Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554
เกษตรอินทรีย์ ทางเลือกหรือต้องเลือก             
โดย ติฟาฮา มุกตาร์
 


   
search resources

Agriculture




ผลการสำรวจโดย Pesticide Action Network พบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากยาปราบศัตรูพืชราว 2 แสน คนทุกปี ขณะที่การสำรวจในอินเดียโดยกลุ่มกรีนพีซระบุว่า ประชากรในรัฐปัญจาบมียาปราบศัตรูพืชราว 6-13 ชนิด ตกค้างอยู่ในกระแสเลือด วิทยาการทางการเกษตรสมัยใหม่ที่รวมถึงการใช้ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช การปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว การใช้เครื่องจักรกลทุ่นแรงไปจนถึงเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคัดสายพันธุ์หรือตัดแต่งพันธุกรรม อาจเคยช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแก่อินเดีย จนเรียกกันว่าเป็นยุคปฏิวัติเขียว แต่ในห้วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ชาวไร่ชาวนาจำนวนมากกำลังหาทางออกจากกับดักของการพึ่งสารเคมี กลับไปหาเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดภัยทั้งแก่คนปลูกและคนกิน

อินเดียก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลกล้วน เพาะปลูกเลี้ยงปากท้องและชุมชนด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) มานับพันปี จากเดิมที่เคยเพาะปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นซึ่งร่ำรวยในความหลากหลาย ใช้วัวควายไถนา อาศัยปุ๋ยจากมูลสัตว์ต่างๆ และทำไร่นาผสมผสาน นับจากช่วงทศวรรษ 1960 ที่เรียกกันว่ายุคปฏิวัติเขียว ปรัชญาทางการเกษตรได้เปลี่ยนไปสู่การเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ตามนโยบายส่งเสริมของรัฐบาล ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชเป็นดั่งเวทมนตร์วิเศษที่ชาวไร่ชาวนาใช้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งตามด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์ผสมที่คัดสรรเพียงไม่กี่ชนิด

รัฐปัญจาบทางตอนเหนือของอินเดีย ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงผลพวงของยุคปฏิวัติเขียว ด้วยเทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่ ปัญจาบกลายเป็นแหล่งผลิตข้าวสาลี และธัญพืชสำคัญของอินเดีย ข้าวสาลีถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของตลาดภายในประเทศผลิตโดยรัฐที่มีพื้นที่เพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์ของประเทศแห่งนี้ แต่ผลพวงที่ตามมาคือที่ดินเพื่อการเกษตรราว 90 เปอร์เซ็นต์ของรัฐฉ่ำชุ่มไปด้วยสารเคมี และผล การสำรวจโดยกลุ่มกรีนพีซระบุว่า ประชากรในรัฐปัญจาบมียาปราบศัตรูพืชราว 6-13 ชนิด ตกค้างอยู่ในกระแสเลือด ขณะเดียวกันชาวไร่ชาวนาประสบปัญหาผลผลิตลดลงทุกปี ซึ่งผู้เชี่ยว ชาญด้านดินและน้ำหลายท่านต่างเห็นพ้องว่า ผืนดิน ของรัฐรับสารเคมีจนถึงจุดอิ่มตัว การอัดฉีดปุ๋ยจะไม่ช่วยอะไร และผลผลิตในอนาคตจะมีแต่ลดลง

ใช่ว่าชาวไร่ชาวนาจะไม่รู้ถึงสภาพการณ์นี้ พวกเขามักเปรียบปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชว่าเหมือน ‘nasha’ อันหมายถึง เหล้าหรือของมึนเมา ยิ่งใช้มาก ดินก็ยิ่งเสพติด แมลงศัตรูพืชก็ยิ่งดื้อยา อัดฉีดเท่าไรก็ไม่รู้จักพอ ซึ่งเป็นคำตอบได้ว่า ทำไมอุตสาหกรรมยาปราบศัตรูพืชของอินเดียจึงใหญ่เป็น อันดับสี่ของโลก อันที่จริงสารเคมีหลายชนิดที่ใช้ในการเกษตรของอินเดีย ถือเป็นสารต้องห้ามในหลาย ประเทศ เช่น ดีดีทีและสารคาร์ไบด์ที่ใช้รมควันมะม่วง

เกษตรกรจำนวนมากตระหนักถึงผลร้ายของ สารเคมีเหล่านี้และเรียกมันว่ายาพิษ แต่ไม่รู้จะกลับ ลำเช่นไร ชาวไร่จำนวนไม่น้อยจะแบ่งที่ดินแปลงหนึ่ง ไว้ปลูกข้าวหรือข้าวสาลี รวมทั้งพืชผักสวนครัวสำหรับกินในครัวเรือน โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ และปลูกด้วยพันธุ์ท้องถิ่นที่ยังหลงเหลืออยู่ ส่วนแปลงที่ปลูกเพื่อขายก็เดินหน้าอัดฉีดปุ๋ยและยาเคมีเต็มสูบเพื่อเร่งผลผลิต ขณะเดียวกันมีเกษตรกรบางรายที่กล้าพอจะทวนกระแส หันมาใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ และขายผลผลิตโดยไม่พึ่งระบบตลาดหรือพ่อค้าคนกลาง ตัวอย่างเช่น ฮาร์เตจ เมห์ธา ชาวไร่อำเภอ บาธินดาของปัญจาบ ซึ่งตั้งราคาข้าวสาลีออร์แกนิกของเขาเป็นสองเท่าของราคาตลาด แต่ก็มีลูกค้าที่พร้อมจ่ายบอกกันปากต่อปาก และสั่งจองกันตั้งแต่ผลผลิตจากไร่ขนาดสองเอเคอร์ของเขายังไม่ทันเก็บเกี่ยว

เหตุผลที่เกษตรกรจำนวนมากไม่พร้อมจะหวนสู่เกษตรอินทรีย์ เป็นเพราะไม่มีทุนรอนสำหรับยังชีพในช่วงต่อสองสามปีแรกที่ผลผลิตต่อไร่จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อไม่อัดฉีดด้วยปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช เหตุเพราะระบบชีวภาพในดินต้องอาศัยเวลาฟื้นตัวหลังถูกรดอาบด้วยสารเคมีมานาน นอกจากไม่มีทุนสำรองไว้ยังชีพ เกษตรกรจำนวนมากยังมีหนี้สินก้อนโตที่เกิดจาก ค่าใช้จ่ายที่หมดไปกับเมล็ดพันธุ์ติดยี่ห้อบรรษัทข้ามชาติ ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชนั่นเอง นัยหนึ่งพวกเขาจำเป็นต้องใช้ยาพิษเพื่อทำเงินไว้จ่ายค่ายาพิษ

ขณะเดียวกันรัฐบาลอินเดียก็ไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ และยังคงใช้เงิน งบประมาณก้อนมหาศาลอุดหนุนราคาปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยยูเรียขนาด 50 กิโลกรัม ราคากระสอบละ 2,300 รูปี รัฐบาลก็ใช้เงินอุดหนุนให้เกษตรสามารถซื้อได้ในราคาเพียง 480 รูปี ในช่วงปี 2007-2008 รัฐบาลอินเดียจัดสรรงบประมาณไว้อุดหนุนปุ๋ยเคมีถึง 224 แสนล้านรูปี แต่มีงบอุดหนุนเกษตรอินทรีย์เพียง 4 พันล้านรูปี

กระนั้นก็มีสัญญาณที่ดีจากรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐเล็กๆ อย่างสิกขิมและหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ที่มีนโยบายทำรัฐของตนให้เป็น Organic State สิกขิม มีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมชัดเจนมาก่อนใคร เช่นที่เริ่มประกาศห้ามการใช้ถุงพลาสติกและการทิ้งขยะเคมีและสารพิษมาตั้งแต่ปี 1997 ทั้งวางเป้าหมาย ให้เกษตรกรรมในรัฐ ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่คือขิงและส้ม เป็นเกษตรอินทรีย์โดยสิ้นเชิง ภายในปี 2015 โดยให้การ อุดหนุนทั้งด้านการเงินและความรู้แก่เกษตรกรที่ยินดีจะ หันมาทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งมีแผนสร้างศูนย์บรรจุหีบห่อ พร้อมห้องเย็น 5-6 แห่ง เพื่อให้ผลผลิตคงความสดอยู่จนกว่าจะถึงตลาด ส่วนหมู่เกาะอันดามันฯ ประกาศนโยบาย Organic Mission เมื่อกลางปีก่อน โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้สำเร็จภายในห้าปี ข้อได้เปรียบของรัฐทั้งสองในเรื่องนี้คือ เป็นรัฐขนาดเล็กและที่ดินทางการเกษตรส่วนมากยังไม่ได้ผ่านสารเคมีจนเกินแก้

สำหรับรัฐขนาดใหญ่ที่มีนโยบายสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ รัฐหิมาจัลประเทศ และพิหาร ส่วนรัฐใน ภาคใต้ องค์กรเอกชนหลายแห่งได้สร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกรมากว่าสามทศวรรษ

ดร.จี นัมมัลวาร์ ชาวไร่และผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เป็นผู้หนึ่งที่เผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกรในรัฐทมิฬนาฑู และรัฐเพื่อนบ้านอย่างเกรละ มหาราษฎระ อานธรประเทศ และกรณาฏกะ อย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปีเขาพบว่า นับวันจะมีเกษตรกรที่ต้องการหันมาทำเกษตร อินทรีย์มากขึ้น ด้วยเหตุผลหลักคือ พวกเขาตระหนักว่า เกษตรที่พึ่งสารเคมีไม่ใช่วิถีที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม มีราคาแพง สร้างหนี้สินมากกว่ารายได้ ทั้งก่อปัญหาในการส่งออกเพราะปัจจุบันตลาดยุโรปและอเมริกาล้วนมีมาตรฐานด้านนี้สูง ขณะเดียวกัน ประสบการณ์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ได้สั่งสมมา จนถึงจุดที่ชาวไร่ชาวนาไม่จำเป็นต้องเผชิญกับช่วงต่อที่สูญเสียรายได้ยาวนานอีกต่อไป

รัฐบาลอินเดียนอกจากต้องเผชิญกับโจทย์ใหญ่เฉพาะหน้า อย่างราคาอาหารที่สูงขึ้น (Food Inflation) ยังมีโจทย์ใหญ่ระยะยาวเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ที่ต้องวางนโยบายและมาตรการที่รอบคอบ กระนั้น ความมั่นคงทางอาหารที่แท้ คงไม่ใช่มั่นคงแต่เรื่องปริมาณ หากควรรวมถึงคุณภาพของอาหาร ดังนั้น เกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช่แค่เกษตรทางเลือก แต่เป็นวิถีที่ต้องเลือก เพื่อความอยู่ดีมีสุขที่ยั่งยืนและสุขภาพที่ดีของคนปลูก คนบริโภค และผืนโลก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us