Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2529
แคมเปญชิ้น "เนี้ยบ" ของนโยบายการส่งออก             
 


   
search resources

กรมส่งเสริมการส่งออก
Import-Export




อดตะลึงไม่ได้ทันทีที่เห็นเมื่อวันที่คนจากกระทรวงพาณิชย์ไปแจกจ่ายแก่ผู้สื่อข่าวสายทำเนียบรัฐบาล มันเป็นแฟ้มหรูขนาดเหมาะมือ บรรจุแคตตาล็อกและโบชัวร์สวยเฉียบ ประณีต ตระการตาทั้งดีไซน์และเนื้อหา ซึ่งที่แล้วมาไม่สู้จะพบเห็นได้บ่อยนัก สำหรับสิ่งที่จะนำเอาหน้าตาภาพพจน์ของสินค้าไทยออกไปโชว์ต่างประเทศ

หนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลเปรม 5 ที่ย้ำแล้วย้ำเล่าก็คือ นโยบายการส่งเสริมการส่งออก เพื่อนำเงินตราเข้าประเทศ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดังนั้นถ้าหากถือว่าสิ่งที่กรมพาณิชย์สัมพันธ์กำลังโหมทำอยู่นี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะบรรลุนโยบายดังกล่าว ก็ต้องนับเป็นเครื่องมือที่เข้าขั้น และน่าชื่นชมยินดียิ่ง

ภายในแพ็กเก็จที่ได้รับมาเป็นตัวอย่างนี้ ประกอบด้วยโบชัวร์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ผลิตและสินค้าประเภทสิ่งทอ เพชรพลอยและการพิมพ์ โดยเนื้อหาพยายามชี้ให้เห็นคุณสมบัติที่เป็นเลิศทั้งหลายทั้งปวงของผลิตภัณฑ์เมดอินไทยแลนด์ เป็นต้นว่าดีไซน์หรู เทคนิคเฉียบ วัตถุดิบได้มาตรฐาน คุณภาพผู้ผลิตได้รับการคัดเลือก ความสะดวกในการติดต่อ เงื่อนไขในการเจรจาและรายชื่อของผู้ผลิตต่าง ๆ ในประเทศไทย

สิ่งละอันพันละน้อยที่ปรากฏอยู่ในเอกสารเผยแพร่ ล้วนมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจต่างประเทศที่สนใจจะสั่งซื้อสินค้าไทย และที่ขาดเสียมิได้ก็คือ รายละเอียดด้านบริการต่าง ๆ ที่ทางภาครัฐบาลไทยมีไว้เสนอสนองอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าจากแดนไกล

นอกจากแนะนำให้รู้จักสินค้าชั้นดีของไทยแล้ว ยังมีโบชัวร์อีกจำนวนหนึ่งแนะนำให้รู้จักหน่วยงานสำคัญในเรื่องนี้โดยตรง คือ กรมส่งเสริมการส่งออก ที่แปลงชื่อมาจากกรมพาณิชย์สัมพันธ์ ซึ่งชื่อเก่าก็ยังใช้กันอยู่ แต่ชื่อใหม่เพิ่งจะปรากฏในแคมเปญล่าสุดเป็นหนแรก โดยมีชื่อย่อภาษาอังกฤษที่จำได้ง่ายกว่าว่า DEP ชื่อนี้พร้อมด้วยสัญลักษณ์จะปรากฎอยู่ทั่วไปในโบชัวร์และแคตตาล็อกทุกชิ้น

ไพรออริตี้ของสินค้าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์วางนโยบายเจาะตลาดต่างประเทศไว้ในขณะนี้มีด้วยกันถึง 18 ตัว นอกจาก 4 ตัวที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอาหารกระป๋อง, อาหารแช่เย็น, ดอกไม้ประดิษฐ์, รองเท้าถุงเท้า, เครื่องใช้ประจำบ้าน, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เฟอร์นิเจอร์, วัสดุก่อสร้าง และของเล่น ฯลฯ โดยแบ่งขั้นตอนการแคมเปญไว้ 3 ขั้น ได้แก่

ขั้นที่หนึ่ง - ออกเอกสารเผยแพร่ที่ไม่มีโฆษณาสินค้า (ยี่ห้อ) เป็นการชิมลางก่อน, ขั้นที่สอง - เริ่มนำโฆษณามาใส่เพื่อแนะนำให้ต่างประเทศได้รู้จักเป็นราย ๆ ไปทางราชการก็จะได้ค่าโฆษณามาเป็นทุนรอนในการจัดทำด้วย และขั้นที่สาม - จัดทำเป็นภาษาเฉพาะตลาดแต่ละแห่งกันทีเดียว เช่น ตลาดที่ญี่ปุ่นก็พิมพ์เอกสารเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด

ตัวแคมเปญล่าสุดนี้ เริ่มรณรงค์กันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2529 มาจรดเอาสิ้นปีงบประมาณในสิ้นเดือนกันยายนนี้ แต่ประเภทของสินค้าแต่ละอย่างอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน บางอย่างก็เริ่มมาก่อนหน้านี้แล้ว อาทิ สิ่งทอ "พวกการ์เมนท์นี่เราเข้าเฟส - 2 แล้วกำลังรณรงค์เข้าเฟส - 3 ซึ่งจะเริ่มทำเป็นภาษาญี่ปุ่นเจาะตลาดที่ไม่มีระบบโควต้าโดยเฉพาะ" คุณจันทรา บูรณฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองเอกสารเผยแพร่ของเดพ (DEP) บอกกับ "ผู้จัดการ" ด้วยน้ำเสียงกระตือรือร้น

เอกสารเผยแพร่แต่ละชุดพิมพ์ขึ้นมาด้วย 20,000 ฉบับ โดยแจกจ่ายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกแห่ง ตั้งแต่สำนักงานติดต่อการพาณิชย์ ศูนย์พาณิชยกรรม ที่ปรึกษาการพาณิชย์ ซึ่งกระจายอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ตลอดจนกระทรวงต่างประเทศที่จะส่งต่อไปยังสถานทูตไทยที่ประจำในประเทศนั้น ๆ อีกทั้งสภาหอการค้าประเทศต่าง ๆ จนถึงนักธุรกิจและบริษัทนำเข้าของแต่ละประเทศ

กล่าวได้ว่ากลยุทธ์ในแคมเปญระยะหลังเกี่ยวกับการส่งออกได้ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ มีทิศทางที่ชัดเจนและเป็นอันหนึ่งอันเดียว สังเกตได้จากสโลแกนที่นำมาใช้ในครั้งนี้ตลอดเวลาว่า Your Competitive Edge "สโลแกนนี้เราได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาช่วยทำ มีทั้งคนไทยและฝรั่ง เพราะในเมื่อเราจะเจาะตลาดเมืองนอก ก็ต้องให้เจ้าของภาษามาช่วยคิดถ้อยคำซึ่งเข้าถึงได้ดีกว่า"

ผู้อำนวยการจันทรา ยังสาธยายให้ฟังต่อถึงความเป็นมา ก่อนจะมาเป็นแคมเปญชุดนี้ว่า มีทั้งการวิจัยตลาดอย่างละเอียดลออ โดยเชิญภาคเอกชนมาปรึกษาหารือว่าต้องการให้ภาพพจน์อย่างไรเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแต่ละประเภท "เราได้ทำรีเสิร์ชว่าข้อสมมุติฐานต่าง ๆ จริงเท็จแค่ไหน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรานำออกมาไม่ใช่โปรปะกันดา แต่เป็นอิมฟอร์มเมทีฟแอพโพรช ซึ่งผู้ซื้อจากต่างประเทศจะเห็นได้ทันที

"เราใช้สโลแกนอันเดียวซึ่งได้รับความเห็นชอบจากทั้งบริษัทที่เราว่าจ้าง และผู้บังคับบัญชา คือเราต้องการแสดงให้เห็นถึงสินค้าเพื่อการแข่งขัน และให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค (Maximize Utilisation) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องนี้อีกผู้หนึ่งชี้แจง ซึ่งคุณจันทราเสริมว่า กว่าจะออกมาเป็นสโลแกนสวยหรูดึงดูดนี้ต้องผ่านการแก้ไขครั้งแล้วครั้งเล่าร่วม 10 ครั้ง

และไม่เพียงภาพพจน์ที่แจ่มแจ๋วในด้านการตลาดต่างประเทศเท่านั้น จุดเน้นหนักอีกประการหนึ่งที่ค่อนข้างท้าทายต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยิ่ง ก็คือ ความมุ่งหมายที่จะฉายให้ทั่วโลกเห็นภาพลักษณ์การเป็น NIC (Newly Industrial Country) ของประเทศไทยเทียบทัน NIC รุ่นก่อนที่มีเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และฮ่องกง เป็นตัวอย่าง

นอกเหนือจากเอกสารเผยแพร่แล้ว กลยุทธ์อื่น ๆ ในแคมเปญตลอดปี 2529 ที่ผ่านมา ยังประกอบไปด้วยการจัดงานแสดงสินค้าไม่หยุดหย่อนในบริเวณ Exhibition Hall ของศูนย์บริการส่งออก ริมถนนรัชดาภิเษก และบริการปกติที่มีให้แก่ผู้ส่งออกทุกราย ซึ่งขณะนี้ได้ต่อเติมแขนงบริการเพิ่มขึ้นอีกหลายประเภท อย่างเช่น นิทรรศการถาวร หรือ Permanent Exhibition ซึ่งได้เพิ่มห้องโถงแสดงสินค้าชั้นบนอีกชั้น จากเดิมที่มีอยู่เพียงชั้นล่าง รวมเป็น 4 ห้องโถงใหญ่ โดยแบ่งเป็นสินค้าแต่ละประเภท ๆ ไป

เวลาที่มีผู้นำเข้าของต่างประเทศเข้ามาติดต่อ ทางกรมส่งเสริมการส่งออกก็จะเป็นตัวกลางนัดหมายให้ทางเอกชนของไทย โดยมี Discussion Room ประจำแต่ละ Hall ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ส่งออกมาใช้บริการด้านนี้หนาหูหนาตามากขึ้น แม้จะต้องเสียค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท ในการนำสินค้ามาตั้งโชว์ (โดยมีบริการยามเฝ้าด้วย) แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าอย่างยิ่ง ซึ่งขณะนี้มีผู้ส่งออกที่ใช้บริการดังกล่าวถึง 154 รายด้วยกัน

"ในจำนวนนั้นที่เข้ามาใช้เราบริการมากขึ้น มักเป็นผู้ส่งออกขนาดกลาง และขนาดย่อม ซึ่งให้ความสนใจขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าในบริการนิทรรศการ หรือบริการสอบถามข้อมูลทางโทรศัพท์ นอกจากนี้เรายังมีโสตทัศนูปกรณ์ เช่น วิดีโอ สไลด์ อำนวยความสะดวกทุกครั้งที่มี Mission จากต่างประเทศเข้ามา" แหล่งข่าวในศูนย์บริการส่งออกประชาสัมพันธ์ฝากมา

สิ่งที่ขยายตัวตามความเข้มข้นของแคมเปญการส่งออก คงจะหนีไม่พ้นค่าใช้จ่ายที่ทางกรมฯ ต้องเจียดมาจากงบประมาณประจำปีจำนวนนับล้านบาท ซึ่งก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ และเอกชนที่พลอยเก็บเกี่ยวดอกผลได้อย่างเป็นกอบเป็นกำจากนโยบายดังกล่าว คงไม่มีใครเกินกว่าบริษัท ฮิวจ์-เอเยนซี่โฆษณาที่มีชื่อแห่งหนึ่ง ซึ่งได้งานจากกรมพาณิชย์สัมพันธ์ หรือกรมส่งเสริมการส่งออกนี้ไปทำหลายต่อปลายชิ้นแล้ว ตั้งแต่ปี 2526 มาเรื่อยจนถึงแคมเปญล่าสุดนี้

งานแสดงสินค้า "ReadyTo Wear Fair' 29" และ "Jewery Fair" ที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็ล้วนเป็นฝีมือดีไซน์ของฮิวจ์ทั้งสิ้น แต่ทางกรมฯ ก็ยืนยันว่า การให้ใครทำนั้นอยู่ที่การประมูล-ต่อรองราคา และคุณสมบัติความพร้อมหลาย ๆ อย่างที่ได้รับการคัดเลือกแล้วมากกว่าคือ จะไม่ผูกขาดอยู่กับบริษัทเดียวแน่นอน

ก็ไม่ได้ว่าอะไร เพียงแบอกให้รู้กันเท่านั้นแหละ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us