Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2529
ไตโยโกเบเป็นใครมาจากไหน?             
 


   
search resources

Banking
ไตโยโกเบ




ตอบกันสั้น ๆ และกระชับ ไตโยโกเบ คือธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาตั้งสำนักงานที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2526 มีนายโนริอาเกะ ยามากูชิ เป็นผู้จัดการ พิศมร บุญประคอง เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ

ที่ตั้งสำนักงานตัวแทนก็อยู่ชั้นที่ 11 อาคารธนิยะในย่านสีลม

หน้าที่หลักของสำนักงานตัวแทนธนาคารไตโยโกเบนั้นก็คือการดูแลลูกค้าจำนวนราว ๆ 50 ราย ที่ใช้บริการติดต่ออยู่กับธนาคารไตโยโกเบ สาขาสิงคโปร์ ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นกิจการของคนญี่ปุ่น ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยทั้งสิ้น

และพร้อมกับหน้าที่หลักดังกล่าว อีกหน้าที่หนึ่งก็ได้แก่การมองหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ด้วย

เมื่อเข้ามาตั้งสำนักงานตัวแทนได้ปีเศษ ๆ นั้น ไตโยโกเบ ก็ได้พยายามที่จะติดต่อขอซื้อหุ้นบริษัทการเงินหลายแห่ง

"ก็เป็นธรรมดาเพราะการเป็นสำนักงานตัวแทนก็เล่นได้เฉพาะเงินตราต่างประเทศ เขาก็ต้องมองหาบริษัทการเงินบางแห่งที่เขาจะเข้าไปร่วม เพื่อจะได้มีโอกาสเล่นกับเงินบาทได้บ้าง เพราะมีลูกค้าของเขาจำนวนไม่น้อยที่ต้องการเงินบาท..." แบงเกอร์คนหนึ่งวิเคราะห์

เลือกไปเลือกมาผลสุดท้ายก็มาลงที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีธนาคารกรุงศรีอยุธยาของตระกูล "รัตนรักษ์" ถือหุ้นใหญ่ เจรจากันอีกพัก ธนาคารไตโยโกเบก็เข้าไปถือหุ้นในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา 10 เปอร์เซ็นต์

ก็จับมือเซ็นสัญญาร่วมทุนกันไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2528

ช่วงใกล้ ๆ กับที่บริษัทปุ๋ยแห่งชาติติดต่อขอกู้เงินจำนวน 6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากธนาคารไตโยโกเบ สาขาสิงคโปร์ผ่านทางสำนักงานตัวแทนที่กรุงเทพฯ

และกลายเป็นลูกค้าที่มีปัญหาวุ่น ๆ เกี่ยวกับเงินจำนวน 3 ล้านเหรียญงวดที่สอง ซึ่งกว่าจะตกลงกันได้ก็ทำเอาพะอืดพะอมไปตาม ๆ กัน

ผู้จัดการสำนักงานตัวแทนธนาคารไตโยโกเบอย่างนายโนริอาเกะ ยามากูชินั้น ก่อนจะมาประจำที่กรุงเทพฯ เขาเคยผ่านงานมาแล้วหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นในญี่ปุ่น เม็กซิโก หรือแคนาดา ก็เรียกว่าเป็นแบงเกอร์ที่มีประสบการณ์มาเยอะ

ยามากูชิ เคยพูดกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศคนหนึ่งเกือบปีมาแล้วว่า เขาต้องมานั่งศึกษางานอยู่เป็นเดือนด้วยความที่ไม่รู้จักเมืองไทยมาก่อน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ซึ่งเมื่อศึกษาแล้วเขาก็ต้องยอมรับว่า การเป็นแบงเกอร์ที่นี่จะใช้หลักคิดอย่างที่ใช้กันในญี่ปุ่นหรืออีกในหลายประเทศไม่ได้เด็ดขาด

"ในญี่ปุ่นเวลาคุณจะให้ใครกู้เงินคุณจะต้องดูหลายอย่าง และต้องใช้เวลาศึกษาโครงการกันก่อนจะตัดสินใจ แต่คุณจะไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ในเมืองไทย เมืองที่ธุรกิจดี ๆ เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นของครอบครัวที่ต่าง ๆ กันกว่า 40 ครอบครัว คุณจะต้องศึกษาความเป็นมาตลอดจนสายสัมพันธ์ของครอบครัวต่าง ๆ เหล่านี้ มากกว่าการดูบาลานซ์ชีตเสียอีก" ยามากูชิ แสดงทัศนะของเขา

นับว่ายามากูชิก็เริ่มเข้าใจอะไรบ้างแล้ว

และเข้าใจว่าก็คงจะเข้าใจมากขึ้นเมื่อเกิดเรื่องเกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทปุ๋ยแห่งชาติเมื่อปลายปีที่แล้ว

ส่วนว่าจะเข้าใจอย่างไรนั้น ก็คงต้องถามยามากูชิกันเอาเอง

เพราะ "ผู้จัดการ" ก็พยายามถามแล้ว แต่เผอิญยามากูชิไม่อยากพูด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us