|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แม้ว่าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปีหน้า โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัฐ มองว่าจะยังดีอยู่ แต่ยังต้องอยู่ในภาวะเฝ้าระวัง โดยเฉพาะธุรกิจส่งออก
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัฐ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะ นักเศรษฐศาสตร์ มองในมุมมหภาคเกี่ยวกับภาพรวมของประเทศไทยในครึ่งปีหลัง 2554 และในปีหน้าว่า ในปีนี้จีดีพีที่สำนัก งานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คาดการณ์ ไว้ในไตรมาส 2 ปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากผลกระทบ เหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และสิ่งที่เกิดขึ้นได้สอนให้ ประเทศไทยรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
อย่างไรก็ดี การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายในประเทศจะยังคงดีอยู่ในไตรมาส 3 และ 4 แต่จีดีพีจะไม่แตะร้อยละ 4 จะเหลือ เพียงร้อยละ 3.6 เท่านั้น เพราะเหตุการณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศทำให้ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตชะลอลง
แม้เศรษฐกิจภายในประเทศจะยังดี อยู่ แต่แรงต้านจากต่างประเทศจะมากขึ้นตามลำดับ และมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยนับจากนี้ไปมี 2 เรื่องคือ การค้าโลกที่มีบทบาทสูงต่อประเทศไทย และราคาสินค้าหลายอย่างมีโอกาสต่ำลง
แต่โฆสิตยังเชื่อว่าจีดีพีในปี 2555 ยังเติบโตในอัตราร้อยละ 4 แต่ด้วยแรงต้าน ภายนอกประเทศจะส่งผลต่อธุรกิจส่งออกของไทย โดยเฉพาะลูกค้าที่ส่งออกไปยัง กลุ่มสหรัฐอเมริกาและยุโรป ผู้ประกอบการ จำเป็นต้องปรับตัวอย่างรุนแรง และมองว่า เป็นภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะวัตถุดิบ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิต สินค้าจะไม่มีความชัดเจนด้านราคา
ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดแผนธุรกิจของ ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นนโยบายขององค์กร นี้เริ่มมาค่อนข้างนาน ที่โฆสิตมักกล่าวย้ำเสมอว่า
“บุคลิกของธนาคารกรุงเทพเกาะติดการเจริญเติบโตของประเทศ”
การเป็นธนาคารที่มีทรัพย์สินอันดับ หนึ่ง หรือ 2,011,856.76 ล้านบาท ของสถาบันการเงินในประเทศ และเป็นองค์กร ที่มีอายุ 67 ปี มีกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่มากที่สุด แต่เมื่อเวลาผ่านไปคงเป็นไปไม่ได้ที่ธนาคารกรุงเทพจะยึดติดกับลูกค้ารายใหญ่ อย่างเดียว ขณะที่ยังมีจุดอ่อนลูกค้ารายย่อย
การพบปะครั้งล่าสุดระหว่างโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ และชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพกับสื่อมวลชน แม้จะไม่เปิดเผยว่าธนาคารกรุงเทพจะมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการธุรกิจอย่างไร แต่นัยของการแข่งขัน ที่รุนแรงของสถาบันการเงินภายในประเทศ รวมไปถึงธนาคารต่างชาติที่เข้ามาชิงพื้นที่อีกด้านหนึ่ง สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือกรอบความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำลังบีบให้ธนาคารต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไม่มีเงื่อนไข
โฆสิตบอกว่าธนาคารจะเน้นลูกค้ารายกลาง ลูกค้าปลีก และรายย่อยมากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อยเป็นเรื่องใหญ่สำหรับธนาคารที่กำลังหาบุคลิกให้ตัวเองและหน้าที่หลักนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ ของศิริเดช เอื้องอุดมสิน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่
เป้าหมายในการเข้าไปเจาะกลุ่มลูกค้ารายย่อยทำให้ธนาคารเริ่มคำนึงถึงการขยายสาขาให้เพิ่มมากขึ้น เพราะสาขา เป็นช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึงองค์กรแห่งนี้
ขณะที่ลูกค้าขนาดกลางมีผู้บริหาร มาเสริมในปีนี้คือ ธงชัย อานันโทไทย ผู้ช่วย ผู้จัดการใหญ่ ซึ่งก่อนหน้านี้ธงชัยเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารสินเอเซีย แต่หลังจากธนาคารกรุงเทพผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้ขายหุ้นให้กับธนาคารไอซีบีซีจากประเทศ จีน ทำให้เขากลับมาร่วมงานในธนาคารกรุงเทพอีกครั้ง
ส่วนการรวมตัวของประเทศในกลุ่ม อาเซียน 10 ประเทศ หรือเออีซี กลายเป็น สิ่งที่ธนาคารกรุงเทพมองว่าใกล้ตัวมากขึ้น และประชาคมอาเซียนจะร่วมมือเชื่อมโยงกันอย่างก้าวกระโดด
การลงทุนธุรกิจในต่างประเทศที่ผ่าน มาธนาคารให้ความสำคัญในประเทศจีนเป็นลำดับแรก แต่จากนี้ไปเป้าหมายคือ เออีซีเริ่มจริงจังมากขึ้น ซึ่งธนาคารมองว่า อย่างน้อยก็มีความได้เปรียบกว่าธนาคารอื่นๆ ปัจจุบันธนาคารมีสาขากระจายอยู่ใน เอเชียและทั่วโลก มากที่สุดคือมาเลเซีย มี 5 สาขา เวียดนาม 2 อินโดนีเซีย 1 ลาว 1 ฟิลิปปินส์ 1 สิงคโปร์ 1 จีน 4 ฮ่องกง 2 ไต้หวัน 3 ลอนดอน 1 นิวยอร์ก 1 ญี่ปุ่น 2 ส่วนพม่าตั้งตัวแทนดูแล 1 แห่ง
ไชยฤทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัด การใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ธนาคารตั้งทีมงานเฉพาะกิจขึ้นมา 2 คน เพื่อติด ตามสถานการณ์เออีซี เงื่อนไข กฎระเบียบ ต่างๆ อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อนำไปเป็นข้อมูลให้คำปรึกษากับลูกค้าที่สนใจเข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน
“เราทำงานหลายๆ เรื่อง เพียงแต่เราไม่ได้ออกมาบอกกล่าวเท่านั้น” เป็นคำกล่าวของไชยฤทธิ์ที่สะท้อนให้เห็นบุคลิกของสถาบันการเงินตราสัญลักษณ์บัวหลวงได้เป็นอย่างดี
|
|
|
|
|