|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กระแสโลกสังคมออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาปฏิวัติวงการสิ่งพิมพ์ แม้แต่หนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ อายุ 38 ปี ก็ยังต้องปรับตัว
หนังสือพิมพ์และนิตยสารในประเทศไทยได้ปรับตัวในการนำข้อมูลข่าวสารขึ้นไปอยู่บนออนไลน์มาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว และผู้อ่านก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยเสพ ข้อมูลเหล่านี้ผ่านโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ไอแพด รวมถึงเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติ รับข้อมูลภาพหรือเสียงได้
ในงานเปิดตัวขายหัวเราะบนออนไลน์ ในรูปแบบอีแมกาซีน ณ อาคารเกตเวย์ ใจ กลางเมืองในสยามสแควร์ของกลุ่มสำนักพิมพ์ บรรลือสาส์น โดยมีวิธิต อุตสาหจิต เจ้าของและบรรณาธิการนิตยสารการ์ตูนขายหัวเราะ หรือ “บอกอวิติท” ที่มักจะถูกล้อเลียน ในหนังสืออยู่เสมอ ได้ออกมาพูดถึงการปรับตัวของหนังสือว่าเป็น ช่วงเวลาที่ลงตัวพอดีระหว่างเนื้อหาและเทคโนโลยีที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดการ์ตูนขายหัวเราะไปอ่านบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างไม่เชื่องช้าอีกต่อไป
เพราะหลังจากที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกค่ายในประเทศไทยออกมาประกาศเดินหน้าให้บริการเทคโนโลยี 3G รองรับความเร็วสูงสุดถึง 42 Mbps ทำให้ผู้ที่มีคอนเทนต์อยู่ในมือ สามารถสร้างโอกาสให้กับธุรกิจ
ขายหัวเราะ ได้ว่าจ้างบริษัท ไอทีเวิร์คส์ จำกัด ร่วมกันพัฒนาและเรียกบริการนี้ว่า “ขายหัวเราะ แฮพพลิเคชั่น” (Kai Hua Roh Happlication) ด้วยการนำเนื้อหาและใส่ลูกเล่นในแบบ ดิจิตอล ภาพขยับได้เพื่อเพิ่มความบันเทิงและสีสันในการอ่าน
ก้าวแรกในสังคมออนไลน์ของขายหัวเราะ บริษัทเลือกร่วมมือกับพันธมิตรไอโฟนและไอแพด ค่ายแอปเปิล โดยผ่านระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส
การก้าวไปสู่ธุรกิจออนไลน์ของการ์ตูนขายหัวเราะ สะท้อน ให้เห็นว่าสื่อออนไลน์เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นและเติบโตไปพร้อม กับเทคโนโลยี และเหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้บริษัทต้องปรับตัว เพราะราคากระดาษมีต้นทุนสูงเพิ่มขึ้น กลายเป็นภาระที่ต้องแบก อยู่ในปัจจุบัน
แต่การก้าวไปสู่โลกออนไลน์ บริษัทบอกว่าได้เห็นโอกาสที่มีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กว่า 10 ล้านคนที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ
อย่างไรก็ดี บริษัทอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงให้บริการดาวน์โหลด แอพพลิเคชั่น “Kai Hua Roh” ฟรีในช่วงแรก แต่จะเก็บค่าบริการ ต่อไปในอนาคต ได้กำหนดค่าบริการต่อการดาวน์โหลด 1 ครั้ง จะเก็บค่าบริการประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับรายได้ของบริษัทจะได้มาจาก 2 ช่องทาง คือ บริการดาวน์โหลดเนื้อหา และขายโฆษณาออนไลน์ ซึ่งจะปรากฏ สินค้าเหมือนในหนังสือ เพราะมองว่าเม็ดเงินที่ใช้โฆษณาของสินค้าแบรนด์ต่างๆ ในสื่อดิจิตอลเติบโตโดยเฉลี่ยร้อยละ 30-40 ต่อปี แสดงให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์ของคนอ่านที่เปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์มาสู่ดิจิตอลเพิ่มมากขึ้นทุกวัน
นอกจากจะขายการ์ตูนขายหัวเราะแล้ว บริษัทมีแผนจะนำหนังสือในเครือเข้าไปอยู่ในออนไลน์เช่นกัน หนูหิ่น อิน เดอะซิตี้ ปังปอนด์ หรือสาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่
การเปิดตัวครั้งสำคัญของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะรายสัปดาห์ เล่มละ 15 บาท ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญ ในวันนั้น จึงมีนักเขียนดังของการ์ตูนมาร่วมเปิดงาน เช่น ต่าย, ต้อม หรือเอ๊าะ รวมทั้งภรรยาของบอกอวิธิต
แต่บุคคลสำคัญที่เข้าร่วมในงานนี้อย่างเงียบๆ ที่คอยเฝ้ามองอยู่บริเวณด้านหลังของหน้าเวทีก็คือ บรรลือ อุตสาหจิต บิดาของบอกอวิธิตผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์คนแรก
|
|
|
|
|