Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 ตุลาคม 2546
ยักษ์ใหญ่"ไอที"หารือ "หมอเลี้ยบ" หนุนพัฒนาไอซีที             
 


   
www resources

โฮมเพจ ฮิวเลตต์ แพคการ์ด
Microsoft Homepage

   
search resources

ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย), บจก.
ฮิวเลตต์ แพคการ์ด - HP
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
บอร์แลนด์ ซอฟต์แวร์
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
Computer




3 บริษัทไอทีระดับโลกพบ "หมอเลี้ยบ" ร่วมหารือเรื่องความร่วมมือกับรัฐบาลไทย และนโยบายด้านไอซีที โดยเอชพีประกาศลงทุนผลิตคอมพิวเตอร์พีซีที่แหลมฉบัง ขณะที่ไมโครซอฟท์สนับ สนุนเรื่องความปลอดภัยข้อมูล การพัฒนาซอฟต์แวร์ และหลักสูตรการเรียนรู้โปรแกรม ส่วนบอร์แลนด์ ซอฟต์แวร์ หนุนพัฒนาแอปพลิเคชั่นประเภทซอฟต์แวร์ Tool รองรับบริการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังมา

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยว่า วานนี้ (19 ต.ค.) 3 บริษัทที่ประกอบการด้านไอที ซึ่งประกอบด้วยฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี) ผู้ผลิตและจำหน่ายคอมพิวเตอร์และพรินเตอร์ ไมโครซอฟท์ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก ที่รู้จักกันดีคือระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และบอร์แลนด์ ซอฟต์แวร์ ได้เข้าพบเพื่อหารือเกี่ยว กับความร่วมมือกับรัฐบาลไทย และรับทราบนโยบายด้านไอซีที

จากการเข้าพบครั้งนี้ เอชพีได้มีการร่วมลงทุนเพื่อผลิตคอมพิวเตอร์พีซี พาวิลเลี่ยน ที่แหลมฉบัง เพื่อส่งออกไปทำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ในลักษณะของการจ้างผลิตหรือโออีเอ็ม ตามรูปแบบ และแผนที่เอชพีวางไว้ และไม่ได้เรียกร้องอะไรจากรัฐบาลไทย เพราะเอชพีประสบความสำเร็จจากการผลิตพรินเตอร์มาแล้ว และเรื่องนี้เอชพีได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว คาดว่าจะนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้ในเดือนธ.ค.ปีนี้ ส่วนจะลงทุนเป็นมูลค่าเท่าไหร่นั้น ยังไม่มีการเปิดเผยถึงรายละเอียด

นอกจากนี้ ยังมีการหารือเกี่ยวซอฟต์แวร์สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี ให้ได้ใช้ซอฟต์แวร์ตามเครือข่ายที่กำหนดไว้ โดยใช้และจ่ายการใช้ซอฟต์แวร์ตามจำนวนความต้องการ และการใช้งานจริงหรือ Utility

ส่วนไมโครซอฟท์ได้มีการหารือในหลายประเด็นคือ 1.เรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งไมโครซอฟท์ยินดีให้การสนับสนุนโดยเฉพาะไทยที่เริ่มทำเรื่องของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government

2.เรื่องการพัฒนาบุคลากร ซึ่งได้มีการดำเนินโครงการไปแล้วระยะหนึ่ง แต่วิศวกรระบบที่มีความเชี่ยวชาญยังมีน้อยมาก โดยมีแผนจะร่วมมือกันในการทำ Excellent Center ซึ่งเป็นลักษณะของศูนย์ถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคลากรที่สนใจ โดยเฉพาะนักพัฒนาโปรแกรมที่ส่วนใหญ่จะพัฒนาเฉพาะภาษาท้องถิ่น และจะทำอย่างไรให้มีความเป็นสากลด้วย ซึ่งตรงนี้ไมโครซอฟท์เคยดำเนินการเกี่ยวกับโครงการ Unlimited Potential มาแล้ว โดยมีการแปลหลักสูตรเป็นภาษาง่ายๆ ซึ่งโครงการนี้เป็นคอนเซ็ปต์ที่คล้ายกับโครงการ Excellent Center ที่กระทรวงไอซีทีกำลังจะดำเนินการ

3.การสนับสนุนให้รู้จักภาษาอินเทอร์เน็ต และภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งไมโครซอฟท์เคยวางหลักสูตรในหลายประเทศมาแล้ว อย่าง ICT Center ที่กระทรวงไอซีทีกำลังดำเนินการที่ วางไว้จะให้เป็นศูนย์กลางการให้ความรู้ด้าน อินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเปิดช่วงแรก 4 แห่ง คือ กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ และภูเก็ต ซึ่งตรงนี้จะมีการร่วมมือกันว่า จะทำอย่างไรให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ได้ และเข้ามาได้อย่างไร เพราะปีหน้ากระทรวงไอซีทีได้มีการสนับสนุนให้มีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย เช่น ผลักดันให้มีการใช้คอมพิวเตอร์มือสอง เป็นต้น

อีกบริษัทคือบอร์แลนด์ ซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เครื่องมือหรือ Tool โดยหารือเกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นเพื่อรองรับเทคโนโลยีและบริการใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นและแนวโน้มที่จะมา ซึ่งกระทรวงไอซีทีก็เห็นด้วย อย่างเช่นอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ ที่น่าจะมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง

"การหารือครั้งนี้ยังไม่มีการลงในรายละเอียด เป็นเรื่องของหลักการและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากกว่า ว่าผู้ประกอบการด้านไอซีทีระดับโลกเขามองอย่างไร คิดอย่างไร เรามองอย่างไร คิดอย่างไร อย่างเอชพี หรือไมโครซอฟท์เขารู้เรื่องเมืองไทยเป็นอย่างดี แสดงว่าเขาได้รับรายงานและเฝ้าจับตามองเราอยู่ สิ่งที่เขาพูดคือสนใจการลงทุนและพัฒนาในไทยมากขึ้น"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us