปสรรค” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนมีนาคม 2553 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

ปัจจุบันการก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2553 ต้องประสบกับปัญหาเรื่องการเจาะเสาเข็มเพื่อวางตอม่อสะพานช่วงกลางลำน้ำโขง ส่งผลให้ต้องล่าช้าออกไปอีกประมาณ 1 ปี จากกำหนดการเดิมที่คาดว่าจะเปิดใช้ได้ในปลายปีหน้า (2555)

(อ่าน “เมื่อเทคโนโลยี “จีน” ต้องมา ตายน้ำตื้น” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนสิงหาคม 2554 หรือใน www.goto manager.com ประกอบ)

ทำให้การก่อสร้างถนนจากสะพานที่ต้องผ่ากลางพื้นที่โครงการ “นาคราชนคร” ต้องล่าช้าตามไปด้วย เพราะยังไม่สามารถ กำหนดแนวถนนที่ชัดเจนได้

บริษัท เอเอซี กรีน ซิตี้ จำเป็นต้อง ชะลองานก่อสร้างบางส่วนเอาไว้ แม้ว่าจะทุ่มเงินทุนลงมือก่อสร้างงานบางส่วนไปแล้ว เช่น โครงการโรงแรมขนาด 120 ห้องริมแม่น้ำโขง เป็นต้น

ท่ามกลางปัญหาที่เป็นเสมือนวิกฤติ ย่อมมีโอกาสปรากฏขึ้น

ตลอดเวลาเกือบ 2 ปี สิชา สิงห์สมบุญ ประธานกรรมการ บริษัทเอเอซี กรีน ซิตี้ ได้พยายามเข้าพบกับผู้หลักผู้ใหญ่ ในรัฐบาล สปป.ลาวหลายคน เพื่อหาทาง ออกให้กับโครงการนาคราชนคร เพราะถือ เป็นการให้สัมปทานซ้อนสัมปทานที่ผู้อื่นได้รับไปแล้ว

ในที่สุดรัฐบาล สปป.ลาวก็ได้พบทางออกให้กับโครงการนาคราชนคร

ทางออกแรกคือ รัฐบาลมีดำริที่จะหาพื้นที่ใหม่มาชดเชยให้กับบริษัทเอเอซี กรีน ซิตี้ ในจำนวนเท่าที่ถูกตัดออกไปจากการก่อสร้างถนน แต่อาจจะไม่ใช่พื้นที่ซึ่งติดกับโครงการนาคราชนคร

แต่ทางออกที่ 2 นั้นกลับมีความสำคัญกับโครงการนาคราชนครมากกว่า

นั่นคือการอนุมัติในเบื้องต้นให้โครง การนี้เป็น “เขตเศรษฐกิจเฉพาะ” สามารถ วางผังการพัฒนา รวมถึงการทำสัญญาใดๆ กับนิติบุคคลอื่นๆ ภายในโครงการโดยตัวโครงการเองได้

หมายถึงเป็นพื้นที่ที่จะใช้กฎหมาย พิเศษเข้ามาควบคุม บริหารพื้นที่ให้เกิดความคล่องตัว มีกฎระเบียบ มาตรการทางภาษี ฯลฯ ที่เอื้อต่อการค้า การลงทุน ลักษณะเดียวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วใน สปป.ลาว

เพียงแต่เงื่อนไขของการประกาศเขต เศรษฐกิจพิเศษของ สปป.ลาว จะต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1,000 เฮกตาร์ขึ้นไป แต่พื้นที่สัมปทานของโครงการนาคราชนคร มีเหลืออยู่เพียง 100 กว่าเฮกตาร์ ทำให้ต้อง พิจารณาประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจเฉพาะแทน

ปัจจุบัน สปป.ลาวมีเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เปิดดำเนินการแล้ว 3 แห่ง คือเขต เศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโนที่แขวงสะหวัน นะเขต ตรงข้าม จ.มุกดาหาร ดำเนินการโดยกลุ่มทุนจากมาเลเซีย เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนคำ ที่เมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา พื้นที่ชายแดนลาว-จีน และเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ตรงข้าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่ง 2 แห่งหลังนี้ดำเนินการโดยกลุ่มทุนจากสาธารณ-รัฐประชาชนจีน

นอกจากนี้ยังมีเขตเศรษฐกิจพิเศษที่อยู่ระหว่างการจัดตั้ง คือเขตเศรษฐกิจ พิเศษที่แขวงคำม่วน ตรงข้าม จ.นครพนม คาดว่าจะเริ่มได้ภายหลังเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ในปลายปีนี้

รวมถึงยังมีแผนที่จะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่คอนพะเพ็ง แขวงจัมปาสัก ทางภาคใต้ และในแขวงหัวพัน ทางภาคเหนือขึ้นอีก 2 แห่งด้วย

การประกาศให้โครงการนาคราชนครเป็นเขตเศรษฐกิจเฉพาะ จึงเท่ากับเป็นเขตเศรษฐกิจเฉพาะแห่งแรกที่ดำเนินการโดยกลุ่มทุนชาวไทย ภายใต้อายุสัมปทานนานถึง 40 ปี ต่ออายุได้อีก 40 ปี

เพียงแต่นาคราชนครจำเป็นต้องปรับรูปแบบของโครงการ จากเดิมที่ได้รับสัมปทานในการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว โดยเปลี่ยนเป็นการพัฒนาเพื่อการพาณิชย์แทน

“เดิมเราคิดว่านาคราชนคร จะเป็นสนามกอล์ฟแห่งเดียวในโลกที่อยู่ชิดริมแม่น้ำโขง แต่เมื่อมีการตัดแนวถนนเข้ามา เราก็เลยคิดว่าสนามกอล์ฟคงไม่เหมาะสมแล้ว ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่” สิชาบอกกับผู้จัดการ 360 ํ

รูปแบบโครงการใหม่ของนาคราชนคร ซึ่งเดิมคาดว่าจะเปิดเป็นสนามกอล์ฟ และมีโรงแรม 2 แห่งอยู่ริมแม่น้ำโขง และบูติกโฮเต็ลบนภูเขาได้ถูกปรับเปลี่ยนใหม่ ให้เป็นโครงการเพื่อการพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ โดยก่อสร้างเป็นศูนย์รวมร้านค้าจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี จะมีร้านค้าปลอด ภาษีประมาณ 200-300 ยูนิต ขนาดยูนิตละ 30-40 ตารางเมตร

ส่วนโรงแรมในโครงการยังคงเหลือโรงแรมขนาด 120 ห้องบริเวณริมแม่น้ำโขง เอาไว้ แต่บูติกโฮเต็ลบนภูเขาซึ่งเริ่มก่อสร้าง อาจเปลี่ยนเป็นอาคารสำนักงานแทน

กลุ่มเป้าหมายของผู้ที่จะมาเปิดร้าน ค้าปลอดภาษีที่นี่ นอกจากกลุ่มผู้ประกอบการใน 6 ประเทศ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) แล้ว ทางโครงการยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการจากจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และอินโดนีเซียให้มาร่วมเปิดร้านในนี้ด้วย

ร้านค้าปลอดภาษีของที่นี่ จะไม่เป็นเพียง GMS Duty-free Shops เท่านั้น แต่จะเป็น International GMS Duty-free” สิชาบอก

เบื้องต้นได้มีผู้แสดงเจตจำนงที่จะเข้ามาเปิดร้านที่นี่แล้ว โดยเป็นร้าน OTOP จากไทยไม่น้อยกว่า 30 ร้าน จากกัมพูชา 30 ร้าน เวียดนาม 30 ร้าน จีนอีกประมาณ 200 ร้าน ส่วนผู้ประกอบการจากญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย อยู่ระหว่างการเจรจา

ในส่วนของศูนย์รวมร้านค้าปลอดภาษีนั้น คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างได้ประมาณปลายปีนี้

ส่วนรูปแบบอื่นภายในโครงการที่เคยวางแผนไว้ตั้งแต่แรก บางส่วนยังคงอยู่ แต่บางส่วนอาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปตาม ความเหมาะสม เช่น ศูนย์ขนถ่ายสินค้าจากรถขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ รวมถึงสถาบันการศึกษานานาชาติ และแหล่งบันเทิงและสันทนาการภายในโครงการ ฯลฯ

การได้รับอนุมัติให้เป็นเขตเศรษฐกิจ เฉพาะ ทำให้โครงการนาคราชนครได้กลาย เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของ GMS เพราะถือเป็นประตูทางบกด่านแรกที่จีนสามารถเข้ามาเชื่อมต่อกับประชาคมอาเซียนได้ ในทางกลับกัน ก็เป็นประตูทางบกสำหรับสินค้าในอาเซียนที่สามารถเดินทางเข้าไปในตลาดจีน

ประเด็นนี้ทำให้โครงการนาคราชนครได้รับความสนใจจากองค์การสหประชา ชาติ (UN) ขึ้นมาทันที

ซึ่งเป็นโอกาสที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากต้องเผชิญกับวิกฤติจากการถูกหั่นพื้นที่โครงการเมื่อเกือบ 2 ปีก่อน

ปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทเอเอซี กรีนซิตี้ได้รับโอกาสให้นำโครงการ นาคราชนครไปนำเสนอยังสำนักงานใหญ่ UN ถือเป็นโครงการของภาคเอกชนรายแรกของอาเซียนที่มีโอกาสเช่นนี้

สิชาบอกว่า UN เริ่มให้ ความสำคัญอย่างเป็นรูปธรรมกับการพัฒนาพื้นที่ในแถบนี้ เนื่องจากเป็น Hub ที่แท้จริงระหว่างจีน อาเซียน และเอเชีย ถือเป็น Gate Way ของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง GMS ไม่ว่าจะเป็นตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ หรือตะวันออก-ตะวันตก

ผลการนำเสนอโครงการดังกล่าว UN มีดำริที่จะให้การสนับสนุนโครงการนาคราชนครผ่านทางธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) โดยให้ ADB สามารถเข้ามาให้การสนับสนุนทางการเงินกับโครงการนาคราชนคร ซึ่งเป็นโครงการของภาคเอกชนได้ จากเดิมที่โดยปกติ โครงการซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงิน จาก ADB ส่วนใหญ่ต้องเป็นโครงการของภาครัฐ

โอกาสที่วิ่งเข้ามาหาโครงการนาคราชนครเช่นนี้ ย่อมทำให้โครงการนี้ มีความคล่องตัวขึ้น ทั้งด้านรูปแบบการพัฒนา ตลอดจนด้านการเงิน

ขณะนี้นาคราชนครรอเพียงอย่างเดียว คือแนวถนนที่ชัดเจนจากสะพานมิตรภาพฯ ที่จะไปยังเส้นทางสาย R3a จะ ออกมาเมื่อใด

นาคราชนครก็จะเริ่มเดินหน้าอย่างเต็มตัวได้อีกครั้ง หลังจากต้องชะลอการก่อสร้างส่วนใหญ่มาเกือบ 2 ปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us