Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2554
โลกนี้ไม่มี Android ฟรี             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 

 
Charts & Figures

Top Smartphone Platforms


   
search resources

Smart Phone




ปลายปีที่แล้ว สตีฟ บาลเมอร์ ซีอีโอของไมโครซอฟท์เคยปรามาสแอนดรอยด์ โดยเฉพาะเรื่องยุทธศาสตร์ของแอนดรอยด์ แต่ไม่มีใครให้ความสนใจเท่าไร หลังจากนั้นแอนดรอยด์เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของทั้งไมโครซอฟท์และแอปเปิล

ตลาดสมาร์ทโฟนในปีกลาย แอนดรอยด์ของกูเกิ้ลเพิ่มส่วน แบ่งตลาดอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการเข้าแย่งตลาดของ iPhone เช่นเดียวกับตลาดของปาล์มและไมโครซอฟท์ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจากตารางเป็นการเปรียบเทียบตลาดในชั่วระยะเวลาสามเดือน จนสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2009 กับสามเดือนจนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2010 พบว่ามีคนใช้สมาร์ทโฟนในประเทศสหรัฐอเมริกา 45.4 ล้านคนจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2010 คิดเป็นเพิ่มขึ้น 21% จากเดือน พฤศจิกายน 2009 RIM ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบล็กเบอร์รี่มีส่วนแบ่งที่แข็ง แกร่งที่ 42.1% ซึ่งคิดเป็นเพิ่มขึ้น 1.3% แต่แอนดรอยด์น่าสนใจกว่า โดยมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นถึง 5.2% ขณะที่แอปเปิลยังทรงๆ ส่วนแบ่งแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง

นั่นถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เห็นภาพในปัจจุบันว่า แอนดรอยด์เข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของไมโครซอฟท์และค่อยๆ คืบคลานเข้ามากินส่วนแบ่งของแอปเปิลด้วย ข้อมูลล่าสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แอนดรอยด์แซงหน้าแอปเปิลขึ้นไปครอง ส่วนแบ่งตลาดโอเอสบนสมาร์ทโฟนเรียบร้อยแล้ว

จากกราฟข้างล่างนี้ สำหรับตลาดสมาร์ทโฟนของสหรัฐ อเมริกาเมื่อมองถึงส่วนแบ่งตลาดด้านระบบปฏิบัติการหรือ OS แล้ว แอนดรอยด์มีส่วนแบ่งเป็นอันดับหนึ่งที่ 29% โดยแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟนของ HTC, Motorola, Samsung และอีกหลายๆ แบรนด์ ส่วนแอปเปิลบน iPhone ตามมาติดๆ ที่ 27% ส่วนแบล็กเบอร์รี่ส่วนแบ่งตลาดหดหายเหลือเท่าๆ แอปเปิล ไปแล้ว

ขณะที่ Windows Mobile ของไมโครซอฟท์บนหลายๆ แบรนด์ของสมาร์ทโฟนก็มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 10% เท่านั้น

ถ้ามองในแง่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแล้ว แอปเปิลและ RIM ก็เป็น อันดับหนึ่งร่วมกันเพราะพวกเขาขายและทำเองตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ยันซอฟต์แวร์

เมื่อพิจารณาโครงสร้างประชากรที่ใช้งานโอเอสต่างๆ แล้ว ดูเหมือนว่าแอนดรอยด์จะถูกใจกลุ่มคนวัยรุ่นมากกว่า

เมื่อพิจารณาไมโครซอฟท์กับกูเกิ้ลแล้ว ทั้งคู่เล่นบทบาทเดียวกันในธุรกิจมือถือคือ พวกเขาสร้างซอฟต์แวร์ที่รันบนมือถือ แต่ไม่ได้ผลิตเครื่องมือถือด้วยตัวเอง และการจะทำให้ซอฟต์แวร์ของพวกเขาปรากฏโฉมหน้าในตลาดก็ต้องเป็นพาร์ตเนอร์กับผู้ผลิต มือถือทั้งหลาย โดยไมโครซอฟท์ทำ Windows Phone ที่ผู้ผลิตมือถือจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่กูเกิ้ลกลับให้แอนดรอยด์ไปใช้ฟรีๆ

แล้วไมโครซอฟท์จะสู้กับของฟรีได้ยังไง แต่โลกนี้ไม่มีอะไร ฟรี เช่นเดียวกับที่ไม่มีแอนดรอยด์ฟรีในโลกนี้เช่นกัน

แอนดรอยด์ถูกมองว่า ละเมิดสิทธิบัตรของหลายๆ บริษัท ทำให้บริษัทที่นำแอนดรอยด์ไปใช้ถูกบังคับให้ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตร ให้กับเจ้าของสิทธิบัตร ไม่ว่าจะเป็นไมโครซอฟท์หรือใครก็ตาม

กรณีการละเมิดสิทธิบัตรเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในธุรกิจด้าน เทคโนโลยี ยิ่งเทคโนโลยีซับซ้อนมากแค่ไหนก็ยิ่งจะใช้สิทธิบัตรทับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีเลยแก้ปัญหาโดยวิธี cross-licensing คือ เอาสิทธิบัตรของตัวเองมาแลก เปลี่ยนกับการใช้สิทธิบัตรของคนอื่น

สำหรับกูเกิ้ล พวกเขาเป็นบริษัทเกิดใหม่ แน่นอนว่า พวกเขาไม่มีสิทธิบัตรมากมายไปแลกเปลี่ยนซื้อขายกับใคร ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กูเกิ้ลพยายามจะซื้อสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมชุดใหญ่กว่า 6,000 ชิ้นจาก Nortel แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ ให้กับการรวมตัวของพันธมิตรอย่าง แอปเปิล, EMC, ไมโครซอฟท์, อีริคสัน, โซนี่ และ RIM ซึ่งคว้าไปด้วยมูลค่ากว่าสี่พันห้าร้อยล้านเหรียญ

ความพยายามของกูเกิ้ลที่จะสะสมสิทธิบัตรให้มากที่สุดเพื่อปกป้องแอนดรอยด์ ก็สำเร็จในที่สุดเมื่อพวกเขาออกมาประกาศว่า ได้ทุ่มเงิน 12.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อแผนกโทรศัพท์ของโมโตโรล่า ซึ่งถ้ากูเกิ้ลไม่ซื้อแผนกนี้ พวกเขาจะต้องอยู่กับความว่างเปล่าด้านสิทธิบัตรไปอีก โดยก่อนหน้านี้ โมโตโรล่าก็ได้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ออกมาหลายรุ่นและเป็นที่นิยมในวงกว้าง แต่พวกเขาก็ยังไม่สามารถสร้างรายได้ได้มาก มายนัก โดยพวกเขาเพิ่งประกาศขาดทุนสุทธิในช่วงหลายๆ ไตรมาสที่ผ่านมา

ดังนั้น การซื้อโมโตโรล่าของกูเกิ้ลจึงเป็นดีลที่มีเป้าหมายที่การครอบครองสิทธิบัตรกว่า 17,000 ชิ้นของโมโตโรล่า

คำกล่าวที่ว่า โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี แอนดรอยด์ก็ไม่ฟรีของสตีฟ บาลเมอร์ จึงเป็นเรื่องจริง ที่สำคัญไม่ใช่ของถูกด้วย

John Gruber เขียนถึงประเด็นนี้ในเว็บ daring fireball ว่า เงินหนึ่งหมื่นสองพันห้าร้อยล้านเหรียญสหรัฐที่กูเกิ้ลจ่ายให้โมโตโรล่านั้น คิดเป็นกำไรเกือบสองปีของกูเกิ้ล และคงไม่มีบริษัท ใดแม้แต่กูเกิ้ล ที่จะทิ้งเงินจำนวนนี้ลงทะเลไปโดยไม่ได้อะไรตอบแทนกลับมาเลย

แล้วการทุ่มเงินมหาศาลครั้งนี้ของกูเกิ้ลน่าจะเป็นจุดเปลี่ยน ที่สำคัญของแนวทางการจัดการกับแอนดรอยด์ของกูเกิ้ลต่อไปในอนาคต ทุกวันนี้ แพลตฟอร์มแอนดรอยด์เป็นแพลทฟอร์มเปิดที่ใช้กันอย่างมั่วๆ เนื่องจากผู้ผลิตมือถือได้ซอฟท์แวร์มาฟรี

อ่านเพิ่มเติม

1. Kincaid, J. (2010), ‘comScore: Android Market Share Continues to Gain on The iPhone,’ http://techcrunch. com/ 2010/04/05/comscore-android-market-share-continues-to-gain-on-the-iphone/

2. Manjoo, F. (2011), ‘Android isn’t free,’ http://www.slate.com/id/2301771/pagenum/all/#p2

3. Nielsenwire, ‘Who is winning the U.S. smartphone battle?,’ http://blog.nielsen.com/nielsenwire/online_mobile/who-is-winning-the-u-s-smartphone-battle/

4. Claburn, T. (2011), ‘Google loses Nortel patent to techtitans,’ http://www.informationweek.com/news/internet/google/231000901

5. Malik, O. (2011), ‘Exclusive: Guess who else wanted to buy Motorola?,’ http://gigaom.com/2011/08/15/guess-who-else-wanted-to-buy-motorola/

6. Gruber, J. (2011), ‘Balls,’ daring fireball, http://daringfireball.net/2011/08/balls   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us