Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2554
แม่สอด-ย่างกุ้ง Border Trade Route             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

Commercial and business
International
Myanmar




จากวันที่ 18 กรกฎาคม 2553 จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 1 ปีแล้วที่ทางการพม่ามีคำสั่งปิดด่านเมียวดี ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ที่ถือเป็นช่องทางการค้าใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ เคยมีมูลค่าการค้าเกิดขึ้นปีละกว่า 20,000 ล้านบาท

แม้ว่าที่ผ่านมา กระบวนการค้าผ่านพรมแดนแม่สอด-เมียวดียังคงขับเคลื่อนผ่านท่าข้ามริมแม่น้ำเมยตลอดแนวได้ สินค้าไทยหลากหลายประเภทยังคงถูกลำเลียงผ่านถนนสายแม่สอด-เมียวดี-กอกะเร็ก-ท่าตอน-ย่างกุ้ง ก่อนกระจายไปเมืองต่างๆ ทั่วประเทศได้อยู่ก็ตาม

แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงสูงขึ้นและบางส่วนหันไปส่งสินค้าเข้าพม่าผ่านด่านฯ ระนอง-เกาะสอง และ อ.แม่สาย จ.เชียงราย-ท่าขี้เหล็กของพม่าแทนก็ตาม

“โดยข้อเท็จจริงแล้ว เส้นทางแม่สอด-ย่างกุ้งเป็นช่องทาง ขนส่งสินค้าที่ใกล้ที่สุดสำหรับสินค้าไทยที่จะส่งเข้าพม่า เพราะมีระยะทางแค่ 450 กว่า กม.เท่านั้น และสามารถพัฒนาเป็น Trade Route ระหว่างประเทศได้” บรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้า จ.ตาก กล่าว

โดยภูมิศาสตร์ของ “แม่สอด-เมียวดี” ถือเป็นเมืองคู่แฝด ประตูการค้า-การท่องเที่ยวที่สำคัญบนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของประชาคมอาเซียน

ในฝั่งเมียวดี มีการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมารองรับแล้ว ขณะที่โครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด จ.ตาก ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสายลวด และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะบางส่วน ตามนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนินการโดยกระทรวงพาณิชย์ ก็คืบหน้ามากกว่า 80%

ขณะที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอดแล้วเสร็จ และผ่านการกลั่นกรอง พร้อมเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติหลักการก่อนที่จะให้มีการทำ MASTER PLAN และวาง LAY OUT ในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ จำนวน 5,603 ไร่ 56 งาน ให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เมื่อมีการออกแบบและวาง MASTER PLAN ทั้งหมด ก็จะไปอยู่ในขั้นตอนของการขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินงาน พร้อมกันนั้น กรมทางหลวงก็ได้ออกแบบสะพานมิตรภาพไทย-พม่าข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 ไว้แล้ว รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็จะเข้ามาดูแลด้านสิ่งแวดล้อม และกระทรวงที่เกี่ยวข้องก็จะเข้ามาดูแลระบบสาธารณูปโภค เพื่อให้แม่สอดเป็นโมเดลเมืองเศรษฐกิจชายแดน

(อ่าน “แม่สอดกำลังเปลี่ยนแปลง” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2553 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

เมื่อวันที่ 19 กันยายน หอการค้า จ.ตาก ทำหนังสือที่ หกค.มส.253/2554, 254/2554 ส่งถึงยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณาแก้ไขปัญหาการปิดด่านเมียวดี-แม่สอด พร้อมกับดำเนินการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด เพิ่มศักยภาพของประตูการค้าของไทยในอนาคตโดยเร็วต่อไป

ล่าสุดวันที่ 5 ตุลาคม ระหว่างที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ มีการหยิบยกปัญหาเรื่องการปิดด่านเมียวดีเข้าหารือร่วมกับพล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีของพม่าพร้อมคณะ ณ กรุงเนปิดอ เมืองหลวงใหม่ของพม่าด้วยเช่นกัน

Wah Wah Htun ประธานสภาธุรกิจสตรีแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Myamar Woman Entrepreneur Association) ยืนยันกับผู้จัดการ 360 ํ เช่นกันว่า รัฐสภาใหม่ของพม่าให้ความสำคัญต่อเส้นทางยุทธศาสตร์สายนี้มาก มีการหยิบยกเรื่องการเปิดด่านเมียวดีขึ้นมาพูดคุยกันแล้ว เชื่อว่าอีกไม่นานช่องทางการค้านี้จะได้รับการเปิดขึ้นอีกครั้งแน่นอน

เมื่อผนวกกับแผนการปรับปรุงถนนช่วงเชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก (ช่วงต่อจากถนนเมียวดี) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย-พม่า ลงนามในข้อตกลงร่วมกันแล้ว ทำให้การเดินทางผ่านแม่สอด-เมียวดี-ท่าตอน-ย่างกุ้ง ในอนาคตสะดวกยิ่งขึ้น โดยใช้เวลาเพียง 6-7 ชั่วโมงเท่านั้น

แน่นอนว่า การขนส่งสินค้าระหว่างกันก็จะรวดเร็วตามไปด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us