Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554
Sunflower Remediation             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Environment




เวลาครึ่งปีภายหลังเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเมื่อ 11 มีนาคม 2011 ที่ผ่านมา* ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาที่เนิ่นนาน โดยเฉพาะสำหรับผู้ประสบภัยชาวญี่ปุ่น แต่ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่สั้นมากเมื่อเทียบกับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมรอบรัศมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุคุชิมะแห่งที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นพยายามแสวงหาวิธีการกำจัดสารกัมมันตรังสีดังกล่าวโดยเร่งด่วนที่สุด

งบประมาณปี 2012 จำนวนมหาศาลได้ผ่าน การพิจารณาอนุมัติจากสภาไดเอทแห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้บูรณาการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมุ่งเน้นไปที่จังหวัด Fuku-shima, Miyagi และ Iwate เป็นอันดับแรก

กระนั้นก็ตามถึงแม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันของโรงไฟฟ้าฟุคุชิมะแห่งที่ 1 จะสามารถควบคุมได้แล้วเมืองใหม่ตลอดจนสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ อาจสร้างขึ้นมาได้ภายในไม่กี่ปีนับจากนี้ แต่ความอุ่นใจและปลอดภัยสำหรับการอยู่อาศัยในระยะยาวไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากสารกัมมันตรังสีส่วนหนึ่งที่กระจายออกมายังคงปลดปล่อยรังสีออกมาอยู่เช่นนี้

สารกัมมันตรังสี 2 ชนิดหลัก อันได้แก่ Iodine-131 (ค่าครึ่งชีวิต 8 วัน) และ Caesium-137 (ค่าครึ่งชีวิต 30.1 ปี) ซึ่งรั่วไหลออกมาพร้อมการระเบิดของก๊าซไฮโดรเจนในบริเวณตัวอาคารของโรงไฟฟ้าดังกล่าวสามารถเฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงในทุกๆ ตารางนิ้วของประเทศ ญี่ปุ่นได้โดยง่ายผ่านระบบ System for Prediction of Environment Emergency Dose Information (SPEEDI) ที่ตรวจสอบทางอินเทอร์เน็ต หน้าหนังสือ พิมพ์รวมถึงแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

สิ่งที่ต้องให้ความสนใจนอกเหนือจากชนิดของกัมมันตรังสีก็คือ “ค่าครึ่งชีวิต” ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีชนิดนั้นๆ ใช้ในการสลายตัวลดลงจากเดิมเหลือครึ่งหนึ่ง ยกตัวอย่าง เช่น สารกัมมันตรังสี Iodine-131 จำนวน 10 กรัมจะสลายตัวเหลือ 5 กรัม ภายในเวลา 8 วัน การสลายตัวของ Iodine-131 ปลดปล่อยรังสีเบต้าออกมาและเปลี่ยนเป็น Xeno-131 ซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อยในธรรมชาติที่มีความเสถียรคงตัว

ในทำนองเดียวกันสมมุติว่ามี Caesium-137 จำนวน 10 กรัม จะสลายตัวเหลือ 5 กรัมต้องใช้เวลายาวนานถึง 30.1 ปี การสลายตัวของ Caesium-137 นี้จะปลดปล่อยรังสีเบต้าออกมาแล้วเปลี่ยนเป็น สาร Barium-137 จำนวน 5% ซึ่งเป็นสารที่เสถียรและอีก 95% จะเปลี่ยนเป็น Barium-137m ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีชนิดใหม่ที่ไม่เสถียรจึงมีการสลายตัวต่อไปอีกหนึ่งขั้น

Barium-137m มีค่าครึ่งชีวิตสั้นเพียง 2 นาที ครึ่ง ซึ่งเมื่อสลายตัวจะปลดปล่อยรังสีแกมมาแล้ว กลายเป็นสาร Barium-137 ในท้ายที่สุด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการสลายตัวของ Caesium-137 จะพบทั้ง รังสีเบต้าและแกมมาในระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปี

ทั้งนี้ค่าครึ่งชีวิตเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสารกัมมันตรังสีที่มักจะได้ยินบ่อยๆ เนื่องเพราะสารกัมมันตรังสีจะมีจำนวนลดลงไปตามกราฟเอ็กโปเนเชียล กล่าวคือช่วงเวลาการสลายตัวจาก 100% เหลือ 50% ใช้เวลานานกว่าการสลายตัวจาก 50% จนหมดราว 2.5 เท่าตัว เช่น Iodine-131 จะสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งใช้เวลา 8 วันและจะสลายตัวจนหมดภายในเวลา 11.5 วัน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การปนเปื้อน Iodine-131 จึงไม่น่าเป็นห่วงมากเท่า Caesium-137 ซึ่งมีค่าครึ่งชีวิตยาวนานกว่ามาก

ข้อควรระวังที่สำคัญคือทั้งรังสีเบต้าซึ่งเป็นอนุภาคพลังงานสูงมีน้ำหนักเบาอาจผ่านเข้าสู่ชั้นผิวหนังหรืออาจมีโอกาสสูดหายใจเข้าไปโดยตรงได้และรังสีแกมมาซึ่งแพร่ออกมาในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถทะลุผ่านเนื้อเยื่อได้นั้นล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพหากได้รับรังสีต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในรัศมี 30 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุคุชิมะแห่งที่ 1 ออกไปทันทีหลังจากตรวจพบระดับรังสีที่สูงขึ้นแล้วก็ตามแต่เพื่อความปลอดภัยนั้นหลายองค์กรพยายามคิดหาวิธีพร้อมทั้งผลักดันโครงการกำจัดสารกัมมันตรังสี ปริมาณต่ำที่ตกค้างอยู่รอบนอกรัศมีที่รัฐประกาศไว้

วิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายและราคาถูกซึ่งได้รับความ สนใจอย่างกว้างขวางเรียกว่า Phytoremediation มีแนวคิดมาจากการใช้กลไกการเติบโตของพืชช่วยกำจัดสารพิษบนผิวดินหรือคราบน้ำมันที่ปนเปื้อนอยู่ ในทะเลรวมถึงมลพิษทางอากาศเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดแต่การประยุกต์แนวคิดนี้มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยดูดซับสารกัมมันตรังสีในรัศมีพื้นที่หลายร้อยหลายพันตารางกิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุคุชิมะแห่งที่ 1 ได้

พืชหลายชนิดมีคุณสมบัติเข้าข่าย สามารถดูดซับสารกัมมันตรังสีได้ เช่น clover, บัว, หม่อน, ทานตะวัน เป็นต้น ในจำนวนนี้มีข้อมูลสนับสนุนจากผลการทดลองปลูกพืชในบ่อน้ำแห่งหนึ่งซึ่ง อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้า Chernobyl ราว 1 กิโลเมตร เมื่อปี 1996 พบว่ารากของ ทานตะวันสามารถดูดซับ Caesium-137 ไว้ได้ในความเข้มข้นสูงถึง 8,000 เท่าเมื่อเทียบกับระดับ Caesium ที่พบใน ต้นทานตะวันที่ปลูกตามธรรมชาติ

แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลใดยืนยันว่าทานตะวันจะสามารถดูดซับ Caesium-137 ที่ปนเปื้อนในดินได้ผลดีเหมือนเช่น ในน้ำหรือไม่ก็ตาม ในขณะนี้ดูเหมือนว่า ทานตะวันจะเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงสุดที่จะนำมาใช้ทดลองปลูก นอกจากนี้ยังมีฐานข้อมูลสนับสนุนจากโครงการวิทยาศาสตร์ของ JAXA (Japan Aerospace Exploration Agency) ที่มีส่วนเสริมช่วยให้เกิดเป็นโครงการปลูก ทานตะวันเพื่อดูดซับสารกัมมันตรังสีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น

โดยทฤษฎีแล้ว Caesium ที่เป็นสารเคมีในภาวะเสถียรกับ Caesium-137 ที่เป็นสารกัมมันตรังสี จะมีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกันทุกประการ ขณะเดียวกัน Caesium ถูกจัดไว้ในหมู่เดียวกับ Sodium และ Potassium บนตารางธาตุจึงมีลักษณะทางเคมี ที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นทานตะวันซึ่งเป็นพืชที่ใช้ Potassium ในการเจริญเติบโตจะดูดซับ Caesium ไปใช้แทนในกรณีที่ดินขาด Potassium

เป้าประสงค์หลัก 2 ประการในเบื้องต้นนี้คือ (1) ต้องการลดปริมาณของ Caesium-137 ในดินให้ต่ำกว่า 5,000 Bq/kg ในระยะแรก จากนั้นลดลง ให้เหลือต่ำกว่า 1,000 Bq/kg ในระยะที่สอง และ (2) ต้องการลดระดับรังสีเหนือผิวดิน 10 เซนติเมตร ให้ต่ำกว่า 0.1 mSv/ปี โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชุมชน

เป็นเรื่องน่าภูมิใจที่อย่างน้อยประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในโครงการนี้ด้วยการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ทานตะวันจำนวนมากเพื่อใช้ปลูกในโครงการ ซึ่งต้องการเมล็ดทานตะวัน 1 ตันต่อพื้นที่ 500,000 ตารางเมตร

ผลการปลูกทุ่งทานตะวันในครั้งแรกพบว่าเมล็ดทานตะวันที่เก็บเกี่ยวได้ไม่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีเนื่องเพราะ Caesium-137 ส่วนใหญ่มีแนวโน้มสะสมอยู่บริเวณรากและลำต้นใกล้ผิวดิน ดังนั้นจึงสามารถนำเมล็ดทานตะวันที่ได้ส่วนหนึ่งไป สกัดเอาน้ำมันดอกทานตะวันและอีกส่วนหนึ่งนำไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูถัดไป

หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วอาศัยแบคทีเรียที่ทนความร้อนสูงมาช่วยในกระบวนการย่อยสลายต้นทานตะวันที่มี Caesium-137 ที่อุณหภูมิ 80-100 ํ ภายในอาคารที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะสามารถป้อง กันรังสีไม่ให้แผ่ออกไปภายนอก ส่งผลให้ต้นทาน ตะวันกลายเป็นถ่านและเผาไหม้เหลือเป็นเถ้าที่มีสารกัมมันตรังสีผสมอยู่ วิธีการนี้จะช่วยลดปริมาตร การเก็บรักษาลงได้ประมาณ 100 เท่าตัวแล้วปล่อยทิ้งไว้จนกว่า Caesium-137 จะสลายตัวหมด

แม้ในขณะนี้ผลสรุปสุดท้ายของโครงการแรก ที่จะประเมินว่าทานตะวันสามารถดูดซับ Caesium- 137 ได้มากน้อยเพียงใดยังไม่อาจบอกได้เป็นตัวเลข ที่แน่นอนก็ตามแต่ปฏิบัติการ Sunflower Remediation นี้สะท้อนความพยายามส่วนหนึ่งตั้งแต่ภาครัฐไปถึงประชาชนทุกคนในญี่ปุ่นที่สามารถแสดงบทบาท มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับคืนมาสวยงามอีกครั้ง

อ่านเพิ่มเติม:

- คอลัมน์ Japan Walker เรื่อง Superb-Resecuable Nippon โดยชุมพล ธีรลดานนท์ หรือ http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=91636
- นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ เรื่อง The Great Lessons จาก Kanto สู่ Hanshin ถึง Tohoku โดยสมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย หรือ http:/www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=91640   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us