Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2529
THE SAGA OF THONSAI             
 


   
search resources

เมโทรแมชีนเนอรี่ (เอ็มเอ็มซี)
ทองไทร บูรพชัยศรี




2477 ทองไทร บูรพชัยศรีลืมตามองโลกที่อำเภอนครชัยศรี นครปฐม เพราะเหตุนี้ แซ่เอี้ยวของเขาจึงเปลี่ยนเป็นบูรพชัยศรีตามบ้านเกิด

2493 จบการศึกษา ป. 4 เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ติดตามครูสอนภาษาจีนชื่อหวังซีทง มาอยู่แถว ๆ สะพานเหลือง ครูฝากงานให้ทำครั้งแรกที่โรงพิมพ์วรจักร์ "ผมเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไม่มีเงินติดตัวแม้แต่บาทเดียว" เขาบอก "ผู้จัดการ"

2495 ทองไทรเริ่มฝึกงานเป็นช่างในอู่ซ่อมเครื่องยนต์แถวเวิ้งนครเขษม ประสบการณ์ช่วงนี้สำคัญ เป็นบันไดนำเข้าสู่วงการเครื่องจักรกล เขาบอกเขาชอบเครื่องยนต์เป็นชีวิตจิตใจ

"หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ มีการสั่งเครื่องไฟฟ้าใช้แล้วมาใช้ โดยใช้ไฟ 220 โวลท์ เครื่องไฟฟ้าเลยดับเสมอ ๆ ผมเป็นคนแรกในเวิ้งที่สามารถดัดแปลงใช้กันได้" ทองไทรยังภูมิใจไม่หายต่อผลงานครั้งนั้น ซึ่งต่อมาใคร ๆ เรียกเขาว่านายช่างใหญ่

ประมาณ 2500 ทองไทรเก็บหอมรอบริบมีเงินก้อน และเป็นครั้งแรกที่เขาพ้นสภาพจ้างลูกจ้างมาเป็นเจ้าของกิจการ เขาซื้อสี่ล้อเล็กรับจ้างขนส่งตามร้านอาหารต่าง ๆ

2502 เนื่องจากความพิสมัยในเครื่องจักรเครื่องยนต์ฝังเข้าในสายเลือด ทองไทรร่วมลงขันกับเพื่อนไปเช่าที่เปิดโรงกลึงหล่อก็อกน้ำที่บางขุนเทียน "ทำไป ๆ ขาดทุนมาก ผมเลยขายกิจการให้เพื่อนทำคนเดียว"

2503 ทองไทรต้องเริ่มต้นอีกครั้งที่จุดแรกที่เขาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยซื้อสามล้อเครื่องคันแรกมารับจ้างส่งคนโดยสาร เป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งถึงร้อยเหมือนนับเลขจริง ๆ ภายในเวลา 5 ปีเขาก็สามารถซื้อสามล้อเครื่องไว้ให้เช่าถึง 100 คัน "สมัยนั้นย่านเฉลิมเขตต์ใคร ๆ ต้องรู้จักเฮียโง้ว แม้ทุกวันนี้ก็ตาม แต่ถ้าเอ่ยชื่อทองไทร อาจไม่มีใครรู้จัก" คนใกล้ชิดทองไทรพูด

ทองไทรก็ยอมรัว่าตรงจุดนี้เขาสามารถยืนอยู่ในยุทธจักรทางธุรกิจอย่างมั่นคงแล้ว

ในช่วงนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี และในช่วงท้าย ๆ ของยุคจอมพลสฤษดิ์มีนโยบายจะให้เลิกกิจการสามล้อเครื่อง "ผมต้องตระเวนออกต่างจังหวัดเพื่อหาลู่ทางทำธุรกิจใหม่ ที่แปดริ้ว ฉะเชิงเทราผมเห็นเรือหางยาวกำลังฮิตมาก โดยใช้เครื่องยนต์เก่าจากญี่ปุ่น" ทองไทรพูดถึงจุดหักเหทางธุรกิจครั้งสำคัญ

2509 ทองไทรตั้งบริษัทไทยแลนด์มอเตอร์เวอ์ค นำเข้าเครื่องยนต์เก่าจากญี่ปุ่น ยี่ห้อแรกคืออีซูซุ เขาเป็นผู้จัดการบริษัท ปรากฏว่ากิจการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว "เริ่มจากนำเข้าเครื่องยนต์เก่าต่อมานำสินค้าเข้าหลายตัว จากเครื่องยนต์มาเป็นรถบรรทุก ผมมีกำไรบางครั้งถึงกับเหมาเรือเดินสมุทรทั้งลำ" เขาเล่าถึงช่วงชีวิตอันรุ่งโรจน์ และเน้นจากจุดนั้นเองทำให้เขาต้องผันตัวเองเข้าไปสัมผัสกับญี่ปุ่น "ผมค้ากับญี่ปุ่นประมาณ 18 ปี ปีหนึ่ง ๆ ผมอยู่ญี่ปุ่นมากกว่าเมืองไทย รวมทั้งหมดผมอยู่ญี่ปุ่นประมาณ 8 ปี"

ทองไทรพุดภาษาญี่ปุ่นได้ และเขาชื่นชอบ MATSUSHITA ผู้นำที่เข้มแข็งเจ้าของกิจการ NATIONAL มาก คนใกล้ชิดบอกว่าทองไทรก็เป็นผู้นำธุรกิจที่เข้มแข็งตัดสินใจเฉียบขาด ยืนหยัดหลักการมากคนหนึ่ง

ปี 2514 รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ภายในประเทศ จึงห้ามมิให้มีการนำเข้า ทองไทรจึงเปลี่ยนไปนำเข้าเครื่องทุ่นแรงเก่าแทน ในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็นเมโทรแทรกเตอร์

จากชื่อเสียงด้านเครื่องยนต์บวกกับเครื่องทุ่นแรง ชื่อของทองไทร บูรพชัยศรีจึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการค้าที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น "ใครไม่รู้จักมิสเตอร์ทองไทรในเมืองไทย แสดงว่าไม่รู้จักแทรกเตอร์" เขากล่าวอย่างอหังการ์

CATERPILLAR มีโรงงานในญี่ปุ่นอยู่นานแล้ว ย่อมจะรู้จักทองไทร บูรพชัยศรี!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us