Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์19 กันยายน 2554
โซนี่-โตชิบา-ฮิตาชิ ผนึกรวมกันพัฒนาจอ LCD             
 


   
search resources

Computer




แม้ว่าจะเป็นกิจการที่มีความยิ่งใหญ่ในตลาดระดับโลกไม่แพ้กัน และล้วนแต่เป็นกิจการของญี่ปุ่นเหมือนกัน แต่การที่ยักษ์ใหญ่อย่างโซนี่ ฮิตาชิ โตชิบา จะหันหน้ามาหากันและร่วมมือกันได้ง่ายๆ อย่างในนิยายคงไม่เป็นจริงโดยง่าย

เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นต้องตัดสินใจลงเงินกองหนึ่งเป็นเงินกว่า 2,600 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนให้โซนี่ ฮิตาชิ โตชิบา ยอมที่จะร่วมแรงร่วมใจ และควบรวมธุรกิจด้านจอคริสตัล ลิควิด เพื่อให้มั่นใจว่าแบรนด์ของญี่ปุ่นทั้งสามแบรนด์จะมีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันกับแบรนด์จากเกาหลีใต้และไต้หวันได้ในการตลาดระยะต่อไปจากนี้

กิจการที่มารวมตัวกันนี้ จะทำให้เกิดธุรกิจอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้เป็นส่วนสำคัญของหน้าจอในสมาร์ทโฟน แท็บเลตพีซี และแซงหน้าผู้นำอย่างชาร์ป และซัมซุงจากเกาหลีใต้ ตลอดจนแบรนด์ไต้หวันอย่าง AU Optronics

ที่ผ่านมา ทั้งโซนี่ ฮิตาชิ โตชิบา ล้วนแต่ประสบกับภาวะขาดทุนในธุรกิจจอภาพขนาดเล็ก จนถึงปีที่แล้ว ซึ่งหากมีการรวมกิจการกันแล้ว อาจจะทำให้ทั้งสามบริษัทสามารถสร้างพลังที่จะต่อสู้ในธุรกิจในฐานะผู้นำของแบรนด์ญี่ปุ่น และพัฒนาธุรกิจหลักสู่นวัตกรรมที่ทัดเทียมกับแบรนด์อื่นจากเอเชียต่อไปได้

กองทุนของรัฐที่ว่านี้ ชื่อ The Innovation Network Corp of Japan (INCJ) มีภาครัฐถือหุ้น 90% ตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในอุตสาหกรรมญี่ปุ่นที่กำลังตกอยู่ในสถานะลำบาก โดยยอมใช้เงินของภาครัฐมาช่วยความผันผวนของกิจการเอกชน และถือเป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุดก้อนหนึ่งของรายจ่ายภาครัฐทีเดียว โดยมี 3 บริษัทถือหุ้นในกิจการนี้เท่ากันที่ 10% ทุกราย

เป็นที่คาดว่าการรวมธุรกิจด้านการพัฒนาจอ LCD นี้จะแล้วเสร็จภายในปีหน้า โดยใช้ชื่อว่า Japan Display และวางเป้าหมายว่าจะสามารถทำรายได้จากกิจการปีละ 750,000 ล้านเยน จาก 570,000 ล้านเยน

การที่โซนี่ ฮิตาชิ โตชิบา ยอมรับการรวมธุรกิจการพัฒนาจอ LCD ครั้งนี้ ว่าไปแล้วไม่ได้เกินกว่าความคาดหมายของนักการตลาด เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าสภาพการแข่งขันของธุรกิจจอ LCD มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สนับสนุนให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้ต้องหาทางขยายขนาดการผลิตเพื่อปรับลดต้นทุนต่อหน่วยลงให้มากที่สุด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวคงเกินกว่ากำลังของกิจการใดกิจการหนึ่งเพียงลำพัง

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจสนับสนุนตลาดชิปและจอภาพของรัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังคงดำเนินต่อไป หลังจากที่พบแน่ชัดแล้วว่า ส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดโลกของผลิตภัณฑ์ประเภทชิปและจอภาพของแบรนด์ญี่ปุ่นลดลงไปมาก

จากการสำรวจพบว่าเมื่อรวมมูลค่าทางธุรกิจของโซนี่ ฮิตาชิ โตชิบา รวมกันทั้งสามบริษัทสามารถควบคุมส่วนแบ่งทางการตลาดได้ 21.5% ของมูลค่าการตลาดจอ LCD ขนาดจิ๋ว ซึ่งมากกว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทชาร์ปที่ 14.8% รองลงมาคือซัมซุง โมบาย ที่ 11.9% ตามลำดับ

โซนี่ ฮิตาชิ โตชิบา ล้วนแต่เผชิญหน้ากับปัญหาทางธุรกิจใกล้เคียงกัน คือ การสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดและศักยภาพด้านการแข่งขันทางธุรกิจ และยังประสบกับผลการขาดทุนด้านการดำเนินงานมาตลอดจนถึงปีที่แล้ว แม้ว่าความคาดหมายตอนนี้เชื่อว่าทั้งสามบริษัทจะกลับมามีผลกำไรจากการดำเนินงานด้านนี้ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงการรวมกิจการกันจะมาจากการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของภาครัฐ แต่ก่อนหน้านี้ทั้งโซนี่ ฮิตาชิ โตชิบา ได้แสดงความลังเลในการที่จะลงทุนรวมกิจการกันเพื่อแข่งขันกับชาร์ป ที่ได้รับเงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์จากบริษัทแอปเปิล หรือแม้แต่การเผชิญหน้าทางธุรกิจในตลาดจอ LCD ขนาดเล็กกับบริษัทซัมซุง โมบาย ดิสเพลย์และแอลจี ที่เป็นแบรนด์จากเกาหลีใต้

ยิ่งกว่านั้นแต่ละบริษัทก็ล้วนแต่มีปัญหาที่ต้องจัดการพอสมควร อย่างโซนี่ ก็มีปัญหาหนักใจในธุรกิจทีวีที่ยังมีผลการประกอบการขาดทุน หรือโตชิบากำลังเร่งเครื่องแผนการลดขนาดของธุรกิจผลิตชิปของตน

ในขณะที่ฮิตาชิก็มีนโยบายที่จะทิ้งระยะห่างด้านการแข่งขัน เนื่องจากความผันผวนของสถานการณ์ทางการตลาด และมุ่งที่จะขยายฐานธุรกิจด้านการปฏิบัติการด้านโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น

จุดเสี่ยงของการดำเนินงานในด้านนี้ของ 3 บริษัท ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ต้องขบคิดกันอีกหลายอย่างเหมือนกัน

ในส่วนของบริษัทชาร์ปนั้นมีความกระตือรือร้นในการขยายธุรกิจจอภาพ LCD ขนาดเล็กค่อนข้างมากและต่อเนื่อง จนมีฐานลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและแท็บเลตรายใหญ่ๆ ในตลาดที่มั่นคงไม่น้อย กิจการที่จะเข้าไปแข่งขันกับชาร์ปได้ก็ควรจะต้องมีฐานลูกค้าประเภทนี้ที่เพียงพอ มิฉะนั้นคงเหนื่อยแน่นอน

อย่างไรก็ตาม การที่ระดับราคาโดยเฉลี่ยของอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นสมาร์ทโฟน เพิ่มขึ้นถึง 30% ในไตรมาสแรกของปี 2011 จากปีก่อนหน้า ทำให้โซนี่ ฮิตาชิ โตชิบา เห็นโอกาสในการทำกำไร และสร้างรายได้ไม่น้อย

ดังนั้น นอกจากโซนี่ ฮิตาชิ โตชิบา ที่รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนแล้ว อาจจะมีผู้ผลิตรายอื่นคิดเหมือนกัน และหันมาเร่งขยายฐานการผลิตจอ LCD ขนาดเล็กในเวลาเดียวกันด้วย

หากเป็นเช่นนั้น ทั้งโซนี่ ฮิตาชิ โตชิบาก็จะมีความเสี่ยงใหม่จากการที่ระดับราคาขายต่อหน่วยของจอ LCD ขนาดเล็กอาจลดลงแทนที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการมีผู้ผลิตหลายรายและปริมาณผลผลิตจอ LCD ขนาดเล็กมากเกินความต้องการ

ที่สำคัญเทคโนโลยีการพัฒนาจอภาพขนาดเล็กที่ 3 บริษัทใช้กันอยู่ยังแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งอาจจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้การรวมธุรกิจการพัฒนาจอภาพ LCD เข้าด้วยกันยังมีความไม่ชัดเจนเท่าใดนักว่าจะเกิดได้จริงในทางปฏิบัติหรือไม่
การปรับโครงสร้างธุรกิจระหว่างบริษัทที่มีพื้นเพทางเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ยังไม่ใช่เรื่องง่ายดาย และหากทำไม่ได้จริงจัง ก็คงยากที่จะเอาชนะผู้นำในธุรกิจอย่างชาร์ปหรือบริษัทจากเกาหลีใต้ จีน และไต้หวันได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us