Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554
กรีนเชิงสัญลักษณ์จาก ปตท.             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
ปรัชญา ภิญญาวัธน์
Environment
Plastics




“โลกมันชัดเจนว่าก้าวสู่เรื่องกรีนโปรดักส์ทั้งนั้น เป้าหมายของ ปตท.จึงอยากมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรีน เราเริ่มจากไบโอพลาสติกหรือพลาสติกที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ที่สำคัญเราต้องพัฒนาธุรกิจให้เอาไปใช้ได้จริงด้วยการหาการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ให้เจอ”

ดร.ปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท.กล่าวกับผู้จัดการ 360 ํ ในงานเปิดตัวแก้วพลาสติกย่อยสลายได้ 100% ของร้านกาแฟคาเฟ่อะเมซอน

ปตท.เปิดตัวโครงการร่วมทุนกับบริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่นจาก ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้แต่ ผู้รู้ยังจำกัดในกลุ่มนักลงทุน การกล่าวถึงธุรกิจอย่างจริงจังอีกครั้งในงานเปิดตัวถ้วย กาแฟเล็กๆ ของคาเฟ่อะเมซอนจึงเป็นการ ประกาศเปิดตัวธุรกิจใหม่ให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้โดยทั่วถึงอีกครั้ง โดยอาศัยผลิตภัณฑ์ ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คุ้นเคยอย่างแก้วกาแฟมาเป็นตัวสื่อความหมาย

การเปิดตัวด้วยวิธีนี้ให้ประโยชน์กับ กลุ่ม ปตท.และคาเฟ่อะเมซอนไปพร้อมกัน เพราะเป็นทั้งการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ของ ปตท.ให้ตลาดรู้จักในวงกว้าง และเปิดตัวจุดขายใหม่ให้กับร้านกาแฟที่มีสาขามากที่สุดของประเทศไทย

“นี่คือจุดเริ่มต้น อาจคิดว่าเป็นเชิงสัญลักษณ์เรื่องกรีน แต่เราทำซีเรียสนะ เรา ลงทุนกับมิตซูบิชิฯ ตั้งบริษัทขึ้นอีก 3 ปี โรงงานจะแล้วเสร็จ จะมีกำลังการผลิตถึง 2 หมื่นตันต่อปี เมื่อทุกอย่างคอมพลีท เราก็คิดว่า ปตท.สามารถที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจ ไบโอพลาสติกได้ นี่คือเป้าหมายที่เราตั้งไว้ แต่วันนี้อาจจะพูดได้ว่าเป็นเชิงสัญลักษณ์ที่เราออกมาบอกว่าผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติก ถึงจะเป็นของใหม่แต่ก็ผ่านการทำงานของศูนย์วิจัยมาแล้ว จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปที่ใช้ได้จริง”

ดร.ปรัชญากล่าวว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามนโยบายที่ ปตท.กำหนดไว้ว่าจะเติบโตด้วย กรีน (Green Growth) ดังนั้นนอกจากการ พัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกอย่างเอทานอล การพัฒนาพลาสติกจากวัตถุดิบที่ย่อยสลาย ได้ก็เป็นเป้าหมายที่ ปตท.ศึกษาและทำงาน ในศูนย์วิจัยมานาน จนนำมาสู่ความร่วมมือ กับมิตซูบิชิฯ โดยถือหุ้นฝ่ายละ 50% จดทะเบียนภายใต้บริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด (PTT MCC Biochem Company Limited) ทุนจดทะเบียน 360 ล้านบาท เพื่อดำเนินการผลิตไบโอพลาสติก ผลิตสารตั้งต้น Bio-Succinic Acid (BSA) และผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด Poly-butylene Succinate (PBS) โดยใช้วัตถุ ดิบจากธรรมชาติคือ น้ำตาล

โรงงานดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนก่อสร้าง 7 พันล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 100 ไร่ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย (AIE) จังหวัดระยอง จะเริ่มก่อสร้างในปี 2555 คาดว่าจะดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2557 โดยจะผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBS จากพืชเป็นรายแรกของโลกจากปัจจุบันที่เม็ดพลาสติก PBS จะผลิตจากปิโตรเลียมทั้งสิ้น โดยโครงการสารตั้งต้น BSA จะมีกำลังการผลิต 36,000 ตันต่อปี และ PBS จะมีกำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปี กำลังการผลิตนี้คาดว่าต้องใช้น้ำตาล เป็นวัตถุดิบประมาณ 5 หมื่นตันต่อปี ซึ่ง ปตท.จะตัดซื้อจากโควตาน้ำตาลส่งออก

“เป้าหมายระยะสั้น เราจะเป็นเบอร์หนึ่งในอาเซียน เพราะเราเป็นบริษัทที่มีโรงงานแห่งแรกในภูมิภาคนี้ ระยะกลางเราต้องการจะเป็นผู้นำในเอเชีย ในระยะไกลเราคาดว่าจะเป็นผู้นำของโลกได้ เพราะผมคิดว่าประเทศไทยมีศักยภาพ”

ความเห็นของ ดร.ปรัชญาเกี่ยวกับศักยภาพของไทยเป็นมุมมองเดียวกับผู้ร่วมทุนชาวญี่ปุ่น ซึ่งมิตซูบิชิฯ ให้เหตุผลในการ ตัดสินใจร่วมทุนครั้งนี้ในทำนองเดียวกันว่า การตั้งโรงงานในไทยจะมีความได้เปรียบทั้งในด้านที่ไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างอ้อยและมันสำปะหลัง ในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลและมันสำปะหลังรายใหญ่ของโลก และตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทย ก็เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีในการส่งสินค้าไปยังจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งมีอัตราบริโภค พลาสติกชีวภาพสูงจะทำให้ได้เปรียบด้านการค้าจากต้นทุนการขนส่งอีกทางหนึ่งด้วย

ดังนั้น นอกจากพื้นที่ 100 ไร่ที่เป็น จุดก่อสร้างโรงงาน ปตท.ยังมีพื้นที่สำรองในบริเวณเดียวกันอีกจำนวน 1,500 ไร่ เพื่อเตรียมพัฒนาสู่การเป็น bio-hub ของเอเชีย ตามแนวทางที่วางไว้ในระยะกลาง-ไกลด้วย

ดร.ปรัชญากล่าวว่า ในระยะเบื้องต้นกลุ่มลูกค้าหลักของพลาสติกชีวภาพจะเน้นตลาดต่างประเทศ ในยุโรป อเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่มีแนวโน้มความต้องการใช้งานสูงขึ้นประมาณ 25% ต่อปี โดยในปี 2553 คาดว่าจะมีความต้องการใช้พลาสติก ชีวภาพทั่วโลกประมาณ 200,000 ตันต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,200,000 ตัน ภายใน ปี 2563

แผนการดำเนินธุรกิจของบริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม แบ่งออกเป็น 2 เฟส ได้แก่ เฟส 1 พัฒนาตลาด PBS ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งออกแบบการก่อสร้างโรงงานผลิต PBS ขนาด 20,000 ตันต่อปีและพัฒนาทางเลือกเทคโนโลยีการผลิตสารตั้งต้น BSA และเฟส 2 จะเริ่ม การก่อสร้างโรงงานผลิต PBS และโรงงานผลิต BSA ขนาด 36,000 ตันต่อปี คาดว่าจะดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในปลายปี 2557

“การบ้านของเราตอนนี้คือพยายาม เริ่มทำตลาด เริ่มหารูปแบบการใช้งานของไบโอพลาสติก ชักชวนคนมาลองใช้ เพราะวันนี้ PBS ยังเป็นส่วนที่ใช้น้อย ตัว PLA (พลาสติกย่อยสลายแบบใสและเปราะบางกว่า) ก็ยังน้อย แต่เราเห็นอนาคตว่าการเติบโตจะสูงมาก กว่าโรงงานจะเสร็จผมคิดว่ากำลังการผลิต 2 หมื่นตันที่กำหนดไว้น่าจะขายได้หมด”

ตัวอย่างการใช้งานที่ ดร.ปรัชญา ยกมาให้ฟัง ส่วนใหญ่คือกลุ่มที่ต้องการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง เช่น ภาคการ เกษตร อย่างในญี่ปุ่นที่ใช้พลาสติกคลุมแปลงผักกันแพร่หลาย ซึ่งใช้แล้วไม่ต้องเก็บทิ้งไว้ก็จะกลายเป็นปุ๋ย กลุ่มห้างสรรพสินค้าต่างๆ ฯลฯ

“ที่ญี่ปุ่นเขามีกลุ่มผู้ใช้เยอะ เขาคุ้ม แล้ว เพราะค่าแรงเขาสูง ใช้คลุมดินเสร็จก็ทิ้งเป็นปุ๋ยไปเลย เทียบกับที่ต้องจ้างคนมาเก็บแพงกว่าเสียอีก ประเด็นนี้คืออีกจุดที่เรามอง เมื่อข้อจำกัดว่ามันแพงถ้าผลิตน้อยก็ไม่คุ้มเราถึงพยายามที่จะสร้างโรงงาน ที่มันใหญ่ขึ้น พยายามหาตลาดเพื่อให้ได้อีโคโนมีออฟสเกล ราคาก็จะลงมาแข่งขันได้ บวกกับช่วยประหยัดต้นทุนเรื่องการทำลาย ผมเชื่อว่านี่เป็นเทรนด์ของโลก ไม่ใช่เทรนด์ เฉพาะที่ไหน ตลาดไทยก็น่าจะเป็นไปในลักษณะเดียวกัน”

อย่างไรก็ตาม แก้วไบโอพลาสติกของอะเมซอนซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธุรกิจที่จะนำ ปตท.ไปสู่ผู้นำธุรกิจใหม่ในตลาดโลกนี้ ปัจจุบันประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ตัวแก้วและหลอดซึ่งเป็นพลาสติกแบบขุ่นที่เป็น PBS กับแก้วใสและฝาปิดจากพลาสติก PLA แม้จะเริ่มทยอยออกมา ใช้งานในร้านกาแฟคาเฟ่อะเมซอนบริเวณสำนักงานใหญ่ของ ปตท.แล้ว 3 สาขา และถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมใช้ 100% แต่ก็ยังอยู่ในช่วงต้องพัฒนาปรับให้ดียิ่งขึ้น อาทิ พัฒนาการเคลือบลามิเนทเพื่อให้ทนความร้อนสูงขึ้น จากปัจจุบันแก้วที่ผลิตออก มาสามารถทนความร้อนได้เพียง 80 องศาเท่านั้น และเรื่องดีไซน์

ปตท.คาดว่าเมื่อถึงปี 2557 (2014) เมื่อโรงงานแล้วเสร็จและเริ่มผลิตแก้วพลาสติกย่อยสลายได้ 100% ก็จะถูกป้อนให้กับร้านกาแฟคาเฟ่อะเมซอนที่มีอยู่ 591 สาขาทั่วประเทศ แล้วเมื่อนั้นยอดจำหน่าย กาแฟของร้านซึ่งมียอดขายปีละ 30 ล้านแก้วในปัจจุบัน ก็คงจะปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ในช่วงที่ ปตท.ยังไม่ได้ผลิตเองนี้ คาเฟ่อะเมซอนซึ่งถือเป็นผู้นำร่องในการโปรโมตการใช้ไบโอพลาสติกและเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ให้กับธุรกิจกรีนของปตท.ไปในตัว จะเป็นผู้รับต้นทุนค่าเม็ดพลาสติกไบโอที่ต้องอิมพอร์ตเข้ามาไปก่อน ด้วยการจำหน่ายกาแฟที่บรรจุในแก้วไบโอพลาสติกในราคาเดิม

ส่วน ปตท.ต้องถือว่าได้รับประโยชน์ล่วงหน้าไปแล้ว เพราะกรีนเชิงสัญลักษณ์จากแก้วไบโอพลาสติกของคาเฟ่อะเมซอนในครั้งนี้กลายเป็นสารที่ส่งถึงผู้บริโภคไทย ในวงกว้างให้รับรู้แล้วว่า ในทศวรรษต่อจากนี้ไป ปตท.จองตำแหน่ง “ผู้เล่นหลักของกรีนโปรดักส์” รายใหญ่ของไทยเพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่งแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us