Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2529
กองเรือดัตช์เยือนไทยนโยบาย GUN BOAT DIPLOMACY ยุคใหม่             
 


   
search resources

International
Marketing




ในยุคที่ประเทศตะวันตกตระเวนล่าอาณานิคมทั่วโลก วิธีเริ่มต้นมักจะใช้การติดต่อค้าขายกับชนเผ่าพื้นเมือง ควบคู่ไปกับการขอเผยแพร่ศาสนาและค่อยใช้วิธีการต่าง ๆ นานา เพื่อหาทางปกครองดินแดนใหม่ในที่สุด

กรณีที่ผู้ปกครองพื้นเมืองต้อนรับด้วยความเป็นมิตรก็ไม่สู้มีปัญหา แต่หากไม่ต้อนรับก็ต้องใช้การบังคับโดยอาศัยแสนยานุภาพของกองทัพเรือ เนื่องจากบรรดานักล่าอาณานิคมไม่ว่าจะเป็นสเปน ฮอลแลนด์ โปรตุเกส อังกฤษ ล้วนแต่เป็นเจ้าทะเลในยุคนั้นทั้งสิ้น ก็เลยมีการบัญญัติศัพท์การใช้กำลังบังคับด้วยกำลังทางทะเลนี้ว่านโยบาย GUN BOAT DIPLOMACY

การใช้นโยบาย GUN BOAT DIPLOMACY ที่โด่งดังที่สุดก็ในรายของกองเรือสหรัฐฯ ที่มีพลเรือตรีจัตวาแมทธิว ซี. เปรรี่ ใช้เรือกลไฟแล่นเข้าไปในอ่าวเมืองเอโดะของญี่ปุ่นโดยพลการ และยื่นข้อเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเปิดการค้ากับสหรัฐฯ ในปี 2396 ทำให้ญี่ปุ่นต้องเปิดประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรกกับชาติตะวันตก

และเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2529 ที่ผ่านมา กองเรือรบของประเทศเนเธอร์แลนด์ (ฮอลแลนด์หรือดัตช์) จำนวน 4 ลำ ก็ได้แล่นเข้ามาเทียบท่าเรือคลองเตยตรงหน้าที่ทำการการท่าเรือแห่งประเทศไทย แต่การมาครั้งนี้ต่างกันราวฟ้ากับดินเมื่อเทียบกับการแล่นเรือเข้าญี่ปุ่นของพลเรือจัตวาเปรรี่ แม้จะมีจุดมุ่งหมายทางด้านการค้าเหมือนกัน

กองเรือรบเนเธอร์แลนด์ครั้งนี้ประกอบไปด้วยเรือธงเดอรุยเตอร์ เรือแวนคินส์เบอร์เจน เรือแจนแวนเบรเคิลและเรือคาลเลนเลิร์ต ซึ่งเป็นเรือรบขนาดกลางทั้งสิ้น และจอดเทียบท่าเรือคลองเตยทั้งหมด 4 วัน ก่อนที่จะเดินทางไปยังเมืองท่าเซี่ยงไฮ้ นางาซากิ ปูซาน ฮ่องกง สิงคโปร์ ปีนัง จาการ์ตา สุราบายา และเซเชลล์ ตามลำดับ

พลเรือตรีแจน แวน เรนีซ แถลงต่อสื่อมวลชนของไทยเมื่อเวลา 15.30 น.ของวันที่ 1 มีนาคมว่า การปฏิบัติการของกองเรือรบเนเธอร์แลนด์ครั้งนี้ใช้ชื่อว่า "แฟร์วินด์'86 โดยเป็นการกำหนดโครงการร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการค้าต่างประเทศ

"นอกเหนือจากการแล่นเรือเพื่ออวดธงของกองเรือประเทศของเราแล้ว เรายังต้องการให้ประเทศต่าง ๆ ได้เห็นคุณภาพของอุตสาหกรรมนาวีของชาวดัตช์ ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้านการต่อเรือ การออกแบบ และซ่อมเรือ ความเชี่ยวชาญด้านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทางทะเลซึ่งจะมีบริษัทต่าง ๆ จะมาจัดนิทรรศการให้ชมบนเรือแวนคินส์เบอร์เจน" พอเรือตรีแจน แวน เรนีซ กล่าว ตามหมายกำหนดการ พอเรือตรี แวน เรนีซ มีกำหนดการเข้าพบพลเรือเอกนิพนธ์ ศิริธร ผู้บัญชาการกองทัพเรือวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม 2529 จึงมีผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการเจรจาเรื่องการซื้อขายอาวุธหรือไม่ ผู้บังคับการกองเรือเนเธอร์แลนด์ตอบว่าจะไม่มีการพูดคุยกันเรื่องนี้อย่างแน่นอน และเรื่องที่คุยกันก็จะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับกองเรือแต่ละฝ่ายเท่านั้น

ที่น่าสะท้อนใจก็คือเขาช่างอบรมทหารของเขาได้ดีเหลือเกิน ทำหน้าที่เป็นทหารก็ได้ เป็นเซลส์แมนก็ดี

ประเทศไทยของเราที่ขาดดุลการค้ากับต่างประเทศมหาศาลทุกปี น่าจะมีการพิจารณาหลักสูตรของนายทหารกันใหม่ โดยยึดสโลแกนใหม่ว่า "ยามศึกเรารบ ยามสงบเราค้า" ก็อาจจะมีส่วนช่วยเศรษฐกิจของประเทศได้บ้าง

"ในเรื่องที่เกี่ยวกับการค้าเป็นหน้าที่ของกระทรวงการค้าต่างประเทศ ที่ ฯพณฯ มร. เอฟ.โบลคีสไตน์ รัฐมนตรีว่าการ จะเดินทางมาเปิดนิทรรศการบนเรือในวันที่ 4 มีนาคม ซึ่งในงานนี้จะได้มีการเชิญชวนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลและนักธุรกิจชาวไทยเข้าร่วมชมด้วย"

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ามีหมายกำหนดการที่จะแวะประเทศฟิลิปปินส์หรือไม่ ก็เรียกเสียงหัวเราะครืนใหญ่ทั้งจากเพื่อนผู้สื่อข่าวด้วยกันและเจ้าหน้าที่ประจำเรือ และพลเรือตรี แจน แวน เรนีซ ตอบว่า

"โครงการแฟร์วินด์ ̕86 เป็นโครงการที่มีการเตรียมการล่วงหน้ามามากกว่า 1 ปี ดังนั้นโปรแกรมในการแวะเมืองท่าต่าง ๆ จึงกำหนดไว้แน่นอนแล้ว ข้าพเจ้าจึงไม่มีสิทธิ์ที่เปลี่ยนแปลง และหากมีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงก็คงไม่คิดที่จะแวะฟิลิปปินส์" คำตอบที่เรียกเสียงฮากลับได้ไม่แพ้กัน

"ผู้จัดการ" ตั้งข้อสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า การเดินทางเข้ามาของกองเรือเนเธอร์แลนด์นั้นมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ส่งเสริมการค้าของประเทศตนจริง ๆ ทันทีที่เข้าเทียบท่าเรือคลองเตยตอนเช้า ช่วงบ่ายลูกเรือส่วนใหญ่ก็ช่วยกันติดตั้งหลังคาผ้าใบเตรียมสำหรับการแถลงข่าวและงานจัดนิทรรศการกันจ้าละหวั่น ไม่เหมือนกับกองเรือสหรัฐฯ ที่แวะเข้าที่พัทยาเพื่อให้ลูกเรือได้พักผ่อนหย่อนใจกันสุดเหวี่ยงลูกเดียว

และยิ่งเห็นจุดมุ่งหมายของกองเรือชุดนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นจากหนังสือแนะนำสินค้าและบริษัทผู้ผลิต ที่น่าจะเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังโครงการแฟร์วินด์ ̕86ที่แท้จริง ว่าภารกิจหลักของกองเรือเนเธอร์แลนด์ก็คือการแล่นเรือไปยังเมืองท่าต่าง ๆ ที่คาดหมายว่าจะเป็นตลาดสินค้าแหล่งใหม่ของตน

หนังสือเล่มที่ว่านี้พิมพ์ระบบ 4 สีโดยใช้กระดาษอาร์ตอย่างดีทั้งเล่ม รวมปกด้วยมีจำนวน 56 หน้า ข้างหน้าปกมีโลโกโครงการแฟร์วินด์ ̕86 และมีอักษรพิมพ์ไว้ว่า "ROYAL NETHERLANDS NAVY TAKES INDUSTRY ABOARD" ข้างในตีพิมพ์ชื่อบริษัท ผู้บริหารและลงรูปสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแทบทุกแขนงรวมทั้งสินค้าประเภท "ไฮเทค" และอาวุธสงคราม

สำหรับบริษัทเนเธอร์แลนด์ที่ร่วมในงานแสดงนิทรรศการบนเรือในวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา และพอมีชื่อคุ้นหูคนไทยก็คือบริษัทเชลล์และบริษัทฟิลิปส์ และอีกหลายต่อหลายบริษัท

เมื่อโลกเปลี่ยนไป การค้าระหว่างประเทศก็เปลี่ยนไปรูปแบบของภารกิจของกองเรือรบก็ยังต้องถูกดัดแปลงไปเพื่อตอบสนองเป้าหมายทางการค้า GUN BOAT DIPLOMACY ในวันนี้ จึงต่างกับ GUN BOAT DIPLOMACY ในยุคล่าอาณานิคมอย่างสิ้นเชิง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us