Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554
ปี 2030 โลกจะสลับขั้ว             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

Economics




สิบกว่าปีก่อนหลังวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง 2540 เพิ่งเกิดและสังคมไทยยังต้องต่อสู้กับพิษตกค้างของวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติ เวลานั้น ผมยังเป็นนิสิตตัวน้อยในรั้วคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตอนนั้นในแวดวงเศรษฐศาสตร์นอกเหนือจากประเด็นบทเรียนจากวิกฤติการเงิน 2540 ที่ทั้งอาจารย์-นิสิต-นักศึกษาทั้งหลายจะได้เรียนรู้จากของจริงแล้ว หัวข้อทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญยิ่งอีกหัวข้อหนึ่งที่หยิบยกมาพูดถึงก็คือประเด็น เรื่องการถือกำเนิดขึ้นของ “เงินยูโร” และ “ยูโรโซน”

“ผมยังจำได้ว่าชื่อของศาสตราจารย์โรเบิร์ต มันเดล นักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี 2542 (ค.ศ.1999) กลายเป็นชื่อสามัญที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องเอ่ยถึง จากทฤษฎีเขตเงินตราที่เหมาะสม (Optimum Currency Area) ทั้งยังถูกยกย่องให้เป็น บิดาแห่งเงินยูโร โดยอาจารย์ของผมบางคนถึงกับยกตัวอย่างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในทวีปยุโรปว่า เป็นความก้าวหน้าและนวัตกรรมทาง เศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ของโลกที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องศึกษา

ในเวลาต่อมา โมเดลประชาคมยุโรป (European Communities: EC) ที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Communities: EEC) ก็ถูกพวกเรา ชาติในกลุ่มอาเซียนลอกแบบมาเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Communities: AEC) ซึ่งกำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมากมายในสังคมไทย ณ เวลานี้

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในประชาคมยุโรป ณ ปัจจุบันกลับไม่ได้งดงามอย่างที่มันเดล รวมถึงใครหลายคนใฝ่ฝัน เอาไว้เมื่อสิบกว่าปีก่อน แต่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ขั้นร้ายแรงที่กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศในยูโรโซน ไม่ว่าจะเป็นกรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี สเปน เนเธอร์แลนด์ และกำลังคุกคามไปทั่วภูมิภาคและทั่วโลก กระทั่งล่าสุดในการประชุมนักเศรษฐศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่เมืองลินเดา ประเทศเยอรมนีเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2554 โรเบิร์ต มันเดลถึงกับยอมรับว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นน่าสะพรึง กลัวอย่างยิ่ง

“เรากำลังเผชิญหน้ากับภยันตรายที่หนักหนาสาหัส ยักษ์ใหญ่สามตัวคือ สหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่นกำลังประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และถือเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ขนาดย่อมๆ (mini-depression) ที่พวกเราไม่เคยพบเคยเจอนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930” มันเดลกล่าว[1]

ในห้วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญของโลก นักเศรษฐศาสตร์โนเบลผู้ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งเงินยูโร” เสนอทางออกให้กับสมาชิกประชาคมยุโรปหลายประการ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ร่วมมือกันประกาศ ตรึงอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐกับเงินยูโรไว้ที่ 1.30 เหรียญสหรัฐต่อยูโร โดยให้มีกรอบการเคลื่อนไหวแคบๆ ที่ 5 เซนต์ เมื่อค่าเงินยูโรแข็งไปที่ 1.35 เหรียญต่อยูโร ทางธนาคารกลางยุโรปก็ต้องเข้าแทรกแซง ขณะที่หากค่าเงินยูโรอ่อนลงมาที่ 1.25 เหรียญต่อยูโร ธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ต้องเข้ามาซื้อยูโร

“ตอนนี้ 5-6 ประเทศในยูโรโซนกำลังประสบปัญหาอย่างร้ายแรง แต่การแก้ไขไม่ใช่การเลิกเงินยูโร เพราะนั่นเป็นการเพิ่มปัญหามากกว่าจะเป็นการแก้ปัญหา ...เวลานี้ค่าเงินยูโร แข็งเกินไป ถ้าเงินยูโรอ่อนค่าลงจะถือเป็นข่าวที่ดีที่สุดสำหรับรัฐบาลในยูโรโซนที่กำลังประสบปัญหา” มันเดลแนะนำ

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของมันเดลกลับถูกนักเศรษฐศาสตร์และนักการเงินจำนวนมากวิพากษ์วิจารณ์ว่า มาช้าเกินไป และถือเป็นการปกป้องปัญหาที่เกิดจากการรวมกลุ่มประเทศให้มาใช้เงินสกุลเดียวกัน ทั้งๆ ที่แต่ละประเทศในยูโรโซนนั้น มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและปัญหาที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก และยังถือเป็นการริบ “เครื่องมือทางการเงิน” ออกจากมือของ รัฐบาลแต่ละประเทศ ให้เหลือแต่ “มาตรการทางการคลัง” เพื่อใช้ในการบริหารเศรษฐกิจภายใน

ดังเช่นที่มันเดลกล่าว วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับโลก ณ ปัจจุบัน ร้ายแรงเกินกว่าที่หลายคนจะคาดคิด ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อ 5 ปีก่อนใครจะไปคาดเดาว่า ราคาทองคำในตลาดโลก จะพุ่งขึ้นพรวดมาใกล้ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์เข้าไปทุกที หรือใครจะไปคาดคิดว่า วิกฤตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป จะร้ายแรง เรื้อรัง และลุกลามถึงขนาดนี้

ย้อนกลับไปเกือบ 9 ปีก่อนเมื่อต้นปี 2546 ในบทความ ที่ผมเขียนลงในคอลัมน์เดียวกันนี้ในนิตยสารผู้จัดการ มีประโยค สั้นๆ ประโยคหนึ่งระบุว่า “ในศตวรรษที่ 19 หากอยากรวยต้อง ไปอังกฤษ ศตวรรษที่ 20 ต้องไปสหรัฐอเมริกา แต่ในศตวรรษ ที่เรากำลังใช้ชีวิตอยู่นี้ ศตวรรษที่ 21 ต้องมาที่จีน”[2]

ในวันนั้น หลายต่อหลายคน (รวมถึงตัวผมเอง) คิดว่าประโยคดังกล่าวเป็นเรื่องที่พูดกันสนุกปาก หรือหากจะเป็นจริงก็คงเป็นอนาคตที่ห่างไกลอย่างน้อยๆ ก็หนึ่งชั่วอายุคนคือ ราว 30-50 ปีข้างหน้า แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ณ วันนี้มีนักเศรษฐศาสตร์บางส่วนออกมาชี้ให้เห็นแล้วว่า ปัจจุบันจีนได้กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับที่หนึ่งแทนที่สหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว และจีนจะกลายเป็นมหาอำนาจเดี่ยวแทนที่สหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า หรือในปี 2573 (ค.ศ.2030)

อาวินด์ ซับรามาเนียน (Arvind Subramanian) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย ซึ่งมีตำแหน่งเป็นนักวิชาการอาวุโสของสถาบันเพตเตอร์สันเพื่อเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (Peterson Institute for International Economics) สร้างความตกตะลึง ให้กับสื่อมวลชนและนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากทั่วโลก ด้วยการออกมาประกาศว่า จากการคำนวณ ของเขานั้น ขนาดเศรษฐกิจจีนได้เติบโตแซงหน้าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไปเรียบร้อยตั้งแต่ปี 2553 (ค.ศ.2010) แล้ว

จากการคำนวณดัชนีการครอบงำทางเศรษฐกิจ (Economic Dominance) ของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย พิจารณาจากปัจจัย 3 ประการ ประกอบด้วย ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ตัวเลขการค้า (รวมตัวเลขการส่งออก-นำเข้าของสินค้า) และสถานะการเป็นประเทศ เจ้าหนี้สุทธิของโลก พบว่าในปี 2553 (ค.ศ.2010) ขนาดเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 13.3 ของเศรษฐกิจโลกโดยรวม ขณะที่เศรษฐกิจจีนตามมาติดในอันดับที่ 2 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 12.3 และญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 3 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 6.9 (พิจารณาจากแผนภาพโดยนิตยสารดิ อีโคโนมิสต์)

“จากการคำนวณของผม บ่งชี้ว่าขนาดของเศรษฐกิจจีนในปี ค.ศ.2010 เมื่อปรับเข้ากับค่าเสมอ ภาคของอำนาจการซื้อ (PPP) แล้วมีมูลค่าราว 14.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแซงหน้าสหรัฐฯ ไปเรียบ ร้อยแล้ว (ตัวเลขจากไอเอ็มเอฟระบุว่า ในปี 2553 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเศรษฐกิจ สหรัฐฯ อยู่ที่ราว 14.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งหากพิจารณาจากตัวเลขที่ปรับแล้วดังกล่าว โดยเฉลี่ยแล้วคนอเมริกันจะรวยกว่าคนจีนเพียงแค่ 4 เท่าเท่านั้น มิใช่รวยกว่า 11 เท่าอย่างที่เคยว่ากัน” ซับรามาเนียนระบุ[3]

กันยายน 2554 หนังสือ Eclipse: Living in the Shadow of China’s Economic Dominance ของซับรามาเนียนที่พยายามชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกในอีก 20 ปีข้างหน้าจะไม่ได้เป็น “หลายขั้ว (Multi-polar)” อย่างที่หลายคนคิดกันแต่จะยังคงเป็น “ขั้วเดี่ยว (Uni-polar)” ทว่าประเทศผู้นำมิได้เป็น สหรัฐอเมริกาอีกต่อไป กลายเป็นหนังสือที่สื่อมวลชน ทรงอิทธิพลในโลกหลายฉบับทั้ง The Economist, Foreign Affairs, The Wall Street Journal ฯลฯ กล่าวขวัญถึง

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์และคิดคำนวณของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดียระบุว่า ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าหากเศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี ไปอีก 20 ปี (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติของจีนที่เติบโตร้อยละ 11 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา) และเศรษฐกิจอเมริกันเติบโตราวร้อยละ 2.5 ต่อไปอีกสองทศวรรษ ตัวเลข ดังกล่าวสูงกว่าที่สำนักงบประมาณ รัฐสภา (Congressional Budget Office) ประเมินไว้ที่เพียงร้อยละ 2.2 ต่อปี จะทำให้ในปี 2573 (ค.ศ.2030) ขนาดเศรษฐกิจจีนจะใหญ่โตที่สุดในโลกโดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 18.0 ของเศรษฐกิจโลก ส่วนสหรัฐฯ กลายเป็นประเทศอันดับ 2 ตามมาห่างๆ ด้วยสัดส่วนร้อยละ 10.1 ส่วนอันดับที่ 3 จะเป็น ประเทศอินเดียที่อีกสองทศวรรษข้างหน้าขนาดเศรษฐกิจ น่าจะมีสัดส่วนราวร้อยละ 6.3 ของเศรษฐกิจโลก

“ในปี ค.ศ.2030 ส่วนแบ่งของอำนาจทางเศรษฐกิจ ในระดับโลกของจีน จะเทียบเท่ากับที่สหรัฐฯ เคยมีในช่วงทศวรรษ 1970 พอๆ กับอังกฤษเมื่อศตวรรษที่แล้ว เมื่อถึงเวลานั้นเศรษฐกิจโลกจะยังคงเป็นแบบขั้วเดี่ยวเช่นปัจจุบัน แต่ขั้วเดี่ยวขั้วนั้น ...จะเป็นจีน ไม่ใช่อเมริกา” ซับรามาเนียนกล่าวและว่า “เมื่อถึงจุดนั้นจีดีพีต่อหัวของ จีนจะอยู่ที่ราว 33,000 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี ซึ่งอยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกัน”[4]

ส่วนประเด็นเสียงโต้แย้งจากเหล่านักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับการคาดการณ์ของซับรามาเนียน โดยยังคงมองเห็นว่า สหรัฐฯ มีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าจีนมากมาย ทั้งความหลากหลายทางเชื้อชาติ-วัฒนธรรม, วัฒนธรรมทางการประกอบธุรกิจ, แหล่งเงินทุนจาก Venture Capital, ความใกล้ชิดระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคการผลิต และนโยบายในการรองรับบุคลากรที่มีความสามารถให้เข้ามาทำงานในสหรัฐฯ ไม่นับกับโอกาสที่จีนอาจประสบ กับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจครั้งร้ายแรง หรือการเปลี่ยน แปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ภายในประเทศ ที่อาจจะฉุดให้เศรษฐกิจมิอาจรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ในระดับสูง

ในประเด็นโต้แย้งต่างๆ เหล่านี้ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดียได้อธิบายว่า เขาไม่ปฏิเสธว่าสหรัฐฯ มีปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการดำเนินธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมใหม่มากกว่า แต่จากปัจจัยด้านจำนวนประชากรจีนที่มากกว่าสหรัฐฯ ถึง 4 เท่าจะช่วยกลบข้อด้อยดังกล่าว

นอกจากนี้เขายังไม่ปฏิเสธข้อโต้แย้งที่ระบุว่า ในห้วงสองทศวรรษข้างหน้าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลง และในอีก 5 ปีข้างหน้า ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้นในจีน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อพิจารณาจากปัจจัย 3 ประการที่เป็นตัวชี้ขาดการครอบงำทางเศรษฐกิจแล้ว ทั้งขนาด จีดีพี ตัวเลข การค้า และสถานะการเป็นประเทศ เจ้าหนี้สุทธิของโลก รวมถึงการเป็นเจ้าหนี้เบอร์ 1 ของสหรัฐฯ ทำให้เขายังเชื่อว่า จีนยังถือไพ่เหนือกว่าสหรัฐฯ มาก และการคาดการณ์ของเขาไม่น่าจะผิดพลาด

จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก ณ ปัจจุบัน ทัศนะของอาวินด์ ซับรามาเนียนนั้นถือว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง โดยช่วยกระตุกให้เราหันมองภาวะเศรษฐกิจ โลกจากแง่มุมของความเป็นจริงได้ชัดเจนขึ้น เพื่อรับมือกับวิกฤติที่กำลังจะมาถึง และในอีกด้านหนึ่งยังช่วยเปิดมุมมองให้เราสามารถรองรับโอกาสใหม่ๆ ที่จะเข้ามาพร้อมกับวิกฤติด้วย

อ่านเพิ่มเติม:

- เมื่อไร “จีน” จึงจะตาม “อเมริกา” ทัน? โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล นิตยสารผู้จัดการฉบับเมษายน 2548

หมายเหตุ:
[1] Ambrose Evans-Pritchard, Professor Mundell, euro, and ‘pessimal currency areas’, blogs.telegraph.co.uk, 25 Aug 2011.
[2] วริษฐ์ ลิ้มทองกุล, เมื่อโลกเปลี่ยนขั้ว, นิตยสารผู้จัดการ ฉบับมกราคม 2546
[3] Arvind Subramanian, America vs China: A reality check, Business Standard, 3 May 2011.
[4] Arvind Subramanian, The Inevitable Super-power: Why China’s Dominance Is a Sure Thing, Foreign Affairs, Sep/Oct 2011.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us