ฮุนกิมฮวด เป็นคนจีนไหหลำที่อพยพเข้ามาเมืองไทยเมื่อประมาณ 90 ปีที่แล้ว
ปี 2449 ธนาคารสยามกัมมาจลเกิดขึ้นและสามารถดำเนินกิจการไปด้วยดี เลยเกิดลัทธิเอาอย่าง
โดยเฉพาะในหมู่คนจีน ได้ขอตั้งธนาคารขึ้นในระยะไล่เลี่ยกัน 3 แห่ง 1.ธนาคารยู่เส็งเฮง
ของฉลอง ไนยนารถ 2. ธนาคารมณฑล ของเชย สรรพาพร (ต่อมาเป็นผู้จัดการฝ่ายไทยของธนาคารสยามกัมมาจล)
3. ธนาคารบางกอกซิตี้แบงก์ โดยฮุนกิมฮวด
ธนาคารบางกอกซิตี้แบงก์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2452 ทุนจดทะเบียนครั้งแรก
2 ล้านบาท ผู้ก่อตั้งส่วนใหญ่เป็นคนไหหลำ นอกจากฮุนกิมฮวดแล้วก็มีกันง่วนฮวด
จีนย้วนง่วนเฮง โดยมีขุนนางในยุคนั้น (เข้าใจว่าเป็นคนจีนเหมือนกัน) เข้าร่วมด้วย
อาทิพระสรรพการหิรัญกิจ หลวงประสารอักษรพรรณ
ฮุนกิมฮวดเป็นผู้จัดการ
ปี 2452-3 ประเทศไทยประสบมรสุมทางเศรษฐกิจ การค้าฝืดเคืองมาก เพราะการทำนาไม่ได้ผลติดต่อกันหลายปี
กระทบถึงการส่งออกข้างอย่างรุนแรง บรรดาพ่อค้าและโรงสีต้องปิดกิจการไปจำนวนมาก
ธนาคารซึ่งขณะนั้นปล่อยเงินกู้ให้กิจการเหล่านี้ ไม่สามารถเรียกหนี้คืนได้เท่าที่ควร
และธนาคารบางกอกซิตี้แบงก์เป็นธนาคารแรกที่เผชิญปัญหาสภาพคล่อง
แต่เหตุการณ์ที่กระทบถึงฐานะโดยตรงของธนาคารกลับมาจากกรรมการของธนาคารเอง
ซึ่งก็คือปัญหาเดียวที่ธนาคารชาติในปัจจุบันกำลังปวดหัว
จีนย้วนง้วนเฮง ผู้ก่อตั้งธนาคารบางกอกซิตี้แบงก์ได้กู้เงินไปทำโรงสี ซึ่งต่อมาประสบการขาดทุนอย่างหนัก
และจีนย้วนง้วนเฮงก็ตายลง ในขณะที่กันง่วนฮวด กรรมการธนาคารได้กู้เงินไปทำบริษัทนาวาสยาม
ขาดทุนเช่นกันในที่สุดล้มละลาย รวมแล้วหนี้รายใหญ่ 2 รายนี้เป็นเงินถึง 5
แสนบาท
เมื่อข่าวนี้กระจายออกไป ประชาชนก็แห่มาถอนเงินกันจ้าละหวั่น เพื่อปกป้องการล้มละลาย
ธนาคารยู่เส็งเฮงจึ้งเข้ามา TAKE OVER ในเดือนพฤศจิกายน 2453 โดยรวมกิจการ
2 แห่งเข้าด้วยกัน เปลี่ยนชื่อจากธนาคารยู่เส็งเฮงเป็นแบงก์จีนสยาม
หลังจากนั้นเพียงปีเดียวแบงก์จีนสยามก็พลอยซวดเซและต้องล้มละลายไปเมื่อวันที่
16 ธันวาคม 2456
ฮุนกิมฮวดต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โกศล ฮุนตระกูล พี่ชายของพระยาศรีวิสารวาจา
และหลวงสิทธิ์สยามการ และเป็นพ่อบังเกิดเกล้าของ สมหมาย ฮุนตระกูล