|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ด้วยความที่ พี แอนด์ จี เป็นกิจการขนาดใหญ่ในวงการสินค้าครัวเรือนรายหนึ่งของโลก การกำหนดกลยุทธ์ด้านดิจิตอลจึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
ความก้าวหน้าของโลกการตลาด ทำให้ผู้บริหารของพี แอนด์ จี เกรงว่ากิจการของพี แอนด์ จีจะกลายเป็นธุรกิจล้าหลัง แต่การปรับตัวที่ทันสมัยเกินไปก็ต้องการความมั่นใจ การศึกษา การศึกษาเพิ่มเติมมากมาย
ดังนั้น เมื่อผู้บริหารของ พี แอนด์ จี เล่าถึงความพยายามในการปรับและยกระดับโมเดลทางธุรกิจและการตลาดของพี แอนด์ จีสู่กิจการในโลกดิจิตอลจึงพบว่าไม่ใช่เรื่องง่าย
ด้วยเหตุนี้ พี แอนด์ จีจึงยอมรับการร่วมมือทางฐานะพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างกันกับยักษ์ใหญ่ในวงการอาหารฟาสต์ฟูดอย่างแมคโดนัลด์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่ากระบวนการดำเนินงานการตลาดแบบดิจิตอลแตกต่างจากแบบเดิมอย่างไร และการค้าแบบดิจิตอลมีขั้นตอนอะไรอยู่บ้าง นับตั้งแต่เวลาเริ่มต้นที่ได้รับข้อมูลสารสนเทศมาจนกระทั่งนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพทางธุรกิจ
เป้าหมายสำคัญในการพัฒนาธุรกิจแบบดิจิตอลของพี แอนด์ จี คือ
ประการแรก ทำให้เห็นกระบวนการทำงาน และเวลาที่เกี่ยวข้องกับแต่ละขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ
ประการที่สอง ทำให้พนักงานของพี แอนด์ จี ทุกคนเห็นข้อมูล ณ วินาทีที่ผ่านมา และเห็นข้อมูลที่เป็นข้อมูลเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน
ประการที่สาม ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานของพี แอนด์ จี ลดลงจากเดิม เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างกำไรจากการดำเนินงาน
ด้วยความพยายามและความทุ่มเทในช่วงเวลา 8 ปีที่ผ่านมา พี แอนด์ จี เปิดเผยว่า สามารถลดต้นทุนจากการดำเนินงานด้วยดิจิตอลเทคโนโลยีไปแล้วไม่น้อยกว่า 99 ล้านดอลลาร์ โดยกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนลดลงคือ ความแม่นยำมากขึ้นในการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าต่อสินค้าแต่ละชนิดของแต่ละสายการจำหน่ายของกิจการ
รูปแบบดังกล่าวได้ใช้แล้วโดยแมคโดนัลด์ในการป้อนกลับข้อมูลของลูกค้า 4,200 ล้านคน เพื่อนำมาใช้ในโมเดลการพยากรณ์ความต้องการซื้อในอนาคต ซึ่งน่าจะทำได้ง่ายขึ้นเพราะพี แอนด์ จี มีสินค้าประมาณ 800 รายการเท่านั้นที่เป็นเป้าหมายการปรับปรุงด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล โดยใช้ฐานข้อมูลที่เรียกว่า cockpit ที่เก็บข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์จากอีเมลมาเพื่อประเมินว่าการรับรู้เกี่ยวกับสินค้าของพี แอนด์ จี เป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อใดที่พี แอนด์ จี สามารถพยากรณ์จำนวนสินค้าที่จะขายได้ ก็สามารถบริหารผลกำไรได้ดีขึ้นด้วย
สิ่งที่เป็นความคาดหวังในระยะยาวของพี แอนด์ จี คือ สักวันหนึ่ง พี แอนด์ จี จะสามารถเห็นข้อมูลแบบหนึ่งต่อหนึ่งที่เข้าไปถึงลูกค้านับพันล้านรายของตนได้เหมือนกับแมคโดนัลด์
นอกจากนั้น การปรับเปลี่ยนแนวทางการโฆษณาของพี แอนด์ จี อาจจะหมายถึงการที่ พี แอนด์ จี ต้องสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับลูกค้าในด้านการถกเถียง การตอบโต้แบบมีทางออกเสมอกับลูกค้าของพี แอนด์ จี ขณะเดียวกันก็ยังต้องให้อิสระกับลูกค้าในการต่อล้อต่อเถียง จนกว่าจะตัดสินใจด้านการซื้อจริง
การปรับเปลี่ยนแนวทางโมเดลธุรกิจแบบนี้หมายความถึงการที่พี แอนด์ จี จะต้องมีฝ่ายงานด้านไอทีที่เข้มแข็งแบบสุดๆ รวมทั้งเปลี่ยนพนักงานทุกระดับทุกแห่งในเครือข่ายให้รู้ว่าตนจะต้องมีสมรรถนะทางด้านไอทีเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
รวมทั้งการทำงานของพนักงานพี แอนด์ จี จะต้องมีความไหวตัวต่อการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการภาระงานให้เกิดประโยชน์กับกิจการมากที่สุด ไม่ใช่เพียงการทำงานแบบวันต่อวันแบบที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการประเมินผลการปฏิบัติงานทางการตลาดจะเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างมาก
ไม่ว่าแนวทางการพัฒนาธุรกิจของพี แอนด์ จี จะเพิ่มความเข้มข้นในด้านดิจิตอลเทคโนโลยีมากน้อยขนาดไหน แต่การปรับตัวที่จะเกิดขึ้นในระยะต่อไปจากนี้ อาจจะมีผลอย่างมากต่อการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งพี แอนด์ จีจะต้องมั่นใจว่าลูกค้าในประเทศเหล่านั้นจะมีความเข้าใจและยอมรับพี แอนด์ จี ในยุคดิจิตอลด้วย
|
|
|
|
|