Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 ตุลาคม 2546
บุชพร้อมทำFTAกับไทยยกให้เป็นพันธมิตรชิดใกล้             
 


   
search resources

ทักษิณ ชินวัตร
อดิศัย โพธารามิก
จอห์น โฮเวิร์ด
ศิธา ทิวารี
จอร์จ ดับเบิลยู บุช
โรเบิร์ต โซลลิค




ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศให้ไทยเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดนอกนาโต้ เพื่อร่วมมือกันด้าน ความมั่นคงแล้ว พร้อมประกาศทำเขตการค้าเสรี (FTA) กับไทย เริ่มต้นปีหน้า หลังจากเกิดอาการอึมครึมก่อนหน้านี้ "อดิศัย" เผยไทยได้ประโยชน์เต็มๆ เพราะสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสินค้าไทยอันดับ 1 มั่นใจปี 2548 ทุกอย่างเริ่มได้ ส่วนปัญหาในพม่า 2 ฝ่ายเห็นตรงกันที่จะให้เกิดความปรองดอง แต่วิธีการอาจต่างกัน ด้านออสเตรเลียประกาศทำ FTA กับไทยด้วย ขณะที่จีนเพิ่มความร่วมมือกับไทยทุกด้าน

วานนี้ (19 ต.ค.) พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีครั้งสำคัญกับนายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ซึ่งภายหลังการหารือ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ได้หารือกันในประเด็นปัญหาหลายๆ ประเด็น ทั้งประเด็นด้านการเมืองระดับโลก ปัญหาในภูมิภาค ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาพม่า รวมไปถึงเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับไทย

"วันนี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ประกาศฐานะให้ไทยเป็นประเทศพันธมิตรที่ใกล้ชิด นอกนาโต้เพื่อร่วมมือกันในด้านความมั่นคง ซึ่งเมื่อเราต้องการความช่วยเหลือทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ เราจะได้สิทธิก่อนคนอื่น ในฐานะเป็นพันธมิตรกัน ซึ่งนับเป็นข่าวที่ดี" พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว

สหรัฐฯ ประกาศทำ FTA กับไทย

พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ประเด็นที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การประกาศจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทย-สหรัฐฯ โดยการหารือในครั้งนี้ ผู้นำทั้ง 2 ประเทศได้เห็นชอบที่จะ เดินหน้า FTA และคาดว่าจะเริ่มการเจรจาได้ประมาณต้นปีหน้า เพราะจากนี้ไปสหรัฐฯ จะต้องแจ้งให้สภาคองเกรสทราบและอนุมัติการทำ FTA ก่อน

ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวออกมาเป็นระยะๆ ว่าสหรัฐฯ จะไม่ยอมประกาศการทำ FTA กับไทย เพราะไม่พอใจผลงานการปรับปรุงงานด้านพิธีการศุลกากร และการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา แต่หลังจากที่นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้หารือกับนายโรเบิร์ต โซลลิค หัวหน้าสำนักงานคณะผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) และไทยได้ชี้แจงในประเด็นปัญหาที่เป็นข้อสงสัยของสหรัฐฯ ในที่สุดสหรัฐฯ ก็พอใจ

นายอดิศัยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า ในการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย กับประธานาธิบดีสหรัฐฯ เรื่องการทำ FTA ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือเป็นเรื่องสุดท้าย โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ พูดขึ้นมาเองเลยว่าเรื่อง FTA ทุกอย่างเคลียร์แล้ว และสามารถประกาศทำ FTA ระหว่างไทย-สหรัฐฯ ได้เลย พร้อมกับระบุว่า จากนี้ไปสหรัฐฯจะไปเสนอต่อสภา คองเกรสเพื่ออนุมัติการเจรจาต่อไปและจะทำให้เร็ว

นายอดิศัยกล่าวว่า การทำ FTA จะเป็นประโยชน์กับไทยอย่างมาก เพราะสหรัฐฯเป็นตลาดที่ไทยส่งออกสินค้าไปขายเป็นอันดับที่ 1 หากสหรัฐฯ เปิดตลาดให้กับไทย สินค้าไทยจะยิ่งขายไปยังสหรัฐฯ ได้มากขึ้น

ส่วนกรณีที่มีความกังวลว่าสหรัฐฯหวังที่จะเปิดตลาดบริการของไทย และเปิดตลาดสินค้า เกษตรและรถยนต์ของไทยนั้นไม่น่าเป็นห่วง เพราะขณะนี้ภาคบริการของไทยถือว่าเข้มแข็ง ขณะที่ภาคการเกษตรก็เข้มแข็ง

โดยในภาคเกษตร แม้ว่าสหรัฐฯจะเปิดตลาดได้ แต่การส่งสินค้าเข้ามาขายก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคจะยอมรับหรือไม่ เพราะหากผู้บริโภคไม่นิยมก็ขายไม่ได้ เหมือนกับที่ไทยพยายามทำตลาดข้าวหอมมะลิให้ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ยอมรับอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนภาครถยนต์ไทยมีขีดความสามารถอย่างมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย จึงไม่น่าวิตก

"คิดว่าจะเริ่มต้นการเจรจาได้ภายในไตรมาสที่ 1 หรือ 2 ปีหน้า และการเจรจาจะเจรจาครอบคลุมทั้งสินค้าและบริการ และคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในวันที่ 1 ม.ค.2548" นายอดิศัยกล่าว

หารือต่อต้านการก่อการร้าย

สำหรับประเด็นการก่อการร้าย พ.ต.ท. ทักษิณกล่าวว่า เป็นการพูดคุยถึงเรื่องความร่วมมือปกติ โดยเฉพาะเรื่องการข่าวความร่วมมือในการจับกุม และเรื่องการยึดทรัพย์ผู้ก่อการร้ายทั้งหลาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ตกลงกันไว้เดิมอยู่แล้ว

"ในเรื่องนี้ สหรัฐฯ ได้ขอบคุณไทยที่จับกุมตัวนายฮัมบาลี เพราะสหรัฐฯ ถือว่าเป็นคนอันตราย และเราจับได้ทางสหรัฐฯ ก็ดีใจ"

ส่วนปัญหาพม่านั้น พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า สหรัฐฯ และไทยมีความเข้าใจและมีเป้าหมายเดียวกันที่ต้องการเห็นความปรองดองแห่งชาติพม่า แต่ว่าอาจมีแนวทางที่แตกต่างกันบ้าง โดยสหรัฐฯ ต้องการให้พม่าปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของพม่า ซึ่งขณะนี้พม่าเองก็ได้ให้นางอองซาน ซูจี กลับมาอยู่ที่บ้านพักแล้ว และคิดว่าอีกไม่นาน นางอองซาน ซูจี คงมีอิสรภาพตามปกติ "สหรัฐฯ ต้องการให้ไทยเข้าไปมีบทบาท โดยต้องการให้ช่วยผลักดันประชาธิปไตยและความปรองดองแห่งชาติพม่า รวมทั้งเรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี แต่สิ่งที่ไทยทำไปแล้ว สหรัฐฯ เห็นว่าเป็นสิ่งที่ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน แต่วิธีของไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน เรามีวิธีการที่แตกต่างกับสหรัฐฯ และการที่สหรัฐฯ กดดันประเทศพม่า เราคงไปขอร้องสหรัฐฯ ไม่ได้ เพราะขณะนี้เป็นเรื่องวิธีการของแต่ละประเทศ" พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว

หารือนอกรอบชาติอาเซียน

เที่ยงวันเดียวกันที่โรงแรมโอเรียนเต็ล พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับผู้นำประเทศสมาชิกเอเปกที่อยู่ในกลุ่มอาเซียน 7 ประเทศ (ASEAN Working Lunch) อันประกอบด้วยประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ โดยไม่ได้กำหนดประเด็นการหารือไว้ หากผู้นำคนไหนสนใจในประเด็นใด ก็หยิบยกขึ้นมาหารือได้ทันที

ภายหลังการรับประทานอาหาร พ.ต.ท. ทักษิณกล่าวว่า เป็นธรรมเนียมของอาเซียนที่จะหารือร่วมกันถึงกรอบของอาเซียน ก่อนการประชุมเอเปก โดยในวันนี้ที่ประชุมได้เน้นว่าต้องการให้เอเปกมุ่งจุดสนใจไปที่เรื่องเศรษฐกิจ หากจะหารือเรื่องที่ไม่ใช่ประเด็นทางเศรษฐกิจก็ต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น เรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการหารือเรื่องที่นายอดิศัยต้องการให้ไทยเร่งการเปิดเสรีการค้าในกรอบเอเปกของประเทศกำลังพัฒนาเร็วขึ้น 5 ปี ซึ่งบางประเทศในกลุ่มอาเซียนไม่เห็นด้วยหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ไม่ได้เป็นประเด็นพูดคุยกัน แต่เคยมีแนวคิดว่าหากใครพร้อมก่อนก็ให้ดำเนินการก่อน ซึ่งแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้

ดันเม็กซิโกเร่งทำ FTA กับไทย

ในวันเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณยังได้หารือทวิภาคีกับนายบิเซนเต ฟอกซ์ กวยซาดา ประธานาธิบดีเม็กซิโก โดยนายศิธา ทิวารี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงผลการหารือว่า ทั้งประธานาธิบดีเม็กซิโกและพ.ต.ท. ทักษิณ เห็นพ้องต้องกันว่าระหว่างไทยกับเม็กซิโกนั้น น่าที่จะพยายามขับเคลื่อนการทำเขตการค้าเสรีระหว่างกันให้มีความคืบหน้ามากขึ้น ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีได้ขอให้เม็กซิโก สนับสนุนเอกชนในเม็กซิโกมาลงทุนในไทยให้มากขึ้น โดยทั้งสองฝ่ายตกลงจะเป็นประตูสู่ภูมิภาคให้อีกฝ่ายหรือเป็นฮับให้แก่กันและกัน

ประกาศ FTA กับออสเตรเลียด้วย

วันเดียวกันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้แถลงข่าวร่วมกับนายจอห์น โฮเวิร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียว่า จากการหารือกันสามารถตกลงเรื่องกรอบการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย โดยคาดว่าอีกประมาณ 5-6 เดือน จะสามารถกำหนดกรอบของข้อตกลงได้เรียบร้อย และนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้เชิญนายกรัฐมนตรีไปเยือนออสเตรเลีย เพื่อให้ไปลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีที่กรุงแคนเบอร์รา

นายอดิศัยกล่าวเสริมว่า การทำ FTAระหว่างไทย-ออสเตรเลียถือว่าประกาศกันได้ และสามารถตกลงในประเด็นปัญหาที่ยังติดขัดเล็กน้อย เช่น การกำหนดเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) สินค้าเสื้อผ้าที่ถือเป็นรายการสำคัญ ออสเตรเลียยอมให้ไทยใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 30% เป็นระยะเวลา 20 ปี จากนั้นค่อยมาเจรจากันใหม่ ส่วนแหล่งกำเนิดสินค้าในสินค้าอื่นๆ ก็มีการผ่อนผันให้

ด้านโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในวันเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับเซอร์ไมเคิล โซมาเร นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีความร่วมมือทางด้านประมง เพราะปาปัวนิวกินีมีแหล่งวัตถุดิบ โดยเฉพาะปลาทูน่า ซึ่งเป็นสินค้านำเข้าของประเทศไทย จึงน่าที่จะขยายความร่วมมือทางด้านนี้ได้อีกมาก ขณะที่นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินีต้องการความร่วมมือจากไทย ในการอบรมบุคลากรให้มีความสามารถในการลาดตระเวนทางทะเล

ผลักดันการค้าชิลีให้เพิ่มขึ้น

น.ต.ศิธากล่าวถึงผลการหารือทวิภาคีระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณกับนายรีการ์โด ลาโกส เอสโกบาร์ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐชิลี ด้วยว่า ทั้ง 2 ประเทศมีความเห็นตรงกันว่าควรจะมีการส่งเสริมมูลค่าการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น จากในปัจจุบันที่มีมูลค่าการค้าระหว่างกันจำนวน 120-150 ล้านเหรียญสหรัฐ และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า เช่นเรื่องการเก็บภาษีซ้ำซ้อน และควรมีการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งปัญหาอุปสรรคต่างๆ ควรตกลงกันให้ได้ก่อนการประชุมเอเปก 2004 ที่ประเทศชิลีเป็นเจ้าภาพ

ส่วนอุปสรรคการค้าต่างๆ นั้นก็เห็นว่า น่าจะมีการแก้ไขโดยยกเรื่องการจัดเก็บภาษี ซ้ำซ้อนระหว่างกันทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งได้พยายามหาทางแก้ไข และเห็นว่าควรที่จะมีการส่งเสริมการลงทุนที่สามารถตกลงกันได้ ก่อนจะมีการประชุมเอเปก 2004 ที่ประเทศชิลี

น.ต.ศิธา กล่าวด้วยว่า ทางชิลีซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปกครั้งต่อไปสนใจการจัดประชุมเอเปกของไทย เห็นว่าการจัดการประชุมครั้งนี้ของไทยดีมาก และอยากที่จะมาเรียนรู้และหาประสบการณ์ในการจัดงาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ยินดีที่จะให้เจ้าหน้าที่จากชิลีมารับ คำแนะนำจากประเทศไทย และเข้ามาดูการจัดเอเปกว่าเป็นอย่างไรบ้าง

กระชับความร่วมมือไทย-จีน

ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 18 ต.ค. นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีหู จิ่น เทา แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจไทย-จีน จำนวน 5 ฉบับ คือ 1 ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ 2.การตั้งกลไกการหารือแบบประจำระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย-จีน 3.การเพิ่มความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจ ลงตราหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการ 4.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมการค้า การลงทุนและความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ 5.บันทึกความเข้าใจระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด มหาชน กับบริษัท ชิโนเค็ม

ประธานาธิบดีจีน กล่าวว่า ความสำเร็จในเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-จีนด้วยการเปิด เสรีสินค้าผักและผลไม้ในเบื้องต้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการขยายความร่วมมือที่จะเปิด เสรีสินค้าประเภทอื่นต่อไป และเชื่อว่ามูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีน จะสามารถบรรลุตัวเลขทางการค้าที่ระดับ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากปัจจุบันที่อยู่แค่ระดับ 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ไม่ยาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us