|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ระบบสมาร์ทคิวเป็นส่วนหนึ่งของการยกเครื่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคารกสิกรไทย ภายใต้แนวคิด K-Transformation เพื่อนำไปสู่บริการด้านการเงินที่รวดเร็วขึ้น และผลตอบรับดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าสมัครใช้บริการถึง 1 ล้านรายภายในเวลาครึ่งปี
นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ มีโอกาส เยี่ยมชมระบบสมาร์ทคิว ณ สาขาสยามพารากอน ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ธนาคารได้นำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากใช้เวลา ทดลอง 1 ปี 2 เดือน (เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553-มิถุนายน 2554) และเลือกสาขาบุคคโล เป็นสาขานำร่อง และธนาคารคาดหวังจะให้บริการครบทุกสาขา กว่า 800 แห่งภายในมกราคม 2555 จากปัจจุบันส่วนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพ มหานคร
ระบบสมาร์ทคิว (smart queue) ถูกออกแบบให้ระบบฐานข้อมูลของลูกค้าที่มีอยู่แล้วทำงานอย่างเป็นระบบ เจ้าหน้าที่ ของธนาคารสามารถเรียกข้อมูลลูกค้าผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทุกเครื่อง เมื่อลูกค้าเริ่มก้าวเข้าไปในสาขาและกดบัตรคิว โดยใช้บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต สมุดบัญชีเงินฝากแถบแม่เหล็ก หรือบัตรประชาชน แต่บัตรประชาชนต้องเป็นชนิดแถบแม่เหล็กเท่านั้นยังไม่รองรับบัตรที่เป็นระบบฝังชิพ
หลังจากที่ลูกค้ากดเลือกบริการบนหน้าจอคีย์ออสที่จะมีบริการทั่วไปเริ่มตั้งแต่ ฝาก-ถอน โอนเงิน เปิดบัญชีหรือซื้อกองทุน
ส่วนลูกค้าผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี หรือลูกค้าที่มีเงินฝากตั้งแต่ 10 ล้าน บาทขึ้นไป เรียกว่า THE WISDOM จะมีปุ่มแยกออกไป เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้า ที่ต้องการบริการแตกต่างกันไป โดยลูกค้าทุกกลุ่มไม่ต้องมาเข้าคิวรอบริการในแถวกันเหมือนในอดีต
เมื่อลูกค้าเลือกประเภทบริการ ข้อมูลของลูกค้าจะปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่ทันที ในข้อมูลจะปรากฏชื่อลูกค้า ประเภท บริการที่เลือกใช้ เวลาที่ลูกค้ารอ เวลาที่ให้บริการ ชื่อพนักงานธนาคารดูแล และจำนวนลูกค้าที่รอรับบริการ เป็นต้น
โดยเวลาที่ให้บริการจะรวดเร็วขึ้น โดยขึ้นอยู่กับประเภทบริการ เช่น ฝาก-ถอน ใช้เวลา 1 นาที ซื้อกองทุน (กรณีมีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์) ใช้เวลา 3 นาที หากลูกค้าที่ยังไม่เคยใช้บริการ เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาแนะนำประมาณ 15 นาที หรือกรณีลูกค้าเปิดบัญชีใหม่ประเภทออมทรัพย์ ใช้เวลาประมาณ 8 นาที จากเดิมใช้เวลาประมาณ 10 นาที
กสิกรไทยสาขาสยามพารากอนมีพนักงานให้บริการทั้งหมด 21 คน โดยมีพนักงานที่มีใบอนุญาตขายประกันชีวิต 5 คน และกองทุน 4 คน
สำหรับพื้นที่ให้บริการแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นบนให้บริการฝาก-ถอน ส่วนชั้นล่างให้บริการเปิดบัญชี ซื้อกองทุนและมีมุม ให้บริการลูกค้า Wisdom และคอร์ปอเรท เอสเอ็มอี
ระบบสมาร์ทคิวในแต่ละสาขายังเป็นเรื่องใหม่ของแต่ละแห่ง ดังนั้นเพื่อให้บริการเกิดความต่อเนื่องจึงมีเจ้าหน้าที่ 1 คน ทำหน้าที่ดูแลระบบโดยตรง ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะถูกส่งไปอบรมและมาเผยแพร่ให้ กับพนักงานในสาขา รวมทั้งช่วยแก้ปัญหากรณีระบบเกิดปัญหา และสาขาในสยามพารากอน เดโชพัฒฐ์ คชาชัย หัวหน้าส่วน ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาด้านการบริการและการขาย รับหน้าที่ดังกล่าว และมีกัลยาณี เหลืองรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ผู้จัด การสาขาสยามพารากอน มาร่วมให้ข้อมูล กับนิตยสารผู้จัดการ 360 ํ
กัลยาณีบอกว่าลูกค้าที่มาใช้บริการ ในสยามพารากอนมีหลากหลาย เช่น นักเรียน นักศึกษา ลูกค้าระดับกลางมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ลูกค้า wisdom ลูกค้า Private Wealth มีเงินฝาก 50 ล้านบาทขึ้นไป
ทศพร อ้นบุญอิ่ม รองผู้อำนวยการ ฝ่ายธนาคารกสิกรไทย บอกว่าจุดเด่นของ สมาร์ทคิวทำให้สาขาทำงานได้รวดเร็วและโอนย้ายลูกค้าให้กับพนักงานที่ว่างดูแลได้อย่างทันท่วงที
ที่สำคัญอย่างยิ่งทำให้ธนาคารได้รู้จักตัวตนของลูกค้ามากขึ้น เพราะข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ เป็นข้อมูลที่ทันสมัย สามารถ รู้ฐานะการใช้บริการของลูกค้าล่าสุด ข้อมูล ดังกล่าวยังนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการเงินให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย
เหมือนดังที่ธีรนันท์ ศรีหงส์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสและผู้ประสานงาน ภูมิ ธนาคารกสิกรไทย ดูแลระบบเทคโน โลยีสารสนเทศ บอกว่าครึ่งปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุนวางระบบไอทีอย่างมาก และระบบสมาร์ทคิวก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านรายในครึ่งปีแรก
ระบบไอทีทำให้ธนาคารเข้าใจลูกค้า สร้างผลิตภัณฑ์เพื่อขายบริการและนำข้อมูล ไปบริหารความเสี่ยงได้ด้วย
ระบบไอทีกลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้ ระบบฐานข้อมูลลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าราย ย่อยใช้บริการผ่านสาขา ทำให้ธนาคาร สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์หรือแคมเปญ ต่างๆ ถึง 320 แคมเปญต่อปี โดยเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ละ 1.5 แคมเปญต่อวัน
ทำให้เกิดการขายในรูปแบบหลากหลายมากขึ้น เพราะลูกค้าหนึ่งคนสามารถ เลือกใช้บริการการเงินได้หลายประเภท เช่น ฝาก ถอน ซื้อกองทุน ประกันชีวิต เป็นต้น
นอกจากนี้ธีรนันท์ยังชี้ให้เห็นว่าระบบไอทีทำให้การทำธุรกรรมด้านการเงิน เกิดขึ้นราว 1 หมื่นครั้งภายใน 1 สัปดาห์ ระบบดังกล่าวทำให้ธนาคารประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 30-70 ล้านบาทต่อปี
ระบบสมาร์ทคิวเป็นส่วนหนึ่งของ K-Transformation ช่วยขับเคลื่อนให้ธนาคารกสิกรไทยที่ตั้งเป้าหมายให้บริการด้านการเงินต้องเป็นเรื่องง่ายทั้งในฝั่งของผู้ใช้และผู้ให้บริการ
ทศพรในฐานะผู้บริหารงานวิเคราะห์ งาน K-Transformation เครือข่ายการบริการและการขาย สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ บอกว่าธนาคาร กสิกรไทยเดินทางมาแล้วครึ่งทาง จากจุดเริ่มต้นเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา มีเป้าหมายยกเครื่องระบบไอทีออกเป็น 4 ช่วง หรือธนาคารเรียกว่า 4 wave
wave 1 วางระบบไอทีอินฟราสตรัคเจอร์ภายในทั้งหมด ขณะนี้อยู่ระหว่าง เข้าสู่ช่วงที่ 2 พัฒนาระบบไอทีฟร้อนท์ เอนท์ เช่น การให้บริการลูกค้าในสาขา ซึ่งระบบทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในปีนี้ และเข้าสู่ช่วงที่ 3 นำระบบไอทีไปปรับใช้บริการเงินกู้ บริการตั๋วสัญญาใช้เงิน และสินเชื่ออื่นๆ จะใช้เวลาพัฒนา 2 ปี และเข้าสู่ช่วง ที่ 4 พัฒนาระบบเงินฝาก ซึ่งการพัฒนาระบบไอทีจะสิ้นสุดในปี 2557
K-Transformation เปรียบเสมือนเครื่องมือหลักของธนาคารกสิกรไทยที่จะช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินให้มีสีสันมากขึ้น ส่วนจะถูกใจลูกค้าหรือไม่ต้องติดตามต่อไป
|
|
|
|
|