Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2529
ปุ๋ยแห่งชาติเจอทีเด็ดผู้บริหารจอมโกง เงินหลายล้านบาทก็เลยกลายเป็น "ปุ๋ย" ไปจริงๆ             
 


   
search resources

ปุ๋ยแห่งชาติ
Agriculture




ปุ๋ยแห่งชาติเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำโครงการใหญ่ระดับหมื่นล้านบาทตามแผนพัฒนาชายฝั่งตะวันออกหรือที่เรียกกันว่า อีสเทิร์นซีบอร์ด" เพื่อส่งผ่านความ "โชติช่วงชัชวาล" จากการค้นพบแก๊สธรรมชาติ ไปยังชาวไร่ชาวนาในรูปแบบปุ๋ยเคมีราคายุติธรรมในปริมาณที่ทำให้หมดความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศอีกต่อไป โครงการปุ๋ยแห่งชาติเป็นโครงการที่มีอุปสรรคอยู่หลายเรื่องมาโดยตลอด ซึ่งประเด็นที่ถกเถียงกันในเฉพาะหน้านี้ก็คือ ควรจะทำโครงการนี้ต่อไปหรือจะหยุด ท่ามกลางกระแสที่สะท้อนถึงความลังเลนี้เอง การทุจริตโดยผู้บริหารบางคนก็เกิดขึ้นในบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ เป็นการทุจริตที่ทำให้เกิดความเสียหายหลายล้านบาทกับบริษัทที่รัฐบาลที่นำเงินภาษีอากรของประชาชนเข้าไปร่วมถือหุ้นอยู่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์

เรื่องของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางธุรกิจของโครงการที่ลงทุนกันเป็นเงินนับหมื่นล้านบาทโครงการนี้

ไม่ใช่เรื่องอุปสรรคที่เกิดจากความเห็นที่ขัดแย้งกันในกลุ่มผู้ถือหุ้น จนเป็นเหตุให้ยังเพิ่มทุนจดทะเบียนไม่ได้

และก็ไม่ใช่หลาย ๆ เรื่องที่มีการพูดถึงหรือเขียนถึงทั้งในทางสนับสนุนหรือคัดค้านตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีจัดตั้งบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ

เรื่องของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติเรื่องนี้เป็นเรื่องที่รู้กันในวงแคบ ๆ

อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพยายามรูดซิปปากเอาไว้แน่นสนิท!

คล้ายจะให้เรื่องทุกอย่างจบลงอย่างเงียบ ๆ เหมือนกับลมร้อนที่พัดผ่านมาแล้วก็พัดผ่านไปโดยไม่มีใครรู้สึก

ซึ่งก็อาจจะปล่อยให้เลยผ่านไปได้!!

ถ้าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฉ้อโกงของผู้บริหารรายหนึ่งของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ โดยอาศัยความหละหลวมของโครงสร้างการบริหารภายใน เตรียมยักยอกเงินที่บริษัทปุ๋ยแห่งชาติกู้จากต่างประเทศจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 79 ล้านบาท เข้ากระเป๋าตัวเอง ซึ่งเผอิญยังโชคดีที่มีการไหวตัวทันเสียก่อน จึงเสียหายไปเบาะ ๆ เพียง 3,640,000 บาท พร้อม ๆ กับผู้บริหารรายนี้ก็หายตัวเข้ากลีบเมฆไปตามฟอร์ม

คงปล่อยให้คนที่อยู่ข้างหลังแก้ปัญหาเพื่อรักษาหน้าและชื่อเสียงกันต่อไป!

ไม่ว่าจะเป็นบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ สำนักงานตัวแทนของธนาคารไตโยโกเบในกรุงเทพฯ ธนาคารอินโดสุเอซสาขาประเทศไทยและธนาคารกสิกรไทย สาขาจารุรัตน์ ซึ่งถูกทีเด็ดของผู้บริหารบริษัทปุ๋ยแห่งชาติคนนี้หลอกเอาจนหัวปั่น

ก็เห็นจะเปิดตัวกันแล้วว่าผู้บริหารจอมโกงคนนี้มีนามว่า นายโสภณ จียะพันธ์ ตำแหน่งในบริษัทปุ๋ยแห่งชาติก็เป็น ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชี ซึ่งอำนาจจริง ๆ เทียบเท่าผู้จัดการฝ่ายการเงินทุกประการ เพราะการจัดตั้งบริษัทปุ๋ยแห่งชาติขึ้นมานั้น ในช่วงที่ยังไม่ได้มีการลงมือก่อสร้างโรงปุ๋ย และมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเต็มตามเป้าคือ 2,250 ล้านบาท (ปุ๋ยแห่งชาติเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท รัฐบาลถือหุ้น 40% อีก 60% เป็นภาคเอกชน ประกอบด้วย สถาบันการเงินและบริษัทผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมีรายใหญ่ของประเทศ ปัจจุบันการเพิ่มทุนยังไม่ขยับไปจากทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท) ฐานะของบริษัทฯ จะเป็นฐานะที่เรียกกันว่า "บริษัทนำร่อง" PILOT COMPANY ตำแหน่งบริหารที่สำคัญหลายตำแหน่งจึงยังไม่มีการบรรจุแต่งตั้ง อย่างเช่นตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชีนี้เป็นต้น

อำนาจด้านการเงินของโสภณ จียะพันธ์ ก็เลยดูจะมากกว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทั่ว ๆ ไป

โสภณ จียะพันธ์ นั้นอายุ 32 ปี จบการศึกษาชั้นสูงสุดปริญญาตรีด้านพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยทำงานมาแล้ว 2-3 แห่ง และก่อนหน้าที่จะเข้ามาทำงานที่บริษัทปุ๋ยแห่งชาติ โสภณ จียะพันธ์ เคยทำงานด้านสินเชื่อและฝ่ายต่างประเทศกับธนาคารไทยพาณิชย์

พูดกันเบา ๆ ว่าเบื้องหลังการเข้ามารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชีของโสภณ มีที่มาจากความสัมพันธ์กับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติคนหนึ่ง ซึ่งมาจากภาคราชการ และก็มีหลายคนที่บอกว่า ผู้บริหารระดับสูงคนนี้ไว้เนื้อเชื่อใจในฝีมือและความซื่อตรงของโสภณมาก ๆ

จึงเสียอกเสียใจอย่างยิ่งที่ตนเอง "ตาถั่ว" ไปถนัด

"แต่อาจจะโล่งอกก็ได้นะ เพราะโสภณเกิดโลภมากรีบออกลวดลายเอาขณะที่เงินกู้เพิ่งจะมีเข้ามาเป็นก้อนเล็ก ๆ ก้อนใหญ่ ๆ เป็นหมื่นล้านบาทยังไม่มา แหม...ถ้าลงมือช่วงเงินเยอะ ๆ ผมว่าคงมีคนเต้นเป็นลิงอีกหลายคนทีเดียว..." แหล่งข่าวระดับวงในคนหนึ่งให้ความเห็น

และถ้าจะว่าไปลวดลายการยักยอกเงินเข้ากระเป๋าของโสภณก็ทำกันง่าย ๆ ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากนัก

ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่เกิดความหละหลวมอย่างหนักแล้ว ก็รับรองได้ว่าการใช้ยุทธวิธีแบบโสภณนี้ไม่มีทางได้เงินไปสักบาท อีกทั้งยังจะต้องติดคุกอย่างแน่นอนที่สุดด้วย

ลวดลายการฉ้อโกงเงินของโสภณ จียะพันธ์นั้นเป็นเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงมาจากการกู้ยืมเงินแบบ "OFF SHORE" ของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติจากบริษัทไตโยโกเบ สาขาสิงคโปร์ ซึ่งธนาคารมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โตเกียวประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ก็ด้วยการติดต่อผ่านสำนักงานตัวแทนที่กรุงเทพฯ

และได้มีการทำสัญญากู้ยืมไว้ 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2528 เรียกว่าสัญญากู้เงินงวด เอ. และสัญญากู้เงินงวด บี. วงเงินกู้ยืมฉบับละ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ผู้ลงนามกู้ยืมก็ได้แก่ ดร.จักรกฤษณ์ บูรณะสัมฤทธิ์ กับ ประวิทย์ โรจนเพียรสถิต กรรมการบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ

เงินกู้งวดแรกตามสัญญากู้ยืมที่ระบว่าเป็นงวด เอ. นั้น ธนาคารไตโยโกเบ สาขาสิงคโปร์ได้จัดการโอนมาเข้าบัญชีของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติที่ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2528 เรียบร้อยด้วยดี โดยกรรมการบริษัทปุ๋ยแห่งชาติได้มอบหมายให้โสภณ จียะพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการเงินผู้รักษาการเป็นผู้จัดการฝ่ายการเงินอยู่ เป็นผู้โทรศัพท์ไปติดต่อขอให้มีการโอนเงินเข้ามากับสำนักงานตัวแทนของธนาคารไตโยโกเบ ที่อาคารธนิยะ ถนนสีลม และเมื่อเงินจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราดอกเบี้ย 8 เศษ 1 ส่วน 8 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลากู้ยืม 3 เดือนได้มีการโอนเข้ามาที่ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานใหญ่ โดยแตกเป็นเงินบาทเรียบร้อยแล้วในวันเดียวกันนั้นเอง ก็มีการถอนเงินทั้งหมดออกไปฝากกับสถาบันการเงิน 8 แห่ง ด้วยการซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสถาบันการเงินทั้ง 8 แห่งที่ว่านี้ก็คือ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซีย บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บีซีซี บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีมิตร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไอทีเอฟ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินอุตสาหกรรม และบริษัทเงินทุนยิบอินซอยเงินทุน ตามลำดับ

ซึ่งก็โสภณ จียะพันธ์ คนเดิมอีกนั่นแหละที่เป็นผู้อนุมัติดำเนินการดังกล่าว

"ก็กำไรส่วนต่างจากดอกเบี้ยไปเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์สบาย ๆ ส่วนผู้กำเงินไปฝากอย่างโสภณจะมีอะไรติดไม้ติดมือเป็นพิเศษหรือไม่ก็ลองเดากันดูเองก็แล้วกัน..." แหล่งข่าวผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับเงิน ๆ ทอง ๆ ระหว่างประเทศให้ข้อคิด

สรุปแล้วเงินกู้งวดแรกก็ผ่านไปอย่างเรียบร้อยและราบรื่น ไม่มีใครติดใจสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น

ไม่ติดใจสงสัยแม้กระทั่งว่าโสภณ จียะพันธ์ ผู้ติดต่อประสานงานเรื่องเงินกู้ก้อนนี้กำลังคิดอะไรอยู่เงียบ ๆ

จะเป็นเพราะกรรมการทั้งหลายล้วนมีภารกิจประจำรัดตัวหรือเปล่าก็ไม่ทราบ?!

"ผมว่าถ้าใครอยู่ในฐานะโสภณก็อาจจะคิดอะไรบางอย่างที่โสภณคิดนะ คือโครงการที่ทำท่าคึกคักตอนแรก ๆ ก็ทำท่าไม่รู้จะออกหัวหรือก้อยในระยะหลัง ๆ จะได้ทำงานต่อไปหรืออาจจะถูกโละทิ้งหรือเปล่าก็ไม่แน่นอน กรรมการบริษัททั้งหลายก็ไม่ค่อยโผล่หน้ามา เพราะแต่ละท่านก็มีการงานประจำทั้งทางด้านภาครัฐบาลและภาคเอกชน อย่างเรื่องเงินกู้นี่ก็โสภณคนเดียวจริง ๆ ที่ทำงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่ติดต่อให้โอนเงินเข้ามาไปจนถึงการเอาเงินออกไปแยกฝากตามที่ต่าง ๆ ทั้ง 8 แห่ง กรรมการทั้งหลายท่านก็เพียงรับรู้และคอยอนุมัติเท่านั้น..." แหล่งข่าวท่านหนึ่งเล่ากับ "ผู้จัดการ"

โสภณ จียะพันธ์ ก็เลยคิดถ้าเขาจะเอาเงินกู้พวกนี้มาใช้เป็นการส่วนตัวบ้างก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไรนัก

ช่วงปลายปี 2528 ขั้นตอนการทุจริตจึงถูกกำหนดเป็นขั้น ๆ

เริ่มต้นจากการใช้ "หน้าตา" และ "ชื่อเสียง" ในฐานะผู้บริหารคนหนึ่งของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติปลอมแปลงเอกสารไปเปิดบัญชีกระแสรายวันในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด สหมิตรไทยกับธนาคารกสิกรไทยสาขาจารุรัตน์แถว ๆ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ มีจงศิลป์ หวังสงวนกิจ เป็นผู้จัดการสาขา ซึ่งโสภณระบุว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรไทยนี้มีตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ (จากการตรวจสอบของ "ผู้จัดการ" พบว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้มีการจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์จริง คือ จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อปี 2510 มี นายสุรเดช เอื้อพงษ์พันธ์ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ตรวจสอบต่อมาพบว่าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับโสภณ จียะพันธ์ แต่ประการใด)

ด้วย "หน้าตา" และ "ชื่อเสียง" ที่ผู้บริหารสาขายอมรับ การเปิดบัญชีกับธนาคารก็ผ่านไปด้วยความราบรื่น อย่างที่ไม่ต้องตรวจสอบอะไรกันให้ละเอียดรอบคอบเสียก่อน

ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าถ้าเผอิญเป็น นาย ก. นาย ข. แล้วจะได้รับบริการที่ราบรื่นเช่นนี้บ้างหรือไม่?

ครั้นเมื่อขั้นตอนแรกผ่านไป ขั้นต่อมาก็คือการปลอมแปลงเอกสารและลายเซ็นกรรมการเปิดบัญชีในนามบริษัทปุ๋ยแห่งชาติกับธนาคารอินโดสุเอซ

"เขาก็ปลอมลายเซ็นของ ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล ประธานกรรมการบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ กับลายเซ็นของ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการ ในคำขอเปิดบัญชีโดยระบุผู้มีอำนาจสั่งจ่ายคือ ม.ร.ว. จัตุมงคล ลงนามร่วมกับโสภณเองพร้อมกับประทับตราบริษัท ซึ่งตราบริษัทก็ไม่ใช่เรื่องยากมันเก็บอยู่ที่โสภณอยู่แล้ว..." ผู้ที่ทราบเรื่องเล่าให้ฟัง

ตระเตรียมช่องทางทั้ง 2 ขั้นตอนแล้ว โสภณ จียะพันธ์ ก็ยกหูโทรศัพท์ไปบอกกับผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานตัวแทนของธนาคารไตโยโกเบประจำกรุงเทพฯ ที่ชื่อ พิสมร บุญประคอง ให้จัดการโอนเงินจำนวน 3 ล้านเหรียญตามสัญญาเงินกู้งวด บี. เข้ามา เหมือนกับที่เคยทำเมื่อครั้งมีการโอนเงินตามสัญญางวดแรกทุกอย่าง

เพียงแต่แทนที่จะโอนไปเข้าบัญชีที่ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานใหญ่ ก็ให้โอนมาเข้าบัญชีที่ธนาคารอินโดสุเอซเสีย

และเมื่อธนาคารไตโยโกเบเทเล็กซ์มาถึงบริษัทปุ๋ยแห่งชาติขอให้ยืนยันเรื่องการโอนเงินเข้ามาตามสัญญากู้เงินงวด บี. ตามวิธีการที่เคยปฏิบัติมา โสภณก็เทเล็กซ์ตอบยืนยันไปอย่างหน้าตาเฉย!

เงินจำนวน 3 ล้านเหรียญ หรือ 79,329,000 บาทของธนาคารไตโยโกเบ ก็เลยโอมาเข้าบัญชี (ปลอม) ของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติที่ธนาคารอินโดสุเอซ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2529 โดยไม่มีใครในบริษัทปุ๋ยแห่งชาติได้มีโอกาสรับทราบว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

แปลกและก็เหลือเชื่อมาก!

เพราะแม้แต่เทเล็กซ์ของธนาคารไตโยโกเบที่ส่งมาให้บริษัทปุ๋ยแห่งชาติขอให้ยืนยันเรื่องการโอนเงินก็ไม่มีใครเห็นเลย (จนเกิดเรื่องแล้วจึงเห็น)

ส่วนข้างฝ่ายธนาคารอินโดสุเอซ ก็ไม่น่าจะขาดความรอบคอบขนาดนั้น

เงินจำนวน 79,329,000 บาท เมื่อนำเข้าบัญชีปลอมที่ธนาคารอินโดสุเอซแล้ว ก็ถูกยักย้ายถ่ายเทอย่างรวบรัดทันที

"ระหว่างวันที่ 1-4 พฤศจิกายนเพียง 4 วันเท่านั้น โสภณก็ออกเช็คที่ปลอมลายเซ็นหม่อมเต่า (ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล) กับลายเซ็นของโสภณเอาเงินจำนวน 3 ล้านบาทออกมาจากธนาคารอินโดสุเอซแล้วก็ออกเช็คเอาเงินไปเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรไทยที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาจาตุรัตน์ซึ่งเขานำหลักฐานปลอมแอบไปเปิดเอาไว้ แล้วให้ธนาคารอินโดสุเอซออกแคชเชียร์ออร์เดอร์ 4 ฉบับ ฉบับละ 10 ล้านบาทให้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ รวมก็ 40 ล้านบาท จากนั้นก็ให้ธนาคารอินโดสุเอซออกแคชเชียร์ออร์เดอร์สั่งจ่าย บริษัท เคมี-กสิกรรมไทยอีกฉบับหนึ่งเป็นเงิน 5,838,500 บาท..." แหล่งข่าวระดับสูงผู้หนึ่งเปิดเผย ซึ่งกรณีบริษัทเคมี-กสิกรรมไทยนั้น "ผู้จัดการ" ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีตัวตนอยู่ในรายชื่อบริษัทจดทะเบียนของกระทรวงพาณิชย์แม้แต่น้อย

เมื่อคิดคำนวณเบ็ดเสร็จแล้ว ภายในระยะเวลาเพียง 4 วันโสภณ จียะพันธ์ ก็ได้พยายามเคลื่อนย้ายเงินออกมาด้วยเจตนาทุจริตเป็นเงิน 76,593,900 บาท จากยอดทั้งหมด 79,329,000 บาท ซึ่งถ้าแยกแยะเป็นรายการรายการก็คือ

- ออกเช็ค (ปลอม) เอาเงินสดออกมาเก็บไว้ส่วนตัว 3 ล้านบาท

- ออกแคชเชียร์ออร์เดอร์ 5 ฉบับสั่งจ่ายบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ 4 ฉบับเป็นเงิน 40 ล้านบาท และสั่งจ่ายบริษัท เคมี-กสิกรรมไทย (ซึ่งไม่มีตัวตนอยู่จริง) อีก 5,838,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 45,838,500 บาท

- และออกเช็คปลอมเอาเงินไปเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทยสาขาจารุรัตน์ ในบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรไทยเป็นเงิน 30,755,400 บาท (เมื่อเงินเข้าบัญชีแล้วก็ออกเช็คส่วนตัวเอาเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรไทยจำนวน 640,000 บาทออกมาเป็นเงินสด)

นับว่าเป็นการยักย้ายถ่ายเทเงินที่สำหรับโสภณแล้วก็คงจะมันมือมาก

อาจจะมันมือจนโสภณลืมไปว่าการโอนเงินจำนวนมาก ๆ ถึงกว่า 30 ล้านบาท ไปเข้าธนาคารกสิกรไทยสาขาจารุรัตน์นั้น มันไม่ใช่เรื่องปกติ หากแต่เป็นเรื่องที่สะดุดใจผู้บริหารมาก ๆ!

และเมื่อสะดุดใจก็เลยทำให้เรื่องต้องไปเข้าหูกรรมการบริษัทปุ๋ยแห่งชาติที่ชื่อ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ซึ่งก็เผอิญมีตำแหน่งบริหารใหญ่โตอยู่ในกสิกรไทย

มีการสอบถามไปที่โสภณ จียะพันธ์เกี่ยวกับความเป็นมาของเงินก้อนใหญ่ก้อนนี้ โสภณพยายามพูดจาบ่ายเบี่ยง แต่ภายหลังการสอบถามครั้งนี้แล้ว ก็ไม่มีใครในบริษัทปุ๋ยแห่งชาติได้เห็นแม้กระทั่งเงาของโสภณอีกต่อไป

การทุจริตของโสภณจึงได้ถูกเปิดเผยออกมาอย่างโล่งโจ้งทุกขั้นตอน

พร้อม ๆ กับคำถามที่ติดตามมาก็คือใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น?

บริษัทปุ๋ยแห่งชาตินั้น ก็พยายามบอกว่าการโอนเงินเข้ามาคณะกรรมการทุกคนไม่รู้เรื่อง เช่นเดียวกับการปลอมแปลงเอกสารและลายเซ็นมอบอำนาจไปเปิดบัญชีในนามบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ ที่ธนาคารอินโดสุเอซบริษัทปุ๋ยแห่งชาติก็ไม่รู้เรื่องเลยแม้แต่น้อย

ธนาคารไตโยโกเบก็ยืนยันว่าตนได้ดำเนินการถูกต้องรัดกุมแล้วทุกขั้นตอน หลักฐานก็มีอยู่พร้อม โดยเฉพาะเทเล็กซ์ยืนยันการโอนเงิน

ส่วนธนาคารอินโดสุเอซทันทีที่รับทราบเรื่องก็ส่งตัวแทนเข้าร้องทุกข์กับตำรวจกองปราบพร้อมกับระงับการจ่ายเงินตามแคชเชียร์ออเดอร์ 4 ฉบับที่สั่งจ่ายบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ (สำหรับแคชเชียร์ออเดอร์ที่สั่งจ่าย บริษัทเคมี-กสิกรรมไทย ยังไม่มีการนำไปเบิกเงินกับธนาคาร)

ซึ่งเมื่อมีการร้องทุกข์แล้วตำรวจกองปราบก็จัดการอายัดเงินทั้งหมดในบัญชีกระแสรายวันของห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรไทย ที่ธนาคารกสิกรไทยสาขาจาตุรัตน์ทันทีทันควันเหมือนกัน

ที่เสียหายจริง ๆ จึงเป็นเงิน 3,640,000 บาทถ้วน ๆ

"ก็มีการโยนความรับผิดชอบไปมาอยู่พักใหญ่ ๆ เพราะก็ไม่มีผู้เกี่ยวข้องที่โดนลูกเล่นของโสภณฝ่ายไหนที่ยินดีออกมาแบกหน้ารับความเสียหาย..." ผู้ที่ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นรายงานให้ฟัง

ผลสุดท้ายด้วยเหตุผลหลายประการประกอบกัน บริษัทปุ๋ยแห่งชาติก็เลยต้องรักษาหน้ายอมแบกรับไปผู้เดียว โดยก็จะยินยอมว่าเงินกู้งวด บี. ที่โอนมาแล้วก็ให้ถือว่าบริษัทปุ๋ยแห่งชาติเป็นผู้ขอให้โอน

และเงินที่อยู่ในธนาคารอินโดสุเอซ (ตามบัญชีที่โสภณแอบไปเปิด) เป็นเงินของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ หรือพูดกันแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็ให้ถือเสียว่าเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่พนักงานคนหนึ่งของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ ได้ยักยอกเงินของบริษัทฯ ไปเท่านั้น

คนอื่น ๆ ไม่เกี่ยว

รายงานล่าสุดที่ได้รับ ก็ปรากฏว่าบริษัทปุ๋ยแห่งชาติได้ส่งตัวแทนไปร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบแล้ว ก็คงจะมีการติดตามจับกุมตัวผู้บริหารยอดแสบรายนี้กันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us