Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 ตุลาคม 2546
"กมล"ดอดซื้อหุ้นVIBHA ผุดศูนย์สุขภาพครบวงจร             
 


   
search resources

ไมด้า แอสเซ็ท, บมจ.
โรงพยาบาลวิภาวดี, บมจ.
กมล เอี้ยวศิวิกูล
Hospital




"กมล เอี้ยวศิวิกูล" แห่งไมด้า ดอดซื้อหุ้นโรงพยาบาลวิภาวดี 10% แถมได้บอร์ด 1 ที่นั่ง คาดธุรกิจโรงพยาบาลกำลังบูม หลังทุกแห่งแก้ปัญหาหนี้สินลุล่วง และนโยบายรัฐหนุนไทย เป็นศูนย์กลางสุขภาพเอเชีย เผย "กมล" เตรียมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับแพทย์ผุดศูนย์ดูแลสุขภาพครบ วงจรในโรงพยาบาล

แหล่งข่าวจากธุรกิจโรงพยาบาลเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา นายกมล เอี้ยวศิวิกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทไมด้า แอสเซท จำกัด (มหาชน) ได้เข้าไปซื้อหุ้นบริษัทโรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) (VIBHA) ในนามส่วนบุคคลจำนวน 5.7 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 25 บาท เป็นจำนวนเงิน ทั้งสิ้น 142.5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการเข้าครอบครองหลักทรัพย์ที่สัดส่วน 10% ของจำนวนหุ้นโรงพยาบาลวิภาวดีทั้งหมด ทำให้นายกมลมีสิทธิที่จะส่งตัวแทนเป็นคณะกรรมการโรงพยาบาลวิภาวดี 1 ที่นั่ง เพื่อร่วมบริหารงานบริษัท

การที่นายกมลเข้ามาถือหุ้นโรงพยาบาลวิภาวดี ในนามส่วนตัวเป็นสัดส่วนที่สูง ถือว่าเป็นแนวโน้มเดียวกับภาพรวมตลาดธุรกิจโรงพยาบาลในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะการควบรวมกิจการ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น โดยเชื่อว่าธุรกิจโรงพยาบาลกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น หลังจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่ก่อนหน้านั้นธุรกิจโรงพยาบาลอยู่ในภาวะการแข่งขันสูง แต่หลังจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตแล้ว ทำให้ต้องปิดกิจการลงจำนวนหนึ่ง บางส่วนต้องควบรวมกิจการเพื่อความอยู่รอด

ขณะนี้โรงพยาบาลที่เหลืออยู่ ถือว่าเป็นโรงพยาบาลที่ปรับโครงสร้างธุรกิจมาแล้ว และพร้อมที่จะกลับมาแข่งขันใหม่อีกครั้ง โดยเชื่อว่าตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปธุรกิจโรงพยาบาลจะเป็นธุรกิจที่กลับมาเติบโต และขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลได้ประกาศให้ประเทศไทยเป็นศูนย์สุขภาพของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลในประเทศไทยได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศเข้ามารักษาพยาบาลในไทยมากขึ้น โดยน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่นักลงทุนหลายคนสนใจเข้ามาถือหุ้นโรงพยาบาลในช่วงนี้

ผุดศูนย์สุขภาพครบวจร

แหล่งข่าวจากโรงพยาบาลวิภาวดี เปิดเผยว่าการเข้ามาซื้อหุ้นของนายกมล เอี้ยวศิวิกูล ครั้งนี้ได้เจรจากันล่วงหน้ามาประมาณ 2 ปีแล้ว โดยนายกมลสนใจจะทำธุรกิจศูนย์สุขภาพครบวงจร โดยร่วมทุนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และเข้าไปใช้พื้นที่ในโรงพยาบาลเปิด ให้บริการหลังจากเข้ามาซื้อหุ้นในโรงพยาบาลวิภาวดี แล้วการเปิดศูนย์สุขภาพครบวงจรคงเริ่มที่โรงพยาบาลวิภาวดีเป็นแห่งแรก โดยจะใช้พื้นที่ของโรงพยาบาล 2 ชั้น คาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท เปิดให้บริการกลางปี 2547

รูปแบบการดำเนินการของศูนย์ดูแลสุขภาพ จะจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาบริหาร โดยกลุ่มผู้ถือหุ้นหลักคือรพ.วิภาวดี กลุ่มแพทย์คนไทยในรพ.วิภาวดี และผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าของเทคโนโลยีการแพทย์จาก ต่างประเทศ ในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โดยกลุ่มแพทย์ถือหุ้น 70% รพ.วิภาวดี 30% ส่วนการขยายสาขาในอนาคตจะเน้นการเปิดสาขาในโรงพยาบาลทั่วไป โดยในสาขาที่จะไปเปิดบริการจะเปิดโอกาสให้โรงพยาบาลเจ้าของพื้นที่ และแพทย์ประจำโรงพยาบาลนั้นๆร่วมถือหุ้นด้วย

สำหรับศูนย์สุขภาพครบวงจรที่นายกมลและแพทย์จัดทำขึ้น จะเป็นศูนย์ที่ชูจุดเด่นด้านการชะลอความแก่ในกลุ่มคนสูงอายุ ปัจจุบันโรงพยาบาล ที่ให้บริการด้านศูนย์ดูแลสุขภาพจะมีที่ รพ.สมิตเวช รพ.บำรุงราษฎร์ และ รพ.กรุงเทพ แต่ไม่ได้เน้นเรื่องการชะลอความแก่ เช่นเดียวกับที่ รพ.วิภาวดีกำลังจะดำเนินการ

การเปิดศูนย์ดูแลสุขภาพครบวงจรในโรงพยาบาล เป็นการทำธุรกิจที่ผู้ประกอบการทั้ง 2 ฝ่าย จะได้ประโยชน์ทั้งคู่ คือศูนย์สุขภาพจะได้ประโยชน์จากลูกค้าที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลบางส่วน น่าจะมาใช้บริการกับศูนย์ด้วย รวมทั้งจะได้ในแง่ของภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ เพราะว่าตั้งอยู่ในโรงพยาบาล เนื่องจากศูนย์ดูแลสุขภาพเป็นบริการที่ไม่สามารถโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณต่างๆได้ ส่วนโรงพยาบาล ก็จะได้ภาพลักษณ์ทันสมัย เพราะธุรกิจศูนย์ดูแลสุขภาพเป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตทั่วโลก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us