"เขียนไม่รู้เรื่อง"
"เขียนไม่เป็น"
สำนวนบ่นกึ่งรำคาญตัวเองแบบนี้ ผู้เขียนจะได้ยินอยู่เสมอ
ขอขยายความหน่อยว่า คำสองคำที่ผู้บ่นละไว้ ซึ่งอยู่ระหว่างคำว่า "เขียน"
และคำว่า "ไม่" คือ "ภาษาอังกฤษ" เพราะฉะนั้นสำนวนบ่นเต็มๆ คือ "เขียนภาษา
อังกฤษไม่ได้"
ปฏิกิริยาของผู้ฟัง คนนี้คือ รอให้ผู้บ่นขยายความต่อไป เพราะประโยคนี้ก็ยังไม่สมบูรณ์อยู่ดี
และจากที่ผู้เขียนสังเกต ผู้บ่นส่วนใหญ่ที่ต้องการเขียนให้เป็นจริงๆ ก็จะค่อยๆ
ขยับบอกมาเองว่า สิ่งที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ คืออะไร และ "อะไร" ที่ผู้พูดปรับทุกข์ให้ฟังก็มีตั้งแต่อีเมล
แฟกซ์ จดหมาย บันทึกภายในออฟฟิศ ข้อเสนอโปรเจ็กต์ โปรไฟล์บริษัท เว็บเพจ
ตลอดจนสุนทรพจน์น้อยใหญ่
เมื่อได้ "อะไร" ที่ชัดขึ้นแล้ว คำถามของผู้เขียน คือ ทำไมถึงคิดว่าเขียนไม่ได้
บางคนตอบว่า ไม่รู้สิ แต่หลายคนพยายามคิดหาสาเหตุ และมักจะกล่าวโทษแกรมม่า
(ไม่แข็งแรง)
เป็นตัวการอันดับแรก รองลงมาคือ (รู้) ศัพท์น้อย
ตอนแรกผู้เขียนก็คอยพยักหน้าหงึกๆ คล้อย ตามไปด้วย ฟังดูเข้าท่านี่นา แกรมม่าไม่แน่น
ศัพท์ก็ไม่ค่อยรู้ แล้วจะเขียนได้อย่างไร เออ! นะ แต่คิดไปคิด มา ก็อดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามกับตัวเองต่อไปว่า
แล้วจะต้องท่องกฎสารพัดกฎ ท่องข้อยกเว้นสารพัดข้อ อีกทั้งท่องศัพท์สารพัดคำ
วันละกี่กฎ วันละกี่ข้อ วันละกี่คำ ประมาณว่าเมื่อไรล่ะ?! อย่าว่าแต่สุนทรพจน์เลย
อีเมล ก็ไม่ได้เกิดแน่ๆ
สงสัยต้องคิดใหม่
ถ้าคุณว่ายน้ำไม่เป็น คุณจะมัวนั่งท่องทฤษฎี ว่าด้วยการว่ายน้ำให้เป็น
ท่องวิธีการหายใจในน้ำ ท่อง ทุกอย่างที่พึงท่องได้บนเก้าอี้ตัวโปรดในห้องแอร์
โดย ไม่แตะน้ำในสระน้ำเลยหรือ?
หรือว่า อันที่จริง คุณไม่ค่อยชอบน้ำสักเท่าไร และถ้าจะถามกันตรงๆ ว่า
คุณกลัวน้ำหรือเปล่า คุณ จะกล้าตอบยอมรับความรู้สึกที่แท้จริง?
คุณกลัวการเขียน ใช่ไหม....
หวัดกลัวการเขียน...ไม่ละเว้นเจ้าของภาษา
โรคกลัวการเขียนเหมือนหวัด แม้กระทั่งเจ้าของภาษายังเป็นกันมากเลย และเพิ่งทยอยออกมายอมรับว่าป่วย
นี่คือ ข้อดีของฝรั่งเจ้าของภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นชาวมะกัน ชาวอังกฤษ หรือชาวออสซี่
ที่นิยมเปิดเผยปัญหาของสังคมตนเอง ตลอดจนกระบวนการจัดการและแก้ไขปัญหาเป็นขั้นเป็นตอนด้วย
ส่วนชนชาติอื่นๆ ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา อังกฤษนั้น จากการค้นคว้าขุดคุ้ยตำราสอนภาษาอังกฤษ
ตลอดจนเว็บไซต์ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้เขียนรับประกันได้เลยว่า หวัดกลัวการเขียนระบาดทั่วไป
เพราะฉะนั้นถ้าชาวไทยจะยอมรับว่าเป็นเหมือนกัน ก็ไม่น่าจะต้องอายใคร มาลองขจัดความกลัวกันจะดีไหม
ขั้นตอนแรก...เริ่มเขียนเลย
เขียนอะไรอะไรที่ทำให้อุ่นใจสบายกายก่อน เช่น
‘ จดชื่อหนังที่อยากดูในหนึ่งเดือน
‘ จดเมนูอาหารจานโปรดที่อยากทานประจำวันหรือตอนวีคเอนด์ แถมชื่อร้านและเบอร์โทรฯ
ด้วยก็ได้
‘ จดชื่อสิ่งของที่ต้องซื้อที่ตลาด เขียนเป็นคำๆ พอให้เตือนความจำของคุณตอนเข็นรถในซูเปอร์มาร์เก็ต
‘ จดรสไอศกรีมและขนมที่คุณชอบเป็นพิเศษ
ใครบอกคุณล่ะว่า การฝึกเขียนภาษาอังกฤษต้องเริ่มที่อีเมลตอบรับนัดให้เจ้านาย
หรือจดหมายปฏิเสธ ข้อเสนอปรับโครงสร้างหนี้ หรือบันทึกภายในออฟฟิศของคุณ
ใครบังคับให้คุณคิดว่า การเขียนภาษาอังกฤษให้ดี ต้องเริ่มจากเรื่องแห้งๆ
ไม่น่าอภิรมย์เหล่านี้
เริ่มขีดๆ เขียนๆ คำและกลุ่มคำที่คุณชอบ อะไร ก็ได้ที่ทำให้คุณยิ้มออกนะ
จะวาดรูปประกอบและแต้มสีสันให้ใสๆ ได้ยิ่งดี
เพราะอารมณ์ยิ้มจะทำให้คุณอยากเขียนแล้วเขียนอีก
ขั้นที่สอง...เขียนบันทึกถึงตัวเอง
"บันทึก" ในที่นี้ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่า หมายจะ ให้เก็บ "ความ" อันใดบ้าง
เช่น
‘ บันทึกธรรมชาติ ถ้าคุณชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง ชอบป่าเขาทะเล คุณอาจจะสนใจลองเก็บข้อสังเกตเล็กๆ
น้อยๆ บันทึกเป็นคำๆ แล้วลองผูกประโยคสั้นๆ ดูบ้าง
‘ บันทึกสัตว์เลี้ยง หรือเลี้ยงสัตว์ ถ้าคุณมีหมาแมวตัวโปรด น่าจะลองบันทึกวีรกรรมหรือเรื่องน่ารัก
น่า เล่า ถ้าคิดผูกประโยคแล้วลำบากใจ จดเป็นสำนวนหรือกลุ่มคำก็ได้
‘ บันทึกเมนูอาหารจานโปรดและตำราทำกับข้าว รับรองได้ว่าคุณจะชำนาญการใช้กิริยาคำศัพท์
‘ บันทึกการเดินทาง นอกจากจะได้ขีดๆ เขียนๆ แล้ว คุณจะแปะโปสการ์ดหรือแผนที่ให้ได้รสชาติเพิ่มขึ้นก็ไม่ผิดกติกา
‘ บันทึกสังสรรค์ อันนี้สำหรับปาร์ตี้เกิร์ลและปาร์ตี้บอยโดยเฉพาะ จะเก็บสูตรเด็ดผสมเหล้าของเจ้าบ้านทั้งหลายก็ไม่ว่ากัน
อย่าลืมว่า การเขียนถึงตัวเองนั้น เป็นเรื่องดีนะ เพราะถ้าเราไม่เห็นว่าตัวเราน่าสนใจแล้ว
ชีวิตคงอับเฉาพิลึก ใครอื่นเขาอยากจะใส่ใจคุณล่ะ
เมื่อฝึกปรือจนไม่เขินแล้ว ลองเขียนการ์ด หรือจดหมายสั้นๆ ถึงตัวเองบ้าง
ลูกศิษย์คนหนึ่งของผู้เขียน ซึ่งเป็นสาววัยรุ่น น่ารักแต่ซีเรียสเรื่องเรียนมาก
เล่าให้ฟังว่า ซัมเมอร์ที่แล้วไปเรียนเมืองนอก และได้ลองเขียนโปสการ์ดถึงตัวเอง
เธอบอกว่า สนุกมากกับการกลับมาบ้านและได้อ่านเรื่องราวที่เกือบลืมไปแล้ว
ขนาดหนูซีเรียส หนูยังลองทำดูเลย
ขั้นตอนสำหรับผู้บ่น..ที่ติดแกรมม่า
หากติดใจมากๆ ว่าคุณเขียนถูกผิดอย่างไร โดยที่ยังไม่ต้องการให้ใครช่วย
ตรวจละก็ ลองทำแบบฝึกหัดตามเว็บ ไซต์เหล่านี้ดู
‘ http://anarchon.tripod.com
‘ http://eslus.com
‘ http://web.mit.edu ขั้นตอนท้ายสุด คือ อ่าน อ่าน และก็อ่านไปเรื่อยๆ
เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับการฝึกเขียน
สำคัญว่า คุณเลือกอ่านอะไร ใครเขียนเท่า นั้นแหละ
เพราะผู้เขียนเชื่อว่า "You are what you read." และ "You write what you
read!"