Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2529
สุวัฒน์ พฤกษเสถียร-ไพศาล พืชมงคล การต่อสู้ของฝ่าย “ธรรม” กับ “ธรรม” ที่ไม่มีใครยอมเป็นฝ่าย “อธรรม”             
 


   
search resources

ธนาคารแหลมทอง
สุระ จันทร์ศรีชวาลา
ไพศาล พืชมงคล
ชาตรี โสภณพนิช
สมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์
สุวัฒน์ พฤกษเสถียร
Banking




เกือบ 2 ปีมานี้ทั้งสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ และสุระ จันทร์ศรีชาลา ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการกรำศึกระหว่างกันและกันอย่างมาก ๆ

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 ผู้ถือหุ้นทางฝ่ายสุระฟ้องแบงก์แหลมทองกับสมบูรณ์เป็นจำเลยต่อศาลแพ่งคดีหมายเลขดำที่ 2205/2527 ขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมกรรมการแบงก์แหลมทองที่ 388/2526 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำหุ้นออกใหม่ขายให้แก่บุคคลภายนอก (รายละเอียดโปรดอ่านจาก “ผู้จัดการ” ฉบับที่ 19 ปีที่ 2 ประจำเดือนมีนาคม (2528)

วันที่ 29 มีนาคม 2527 ฟ้องอาญาอันเป็นผลสืบเนื่องจากคดีแรกอีก 2 คดี คือคดี หมายเลขดำที่ 6233/2537 ข้อหาผิดพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทฯ และคดีหมายเลขดำที่ 6236/2537 ข้อหาปลอมแปลงเอกสาร (อ่านจาก “ผู้จัดการ” ฉบับเดียวกัน)

ก็อาจจะเรียกได้ว่าทั้ง 3 คดีนี้เป็นยกแรกของแนวรบทางด้านกฎหมายระหว่างฝ่ายสุระกับฝ่ายสมบูรณ์ ซึ่งมีผลลงเอยด้วยการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2527 โดยชาตรี โสภณพนิช ทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยให้

“ผู้จัดการ” เคยวิเคราะห์เบื้องหลังการประนีประนอมมาครั้งหนึ่งแล้วว่า ปัญหาพื้นฐานก็คือสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ นั้นถูกบีบด้วยข้อหาอาญาเรื่องปลอมแปลงเอกสาร

สมบูรณ์ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อขณะนั้น ม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องยินยอมทำข้อตกลงประนีประนอมกับสุระเพื่อให้คดีที่คาราคาซังได้จบ ๆ กันไป

ถ้าพูดถึงการยุติข้อขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงแล้ว ก็คงจะเป็นคนละเรื่อง

“ผมว่ามันก็ไม่ต่างจากคลื่นลมที่สงบชั่วคราวนั่นแหละครับ” แหล่งข่าวของ “ผู้จัดการ” เคยพูดไว้นานแล้ว

นอกจากนี้ก็ยังมีอีกบางคดีที่ไม่สามารถถอนฟ้องได้เพราะเผอิญเป็นอาญาแผ่นดิน มีพนักงานอัยการเป็นโจทก์

เพราะฉะนั้นที่คิดว่ายุติจริง ๆ แล้วก็คือไม่ยุติ

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2528 ที่ถือกันว่าเป็นวัน “วาเลนไทน์” ที่จะส่งความรักให้แก่กันและกัน พนักงานอัยการในฐานะโจทก์ก็จัดการ “ส่งความรัก” ให้ธนาคารแหลมทองด้วยการฟ้องอาญาเป็นคดีหมายเลขดำที่ 1569/2528 ข้อหาออกหุ้นใหม่ให้กับบุคคลภายนอกโดยไม่ออกหนังสือชี้ชวนให้ประชาชนเข้าชื่อถือหุ้น ซึ่งก็เป็นการดำเนินคดีตามที่นายประชา ภูมิศิริกุล เป็นผู้แจ้งความไว้กับตำรวจกองปราบ และต่อมานายประชาก็เข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย

ล่วงเข้าวันที่ 24 ธันวาคม 2528 ศาลอาญาพิพากษาเป็นคดีหลายเลขแดงที่ 9378/2528 ว่าจำเลยทำผิดจริง แล้วก็ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 8 หมื่นบาทจากโทษสูงสุด 1 แสนบาท

ฝ่ายจำเลยคือแบงก์แหลมทองยื่นอุทธรณ์

และก่อนหน้าเพียงไม่กี่เดือนที่ศาลอาญาจะมีคำพิพากษาคดีที่ว่านี้ รอยร้าวที่พยายามประสานกันมาแล้วครั้งหนึ่งก็เริ่มปริอีกอย่างเงียบ ๆ โดยต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมที่ทำขึ้น

วันที่ 31 ตุลาคม 2528 นิคม รัตนคำแปง (ฝ่ายสุระ) เลยต้องเป็นโจทก์ยื่นฟ้องธนาคารแหลมทองกับพวกรวม 43 คนเป็นจำเลยตามคดีหมายเลขดำที่ 23128/2528 ศาลแพ่งขอให้ศาลสั่งเพิกถอนใบหุ้นที่ธนาคารขายให้กับบุคคลภายนอกอย่างไม่ถูกต้อง (ซึ่งก็หมายถึงหุ้นจำนวน 2 แสนหุ้นที่ธนาคารแหลมทองขายให้กับกลุ่มวานิช ไชยวรรณ และกลุ่มปาล์มโก้ รวมทั้งลูกหนี้ซึ่งรวมแล้วกว่า 9 แสนหุ้น)

ถึงขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์

คดีนี้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ก่อนหน้าการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นธนาคารแหลมทองเพียงวันเดียว ฝ่ายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อให้ศาลห้ามจำเลยที่ 15 ถึงจำเลยที่ 43 ใช้สิทธิของตนในฐานะผู้ถือหุ้น

แต่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2528 ประชา ภูมิศิริกุล ฟ้องสมบูรณ์คดีอาญาข้อหาปลอมแปลงเอกสารและข้อหาลงรายการเท็จ 2 คดี ซึ่งก็เคยฟ้องและถอนฟ้องกันมาครั้งหนึ่งแล้ว เพียงแต่โจทก์คนละคนกันเท่านั้น

ทั้ง 2 คดีนี้ศาลสั่งมีมูลเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2529

“และก็จะมีตามมาอีกคดีที่ทางฝ่ายสุระจะฟ้องขอให้ยกเลิกมติการประชุมสามัญประจำปีของผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2529 ส่วนก่อนหน้านี้ก็มีคดีที่ธนาคารแหลมทองฟ้องล้มละลายบริษัทสยามวิทยาที่อึกทึกครึกโครมมาก ๆ นั่นแหละ...” แหล่งข่าวที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์รายงานให้ฟัง

ถ้าเกือบ 2 ปีมานี้ ทั้งสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ และสุระ จันทร์ศรีชวาลา ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการกรำศึกกันอย่างมาก ๆ แล้ว

ไพศาล พืชมงคล กับสุวัฒน์ พฤกษเสถียร ก็คงไม่ต่างจาก 2 คนนี้เท่าไหร่?

ไพศาล พืชมงคล นั้นมีฐานะเป็นที่ปรึกษากฎหมายฝ่ายสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์

ส่วนสุวัฒน์ พฤกษเสถียรก็เป็น “ทนายคู่ใจ” ของฝ่ายสุระ จันทร์ศรีชวาลา

ไพศาลเป็นหัวหน้าสำนักงานทนายความ ชื่อ “ธรรมนิติ”

สุวัฒน์นั้นก็มีสำนักงานชื่อ “ธรรมประสิทธิ” เป็นชื่อที่นำหน้าด้วย “ธรรม” เหมือน ๆ กัน

และทั้งคู่ก็เรียนนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นเดียวกันเสียอีกด้วย

“ไพศาลพอจบจากธรรมศาสตร์เขาก็มาอยู่ที่ธรรมนิติเลย และก็ก้าวขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการธรรมนิติ ส่วนสุวัฒน์เคยทำงานกับ ธกส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) มาก่อน 4 ปี ฝึกทนายที่สำนักงาน อ. เมธีของอาจารย์เอื้อ บัวสรวง อีก 2 ปีจึงได้เข้ามาทำงานที่บริษัทไทยประสิทธิประกันภัยเมื่อราว ๆ ปี 2519 ก่อนหน้าที่สุระจะเข้ามาเป็นเจ้าของไทยประสิทธิ และมารับผิดชอบธรรมประสิทธิตั้งแต่แรกที่ตั้งขึ้น ซึ่งก็ประมาณปีกว่า ๆ มานี้เอง” คนที่รู้จักทั้งไพศาลและสุวัฒน์เล่ากับ “ผู้จัดการ”

สืบสาวเรื่องราวลึกลงไปอีกพบว่าทั้งไพศาลและสุวัฒน์เป็นคนเด่นที่เรียนดีด้วยกันทั้งคู่

สุวัฒน์ พฤกษเสถียรนั้นเมื่อสอบผ่านได้เข้าทำงานที่ ธกส. ก็มีคะแนนเป็นอันดับ 1 จากการเข้าอบรมเป็นพนักงานสินเชื่อ เคยสอบติดคณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์แต่ไม่ได้เรียนเพราะต้องคร่ำเคร่งกับการฝึกทนายอย่างหามรุ่งหามค่ำ

ส่วนไพศาล พืชมงคล ก็สอบผ่านวิชา “วิแพ่ง” ด้วยคะแนน 84 เปอร์เซ็นต์มาแล้ว เป็นต้น

“คือยุคนั้นนักกฎหมายเก่งหรือไม่เก่งเขาวัดกันตรงวิชานี้ ถ้าใครเกิน 70 เปอร์เซ็นต์ก็ถือว่ายอดมาก” ทนายชื่อดังคนหนึ่งบอกกับ “ผู้จัดการ”

ก็คงจะพูดได้เต็มปากว่าต่างฝ่ายต่างมีนักกฎหมายมือแน่ ๆ เป็นขุนศึกนั่นแหละ

โดยที่สงครามใหญ่ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้อย่างหน้ามือเป็นหลังมือก็อยู่ที่คดีที่จะต้องพิสูจน์กันต่อหน้าศาลว่า หุ้นจำนวน 2 แสนหุ้น (ของวานิชกับปาล์มโก้ ซึ่งจะมีผลไปถึงลูกหุ้นที่เมื่อรวมกันแล้วกว่า 9 แสนหุ้น) นั้นจะเป็นโมฆะหรือไม่โมฆะ

สุวัฒน์ พฤกษเสถียร พูดเป็นนัย ๆ กับ “ผู้จัดการ” ว่า “ผมมีหลักในการทำคดีคืออันไหนผมไม่แน่ใจเห็นว่าสู้ไปจะไม่ชนะ ผมจะแนะนำลูกความว่าอย่านำคดีขึ้นศาลเลย หาทางอื่นดีกว่า มีแต่คดีที่มั่นใจเท่านั้น ผมถึงจะแนะนำให้สู้”

และสำหรับไพศาล พืชมงคล เขายืนยันด้วยน้ำเสียงชัดถ้อยชัดคำ

“การฟ้องร้องให้หุ้น 2 แสนหุ้นเป็นโมฆะนั้น ไม่มีทางที่จะเป็นโมฆะไปได้”

ก็คงจะแน่นอนที่ “ผู้จัดการ” จะต้องติดตามเรื่องนี้จนคดีถึงที่สุดมาเสนอกับผู้อ่านต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us