Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2554
มิงกาลาบา ขิ่มย่า มิงกาลาบา เชี้ยน             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

Myanmar




เวลา 17.00-20.00 น. ของทุกวันระหว่างวันที่ 20-30 กรกฎาคม ห้องประชุมภายในสำนักงานหอการค้า จ.ตาก อ.แม่สอด ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นห้องเรียนภาษาพม่าชั่วคราว สำหรับ 30 ผู้ประกอบการ SMEs รุ่นใหม่ในแม่สอด

แต่ละวัน ทายาทเถ้าแก่ชายแดนที่หลายคนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี-โทจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ต้องเข้ามานั่งเรียนรู้ภาษาพม่า ตามตำรา “ภาษาพม่าเบื้องต้น” ที่ศูนย์เมียนมาร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด รวบรวมขึ้นทั้งสิ้น 44 บทเรียน โดยมีวีระ วนาเจริญเขต อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, เหม่โซ อาจารย์พิเศษชาวพม่าที่ได้เข้ามาสอนภาษาพม่าให้กับสถาบันการศึกษาหลายแห่ง

เริ่มตั้งแต่คำที่ใช้ในการทักทาย คำพื้นฐานอย่าง “มิงกาลาบา ขิ่มยา-สวัสดีครับ มิงกาลาบา เชี้ยน หรือฉิน-สวัสดีค่ะ” ไปจนถึงการทักทาย การสนทนาอย่าง “โจ่โส่บ่าแด่/เชี้ยนหรือฉิน-ขิ่มยา” ที่แปลว่ายินดีต้อนรับ “เจซูติ่นบ่าแด่” ที่หมายถึงขอบคุณ “เหน่ก๊องล้า-สบายดี” “ถะมีงซาปี๊ปี่ล้า” ที่แปลว่ากินข้าวแล้วหรือยัง ฯลฯ

ตลอดจนคำเรียกแบบเครือญาติของพม่า เช่น อะโพ-ปู่/ตา, อะพวา-ย่า/ยาย, อะเพ-พ่อ, อะเม-แม่, อู-ลุง, อูเล-น้าชาย, ดอดอ-ป้า, ดอเล-น้าหญิง, อะโพ-พี่ชาย, อะมะ-พี่สาว เป็นต้น

หรือถ้าคู่เจรจาสนทนาเป็นครูอาจารย์ ก็ควรจะใช้คำว่า สะยา-ครูชาย หรือสะยามะ-ครูหญิง และถ้าเป็นครูที่มีอายุหน่อยก็เปลี่ยนเป็นสะยาจี หรือพ่อครู และสะยามะจี หรือแม่ครู

เนื่องจากส่วนใหญ่คนพม่าจะทักทายด้วยคำว่า “มิงกาลาบา” เฉพาะกับคนที่ไม่มักคุ้นและคนต่างประเทศเท่านั้น แต่สำหรับคนที่สนิทสนมกันแล้วก็จะทักทายกันด้วยชื่อพร้อมถาม สารทุกข์สุกดิบ เพื่อเพิ่มความสนิทสนมกันมากกว่า ขณะที่คำแทนตัวเอง สำหรับผู้ชายก็ต้องใช้คำว่าจุนดอ ขณะที่ผู้หญิงก็ต้องใช้คำว่าจุนมะ

ในบทเรียนภาษาพม่าเบื้องต้นที่พวกเขาต้องเรียนนี้ ยังหมายรวมไปถึงหมวดคำถามเรื่องความต้องการ เช่น บ่าปยิ้ดซีโหล่ฉิ่นบ่าตะแล ที่หมายถึงการถามคู่สนทนาว่า อยากได้ของอะไร เมื่อมีการตอบว่า เลียดซีดปยิ้ดซีโหล่ฉิ่นบ่าแด่ หมายถึงการตอบว่าอยากได้เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

หมวดการนัดหมาย หมวดคำศัพท์อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หมวดอาหาร เครื่องดื่ม ตลอดจนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของพม่า ซึ่งสามารถปรับใช้ในการเจรจาธุรกิจ

นอกจากนี้พวกเขายังต้องเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ “วิถีพม่าหรือเมียนมาร์” ไล่กันตั้งแต่อาหารการกิน ขนม นม เนย ความนิยม/ไม่นิยมบริโภคของอย่างใดอย่างหนึ่งของพม่า เพื่อเรียนรู้เป็นปฐมบทก่อนที่จะก่อนเดินทางเข้าเจรจาจับคู่ธุรกิจกับผู้นำเข้าพม่า ณ กรุงย่างกุ้ง

ผู้ประกอบการ SMEs แม่สอดรุ่นใหม่เหล่านี้ยังต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของพม่า เช่น คนพม่านิยมดื่มน้ำชาร้อนที่เรียกกันว่า ละแพะแหย่จาง หรือเหย่-นเวจาง แบบดื่มกันได้ทั้งวันทั้งคืน เพราะเชื่อว่ามีประโยชน์ แก้เลี่ยน แก้กระหาย ช่วยขับเสลด ไม่นิยมดื่มน้ำเย็นกันมากนัก

นอกจากนี้คนพม่ายังนิยมสูบบุหรี่ ที่ภาษาพม่าเรียกว่า เซเละ หรือยามวน และหมาก หรือกวาน หรือกูน กันมาก ซึ่งหากเดินตามท้องถนนทุกมุมเมืองทุกย่านก็จะพบซุ้มหมากคำ หรือกูนหย่า และเซเละ รวมถึงมีพ่อค้าเดินเร่ขายตามถนน ย่านชุมชนทั่วไป เป็นต้น

“เรื่องราวเหล่านี้ เราต้องเรียนรู้ ต้องศึกษาก่อนที่จะเข้าไปร่วมทำธุรกิจกับเขา คนพม่ารู้ภาษาไทยกันเยอะ เขาดูทีวีไทย แต่คนไทยรู้ภาษาพม่า รู้เรื่องพม่ากันน้อยมาก ส่วนใหญ่จะรู้เฉพาะที่สอนในตำราเรียนประวัติศาสตร์ ซึ่งของไทยและพม่า อาจเขียนแตกต่างกัน หรือรู้ผ่านสื่อตะวันตก ที่บางครั้งเขานำเสนออย่างมีเป้าหมาย” บรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้า จ.ตาก กล่าว

การเรียนรู้นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะพม่าเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงเพื่อนบ้านในอาเซียนที่กำลังจะรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะถึงนี้ด้วย

ด้วยจนถึงวันนี้ ดูเหมือนว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มอาเซียนของคนไทย โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่อง “ภาษา” จะมีน้อยกว่าน้อย

ซึ่งเลี่ยงไม่พ้นที่จะมีผลต่อการรับมือกับประชาคมอาเซียนแน่นอน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us