Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2554
เมื่อเทคโนโลยี “จีน” ต้องมาตายน้ำตื้น             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

Transportation
International
China




เทคโนโลยีก่อสร้างของจีนที่เคยสร้างความตื่นตาแก่คนทั่วโลก กำลังเผชิญกับการท้าทายจากแม่น้ำโขง จนทำให้การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ต้องล่าช้ากว่ากำหนดไปถึง 1 ปี

เขื่อนสามโตรก เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท ถือเป็นบทพิสูจน์ความสามารถด้านวิศวกรรมโยธาของจีนให้เป็นที่ประจักษ์กันแล้วทั่วโลก

ที่ใกล้ตัวคนไทยเข้ามาอีกหน่อย ก็คือทางด่วนสายคุนมั่น กงลู่ (คุนหมิง-กรุงเทพฯ) ที่มีการเจาะภูเขาหลายลูก ทะลุเป็นอุโมงค์ลึกกว่า 20 จุด จุดที่ลึกที่สุด ยาวถึง 3.7 กิโลเมตร

ศักยภาพล้นเหลือที่ว่านี้ ดูเหมือนจะถูกหยุดยั้งลงบนสายน้ำโขงที่พาดผ่าน “ทุ่งเศรษฐี” พรมแดนไทย-ลาว เขตบ้านดอนมหาวัณ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ตรงข้ามกับบ้านดอนไข่นก (ดอนขี้นก) เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ซึ่งมีการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 4 อยู่ในขณะนี้

อาณาบริเวณที่หลายคนเชื่อว่าเป็นเมืองโบราณ เมืองแห่งพญานาค มีถ้ำพญานาคอยู่ใต้ท้องน้ำสายนี้!!!

“หัวสว่านหักไปหลายต่อหลายอันแล้ว” เป็นคำยืนยันจากชาวบ้านที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงจุดก่อสร้างสะพานฯ รวมถึงโป๊ะยักษ์ที่เคยใช้ ตั้งแท่นเจาะเสาเข็มสำหรับรองรับตอม่อสะพานที่ลอยลำอยู่กลางแม่น้ำโขง บัดนี้จมลงใต้น้ำโขง โผล่ให้เห็นเพียงมุมโป๊ะ จำเป็นต้องนำธงแดงมาผูกติดไว้เป็นสัญลักษณ์ให้เรือที่สัญจรผ่านไป-มา ได้รู้ว่าจุดนี้อันตราย ไม่สามารถเดินเรือผ่านเข้าใกล้ได้

หัวสว่านที่ว่าคือหัวสว่านสำหรับเจาะเสาเข็มเพื่อวางตอม่อของสะพาน บริเวณกลางลำน้ำโขง ซึ่งเมื่อบริษัทรับเหมาเจาะเสาเข็มได้นำโป๊ะที่ติดตั้งเครื่องเจาะเสาเข็มลอยลำอยู่กลางแม่น้ำ หลังจากเจาะลงไปใต้ท้องน้ำลึกประมาณ 150 เมตร ต้องเจอกับชั้นหินที่แข็งแกร่งมาก จนหัวสว่านไม่สามารถเจาะผ่านลงไปได้

มีหัวสว่านอย่างน้อย 3 หัวกับโป๊ะติดตั้งเครื่องเจาะเสาเข็ม 1 ลำ ที่เสียหายไปกับการเจาะเสาเข็ม ณ จุดนี้

เรียกได้ว่าเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมโยธาของจีน ที่สามารถเจาะภูเขาทั้งลูกมาได้ไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูก กำลังถูกท้าทายจากแนวหินใต้ท้องน้ำโขงแห่งนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การก่อสร้างสะพานแห่งนี้ล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม ที่คาดว่าจะเปิดให้ใช้งานได้ในปลายปีหน้า (2555)

สมพอน ปันยาดา ประธานสภาการค้าและอุตสาหกรรมแขวงบ่อแก้ว สปป. ลาว ระบุว่า หลังกระทรวงคมนาคมไทยได้เปิดประมูลรับเหมาก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 นี้ พร้อมกับโครงการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เอกชนที่ชนะการประมูลที่เป็นบริษัทร่วมทุนจีน-ไทยก็ได้แบ่งงานกัน โดยผู้ร่วมทุนฝ่ายจีนจะดำเนินการก่อสร้างตัวสะพาน ส่วนฝ่ายไทยจะสร้างถนน-อาคารด่านตรวจคนเข้าเมือง และด่านศุลกากร

เมื่อการก่อสร้างเริ่มเดินเครื่อง บริษัทรับเหมาจีนกลับเจอปัญหา นั่นคือเรื่องหัวเจาะที่เจาะเสาเข็มลงใต้ท้องแม่น้ำโขง เพื่อวางเสาตอม่อ เมื่อเจาะลงไปใต้ดิน ถึงชั้นหินประมาณ 151 เมตร กลับเจอหิน ที่แข็งมาก ทำให้หัวเจาะเสียหายไปหลายอัน ทำให้ยังไม่สามารถวางเสาตอม่อได้ในระยะที่ผ่านมา จนเข้าสู่ฤดูน้ำหลากในปีนี้เสียก่อน

รวมถึงประเด็นปัญหาการจ่ายเงินค่าก่อสร้างของฝ่ายจีน ที่ต้องการจ่ายเป็นเงินสกุลหยวน ขณะที่ผู้รับเหมาไทยเกรงว่า จะมีความเสี่ยงเรื่องค่าเงินผันผวน ต้องการให้จ่ายกันด้วยเงินสกุลอื่นที่ได้รับความเชื่อถือในตลาดโลกแทน

“สะพานมิตรภาพไทย-ลาว หรือสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อาจล่าช้าจากกำหนดเดิมไม่น้อยกว่า 9 เดือน หรือแล้วเสร็จปลายปี 2556 จากกำหนดเดิมที่จะเสร็จปลายปี 2555” พินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวยอมรับถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสะพานแห่งนี้

สุวัฒน์ ด้วงปั้น นายด่านศุลกากร อ.เชียงของ ระบุเช่นกันว่า ทางศุลกากร ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการกำกับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ก็ได้เฝ้าติดตามความคืบหน้าของโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะในอนาคตจะมีความเกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางด้าน อ.เชียงของ เชื่อมกับ สปป.ลาว-จีนตอนใต้ บนถนน R 3a อย่างมาก

ซึ่งพบว่า การก่อสร้างสะพานล่าช้า กว่าแผนที่กำหนดเอาไว้ประมาณ 1.7% โดยเฉพาะการก่อสร้างสะพานที่ยังไม่สามารถเจาะเสาเข็มเพื่อวางเสาตอม่อได้ และกำลังพบกับอุปสรรคของฤดูน้ำหลากพอดี ส่วนการก่อสร้างถนนและอาคารด่าน พรมแดนในฝั่งไทยถือว่าเร็วกว่าที่กำหนดบวก 3% แต่ในฝั่ง สปป.ลาว ติดลบ 7%

จึงคาดการณ์กันว่า น่าจะทำให้โครงการล่าช้าออกไปประมาณ 9 เดือน หรือสรุปได้ว่าจะมีความล่าช้าเพิ่มออกไปเป็น 1 ปี โดยปัญหาหลักเกิดจากการยังไม่ได้ก่อสร้างเสาตอม่อ หรือสร้างฐานรากของตัวสะพานให้ได้ และปัญหาเรื่องทาง การจีนจ่ายงบประมาณก่อสร้างเป็นเงินหยวน ซึ่งเมื่อเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์และนำไปจ่ายให้เอกชนเกรงจะมีความผันผวน

“แต่ถ้าลงเสาตอม่อแล้วเสร็จ จะทำให้งานคืบหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะเมื่อมีฐานรากสิ่งก่อสร้างต่างๆ ด้านบนก็จะมีความสะดวกมากขึ้น”

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว หรือสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่รัฐบาลไทย-จีน ตกลงให้การสนับสนุนด้านงบประมาณก่อสร้างฝ่ายละ 50% ในวงเงิน 1,486.5 ล้านบาท โดยว่าจ้างกลุ่มซีอาร์ 5-เคที จอยท์เวนเจอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทร่วมทุนคือ บริษัทไชน่าเรลเวย์ นัมเบอร์ 5 เอ็นจิเนียร์ริ่งกรุ๊ป จำกัด จากจีน และบริษัท กรุงธนเอ็นจิเนียร์ จำกัด ของไทย เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2553 สิ้นสุดสัญญาในวันที่ 10 ธันวาคม 2555 รวมระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 30 เดือน

โดยเอกชนทั้ง 2 ฝ่าย แบ่งงานกันด้วยการให้ฝ่ายจีนก่อสร้างตัวสะพานกลาง แม่น้ำโขง ส่วนฝ่ายไทยก่อสร้างถนนติดขอบฝั่งทั้งฝั่งไทย และ สปป.ลาว ยาว 630 เมตร โดยถนนเป็นจุดสลับการจราจร ในฝั่งไทย 5 กม. และลาว 6 กม. รวมถึงอาคารด่านพรมแดนของทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งจะสร้างอาคารรูปทรงล้านนาประยุกต์ เพื่อใช้เป็นจุดตรวจปล่อยร่วมกัน ณ จุดเดียวตามหลักประตูเดียว (Single Stop Inspection) รวมเนื้อที่ฝั่งไทยทั้งหมดประมาณ 400 ไร่

ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยประมาณการว่า สะพานแห่งนี้จะทำให้มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรเชียงของเพิ่มมากขึ้นเป็นปีละกว่า 10,000 ล้านบาท จากปัจจุบันก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นของมูลค่านำเข้าและส่งออกเดือนต่อเดือน จนทำให้ตัวเลขการค้ารวมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2554 ถึงเดือนมิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา มีมูลค่าประมาณ 4,900 ล้านบาท เทียบเท่ากับมูลค่าการค้าตลอดทั้งปีงบประมาณ 2553 แล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us