Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2529
สหกลแอร์-สายการบินน้องใหม่ แต่ก็เป็น "พี่เก่า" ในวงการบินมานาน 18 ปีเต็มแล้ว             
 


   
search resources

สหกลแอร์
ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ
Aviation




ชื่อปราเสริฐ ปราสาททองโอสถนั้นเป็นชื่อที่ได้ยินกันมานานพอสมควร

ปราเสริฐ ปราสาทองโอสถ เรียนจบแพทย์จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เคยรับราชการเป็นศัลยแพทย์ อยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช 5 ปี แล้วลาออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านรับเหมาก่อสร้าง มีบริษัทก่อสร้างของตนเองชื่อบริษัทกรุงเทพสหกล จำกัด

และกลายเป็นนักธุรกิจใหญ่ไปในเวลาไม่นานนัก

นายแพทย์ปราเสริฐเป็นนักธุรกิจที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครและก็คงจะไม่มีใครเหมือนอยู่อย่างน้อย 4 อย่างด้วยกันคือ

หนึ่ง-เป็นนักลงทุนที่ไม่มองอะไร ๆ ใกล้ แต่จะมองไกลมาก

สอง-เป็นคนกล้าได้กล้าเสีย

สาม-กล้าได้กล้าเสียประเภทที่วางเค้าหน้าตักไม่ใช่ร้อยสองร้อยบาท หากแต่มักจะเป็นร้อยสองร้อยล้านและ

สี่-ชอบเล่นเครื่องบินมานานแล้ว

ก็ด้วยคุณสมบัติอย่างน้อย 4 อย่างนี้แหละ ที่สหกลแอร์ หรือ BANGKOK AIR WAY ได้มีโอกาสขึ้นมาเป็นสายการบิน "สายการบินน้องใหม่แห่งชาติ" แล้วเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์กรุงเทพ- โคราช และกรุงเทพ-สุรินทร์ไปเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2529 ภายหลังที่ได้รับอนุมัติจากกรมการบินพาณิชย์กระทรวงคมนาคมให้เป็นผู้บริการขนส่งผู้โดยสารผู้โดยสารแบบประจำมีกำหนดเวลาบินปลายปี 2518 นี้เอง

ทั้งนี้ใบอนุญาตของกรมการบินพาณิชย์ก็คือ จะอนุญาตให้สหกลแอร์เปิดเส้นทางการบินไป-กลับได้ 4 จุด ได้แก่ กรุงเทพ- นครราชสีมา (โคราช) กรุงเทพ- สุรินทร์ กรุงเทพ- กระบี่ และกรุงเทพ -เกาะสมุย ซึ่งเป็น 4 จุดที่บริษัทเดินอากาศไทย (บดท.) สายการบินในประเทศของรัฐบาลไม่มีเส้นทางบินอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งได้แสดงความตั้งใจแน่นอนแล้วว่าจะไม่เปิดเส้นทางบินดังกล่าวในอนาคต (เพราะไม่คุ้มทุน)

ในชั้นแรกนี้ใบอนุญาตของสหกลแอร์มีกำหนดระยะเวลาไว้ 2 ปี "ซึ่งเราก็เชื่อว่าถ้าเราบริการผู้โดยสารได้เรียบร้อยมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดเรื่องเสียหายรัฐบาลก็คงจะต่อใบอนุญาตให้เรา คงไม่เปลี่ยนนโยบายหรือความตั้งใจที่จะให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิด ดังเช่น ธุรกิจการบินนี้ด้วย…" ธีระชัย เชมนะสิริ รองผู้อำนวยการของสหกลแอร์ให้ข้อคิดเห็นกับ "ผู้จัดการ"

เส้นทางบินกรุงเทพ-โคราชและกรุงเทพ-สุรินทร์ ที่เปิดดำเนินการไปแล้วนั้นกรุงเทพ-โคราช จะให้บริการทุกวันวันละ 3 เที่ยว ค่าโดยสาร 380 บาทต่อเที่ยว "อาจจะพูดได้ว่าเรายังอยู่ในช่วงทดลองซึ่งเราก็พบว่าเที่ยวเย็นนั้นเต็มทุกเที่ยว ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า ส่วนอีกสองเที่ยวก็พอไหว เที่ยวหนึ่งก็สิบกว่าคน…" ธีระชัย พูดถึงเที่ยวบินกรุงเทพ-โคราช

ส่วนกรุงเทพ-สุรินทร์ ให้บริการวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ วันละหนึ่งเที่ยว คือออกจากกรุงเทพฯ ตอนเที่ยงตรงและกลับจากสุรินทร์ เวลา 13.30 น. ค่าโดยสารเที่ยวละ 700 บาทถ้วน ๆ

เครื่องบินที่ใช้บินทั้ง 2 เส้นทางบินนี้เป็นเครื่องบินที่ผลิตจากประเทศบราซิลชื่อแบนเดอเรนเต้ อีเอ็มบี-110 รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรุ่นที่หลายประเทศใช้บินระยะสั้น ๆ กันแพร่หลายมาก

"ขณะนี้เครื่องแบนเดอเรนเต้มีใช้กันอยู่ทั่วโลกประมาณ 500 ลำ มันเป็นเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์แพรทแอนด์วิทนีย์ (คู่แข่งเครื่องโรลสรอยส์ ซึ่งทั้ง 2 ยี่ห้อใช้เป็นเครื่องยนต์ของเครื่องบินเป็นส่วนมาก) มีจำนวนที่นั่งทั้งหมด 21 ที่นั่ง เป็นของนักบิน 2 ที่นั่ง ของแอร์โฮสเตส 1 ที่นั่งและเป็นที่นั่งผู้โดยสาร 18 ที่นั้ง…" ธีระชัย พูดให้ฟัง

และสำหรับเที่ยวบิน กรุงเทพ-กระบี่ จะเปิดทำการบินราว ๆ เดือนเมษายน 2529 กรุงเทพ-เกาะสมุย ก็คงจะไม่เกินเดือนตุลาคม เช่นเดียวกับที่เครื่องบินแบนเดอเรนเต้ลำที่ 2 จำนวนที่นั่ง 21 ที่นั่งเหมือนเครื่องปัจจุบันก็คงจะเข้ามาทันการเปิดเส้นทางบิน กรุงเทพ-กระบี่ ส่วนกรุงเทพ-เกาะสมุย จะมีเครื่องบินอีกเครื่องหนึ่งสั่งเข้ามาประจำเส้นทางการบินนี้ "เราตั้งใจว่าจะเอาเครื่องที่มีจำนวนที่นั่งมากขึ้น อาจจะเป็น 30 กว่าที่นั่งเข้ามา ซึ่งก็คงเป็นช่วงปลายปีนี้ เพราะลูกค้าในเส้นทางการบินเส้นนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นพวกนักท่องเที่ยว" ผู้บริหารอีกคนหนึ่งของสหกลแอร์เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ"

ก็ดูเหมือนการเปิดเส้นทางบินกรุงเทพ-เกาะสมุยของสหกลแอร์นั้น เป็นเส้นทางบินที่จะต้องลงทุนกันสูงกว่าทุก ๆ เส้นทางบิน เพราะนอกจากจะลงทุนซื้อเครื่องบินลำใหญ่ขึ้นแล้วการลงทุนอีกด้านหนึ่งก็คือ การสร้างสนามบินขึ้นที่เกาะสมุย (ที่โคราช สุรินทร์ ใช้สนามบินกองทัพภาค 2 ส่วนที่กระบี่ ใช้สนามบินของราชพัสดุ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก)

สหกลแอร์คาดหมายว่า การลงทุนด้านสนามบินที่เกาะสมุยจะต้องใช้เงินประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งอาจจะต้องใช้มากกว่านี้ ถ้าเผอิญนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ จะไม่มีที่ดินจำนวนเกือบ 200 ไร่บนเกาะสมุย และก็เผอิญเป็นที่ดินผืนเดียวบนเกาะที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างเป็นสนามบินเสียอีกด้วย

ลอง ๆ คำนวณดูแล้วสำหรับใบอนุญาตให้เปิดเส้นทางบินในประเทศ 4 จุดของสหกลแอร์ ซึ่งมีอายุ 2 ปี สหกลแอร์ก็ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท

สำหรับนักลงทุนหลาย ๆ คนก็อาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่อง "เสี่ยง" ที่ไม่น่าจะเข้าไปยุ่งแต่สำหรับคนอย่างนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถแล้ว มันก็สะท้อนถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวทั้ง 4 อย่างของเขาอย่างเห็นได้ชัด

อีกทั้งก็สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในความคิดของตัวเองอย่างเห็นได้ชัดด้วย

ซึ่งก็น่าจะต้องเชื่อมั่นเพราะจริง ๆ แล้ว "สายการบินน้องใหม่" แห่งนี้ ก็ไม่ใช่ "น้องใหม่" เสียทีเดียว เป็น "พี่เก่า" ที่คร่ำหวอดกับธุรกิจการบินมานานนับสิบปี แล้วด้วยซ้ำไป

สหกลแอร์นั้นเมื่อปี 2511 เกิดขึ้นโดยมีฐานะเป็นแผนกหนึ่งในบริษัทกรุงเทพฯ สหกลแอร์ ของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ทำธุรกิจให้บริการบินแบบเช่าเหมา ซึ่งลูกค้ามากต่อมากก็คือเจ้าหน้าที่ของบริษัทสำรวจและขุดเจาะน้ำมันทั้งในอ่าวไทยและบนบก

"จุดเริ่มก็สืบเนื่องมาจากที่กลุ่มกรุงเทพฯ สหกลได้ก่อตั้งบริษัทไทยปิโตรเลียมเซอร์วิสขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านกำลังคนและเครื่องจักรแก่บริษัทสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน ก็เลยพัฒนามาให้บริการบินแบบเช่าเหมาด้าย เพราะเกิดมีความต้องการบริการด้านนี้ขึ้น "ธีระชัย เชมนะสิริ" เล่ากับผู้จัดการ

ในปัจจุบันการให้บริการแบบเช่าเหมาก็ยังเปิดดำเนินการอยู่โดยมีเครื่องบิน 3 ลำประจำการ และโอนมาอยู่กับสหกลแอร์เรียบร้อยแล้ว เมื่อกลุ่มกรุงเทพฯ สหกล ยกฐานะแผนกสหกลแอร์แยกออกมาจัดตั้งทำบริษัท เมื่อปลายปี 2528

สหกลแอร์ในทุกวันนี้ดำเนินธุรกิจการบินของตนด้วยความเชื่อมั่นว่านโยบายของรัฐบาลนั้นคงจะไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เชื่อมั่นในความต้องการของตลาดใน 4 จุด ที่สหกลแอร์เปิดเส้นทางบินให้บริการและเชื่อมั่นในขีดความสามารถและประสบการณ์ที่สะสมมานานถึง 18 ปีเต็ม

เพียงแต่สหกลแอร์ก็คงขอเติบโตอย่างที่ตอกย้ำกันอยู่เสมอว่า ต้องเจียมตัวและเจียมใจให้มากๆ

หรือพูดอีกอย่างก็ คือ "ทุกอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us