Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2529
ฝ่ายค้านคุณภาพและความแค้น             
 


   
search resources

เปรม ติณสูลานนท์




เมื่อการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการ และมองเห็นแล้วว่าใครบ้างที่ต้องเป็นฝ่ายค้าน ผู้ที่ติดตามการบ้านการเมืองมาโดยตลอด ต่างมีความเห็นใกล้เคียงกันว่า ฝ่ายค้านชุดนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อรัฐบาลเปรม 5

ถึงแม้สัดส่วนกำลังจะแตกต่างกันระหว่าง 115 เสียง กับ 232 เสียง ก็ตาม แต่การเมืองไทยทุกครั้งที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมักไม่ได้ขีดวงไว้เฉพาะการต่อสู้กันในสภา แรงกดดันหลาย ๆ ด้านต่างหากที่ส่งความหมายจริงจัง

ฝ่ายค้านที่มีความจัดเจนและเอาจริงเอาจังจึงเป็นแรงกดดันอันสำคัญประการหนึ่ง

บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ผู้กุมกำลังมากที่สุดของพรรคฝ่ายค้าน ในฐานะหัวหน้าพรรคสหประชาธิปไตย บทบาทที่ผ่านมาทุกฝ่ายยอมรับในความจัดเจนของเขาผู้นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นเกมในสภา

การเป็นนักการเมืองเก่าแก่ที่ผ่านเหตุการณ์มาหลายยุคสมัย กระทั่งเป็น สส. ที่อาวุโสที่สุดในสภาขณะนี้ บ่งบอกถึงประสบการณ์ที่กลั่นมาเป็นความจัดเจนชนิดเหนือชั้น จนกล่าวได้ว่า ฝ่ายรัฐบาลไม่อาจทำอะไรในสภาพพลาดได้แม้วินาทีเดียว

เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในสภาไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่จนฝ่ายค้านท้วงติง หรือเอาเงื่อนไขถล่ม ย่อมหมายถึงเครดิตทางการเมืองของรัฐบาลต้องสูญเสียไปโดยปริยาย

เครดิตตัวนี้ตีค่าออกมาเป็นจำนวนคะแนนเสียงไม่ได้ แต่ข่าวคราวที่กระจายสู่สาธารณชนก็ตีราคาความตกต่ำไม่ได้เช่นเดียวกัน

พรรคสหประชาธิปไตยเป็นคู่ต่อสู้หลักโดยพื้นฐานของพลเอกเปรม การค้านของพรรคนี้ไม่มีลักษณะ "ทั้งค้าน ทั้งจีบ"

การก่อกำเนิดพรรค รวมทั้งท่าทีในขณะฟอร์มรัฐบาล ชี้ถึงการไม่สนับสนุนให้พลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างชัดเจน

ในพรรคสหประชาธิปไตย มีแกนสำคัญ ที่มีความ "แค้น" ต่อพลเอกเปรมอยู่อีกอย่างน้อย 2 คน คือพันเอกพล เริงประเสริฐวิทย์ และ ตามใจ ขำภโต ผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นมือทางเศรษฐกิจคนสำคัญของพรรค

สมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ถึงแม้ในช่วงฟอร์มรัฐบาลพรรคประชากรไท จะเผยท่าทีต้องการร่วมรัฐบาลกับพลเอกเปรมด้วยก็ตาม

แต่ถึงวันนี้โอกาสสำหรับสมัครต่อการร่วมกับพลเอกเปรมได้ปิดสนิทลงแล้วโดยสิ้นเชิง อย่างน้อย ๆ ก็ด้วยเหตุผล 2 ประการ

หนึ่ง-พลเอกเปรมดึงเอาพลเรือเอกสนธิ บุญยะชัย อดีตลูกพรรคประชากรไทย ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรีในโควต้าของพลเอกเปรม พร้อม ๆ กับที่พลเรือเอกสนธิ กันมา "ชน" กับสมัคร ในหลายประเด็นอันเกี่ยวเนื่องกับการบริหารงานยุครัฐบาลเปรม 3 และ 4 การเป็นปรปักษ์กันของทั้งสามลามไปถึงพลเอกเปรมโดยไม่อาจเลี่ยง

สอง-การอภิปรายของสมัครในวันรัฐบาลแถลงนโยบาย วันนั้นหัวหน้าพรรคประชากรไทยกระหน่ำพลเอกเปรมอย่างรุนแรง กรณีที่ยอมให้วีระ มุสิกพงศ์ เป็น รมช. มหาดไทย ในขณะที่วีระยังมีปัญหาเกี่ยวเนื่องจากการพูดหาเสียงช่วยเหลือเพื่อนร่วมพรรคที่บุรีรัมย์ค้างคาอยู่

ถึงแม้การอภิปรายประเด็นนี้ต้องทำกันเป็นการลับ และวิทยุหยุดถ่ายทอดเสียงชั่วคราว แต่หนังสือพิมพ์ทุกฉบับรายงานตรงกันว่า การอภิปรายของสมัคร ส่งผลให้พลเอกเปรมแสดงอาการโกรธจัดออกมาอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

และก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าพลเอกเปรมนั้นเป็นคนลืมยาก

สมัคร สุนทรเวช มีความไม่พอใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ตั้งแต่รู้ชัดเจนว่าไม่ได้ร่วมรัฐบาลด้วย ทั้ง ๆ ที่ตลอดเวลาที่ร่วมรัฐบาลกับพลเอกเปรมมานั้น สมัครปกป้องและ "ออกรับ" แทนรัฐบาลมาโดยตลอด ในช่วงหาเสียงก็ไม่เคยประกาศว่า "ไม่เอาเปรม"

ตรงข้ามกับพรรคที่มีส่วนสำคัญต่อการล้มรัฐบาลเปรม 4 กลับได้ร่วมรัฐบาลอย่างง่ายดาย

บทบาททางการเมืองที่จัดเจนอย่างหาตัวจับยาก การพูดจาที่คล่องแคล่วมีประเด็นชัดเจนบวกกับแรงขับเคลื่อนในตัวที่ "ทะยานแรง" ทำให้สมัครเป็นขุนพลฝ่ายค้านที่สำคัญยิ่ง

ณรงค์ วงศ์วรรณ ภาพของหัวหน้าพรรครวมไทยผู้นี้กระเดียดไปทางข้าราชการประจำที่ไม่มีอะไรหวือหวา แต่กล่าวถึงบารมีในบางโซนทางภาคเหนือแล้วไม่มีใครปฏิเสธได้

ณรงค์ เป็นผู้นำกลุ่ม สส. ภาคเหนือจำนวนหนึ่ง ที่มีอำนาจต่อรองมาโดยตลอด การกำเนิดของพรรครวมไทยนับเป็นความสำเร็จที่น่าพอใจ เมื่อมองในแง่ที่ว่า พรรคนี้ตั้งเป้าหมายต้องการ สส. จำนวน 20 คนเท่านั้น แต่ผลปรากฏว่าได้รับเลือกถึง 19 คน

เป็นเรื่องที่พลิกความคาดหมายไม่น้อย ที่ณรงค์ วงศ์วรรณและพรรครวมไทย ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลเปรม 5 ทั้ง ๆ ที่รู้กันตลอดเวลาณรงค์นั้นสนิทสนมและเหนียวแน่นกับพลเอกเปรม อย่างยากที่จะแกะออก เมื่อผลลงเอยเช่นนี้ ณรงค์ถึงกับต้องขอโทษขอโพยลูกพรรคที่ผลักดันให้พรรคเข้าร่วมรัฐบาลไม่ได้

นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องที่รู้กันลึก ๆ ว่า การที่ณรงค์ตัดสินใจแยกตัวจากพรคกิจสังคมมาสร้างอาณาจักรใหม่ก็เนื่องจากความปรารถนาของพลเอกเปรม

ถึงแม้จะมีการพูดกันว่าการที่พรรครวมไทยไม่ได้ร่วมรัฐบาลเพราะอำนาจบางฝ่ายไม่ยอมรับปิยะนัฐ วัชราภรณ์ จริงหรือไม่ก็ตาม แต่บรรยากาศน้อยเนื้อต่ำใจได้ปกคลุมไปทั้งพรรค

เพราะอย่างน้อย ๆ พรรครวมไทยก็มีข้อเปรียบเทียบว่า "แนวร่วมป๋า" อย่างพรรคราษฎรซึ่งมีเสียงน้อยกว่ายังได้ร่วมรัฐบาลโดยไม่ยาก

ถึงวันนี้แม้ณรงค์ วงศ์วรรณ จะยังไม่ถึงขั้นปิดประตูคบหากับพลเอกเปรมปรากฏออกมาชัดเจน แต่ณรงค์ก็เข้าร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพรรคฝ่ายค้านแล้วอย่างเต็มตัว

และแม้ว่าณรงค์เองจะไม่สันทัดบทบาทเช่นนี้นัก แต่พรรคฝ่ายค้านก็ได้ดาวสภาหนุ่มอย่างปิยะนัฐ วัชราภรณ์ ลูกพรรครวมไทย เข้าร่วมทีมอย่างสมบูรณ์

บุญชู โรจนเสถียร ไม่มีทั้งความแค้นและความน้อยใจ ถึงจะร่วมเซ็นชื่อสนับสนุนพลเอกเปรมในขณะกำลังฟอร์มรัฐบาลกับเขาด้วยเหมือนกัน แต่ข่าวลึก ๆ เปิดเผยว่าการทำเช่นนั้นเป็นความจำเป็นที่เคยพูดกันมาก่อนเลือกตั้ง เพื่อแลกกับหลักประกันความปลอดภัยบางอย่างในการหาเสียงที่นครสวรรค์

ข่าวนี้จะเท็จจริงอย่างไรก็ตาม แต่การที่พรรคกิจประชาคมได้ สส. มาแค่ 15 คนนั้น ทำให้บุญชูต้องยอมรับความจริงถึงน้ำหนักในการต่อรองของตัวเอง

บทบาทนับจากนี้ต่อไป คือการแสดงฝีไม้ลายมือออกมาในฐานะพรรคฝ่ายค้านที่มีคุณภาพ เพื่อปูทางสู่อนาคต

แน่นอนบุญชู องยอมรับเป็นผู้รับบาบาทในการติดตามผลงานทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

อุทัย พิมพ์ใจชนประกาศตัวชัดเจนก่อนการเลือกตั้งว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก สส. เท่านั้น นั่นหมายความว่าไม่ต้องการให้พลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี

การเป็นฝ่ายค้านของอุทัยและพรรคก้าวหน้าจึงเป็นเรื่องของแนวทางการเมืองล้วน ๆ ไม่มีปัญหา "เทคนิค" มาปะปน

ถึงแม้จะเป็นหัวหน้าพรรคเล็ก ๆ บทบาทที่ตรงไปตรีงมาและอยู่ในร่องในรอยของอุทัยนั้นเป็นภาพที่ประทับใจต่อ "พับลิค" ไม่น้อย ทั้งนี้ไม่ว่าจะมองจากการกล่าวถึงของสื่อมวลชน และกรกระโดดเข้าร่วมของบุคคลบางส่วนเมื่อคราวเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านไป

ในพรรคฝ่ายค้าน อุทัยถือเป็นหัวหน้ากลุ่ม "สิบเก้า" ซึ่งรวมเอาพรรคเล็ก ๆ เข้าด้วยกันและมีจำนวน สส. 19 คน

อุทัยเป็นขุนพฝ่ายค้านอีกคนหนึ่งที่มีความคร่ำหวอดทางการเมืองอย่างหาตัวจับยาก ประสบการณ์จากการเป็น สส. หลายสมัย บวกกับ 2 ครั้งในตำแหน่งประธานสภาฯ หลอมเข้าเป็นคุณค่าอันใหญ่หลวงสำหรับต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล

ลำพังขุนพลฝ่ายค้านแต่ละคนล้วนมีความจัดเจนอยู่ในตัวแล้วโดยสมบูรณ์ แต่กระนั้นความสำคัญยิ่งเพิ่มน้ำหนักขึ้น เมื่อแต่ละขุนพล แต่ละพรรคหันมาจับมือร่วมภารกิจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การกำหนดบทบาท แบ่งหน้าที่ แบ่งความถนัด เป็นไปอย่างเป็นระบบ ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือกันที่พรรคฝ่ายค้านประกาศ เมื่อ 10 กันยายนนี้นั้นถึงแม้จะเป็นเพียงกระดาษใบหนึ่ง ไม่มีผลบังคับ ผูกมัดใด ๆ แต่นั่นแสดงถึงดีกรีในการร่วมภารกิจครั้งนี้

พรรคฝ่ายค้านร่วมภารกิจกันโดยหัวหน้าพรรคทั้ง 5 คน ประชุมวางแผนกันทุกวันพุธ เพื่อรับศึกการประชุมสภาในวันพฤหัส ผลจากการร่วมภารกิจทำให้พรรคฝ่ายค้านไม่แสดงบทบาทซ้ำซ้อนกันให้เสียประโยชน์ การเดินเกมในสภาพเป็นไปอย่างรวมศูนย์แทนการกระจัดกระจาย

เกมการเมืองประการหนึ่งในสภาพนั้น เป็นที่รู้กันว่า ประธานสภาฯ ซึ่งแน่นอน ย่อมมาจากฝ่ายรัฐบาล จะเปิดโอกาส โดยไม่ชี้ให้ฝ่ายค้านอภิปรายเลยก็ได้ แต่นั่นหมายถึงภาพพจน์จะออกมาน่าเกลียดเกินไป

ดังนั้นการชี้ให้บุคคลของฝ่ายค้านที่ประธานเห็นว่ามี "น้ำยาน้อย" ลุกขึ้นอภิปราย จึงเป็นเกมพื้นฐานของฝ่ายรัฐบาล

แต่สำหรับฝ่ายค้านทีมนี้รัฐบาลคงเล่นเกมนี้ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะได้มีการกำหนดตัวผู้อภิปรายของฝ่ายค้านเอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งคัดจากผู้พูดจามีน้ำหนักและบทบาท "มีน้ำยา" เท่านั้น เมื่อถึงคราวต้องยกมือขออภิปราย บุคลที่ถูกกำหนดตัวไว้แล้วในแต่ละเรื่องเท่านั้นที่จะยกมือ ดังนั้นไม่ว่าประธานจะชี้ให้ใครอภิปราย ก็ล้วนเป็นเรื่องไม่ผิดหวังของฝ่ายค้าน

จะถ่ายทอดหรือไม่ถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะการประชุมทุกนัดถูกถ่ายทอดจากหนังสือพิมพ์อยู่แล้ว

และเพียงผ่านมาไม่กี่ครั้งพรรคฝ่ายค้านก็ดิสเครดิตรัฐบาลไปแล้วหลายแต้ม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us