Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554
โครงการหลวงกับการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ             
โดย Jerome Rene Hassler
 


   
search resources

Agriculture




บทความที่ผ่านมาในคอลัมน์นี้จะเน้นกล่าวถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนในเขตเมือง แต่สำหรับเดือนนี้ ผมต้องการขยายขอบเขต บทความของผมให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคเกษตรของไทยด้วย

เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้รับเชิญจากสำนัก งานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ให้ไปเยี่ยมชมโครงการหลวงในจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนกัมพูชา รวมถึงในจังหวัดเพชรบุรี ทำให้ผมได้มีโอกาสทำความรู้จักกับโครงการหลวง ซึ่งประสบความสำเร็จโดยการเดินตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผมได้เห็นโครงการหลวงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ซึ่งจัดทำโดยศูนย์ศึกษาและวิจัย 2 แห่งจากทั้งหมด 6 แห่งที่ก่อตั้งขึ้นโดยมูลนิธิในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในทั่วทุกภูมิภาคของไทย

การศึกษาและวิจัยในศูนย์เหล่านี้ครอบคลุมการพัฒนา 12 ด้าน ตั้งแต่การปลูกป่า การปลูกพืชพันธุ์ที่เกิดจากการผสม ข้ามสายพันธุ์ ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่า แต่ใช้น้ำ น้อยกว่า โครงการป้องกันหน้าดินพังทลายและป้องกันน้ำท่วม โครงการผลิตเชื้อเพลิง ชีวภาพจากพืชและการพัฒนาสัตว์สายพันธุ์ ใหม่

โครงการหลวงที่น่าสนใจมากโครงการหนึ่งของมูลนิธิในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในจังหวัดสระแก้ว ช่วยให้เกษตรกรเริ่มผลิตน้ำนมโคจากโคนม ที่มาจากยุโรป ซึ่งเมื่อหลายทศวรรษก่อน เกษตรกรไทยยังไม่เคยรู้จัก โครงการนี้มีศักยภาพสูงที่จะประสบความสำเร็จ ทั้งในตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก เนื่อง จากความนิยมในการรับประทานอาหารของ ประเทศในแถบนี้เปลี่ยนแปลงไป และคนไทยก็หันมารับประทานผลิตภัณฑ์จากนมเพิ่มขึ้นอย่างมากในชีวิตประจำวัน มูลนิธิของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ให้การฝึกอบรมแก่เกษตรกร และสนับสนุนทั้งเครื่องมืออุปกรณ์และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรที่ต้องการเปลี่ยนไปผลิตนมโค เกษตรกรคนหนึ่งในจังหวัดสระแก้วสามารถขยายฟาร์มโคนมของเขาได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ปี และมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้จะมีภาระต้องจ่ายคืนเงินกู้ ขณะนี้เกษตรกร ผู้นั้นได้ช่วยฝึกอบรมเกษตรกรคนอื่นต่อไป

อีกโครงการหนึ่งที่มีคุณค่ามากในจังหวะสระแก้ว คือโครงการช่วยเกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ซึ่งช่วยลดมลพิษทาง น้ำจากการเลิกใช้ปุ๋ยเคมี และยังเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และไม่ต้องเสียเงินซื้อหาในราคาแพงเหมือนกับการซื้อปุ๋ยเคมี เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายลงถึง 20% ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมากสำหรับพวกเขา

มีประเด็นที่ผมสนใจและต้องการเน้น หาคำตอบเรื่องหนึ่งก็คือ เหตุใดโครงการชลประทานจึงเป็นสิ่งที่โครงการหลวงให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในประเทศไทย

โครงการหลวงเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อเกือบ 60 ปีก่อนที่จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ไปประทับที่พระตำหนักไกลกังวลที่หัวหินบ่อยครั้ง ทอดพระเนตรเห็นปัญหาการด้อยพัฒนา จึงทรงริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาเหล่า นั้น ขณะนี้ในจังหวัดเพชรบุรีเพียงจังหวัด เดียวมีโครงการหลวงประมาณ 100 โครงการ (ดังที่ผมกล่าวถึงบางโครงการไปแล้ว ในบทความเมื่อเดือนก่อน) ส่วนโครงการหลวง ทั่วประเทศมีมากกว่า 4,000 โครงการ

ข้อมูลจากสำนักงาน กปร.ระบุว่า โครงการพัฒนาโครงการแรกเริ่มขึ้นในปี 1951 คือโครงการซื้อพันธุ์ปลาจากมาเลเซีย เพื่อแจกจ่ายให้แก่หมู่บ้านต่างๆ จากนั้นตาม มาด้วยโครงการสร้างถนนและอ่างเก็บน้ำ รวมไปถึงโครงการขุดคลองต่างๆ ตลอดช่วง หลายทศวรรษที่ผ่านมา โครงการจัดการน้ำ ในขณะนี้กลายเป็นโครงการสำคัญที่สุดของ โครงการหลวง เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทที่ยากจน ในบรรดาโครงการหลวงที่มีมากกว่า 4,000 โครงการ มีอยู่กว่า 2,000 โครงการที่เกี่ยว ข้องกับการแก้ปัญหาการจัดการน้ำ ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ กปร. ซึ่งรับผิดชอบดูแลโครงการหลวงระบุว่า ตลอด 30 ปี ที่ผ่านมา โครงการหลวงหลายพันโครงการข้างต้นลงทุนไปแล้ว 800,000 ล้านบาท เพื่อ สร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจัดหาน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ เกษตรกรของไทยมีน้ำใช้ในการเพาะปลูกตลอดทั้งปี

เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานจะเพาะปลูกได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัว ถึงแม้ว่าไทยจะเป็น ประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก แต่ไทยกลับมีชื่ออยู่ในรายชื่อประเทศที่ต้องเฝ้าระวังขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งคอยติดตามว่า ประเทศใดที่ประชากรมีความเสี่ยงต่อความ อดอยาก ดังนั้น การขยายพื้นที่ชลประทาน จึงมีความสำคัญที่สุดสำหรับการกินดีอยู่ดีของเกษตรกรไทย เขื่อนและโครงการชลประทานทำให้เกษตรกรเพาะปลูกได้ปีละ 2 หรือ 3 ครั้ง จึงมีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น การเพิ่มผลผลิตในภาคเกษตรคือกุญแจของการ แก้ปัญหาความยากจนและรักษาเสถียรภาพ ทางการเมืองในไทย หากปราศจากการได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเพิ่มผลผลิตการเกษตรและทำให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดี

ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประสิทธิภาพการใช้น้ำที่อยู่ในระดับต่ำมาก มักจะเกิดขึ้นในภาคเกษตร มีน้ำมากถึง 60-70% ที่ต้องสูญเสียไป เนื่องจากการใช้น้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพในภาคเกษตร สาเหตุจากการระเหยของน้ำในปริมาณสูง คลองชลประทานรั่วไหล และการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทำให้หน้าดินพังทลาย การจัดหาน้ำและ อาหารให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับ การพัฒนาสังคมไทย ตามปกติแล้วจะเป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในกรอบของชีววิทยาโดยธรรมชาติ และสภาพทางภูมิศาสตร์ ในขณะเดียวกันนั้น การจัดหาน้ำและอาหารให้เพียงพอ ก็อาจถูกแทรกแซงได้จากการกระทำของคนและสังคม ภูมิปัญญาความรู้และเทคโนโลยีของท้องถิ่น รวมไปถึงแนวทางการปฏิบัติใน สังคมและสถาบันสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่กับมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้มัน

เกษตรกรหลายรายในชะอำที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยด้วย บอกว่า ปัญหาใหญ่ของพวกเขาคือ การจัดสรรน้ำอย่างยุติธรรมสำหรับเกษตรกรทุกคน แม้จะมีอ่างเก็บน้ำที่ทำให้เก็บน้ำได้มากขึ้น แต่ปัญหาใหญ่ก็ยังคงเป็นการจัดการอย่างระมัดระวังต่อคำถามที่ว่า เกษตรกรรายใดควรจะได้รับน้ำมากน้อยเท่าใด ในแต่ละช่วงของปี การจัดการน้ำที่ดีจะต้องสามารถควบคุมปริมาณ น้ำและช่วงเวลาได้รับน้ำเพื่อเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว พื้นที่เกษตรขนาดเล็กที่มีอยู่ มากมายในประเทศไทย การขาดแคลนน้ำซึ่งมีสาเหตุจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำและการจัดสรรน้ำอย่างไม่ยุติธรรม ส่งผลจำกัดประสิทธิภาพของธุรกิจการเกษตรของไทย และยังคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในชนบท ซึ่งอาจส่งผลให้คนในชนบทอพยพย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น และเพิ่มปัญหาความไม่มั่นคงทางสังคมและความไร้เสถียรภาพทางการเมือง

มีพื้นที่เกษตรเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้น ในไทยคือประมาณกว่า 300 ล้านไร่ ที่ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน หรือน้อยกว่า 10% ของพื้นที่เกษตรในไทยเท่านั้น ที่ได้รับน้ำจากชลประทานอย่างเพียงพอและตัวเลขนี้แทบไม่เพิ่มขึ้นเลยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าทั้งรัฐบาลไทยหลายชุดที่ผ่านมา และมูลนิธิโครงการหลวงจะได้พยายาม แก้ไขเรื่องนี้อย่างสุดความสามารถ และทั้งๆ ที่ทั้งมูลนิธิโครงการหลวงและรัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมาของไทย ได้ตระหนักถึงปัญหานี้มานานแล้ว และพยายามจะเน้นเพิ่มการจัดหาน้ำให้แก่เกษตรกรก็ตาม

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (1992-1996) ได้เริ่มกระบวน การวางแนวทางระบบการบริหารจัดการแหล่งน้ำอย่างครอบคลุม สำหรับลุ่มน้ำสำคัญๆ ทั้งหมดของไทยทั้ง 25 แห่ง และในปี 2003 รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ได้ริเริ่มโครงการชลประทานมูลค่า 200,000 ล้านบาท เพื่อจัดการปัญหาขาด แคลนน้ำในภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม ความพยายามเหล่านี้ยังไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ดังนั้น รัฐบาลใหม่ของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงประกาศเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่จะจัดทำโครงการที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ชลประทานเป็น 2 เท่าทั่วประเทศ

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีแผนการ เพิ่มพื้นที่ชลประทานอีก 34 ล้านไร่ และเพิ่มปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำอีก 26,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มจากระดับปัจจุบันที่ 75,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ถูกกักเก็บอยู่ในเขื่อนและอ่าง เก็บน้ำทั้งหมดในไทย งบประมาณที่จะใช้สำหรับโครงการนี้คือ 1.7 ล้านล้านบาท แต่นอกจากเม็ดเงินมหาศาลที่จำเป็นสำหรับการดำเนินโครงการขนาดใหญ่อย่างนี้แล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกที่ต้องจัดการ การขาดระบบบำบัดน้ำเสีย ทำให้น้ำเสียจากครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกและโรงงานอุตสาหกรรม ไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำ ที่กักเก็บอยู่ในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำสามารถ นำมาใช้เจือจางน้ำที่มีมลพิษเหล่านี้ และเพิ่มคุณภาพน้ำในแม่น้ำลำคลองได้

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังคงเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงอย่างมาก เนื่องจากสารก่อมลพิษ และแบคทีเรีย ซึ่งก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลาย ชนิดยังคงอยู่ในแหล่งน้ำ มีเพียงการบำบัดน้ำเสียในโรงงานบำบัดน้ำเสียเท่านั้น ที่จะสามารถเพิ่มคุณภาพน้ำจนถึงระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

ปัญหาใหญ่อีกประการคือ ราษฎรหลายพันคนจะต้องถูกเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำตามแผนการข้างต้น ชาวบ้านจึงมักคัดค้านโครงการสร้าง เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ โครงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดสระแก้ว (ซึ่งเพิ่งเริ่มก่อสร้างได้ในปีนี้ และจะแล้วเสร็จในอีก 10 ปีข้างหน้า) เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบต่อต้านโครงการนี้มานาน 20 ปี และความขัดแย้งยังไม่ได้ยุติลงทั้งหมด เจ้าหน้าที่ ดูจะมองเห็นปัญหาการคัดค้านของชาวบ้าน เป็นเพียงความขัดแย้งเรื่องการจ่ายค่าชดเชย ที่ดินที่ถูกเวนคืนเท่านั้น แต่การคิดเช่นนี้ดูจะเป็นการมองไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง ชาวบ้านย่อมผูกพันกับที่ดินและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยกันมานานหลายชั่วอายุคน และที่ดินคือตัวตนของพวกเขา

สังคมไทยซึ่งมีการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอด 15 ปีที่ผ่านมา คัดค้านวิธีการวางแผนแบบเก่าจากบนลงล่างมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องให้ชาวบ้านในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวางแผนตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะการพิจารณาภูมิปัญญาท้องถิ่น และความต้องการของชาวบ้าน จะช่วยเพิ่มสัมฤทธิผลของกระบวน การวางแผน และยังอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างลงได้ เพราะความล่าช้าทั้งในขั้นของการวางแผนและการก่อสร้าง อันมีสาเหตุมาจากการประท้วงต่อต้านของชาวบ้านนั้น ทำให้รัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ถ้าหากรัฐไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้อย่างเหมาะสม การแสวงหาทางแก้ ปัญหาอย่างยุติธรรม ในกระบวนการวางแผนที่ให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วม จะช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเมืองด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างของผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการวางแผนแบบเก่าจากบนลงล่าง ก็เช่นโครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียที่จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียทั่วประเทศ ไม่สามารถก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ได้ และโรงบำบัดน้ำเสียดังกล่าวก็ไม่เคยเริ่มทำงาน ได้จริง เพราะชาวบ้านในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนช้าเกินไป ทำให้หลายครอบครัวไม่ยอมขายที่ดิน ที่จำเป็นสำหรับการวางท่อระบายน้ำให้เสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น ผู้วางแผนโครงการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในครั้งนี้จะต้องเรียนรู้บทเรียนจากความล้มเหลวของโครงการก่อนหน้านี้ เพื่อให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนการใช้ที่ดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการส่งเสริมในรัฐธรรมนูญปี 1997 ของไทยด้วย และมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้รัฐบาลต้องสูญเสียเงินงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ไปกับการถูก ชาวบ้านต่อต้านโครงการก่อสร้างโครงสร้าง พื้นฐาน ดังที่ได้กล่าว ไปแล้วข้างต้น

เราเห็นประชาชนในหลายส่วนของ ไทยต่อต้านโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มาแล้ว สิ่งนี้ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมไทยต้องตกอยู่ในอันตราย ถ้าหากผู้วางแผนยังคงละเลยความต้องการและความ คิดของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ แน่นอนว่าโครงการเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อเศรษฐกิจของท้องถิ่นเอง แต่โครงการต่างๆ นี้จะสำเร็จลงอย่างราบรื่นไปไม่ได้ ถ้าหากความต้องการของชาวบ้านไม่ได้รับการพิจารณาและจัดการอย่างเหมาะสม

บทความนี้กล่าวถึงการใช้น้ำอย่างยั่งยืนในภาคการเกษตรของไทย ซึ่งจะส่งผลให้การใช้ชีวิตมีความมั่นคงมากขึ้น ไทยเริ่มเดินไปตามเส้นทางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรแบบเก่า ไปสู่การเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมและบริการต่างมีสัดส่วนสูงขึ้นใน GDP ของไทย และในการจ้างงาน และสูงกว่าภาคเกษตร อย่างไรก็ตาม การเกษตรยังคงสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในชนบท รวมถึงคนในเมืองด้วย ซึ่งยังคงต้องพึ่งพาอาหารจากภาคเกษตร ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและการจัดสรรน้ำอย่างยุติธรรมต่อไป ซึ่งจะทำได้สำเร็จอย่างราบรื่น หากไม่ละเลยภูมิปัญญาของท้องถิ่นในกระบวนการวางแผนโครงการขนาดใหญ่ทั้งหลาย โครงการหลวงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีส่วนช่วยรัฐบาลอย่างมากในด้านการพัฒนาตลอดเวลาที่ผ่านมาและจะเป็นเช่นนั้นต่อไปในอนาคตอันใกล้และไกล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us