|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ย้อนกลับไปเกือบ 30 ปี เมื่อศุภชัย อัมพุช ตัดสินใจเปิดธุรกิจห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์และดึงลูกๆ 4 คนจากทั้งหมด 5 คน เข้ามาร่วมลุยงานยุคบุกเบิก ไล่มาตั้งแต่สุรัตน์ อัมพุช ศุภลักษณ์ อัมพุช กฤษณา อัมพุช และสุทธิพงษ์ อัมพุช จนถึงปัจจุบันเหลือเพียงสุรัตน์และศุภลักษณ์ที่เข้ามาคุมงานบริหารระดับนโยบายของเดอะมอลล์
ยิ่งถ้าพูดถึงเรื่องการออกสื่อแล้ว ศุภลักษณ์ ในฐานะรองประธานกรรมการบริหารบริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด คือ “อัมพุช” คนเดียวในเวลานี้ และกลายเป็นภาระใหญ่ในการปลุกปั้นคนรุ่นที่ 3 รวมถึงผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ ที่จะสร้างบรรยากาศให้เดอะมอลล์ดูหนุ่มสาวขึ้น หลังจากฉลองครบรอบ 30 ปีไปหมาดๆ
ถ้ามองผู้บริหารยุคปัจจุบันของเดอะมอลล์ที่ได้รับการวางบทบาทออกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นไพบูลย์ กนกวัฒนาวรรณ รองประธาน กรรมการบริหารอาวุโส ชำนาญ เมธปรีชากุล ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสการตลาด มาลินี ทรัพย์บริบูรณ์ ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายบริหารสินค้า หรือนงนุช นามวงศ์ ที่ปรึกษาอาวุโสประชา สัมพันธ์การตลาด หรือจะไปทางฟากฝั่งเอ็มโพเรียมที่มีคุณกบ เกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ทุกคนทำงานกับสื่อถนัดอยู่แล้ว ชื่อชั้นก็ติดหูติดตา
ในแง่การเล่นกับสื่อเพื่อสร้างกระแสข่าวในบางครั้งอาจสู้คู่แข่งอย่างค่ายเซ็นทรัลไม่ได้ในแง่ที่ผู้บริหารทุกคนมีนามสกุล “จิราธิวัฒน์” ห้อยท้ายและกำลังก้าวจากเจเนอชั่นที่ 3 อย่างทศ จิราธิวัฒน์ บุษบา จิราธิวัฒน์ ส่งต่อเจเนอเรชั่นที่ 4 ซึ่งดันได้ง่าย กว่า เปรียบเทียบกับคนเดอะมอลล์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมือปืนรับจ้าง จึงเหมือนซอฟต์แวร์ที่ต้องปรุงแต่งเพิ่มเติม
ข้อได้เปรียบของคู่แข่งทำให้การแต่งตัวและแผนดันผู้บริหาร รุ่นใหม่กลายเป็นวาระสำคัญของเดอะมอลล์ เนื่องจากผู้บริหารรุ่นปัจจุบันที่มีอยู่ทั้งหมดก็คือรุ่นบุกเบิกแทบทั้งสิ้น
“จะเป็นผม หรือคุณกบ นับอายุก็ 54 ปี ถ้านับคุณไพบูลย์ 58 อีกปีสองปีใกล้รีไทร์ คนรุ่นต่อมานี้สำคัญ ไม่ใช่ประเภทห้าสิบ ต้องเป็นประมาณต้นๆ สี่สิบ มิชชั่นเราจะทำอย่างไรให้ดูหนุ่มขึ้น จับเฉลี่ยให้อายุน้อยลง องค์กรก็จะดูหนุ่มขึ้น ปัญหาตอนนี้คือ เรา กำลังสร้างตรงนี้ ในตัวเนื้องาน ผู้บริหารบางคนเขาได้แล้ว แต่ใน เรื่องสื่อสาธารณะอาจมองบิ๊กพิคเจอร์ไม่ได้ เรากำลังเน้นคนเหล่านี้ อยู่ ทำให้เขามีวิชั่นกว้างขึ้น มองโททอลมาร์เก็ตติ้ง ทำตัวเหมือน แบรนด์แมเนเจอร์ มาร์เก็ตติ้งแมเนเจอร์” ชำนาญ เมธปรีชากุล ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสการตลาด บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด กล่าว
ขณะที่ลูกหลานอัมพุชถัดจากรุ่น 2 มารุ่น 3 ในเวลานี้มีเพียง วิภา อัมพุช ลูกสาวคนโตของสุรัตน์ ซึ่งยังอยู่ในช่วงการเรียนรู้ฝึกกลยุทธ์ธุรกิจอย่างเข้มข้น
วิภา อัมพุช คนนี้อายุยังไม่ถึงสามสิบ จบด้านบริหารจากมหาวิทยาลัย Roehampton ประเทศอังกฤษ สนุกกับการทำบ้านทะเลฟ้ารีสอร์ทที่ภูเก็ตกับคุณแม่ได้พักหนึ่งก็ถูกอาแอ๊ว ศุภลักษณ์ดึงเข้ามาทำงานห้างเดอะมอลล์ ซึ่งกว่าจะก้าวขึ้นสู่ระดับบริหารหรือระดับนโยบายยังต้องใช้เวลาพิสูจน์ฝีมืออีกระยะยาว
ถามผู้บริหารเดอะมอลล์ทุกคนก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า แม้ครอบครัวอัมพุชไม่ได้เน้นความเป็นเจ้าของ ความเป็นตระกูลและให้เกียรติลูกจ้างทุกคน แต่ในแง่สื่อ ผู้บริหารรุ่นปัจจุบันเริ่มแก่แล้ว รุ่นใหม่ก็ขึ้นยาก ไม่เหมือนเซ็นทรัลที่มีนามสกุลรับประกัน ความดังส่วนหนึ่งแล้ว
ในฐานะแบรนด์แมเนเจอร์อย่างชำนาญเองก็ยอมรับถึงภาระใหญ่ในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ เพราะธุรกิจห้างไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ตามแบรนด์บุคส์เหมือนธุรกิจอื่นๆ ต้องพลิกแพลงเยอะ การสร้างสรรค์เกิดจากข้างในสมอง อย่างกิจกรรมการตลาดซ้ำๆ ทุกปี กี่ปีกี่ปีก็กินเจ กี่ปีกี่ปีก็ประมงน้อมใจ คนทำงานห้างต้องสร้างความแตกต่างให้ได้ นั่นแหละจะวัดฝีมือและกึ๋นอย่างแท้จริง
ผ่านไป 30 ปี เดอะมอลล์กำลังเข้าสู่จุดท้าทายอีกวาระหนึ่งแล้ว
|
|
|
|
|