Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2554
อนาคตที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

Vietnam
Environment




ความวิตกกังวลต่อการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงของเวียดนามยังไม่สิ้นสุด ล่าสุดมีการเปิดเผยข้อมูลถึงผลกระทบต่อภาคประมงว่าอาจสูงถึงปีละ 1,000 ล้านดอลลาร์ เงินจำนวนนี้สามารถนำไปสร้างสะพานเกิ่นเทอได้ถึง 3 แห่ง

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมการค้าของเวียดนาม มีรายงาน เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า ในแม่น้ำโขง

ตามรายงานนี้อ้างความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญหลายคนถึงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 12 เขื่อนในแม่น้ำโขง ว่าไม่ได้นำหมากผลมาให้เวียดนาม ตรงกันข้าม การเกษตรและสัตว์น้ำของเวียดนามจะได้รับผลกระทบมากกว่า

“โดยเฉพาะผลผลิตปลาน้ำจืดจะสูญเสียรายได้ประมาณ 500-1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือ 3 เท่าของมูลค่าก่อสร้างสะพานเกิ่นเทอ” เนื้อหาในเว็บไซต์ ระบุ

ในการประชุมที่เพิ่งจัดขึ้นที่นครเกิ่นเทอ ดร.เล อาญ เตวิ๊น จากสถาบันวิจัย สภาพอากาศแปรปรวน มหาวิทยาลัยเกิ่นเทอ ยืนยันว่า ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่าน้ำท่วม และดินทรายที่ถูกน้ำพัดพา มาทับถม เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศวิทยา และเป็นตัวการหลักที่ได้ก่อตัวอยู่ในบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตเพาะปลูก เกษตรกรรมกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่สุดของเวียดนามโดยอาศัยความเหนือกว่าทางด้านดิน น้ำ และสภาพอากาศ

ดร.เล อาญ เตวิ๊นเน้นย้ำว่า เมื่อมีการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ จะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและดินตะกอนทับถม ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง พร้อมกับสภาพอากาศแปรปรวน น้ำทะเลยกตัว จะกระทบ มากที่สุดต่อทรัพยากรน้ำ ทำให้ลดเนื้อที่และผลผลิตเกษตรกรรม ส่งผลถึงการคุกคามความมั่นคงด้านธัญญาหาร และทำให้เพิ่มความอดอยากยากจนและความไร้เสถียรภาพ

ขณะที่เหงียน หืว เถี่ยน หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษาแห่งชาติเพื่อประเมินสิ่งแวด ล้อมทางยุทธศาสตร์ 12 เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในลำน้ำโขง ให้ความเห็นว่าเมื่อมีการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าต่างๆ เวียดนามได้ประโยชน์น้อยอย่างยิ่งประมาณ 5% เท่านั้น แต่ความสูญเสียกับเวียดนามกลับมากมาย โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

เหงียน หืว เถี่ยนกล่าวว่าการเกษตร และการประมงเป็น 2 เสาหลักเศรษฐกิจของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เพราะฉะนั้นถ้ามีการก่อสร้างบรรดาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ปริมาณสัตว์น้ำธรรมชาติก็จะสูญหายนับ 100,000 ตันต่อปี เพียงนับเฉพาะปลาน้ำจืด ที่ย้ายถิ่นตามฤดูกาล จะสูญหาย 220,000-440,000 ตันต่อปี ด้วยราคาปัจจุบันคือ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ประมาณการคร่าวๆ เฉพาะความเสียหายจากการสูญเสียรายได้จากปลาน้ำจืดประมาณ 500-1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

“ด้วยตัวเลขความเสียหายข้างต้น ก็คาดว่าความสูญเสีย 1 ปีของปลาน้ำจืด เท่ากับการก่อสร้างสะพานเกิ่นเทอ 3 แห่ง (342 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 สะพาน)” เหงียน หืว เถี่ยนเน้นย้ำ

เขายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การขาดดินทรายที่น้ำพัดพามากองทับถม จะทำให้ฝั่งแม่น้ำถล่มเพิ่มขึ้นหลายแห่งในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งในบริเวณนั้นมีฝั่งทะเลทิศตะวันออก การขาดดินทรายที่น้ำพัดพามากองทับถมเพื่อชดเชยดินทรุดตัวตามธรรมชาติ จะมีผลให้ที่ราบลุ่มแม่น้ำ โขงมีโอกาสจมลงไปในน้ำทะเลเร็วขึ้น

เหงียน หืว เถี่ยนให้ความเห็นว่า ลุ่มน้ำโขงไม่ใช่สิ้นสุดที่ฝั่งทะเล เขตทะเลกว้างใหญ่แห่งหนึ่งในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงขึ้นอยู่กับแหล่งบำรุงเลี้ยงโดยดินทรายที่แม่น้ำโขงพัดพามากองทับถมทุกปี

“การขาดดินทรายที่น้ำพัดพามากองทับถม ในอนาคตเขตที่ราบลุ่มแห่งนี้อาจจะเปลี่ยนเป็นทะเล” เขาประเมินเพิ่มเติม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us