Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์19 กันยายน 2554
เทสโก้ตัดใจเลิกธุรกิจในญี่ปุ่น บทเรียนครั้งสำคัญของโลกค้าปลีก             
 


   
search resources

เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม, บจก.
Retail




ห้างเทสโก้เป็นกิจการค้าปลีกรายใหญ่รายหนึ่งของอังกฤษที่ขยายอาณาจักรทางธุรกิจออกไปทั่วโลก และได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จในทางธุรกิจอย่างดี

แต่เมื่อไม่นานมานี้ ห้างค้าปลีกเทสโก้ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ได้ประกาศขายกิจการค้าปลีกของตน 129 แห่งในญี่ปุ่นเสียแล้ว ท่ามกลางความประหลาดใจของวงการตลาด

การทบทวนสถานการณ์ห้างค้าปลีกเทสโก้ของนักวิเคราะห์ชี้ว่าพอร์ตธุรกิจในส่วนของตลาดญี่ปุ่นไม่สามารถจะเติบโตและทำรายได้ได้อย่างเพียงพอตามที่คาดหมายไว้ ซึ่งเรื่องนี้เคยมีนักวิเคราะห์พยากรณ์สถานการณ์และแนวโน้มทางธุรกิจของห้างค้าปลีกเทสโก้ไว้ล่วงหน้าอย่างแม่นยำเมื่อปี 2003 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ห้างค้าปลีกเทสโก้เริ่มสาขาแห่งแรกในญี่ปุ่น

ประการแรก เป็นเพราะว่าแทนที่ห้างค้าปลีกเทสโก้จะขยายตัวในลักษณะที่นำเอาสินค้าเด่นๆ และมีชื่อเสียงที่เป็นแบรนด์จากอังกฤษมาจำหน่ายเพื่อสร้างความแตกต่างจากห้างค้าปลีกอื่นๆ ของญี่ปุ่น เน้นสินค้าที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับลูกค้าชาวญี่ปุ่น

แต่ห้างค้าปลีกเทสโก้กลับเน้นการจำหน่ายสินค้าญี่ปุ่นเหมือนกับร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นทั่วๆ ไป และไม่มีแรงจูงใจพิเศษให้ต้องเข้าไปชอปปิ้งในห้างค้าปลีกเทสโก้ ในเมื่อมีห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อมากมายในญี่ปุ่น

ประการที่สอง วันที่ห้างค้าปลีกเทสโก้เริ่มต้นธุรกิจในตลาดญี่ปุ่น ไม่มีคนญี่ปุ่นคนไหนที่รู้จักและคุ้นเคยกับห้างนี้มาก่อน และเมื่อห้างค้าปลีกเทสโก้วางตำแหน่งทางการตลาดของกิจการเป็นเพียงห้างซูเปอร์มาร์เกตรายหนึ่งของญี่ปุ่น ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไป ไม่มีการตระหนักในความแตกต่างในฐานะของกิจการจากยุโรปรายหนึ่งที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

ประการที่สาม ห้างค้าปลีกเทสโก้เจริญรอยตามห้างคาร์ฟูร์ของฝรั่งเศส ที่ตัดสินใจถอนธุรกิจออกจากตลาดญี่ปุ่นไปก่อนหน้านี้แล้ว ด้วยการแลกเปลี่ยนร้านค้าปลีกกับห้างเทสโก้ที่ไต้หวัน

อย่างไรก็ตาม ห้างค้าปลีกเทสโก้ออกมาแก้ต่างว่า เมื่อเข้าไปทำธุรกิจในญี่ปุ่นจริงๆ ห้างค้าปลีกเทสโก้พบว่าตลาดญี่ปุ่นมีการพัฒนาและอิ่มตัวมากแล้ว ไม่เป็นอย่างที่คาดหมาย และมีโอกาสน้อยในการที่จะขยายฐานทางธุรกิจได้ตามที่ห้างค้าปลีกเทสโก้คาดหมาย ซึ่งแตกต่างจากกรณีของตลาดจีน ที่ช่องว่างทางการตลาดยังมีอยู่ค่อนข้างมาก โดยห้างค้าปลีกเทสโก้ได้กำหนดแผนงานที่จะขยายมูลค่าธุรกิจของตนเป็น 4,000 ล้านปอนด์ในปี 2015 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว ด้วยร้านค้ากว่า 200 แห่ง

การตัดสินใจถอนตัวจากธุรกิจค้าปลีกของห้างค้าปลีกเทสโก้ในญี่ปุ่นหลังจากที่ดำเนินกิจการมากว่า 8 ปี และจำหน่าย 129 สาขาออกไป ทั้งที่จำนวนสาขาเกินกว่าครึ่งหนึ่งของสาขาทั้งหมดในญี่ปุ่นมีความสามารถในการทำกำไร จึงเป็นการปรับนโยบายการเติบโตทางการตลาดไปสู่ทำเลอื่นในเอเชียที่ดีกว่า

และธุรกิจของห้างค้าปลีกเทสโก้ในญี่ปุ่นก็เป็นกิจการที่มีขนาดเล็กที่สุดของกิจการระหว่างประเทศของห้างค้าปลีกเทสโก้ จึงไม่ได้มีผลกระทบต่อภาพรวมของกิจการแต่อย่างใด และไม่ทำให้นโยบายการขยายตัวทางธุรกิจในเอเชียของห้างค้าปลีกเทสโก้ลดเลือนไป

ดูเหมือนว่าการตัดสินใจถอนตัวจากตลาดญี่ปุ่นของห้างค้าปลีกเทสโก้จะได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนในตลาดหุ้น เพราะที่ผ่านมาผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดญี่ปุ่นได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นไปตามความคาดหมาย และขนาดการประกอบการก็เล็กเกินไปด้วย

อันที่จริง ไม่ใช่เฉพาะห้างค้าปลีกเทสโก้เท่านั้นที่พบว่าตลาดญี่ปุ่นมีความท้าทายและยากลำบากในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ แม้แต่ยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของโลกอย่างห้างวอล-มาร์ท เองที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกในญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 2002 ผ่านห้างเซยุก็พบว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมีชัยทางธุรกิจในตลาดแห่งนี้

ปัจจุบัน ห้างค้าปลีกเทสโก้มีเครือข่ายสาขาใน 14 ประเทศ ด้วยเครือข่ายกว่า 5,400 แห่ง และมีสาขาในเอเชียกว่า 1,400 สาขา โดยครอบคลุมจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไทย

ห้างค้าปลีกเทสโก้เข้าไปในตลาดญี่ปุ่นด้วยการซื้อกิจการของ C2 Network ที่ดำเนินกิจการภายใต้ชื่อ จึราคาเมะ

ข้อมูลสำคัญของห้างค้าปลีกเทสโก้ในญี่ปุ่น มูลค่าธุรกิจประมาณ 500 ล้านปอนด์ต่อปี เทียบกับมูลค่าธุรกิจรวมทั่วโลกประมาณ 67,000 ล้านปอนด์ โดย โกลด์แมน แซคส์ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการจำหน่ายร้านค้าในญี่ปุ่น มูลค่าการซื้อกิจการของห้างค้าปลีกเทสโก้ครั้งแรก 32,800 ล้านเยน แต่ราคาที่คาดว่าจะขายต่อได้ประมาณ 10,000 ล้านเยนเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us