|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บริษัท โกลบอล สตีล ดัสท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือของบริษัท โกลบอล สตีล ดัสท์ จำกัด (จีเอสดี) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการรีไซเคิลสังกะสีจาก “ฝุ่นแดง” หรือฝุ่นเหล็กที่เกิดจากเตาหลอมไฟฟ้า (Electronic Arc Furnaces: EAF) ประกาศจัดตั้งโรงงานรีไซเคิลฝุ่นเหล็กแห่งแรกในไทยขึ้นในเขตพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก ลุยเต็มสูบด้วยสมรรถนะในการรีไซเคิลฝุ่นเหล็กสูงถึงปีละ 110,000 ตัน และกำลังการผลิต “เวลซ์ ซิงค์ ออกไซด์” (Waelz Zinc Oxide) สูงถึงปีละ 40,000 ตัน
โรงงานผลิตเหล็กที่ใช้เตาหลอมไฟฟ้า EAF ผลิตเหล็กกล้า โดยการรีไซเคิลเศษเหล็ก ซึ่งในระหว่างกระบวนการรีไซเคิลจะก่อให้เกิดฝุ่นเหล็ก ซึ่งจัดเป็นกากของเสียอันตราย แต่ยังอุดมด้วย สังกะสีและโลหะเหล็กที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ปริมาณฝุ่นเหล็กที่เกิดจากเตาหลอมไฟฟ้า EAF มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 ของ ปริมาณเหล็กกล้าที่ผลิตได้ทั้งหมด โดยในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ออกกฎหมายจัดให้ฝุ่นเหล็กเป็นของเสียอันตราย ขณะที่ผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าเกือบทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยใช้กระบวนการผลิตด้วยเตาหลอมไฟฟ้า หรือ EAF (Electric Arc Furnace)
โกลบอล สตีล ดัสท์เตรียมการในหลากหลายด้านเพื่อจัดตั้งโรงงานรีไซเคิลฝุ่นเหล็กแห่งใหม่ในไทย รวมถึงการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างโรงถลุงเหล็กกล้า ผู้ให้บริการต่างๆ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จีเอสดี ประเทศไทยได้ดำเนินการขออนุมัติเพื่อให้การดำเนินงานของโรงงานแห่งใหม่ดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายของไทยในทุกด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การเงิน และความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์
ในปี 2553 โรงงานผลิตเหล็กกล้าที่ใช้เตาหลอมไฟฟ้า EAF ในประเทศไทย ได้ผลิตเหล็กกล้ารวมกันทั้งสิ้นมากกว่า 4 ล้านตัน ซึ่งก่อให้เกิดฝุ่นเหล็กในปริมาณราว 90,000 ตัน ในปัจจุบันโรงงาน ผลิตเหล็กในไทยต่างใช้วิธีกำจัดของเสียซึ่งก็คือฝุ่นเหล็กเหล่านี้โดยวิธีการฝังกลบ หรือนำไปถมที่ ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพในการลด ปริมาณสารอันตรายในฝุ่นเหล็กลงแต่อย่างใด ดังนั้น เป้าหมายของจีเอสดีจึงมุ่งที่การ “รีไซเคิล” โดยสกัดสังกะสีที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจออกจากฝุ่นเหล็ก เพื่อนำไปจำหน่ายภายในประเทศ หรือส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศต่อไป
รัสส์ โรบินสัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลบอล สตีล ดัสท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจสกัดโลหะและรีไซเคิลฝุ่นเหล็กกำลังเป็นที่จับตามอง และความต้องการของตลาดก็กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กไทย สำหรับโรงงานรีไซเคิลฝุ่นเหล็กของจีเอสดี ถือเป็นการลงทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อประเทศไทยและชุมชนแวด ล้อม โดยก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ควบคู่กับการช่วยดูแลรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สดใสรื่นรมย์ต่อไป
ปัจจุบันบริษัท โกลบอล สตีล ดัสท์ อยู่ระหว่างดำเนินการ จัดซื้อที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยองเพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงงาน ซึ่งคาดว่า การก่อสร้างจะเริ่มขึ้นภาย ในปี 2554 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี โดยโรงงานแห่งใหม่นี้ได้รับการออกแบบให้สามารถขยายสมรรถนะการรีไซเคิลฝุ่นเหล็กเพิ่มขึ้นได้เป็น 2 เท่า เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตของอุตสาหกรรมเหล็กกล้าในไทย และก้าวสู่เป้าหมาย ทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าฝุ่นเหล็กจากต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการรีไซเคิลในไทย
นอกจากนี้ จีเอสดียังได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับบริษัทชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศซาอุดีอาระเบียเพื่อจัดตั้งโรงงานรีไซเคิลฝุ่นเหล็กในเมืองดัมมัม-จูเบล ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยคาดว่า จะเริ่มการก่อสร้างได้ภายในไตรมาส 1/2555 มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 1 ปี จีเอสดีมีแผนจัดตั้งหรือร่วมลงทุนในโรงงานรีไซเคิลฝุ่นเหล็กอีกหลากหลายแห่งทั่วโลก โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเวลซ์ คิล์น (Waelz Kiln) ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดว่าเป็นทาง เลือกที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
ในการรีไซเคิลฝุ่นเหล็กที่เกิดจากเตาหลอมไฟฟ้า EAF โดยนวัตกรรมเวลซ์ คิล์นของจีเอสดียังได้รับการรับรองจากสำนัก งานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (US Environmental Protection Agency: EPA) ในฐานะเป็นเทคโนโลยีที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด ณ ปัจจุบัน (Best Demonstrated Available Technology) ขณะที่สหภาพยุโรประบุให้เทคโนโลยี เวลซ์ คิล์น เป็นวิธีการกำจัดฝุ่นเหล็กที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้ (Best Available Technique) ทั้งนี้ ฝุ่นเหล็กจากเตาหลอมไฟฟ้า EAF กว่าร้อยละ 80 จากทั่วโลกได้ถูกนำมารีไซเคิลโดยใช้นวัตกรรมเวลซ์ คิล์น
|
|
|
|
|