Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554
The Blue Sky Resort รีสอร์ตอินเทรนด์กับ “ผู้เล่น” หน้าใหม่             
โดย สุภัทธา สุขชู
 

   
related stories

มากกว่าธุรกิจรีสอร์ตคือ “อิสรภาพทางการเงิน”

   
www resources

The Blue Sky @Koh Payam

   
search resources

วิรัตน์ คุณารัตนอังกูร
Hotels & Lodgings
The Blue Sky @Koh Payam




ถ้าขับรถไล่จากภูเก็ตเลยไปกระบี่ เขาหลัก จนถึงสมุย แทบทุกชายหาดเนืองแน่นไปด้วยโรงแรมและรีสอร์ต หากไล่จากหัวหินลงไปปราณบุรี กุยบุรี บ้านกรูดถึงชุมพร ฝั่งทะเลแถบนี้ก็ล้วนถูกจับจองจนเต็มพื้นที่ วันนี้ “ระนอง” จึงเป็น “ผู้เล่น” หน้าใหม่ของทะเลภาคใต้ ซึ่งเป็นเทรนด์กำลังจะ “มา (in)”

หลายคนทราบว่าระนองอยู่ฝั่งทะเลอันดามัน บ้างรู้ว่าระนองมีบ่อน้ำแร่และน้ำพุร้อน แต่ไม่มากนักที่รู้ว่า ระนองก็มี “เกาะช้าง” และไม่ไกลจากเกาะช้างยังมี “เกาะพยาม” เกาะที่เลื่องชื่อที่สุดด้านความดิบสดของธรรมชาติเกาะหนึ่งในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม

สำหรับคนที่รู้จักเกาะพยาม เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อเสียงของ “มัลดีฟส์ เมืองไทย” อันเป็นสมญานามและจุดขายของรีสอร์ตหรูแห่งใหม่บนเกาะพยาม ที่มีชื่อว่า “The Blue Sky@Koh Payam”

ด้วยห้องพักสไตล์วิลล่าทรงกลม หลังคาคลุมด้วยหญ้าทั้ง 19 ห้อง บวกกับล็อบบี้ ล้วนเชื่อมโยงกับทางเดินไม้ทอดยาวบนผืนน้ำทะเลในยามที่น้ำขึ้น ทำให้ทัศนียภาพของที่นี่มักถูกนำไปเทียบเคียงกับภาพของมัลดีฟส์ จะต่างกันบ้างก็ตรงที่รีสอร์ตแห่งนี้ถูกรายรอบด้วยป่าโกงกางบนดินทรายที่ค่อนข้างสมบูรณ์

“ถามว่า คนไทย 10 คน รู้จักมัลดีฟส์กันกี่คน ผมว่าทั้ง 10 คน ถามว่าอยากไปมัลดีฟส์กี่คน ผมว่าทั้ง 10 คน แต่ถามว่ามีกี่คนได้ไป ผมว่าไม่ถึง 3 คน เหตุที่ไม่ได้ไปเพราะว่ามันแพง พอเห็นที่แปลงนี้ตอนจมน้ำ ผมก็เลยอยากแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส ทำให้กลายเป็นมัลดีฟส์ในเมืองไทย” หนุ่มใหญ่เจ้าของบลูสกายรีสอร์ทเริ่มเล่า

คอนเซ็ปต์ “มัลดีฟส์ เมืองไทย” เกิดจากความพยายามสร้างจุดขายจากผืนดิน แปลงนี้จะต้องจมน้ำทะเลทุกวัน วันละ 2 ครั้งตามกระแสน้ำขึ้น โดยเจ้าของที่ดินรายเดิม ไม่มีเงินทุนในการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเลหรือถมที่ดินให้สูงขึ้น เขาจึงตัดสินใจขายผืนดิน แปลงนี้ให้กับชาวกรุงผู้ที่กำลังแสวงหาธรรมชาติที่สงบสำหรับใช้ชีวิตในบั้นปลาย

จากความรู้สึกว่า กรุงเทพฯ ไม่น่าอยู่ “วิรัตน์ คุณารัตนอังกูร” เริ่มมองหาบ้านพัก ตากอากาศที่เงียบสงบเพื่อไปพักผ่อนหลีกหนีความวุ่นวายในกรุงเทพฯ จนได้ที่ดินแปลงงามผืนแรกแถวเขาค้อ เพชรบูรณ์ เขาบรรจงสร้างบ้านพักหลังใหญ่ท่ามกลางธรรมชาติที่เรียกได้ว่าวิวดีที่สุดของเขาค้อ ทุกห้องถูกตกแต่งอย่างสวยงาม แต่กลับมีเพียงห้องนอนห้องเดียวที่ถูกใช้งาน เขาจึงเริ่มคิดถึง การแบ่งปันธรรมชาติที่สวยงามให้คนอื่นได้มีโอกาสเชยชม

บวกกับได้รับแรงบันดาลใจสำคัญจากครั้งที่ไปพัก “โรงแรมบ้านท้องทราย” ของ “อากร ฮุนตระกูล” หลังจากขายหุ้น โรงแรมในเครืออิมพีเรียล อากรเลือกใช้ชีวิต บั้นปลายอย่างเรียบง่ายในโรงแรมเล็กๆ ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบและสวยงาม

“ผมเห็นคุณอากรใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ กินอาหารบนระเบียงไม้ใต้ต้นมะพร้าว ถือแก้วไวน์เดินคุยกับลูกค้า ผมว่าชีวิตอย่างนี้น่าจะมีความสุขดี” วิรัตน์เล่า ถึงภาพประทับใจที่ ณ วันนั้น เขาก็ยังไม่ได้คิดว่าอีกไม่กี่ปีต่อมา เขาก็จะได้ทำอย่างนั้นเช่นกัน

ระหว่างที่ขับรถตระเวนไปเรื่อยๆ จากหัวหินไปปราณบุรีจนถึงกุยบุรี เขาพบว่า ชายทะเลที่สวยงามในแถบนี้ ทุกพื้นที่ล้วนถูกปลูกสร้างจนแน่นหมดแล้ว เมื่อขับรถไล่ลงมาจนมาถึงระนอง น้องชายซึ่งเป็นเขยชาวระนอง และเป็นเจ้าของรีสอร์ตบนเกาะพยาม ได้ชักชวนให้เขาไปทดลองพักที่นั่น และแล้วความสงบและสวยงามของธรรมชาติที่นั่นก็ทำให้วิรัตน์ตกหลุมรักและมั่นใจว่าที่นี่คือที่ที่ “ใช่” ในทันที

เกาะพยามถือได้ว่าเป็นเกาะที่มีธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์มาก ในวันดีคืนดี นักท่องเที่ยวอาจได้เห็นนกเงือกและเหยี่ยวบินโฉบไปมา ได้เห็นนากขึ้นมาพักกายบนหาดทราย และได้เห็นพรายน้ำว่ายวนอยู่หน้าหาด ซึ่งภาพเหล่านี้ล้วนเป็นภาพหายากในหลายๆ แหล่ง ท่องเที่ยวชื่อดังของเมืองไทย

อีกสิ่งที่วิรัตน์มองว่าเป็นเสน่ห์สำคัญของเกาะพยาม คือเกาะแห่งนี้ไม่มีรถยนต์วิ่งอยู่บนเกาะและไม่มีไฟฟ้าใช้ ท้องฟ้าที่นี่จึงมืดสนิทในยามค่ำคืน นอกจากนี้ วิถีชีวิตของชาว ชุมชนเกาะพยามซึ่งส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนชาวพม่าที่รักความสงบและความเรียบง่าย ยิ่งช่วยเพิ่มความน่าหลงใหลให้กับเกาะนี้

“แมกกาซีนของยุโรปรีวิวไว้ว่า ที่นี่คือเกาะสมุยเมื่อ 40 ปีก่อน ซึ่งฝรั่งเขาก็มาเที่ยว กันนานมากแล้ว ไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่คนไทยไม่มาเพราะต้องการความ สะดวกสบาย ที่พักส่วนใหญ่ออกแบบไว้สำหรับแบ็กเพ็กเกอร์” เขากล่าว

วิรัตน์สบโอกาสจากช่องว่างในตลาดที่พักบนเกาะพยาม เขาลงทุนสร้างบลูสกายรีสอร์ทที่หรูหราด้วยการตกแต่งและเตียงนอนที่แสนนุ่มสบาย พร้อมเฟอร์นิเจอร์ที่ครบครัน รวมถึงห้องน้ำดีไซน์เก๋ดูโอ่โถงไม่แพ้รีสอร์ตหรูในเมืองกรุง นอกจากนี้ รีสอร์ตแห่งนี้ยังเพียบพร้อมด้วย ความสะดวกสบาย ทั้งแอร์ ทีวี เครื่องทำน้ำอุ่น และ free wi-fi โดยทั้งหมดนี้อาศัยไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟของรีสอร์ต ทำให้ห้องพักที่นี่หรูไม่ต่างจากรีสอร์ตห้าดาวในเกาะดังๆ

จากคอนเซ็ปต์ที่แข็งแรงกลายเป็นไอเดียให้ดีไซเนอร์ใช้ต่อยอด วิรัตน์จงใจเลือกดีไซเนอร์ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ออกแบบรีสอร์ตมาช่วยสร้างสรรค์รีสอร์ตแห่งแรกกับเขา โดยธีมดีไซน์ที่เน้นคือ อยากให้รีสอร์ตเป็นเสมือนบ้านหลังใหญ่ ส่วนแขก ที่มาพักก็คือเพื่อนที่มาเที่ยวบ้าน นำมาสู่สไตล์สบายๆ และคาแรกเตอร์ที่เป็นกันเอง ของรีสอร์ต

“หากที่นี่คือบ้าน บ้านหลังนี้ต้องสะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้าน เพราะนี่คือจุดที่เป็นเสน่ห์ของบูติกรีสอร์ต ดีไซเนอร์เคยบอกว่า รีสอร์ตแห่งนี้สะท้อนความใจกว้างของเจ้าของ เพราะเรากล้าให้สเปซกับลูกค้าอย่างเพียงพอ”

ล็อบบี้หลังคามุงหญ้าถูกออกแบบให้เปิดโล่ง 360 องศา เพื่อรับลมทะเลตกแต่งด้วยโซฟาทั้งแบบ Daybed และที่นั่งแบบ Bean bag ไม่เพียงใช้เป็นจุดต้อนรับลูกค้าและเป็นจุดนั่งเล่นชมวิว ที่ล็อบบี้ยังเป็นห้องอาหารไปพร้อมกัน

ยามค่ำคืน บริเวณล็อบบี้คือจุดที่เหมาะจะเป็นพื้นที่นอนชมดาว ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนในคืนเดือนมืด หรือนอนชมพระจันทร์เต็มดวงในวัน “full moon” ก็เห็นได้อย่างชัดเจน ขณะที่ยามเช้า พื้นที่ส่วนนี้ก็เหมาะที่จะใช้นั่งชมพระอาทิตย์โผล่พ้นผืนน้ำทะเล หรือจะเลือกนอนแปลตาข่าย นั่งศาลา กระต๊อบชมพระอาทิตย์ตกก็ได้อีกอารมณ์

ห้องพักถูกออกแบบเป็นกระจกใสรอบด้าน ทำให้เห็นวิวแบบพาโนราม่า ทั้งยังมีบานเฟี้ยมให้เปิดรับลมสูดกลิ่นอายทะเลได้แม้จะอยู่ในห้อง หรือจะออกไปนั่งเอาเท้าจุ่มน้ำทะเลยามน้ำขึ้นที่ท่าน้ำหรือชานระเบียง ชมฝูงปลาแหวกว่ายใต้ต้นโกงกาง ถือเป็นอีก วิธีที่ช่วยบำบัดอาการโหยหาธรรมชาติของชาวกรุงเทพฯ ได้ดีไม่น้อย

ก่อนหน้านี้ ค่าห้องพักเฉลี่ยของเกาะพยามที่เคยอยู่ที่ราคาไม่กี่ร้อยบาท สูงสุดอยู่ไม่เกินพันบาท แต่ทว่า ห้องพักของบลูสกายรีสอร์ทเปิดตัวด้วยราคาเฉลี่ยที่ประมาณ 5 พันบาทต่อคืน ท่ามกลางเสียงปรามาสและท้วงติงของหลายคนที่มองว่าห้องพักราคาสูงเช่นนี้ไม่เหมาะกับเกาะพยาม

“ธรรมชาติเป็นของหายาก ดังนั้นธรรมชาติจึงไม่ควรมีราคาถูก เพื่อจะทำให้ กลุ่มที่จะมาเป็นคนที่ชื่นชมและให้คุณค่ากับธรรมชาติจริงๆ ผมไม่กลัวว่าจะขายไม่ได้ เพราะในเมื่อคนไปพักหัวหินยังยอมจ่ายคืนละเป็นหมื่น ธรรมชาติที่นี่สวยกว่ากันตั้งเยอะ ขณะที่ห้องพักเราก็สะดวกสบาย และสวยไม่แพ้กัน” วิรัตน์เล่าอย่างภูมิใจใน ฐานะที่เขานับเป็นผู้ริเริ่มจับนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่เป็นกลุ่มที่ “เกรดดี” ให้มาเป็นลูกค้าเกาะพยาม

ราว 2 ปีก่อน บลูสกายรีสอร์ทเปิดตัวด้วยจำนวนห้องพักเริ่มต้นเพียง 5 ห้อง แต่ด้วยเสียงตอบรับอย่างดีจากนักท่องเที่ยว รุ่นใหม่ วิรัตน์จึงขยับขยายจำนวนห้องเรื่อยมาจนมาถึง 19 ห้องในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีอีกสิ่งที่ยืนยันความสำเร็จของบลูสกายได้ ก็คือการเปิดตัว “The Blue Sky@Ranong” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ซอเรนโต้ เมืองไทย”

ซอเรนโต้ หรือ Sorrento เป็นเมืองตากอากาศชายทะเลที่มีชื่อเสียงอันดับต้นของ ประเทศอิตาลี มีเอกลักษณ์อยู่ที่ทำเลที่วิวด้านหน้าเป็นทะเล ด้านหลังเป็นภูเขา ตัวเมืองสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแปลกตาลดหลั่นตามไหล่เขา พร้อมกับเสน่ห์ขึ้นชื่อของที่นี่ ได้แก่ กิจกรรมนั่งชมพระอาทิตย์ลับขอบทะเลไปอย่างช้าๆ

“ถามว่า คนไทย 10 คน มีกี่คนที่รู้จักซอรอนโต้ ผมว่าไม่เกิน 2 คน ถามว่าเคยไป ซอรอนโต้มากี่คน ผมว่าไม่เกินหนึ่งคน ฉะนั้นโจทย์ของบลูสกายที่ระนองจึงยากกว่าที่เกาะพยามนิดนึง”

แม้จะมีคนไทยเพียงไม่มากที่รู้จักและคุ้นเคยกับซอรอนโต้ แต่เพื่อสร้างความแตกต่างจากรีสอร์ตริมทะเลที่อื่น ซึ่งมักชูจุดขายที่ความโรแมนติก หรือความเป็นไฮด์-อะเวย์ (Hide-away) ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงทำเลที่ตั้งของรีสอร์ตที่วิรัตน์มองว่ามีองค์ประกอบมากกว่าครึ่งคล้ายกับซอรอนโต้ เขาจึงเลือกใช้คอนเซ็ปต์นี้เป็นกิมมิค

เทียบกับรีสอร์ตที่เกาะพยามที่ต้องลงทุนโครงสร้างทางภูมิสถาปัตย์ ในการสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเล สร้างสะพานไม้เชื่อมห้องพักและสร้างสะพานเชื่อมระหว่างรีสอร์ตกับชุมชน รีสอร์ตบนฝั่งระนองถือได้ว่าโชคดีกว่าเยอะ เพราะได้อาศัย “บุญเก่า” ในเรื่องแลนด์ สเคปของ “บ้านสวนสามแหลม” รีสอร์ตเดิมที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี ทั้งที่ตั้งของห้องพัก ริมทะเล ร้านอาหารที่ตั้งบนเนิน และสระว่ายน้ำที่มีขอบสระตัดกับขอบทะเล

โดยเฉพาะศาลากลางทะเล (Ocean Hub) ณ ปลายสุดของสะพานไม้ที่ทอดยาว ออกไปสู่ท้องทะเล ซึ่งจากจุดนี้จะมองเห็นวิวฝั่งพม่าได้อย่างชัดเจน อันเป็นจุดที่วิรัตน์ ตั้งใจให้แขกได้นั่งชมการแสดงบนท้องฟ้าทั้งในยามเช้าและยามเย็น

บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ของ “ซอรอนโต้” ถูกปกคลุมด้วยสีเขียวขจีของต้นไม้ใบหญ้า และถูกโอบล้อมด้วยป่าไม้ ขุนเขาและทะเล ห้องพัก 16 ห้อง แบ่งเป็นโซน Sea View 10 ห้อง ตั้งอยู่ริมผาติดทะเลอันดามัน โดยจุดเด่นของดีไซน์ห้องพักอยูที่รูปทรง หลังคาที่ดูคล้ายเรือนพม่า ขณะที่อีก 6 ห้อง อยู่ในโซน Forest View ตั้งอยู่บนเนินเขารายล้อมด้วยสวนยางพารา

เพื่อให้รีสอร์ตมีบรรยากาศเหมือนบ้าน ลานสนามหญ้าจึงถูกตกแต่งให้ดูอบอุ่นสบายๆ และเป็นกันเอง ด้วยเปลตาข่าย และเก้าอี้ไม้ที่ดีไซเนอร์ซึ่งเป็นผู้ออกแบบรีสอร์ตบนเกาะพยามได้นำไอเดียมาจากเก้าอี้เศษไม้ที่คนงานพม่าประดิษฐ์ขึ้นเองเพื่อใช้นั่งพักจากงานก่อสร้างรีสอร์ตแห่งนี้

สิ่งที่โดดเด่นสะดุดตาจนแขกทุกคน อดใจไม่ได้ต้องถ่ายรูปเป็นที่ระลึก หนีไม่พ้น “ศิลปะวัตถุ (art object)” รูปตุ๊กตาเด็กใน หลากอิริยาบถที่กระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของสวน อันเป็นไอเดีย ตกแต่งสวนที่เกิดจากความชื่นชอบแต่งบ้านและสวนของคู่สามีภรรยาเจ้าของรีสอร์ต

วิรัตน์เปรียบเทียบสองรีสอร์ตจากเสียงสะท้อนของลูกค้าว่า หากรีสอร์ตที่เกาะพยาม คือความสนุกและการผจญภัย รีสอร์ตที่ระนองก็คือความสงบและชีวิตที่เดินช้าๆ หากสไตล์ “มัลดีฟส์” เป็นรีสอร์ตที่หลายคนเจอปุ๊บรักปั๊บ “ซอรอนโต้” เป็นรีสอร์ตที่ยิ่งอยู่จะยิ่งรัก ขณะที่ดีไซน์ “มัลดีฟส์” สะท้อนความใจกว้างของเจ้าของ “ซอเรนโต้” ก็สะท้อนบุคลิกที่สง่าและสงบของเจ้าของ

“กลุ่มเป้าหมายของผมคือกลุ่มคนที่เครียดกับการทำงานหนัก โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้าง ผมว่ากลุ่มนี้น่าสงสารที่สุด เขาต้องการให้ตัวเองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ อีกกลุ่มคือคนที่ สนุกกับชีวิต กลุ่มนี้ประสบความสำเร็จเร็ว ทำงานได้เงินมาง่าย ชอบให้รางวัลชีวิต”

กลุ่มเป้าหมายของวิรัตน์ดูเหมือนจะครอบคลุมกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มชนชั้นกลาง ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการจับจ่ายสูง เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยว คุณภาพ และชอบแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ๆ ที่อยู่ในกระแสนิยม ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ทำให้นักธุรกิจรีสอร์ตหน้าใหม่คนนี้มั่นใจว่า เทรนด์เที่ยว “ระนอง” จะต้องเกิด

ในฐานะเจ้าของรีสอร์ตหรูแห่งแรกของเกาะพยาม และอาจรวมถึงทั้งจังหวัดระนอง วิรัตน์คาดหวังที่จะเห็น “บลูสกาย” เป็นที่พักแห่งแรกและเป็นอย่างแรกที่คนนึกถึงเวลาพูดถึง “ระนอง”

สนุกกับการเปิดตัวรีสอร์ตบนฝั่งระนองได้ไม่ถึง 10 เดือน วิรัตน์เริ่มมองหาทำเลเพื่อสร้างธีมรีสอร์ตแห่งใหม่ ภายในต้นปีหน้า เขาเตรียมเปิดตัวรีสอร์ตสไตล์โมเดิร์นวินเทจ ที่เขาเต่า หัวหิน ซึ่งดัดแปลงมาจากบ้านเก่าของเขา โดยชูจุดขายด้วยชุดของสะสมอย่างดี ที่จะนำมาตกแต่งทั่วรีสอร์ต จับกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ สนนราคาหลักหมื่นต่อคืน

นอกจากนี้ เขายังมีบ้านเก่าอายุร้อยกว่าปี บริเวณเสาชิงช้าใกล้ กับโบสถ์พราหมณ์ ซึ่งอาจจะถูกนำมาดัดแปลงเป็นโรงแรมบูติกเล็กๆ รวมทั้งยังมีที่ดินเปล่าที่เขาค้อที่เขาซื้อมาเก็บไว้เป็นสต็อกสำหรับสร้าง โรงแรมบูติกเพิ่มเติมในพอร์ตของเขา หาก ณ เวลานั้น เขายังรู้สึกสนุก กับการเป็นสร้างรีสอร์ตและเป็นเจ้าของรีสอร์ตต่อไป

เพราะเชื่อว่าธุรกิจรีสอร์ตเป็นธุรกิจขาย “ความสุข” แต่รีสอร์ต จะสร้างความสุขไม่ได้หากผู้ที่เป็นเจ้าของยังไม่มีความสุขกับรีสอร์ต และธุรกิจของตน ดังนั้นกฎข้อแรกของวิรัตน์ในการทำรีสอร์ต คือห้ามกู้

“เมื่อไรก็ตามที่เราลงทุนทำรีสอร์ตด้วยเงินกู้ นั่นคือจากที่เคยเล่นเกมธุรกิจแห่งความสุขจะถูกพลิกเป็นเกมแห่งความเครียดบนความเสี่ยงแทน” เจ้าของรีสอร์ตหน้าใหม่ แต่เป็นอดีตนักการเงินมืออาชีพ กล่าวให้คิด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us