Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์19 กันยายน 2554
เอชพีอาจจะถอนตัวจากธุรกิจพีซี แท็บเลต-สมาร์ทโฟนจุดเปลี่ยน             
 


   
search resources

ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย), บจก.
Computer
Smart Phone




ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดพีซี ที่มีตัวเลือกอื่นเข้ามาแทนที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแท็บเลต หรือสมาร์ท โมบาย โฟน ทำให้ยักษ์ใหญ่ในวงการพีซีต้องหันมาปรับบทบาทโครงสร้างและสัดส่วนของธุรกิจแต่ละสายของตนใหม่ ไม่เว้นแม้แต่ฮิวเลตต์ แพคการ์ด หรือเอชพี

สภาวะการปรับตัวทางด้านโครงสร้างธุรกิจของเอชพีเป็นเรื่องที่วงการตลาดโลกเริ่มคิดเห็นมาระยะหนึ่งแล้ว

เมื่อไม่นานมานี้ เอชพีได้ส่งสัญญาณออกมาค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า เอชพีจะยกเลิกธุรกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ด้านคอมพิวเตอร์แท็บเลตและสมาร์ทโฟน รวมทั้งอาจจะตัดสินใจขายกิจการแผนกพีซีของตน ซึ่งเป็นแผนกที่รับผิดชอบเกี่ยวกับลูกค้ากลุ่มผู้บริโภคด้วย

การตัดสินใจครั้งนี้สร้างความประหลาดใจให้กับวงการตลาดไม่น้อย เพราะนี่หมายถึง

ประการแรก การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของเอชพีในประวัติการดำเนินงาน 72 ปีของเอชพี โดยจะทำการเพิ่มพอร์ตในส่วนของซอฟต์แวร์มากขึ้น

ประการที่สอง เป็นการส่งสัญญาณอย่างเปิดเผยให้กับซีอีโอคนใหม่ว่า แต่นี้ไปจะต้องปรับธุรกิจของเอชพีให้มีความยิ่งใหญ่ คงทน และยั่งยืนไม่น้อยหน้าบริษัทคู่แข่งขันสำคัญอย่างไอบีเอ็ม ที่ปรับตัวจากการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์มาสู่การทำรายได้จากซอฟต์แวร์และงานบริการแทน

แนวโน้มที่เป็นไปได้ในอนาคตสำหรับเอชพี อาจจะแยกออกเป็น 3 แนวทางด้วยกัน กรณีที่ดีที่สุด กรณีปรกติ และกรณีที่เลวร้ายที่สุด

ดูเหมือนว่าเอชพีจะมีความตระหนักในสถานะที่แย่ลงของผลประกอบการของตน และความยากลำบากที่จะดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และส่วนหนึ่งมาจากการตัดสินใจที่มาจากซีอีโอคนก่อน โดยเฉพาะการตัดทอนงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา จนทำให้ซีอีโอคนปัจจุบันอยู่ในฐานะลำบากในการแก้ไขการบริหารจัดการองค์กร และการเพิ่มความสามารถในการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน

การที่มูลค่าของกิจการในส่วนของแผนกพีซียังคงกระทบต่อเอชพี และเป็นภาระของเอชพีในการกำกับดูแลภายในกิจการ และอาจจะทำให้ราคาหุ้นในตลาดของเอชพีต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 38 ดอลลาร์ต่อหุ้น เพราะปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นได้ก็คือ กระแสเงินสดไหลเข้าออกของกิจการ

แม้ว่าเอชพีจะมีการเตรียมการพิจารณาถึงการตัดจำหน่ายแผนกพีซีออกไป แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ตามเป้าหมายโดยง่าย

ที่จริง เอชพีมีประสบการณ์ในการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่มาครั้งหนึ่งแล้ว ในช่วงที่ตัดสินใจเข้าไปซื้อกิจการของบริษัทคอมแพคเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว

แต่การตัดสินใจครั้งนี้ถูกวิเคราะห์จากนักวิเคราะห์ว่าเป็นการตัดสินใจปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เพราะคอมแพคนั้นมีผลประกอบการที่ล้าหลังจากกิจการคู่แข่ง จนกระทั่งถึงขั้นประสบกับผลขาดทุนในด้านการดำเนินธุรกิจด้านนี้

การเข้าไปช่วยเหลือซื้อกิจการของเอชพี ยังไม่สามารถทำให้วันนี้ของคอมแพคก้าวกลับขึ้นมาเป็นผู้นำในวงการพีซีอีกครั้ง หากเอชพีสามารถจำหน่ายแผนกพีซีออกไปได้ ก็อาจจะทำให้สถานการณ์ของเอชพีโดยรวมดีขึ้น และเพิ่มความมุ่งเน้นในการปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้น

เมื่อทศวรรษที่ผ่านมา เอชพีเคยผิดหวังจากการวางเป้าหมายที่จะก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ในตลาดพีซีหลังจากการรวมกิจการกับคอมแพค และเอชพีก็ผ่านมือบริหารของซีอีโอมาแล้วถึง 3 คน

นอกจากนั้น แผนกพีซีของเอชพีเป็นแผนกที่ทำรายได้ให้กับกิจการมากที่สุด แต่กลับสามารถทำกำไรให้กับกิจการมากที่สุด ทำให้กระแสข่าวลือเรื่องขายกิจการออกมานานพอสมควรแล้ว รวมทั้งการที่เอชพีจะเข้าไปซื้อกิจการของออโตโนมี่ คอร์ป ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีอนาคตรายหนึ่งด้วยเงินกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงสุดในประวัติการซื้อกิจการของเอชพี

นอกจากนั้น เอชพียังต้องหาทางแก้ไขสถานการณ์ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของกิจการ หลังจากที่เริ่มมีการพูดถึงคำว่า ไดโนเสาร์ ว่าเหมาะสมกับเอชพีเหมือนกับที่สมญานี้ถูกตั้งให้กับกิจการในธุรกิจเทคโนโลยีอื่นบางกิจการมาแล้วหรือไม่

ในราวปีหน้า ตลาดคาดกันว่าคอมพิวเตอร์เอชพีน่าจะออกจำหน่ายภายใต้ชื่ออื่นแทน และคาดกันด้วยว่าเอชพีน่าจะขายธุรกิจเซิร์ฟเวอร์และธุรกิจอุปกรณ์สำหรับภาคธุรกิจออกไป ซึ่งเป็นการดำเนินรอยตามบริษัทไอบีเอ็มที่เคยดำเนินการแล้ว และแน่นอนพนักงานที่มีจำนวนกว่า 300,000 รายทั่วโลกคงได้รับผลกระทบตามมาอย่างแน่นอน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us