Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2529
ไอทีเอฟ. จัดอภิปรายที่ชลบุรียังเกาไม่ถูกที่คัน             
 


   
search resources

ไอทีเอฟ, บงล
Banking and Finance




เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมานักข่าวจากหลายสำนักได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมการฟังอภิปรายที่จัดโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอทีเอฟ. ณ ที่ทำการสาขาชลบุรี

ปกติการจัดอภิปรายหรือการเชิญไปดูงานในกิจการต่างจังหวัดของธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมักจะออกมาในรูปของการกึ่ง ๆ พาไปกินไปเที่ยวจึงไม่สู้ได้รับการสนใจจากนักข่าวส่วนใหญ่เท่าใดนัก แต่การจัดอภิปรายครั้งนี้ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอทีเอฟ.ได้รับความสนใจจากนักข่าวส่วนกลางเป็นอย่างดีเพราะสามารถเชิญผู้อภิปรายอย่าง ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง เอกมล คีรีวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์และสัมพันธ์ ลิ้มตระกูล รองผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารจากแบงก์ชาติมาร่วมอภิปรายด้วย

หัวข้อที่พูดกันในวันนั้นก็คือ "จะขอกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงินชั้นนำได้อย่างไร" ก็ถูกอกถูกใจนักธุรกิจท้องถิ่นพอสมควร เพราะที่ผ่านมาหลายคนก็เจอแต่การกู้เงินดอกเบี้ยสูงจากสถาบันการเงินชั้นต่ำหรือสถาบันการเงินที่ไม่ได้รับอนุญาตมาจนอ่วม ห้องประชุมชั้น 3 ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอทีเอฟ. สาขาชลบุรีที่จุคนได้ประมาณ 150 คนจึงค่อนข้างแออัดเป็นพิเศษด้วยบรรดาลูกค้า..และผู้สังเกตการณ์จากพนักงานธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดเดียวกัน

"เราใช้เวลาเตรียมงานนี้ประมาณ 2 สัปดาห์ โดยเริ่มจากการส่งจดหมายเชิญไปยังกลุ่มลูกค้าของเรา นักธุรกิจท้องถิ่นที่ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่อยู่ในจังหวัดชลบุรีเท่านั้น จังหวัดใกล้เคียงอย่างระยอง จันทบุรีเราเชิญหมด เพราะอยู่ในวิสัยที่เราสามารถให้บริการแก่เขาได้" ชนินทร์ ลีลานันทกิจ ผู้จัดการสาขาชลบุรีเล่าให้ฟัง

เนื้อหาสาระที่ตรงเป้ากับหัวข้อการอภิปราย สงบ พรรณรักษา เหมาพูดคนเดียวเกือบทั้งหมดโดยมีเอกสารประกอบแจกให้ผู้ฟังก่อนล่วงหน้า "ผู้จัดการ" ไม่รู้เหมือนกันว่านักธุรกิจท้องถิ่นมีความสนใจ เข้าใจในเนื้อหาของเอกสารมากมายแค่ไหนแต่เท่าที่สังเกตดูความสนใจดูเหมือนจะพุ่งไปที่แบบฟอร์มขอกู้เงินทั้งของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ว่าถ้าจะกู้เงินจากสถาบันการเงินแห่งนี้จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

ส่วนเรื่องการขอกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงินชั้นนำที่ สงบ พรรณรักษาออกตัวไว้ว่าไม่ได้หมายถึงเฉพาะ ไอทีเอฟ. แต่รวมไปถึงบรรดาสาขาธนาคารพาณิชย์อื่นในจังหวัดชลบุรีด้วยนั้น ผู้ฟังก็ฟังกันอย่างเนือย ๆ

ที่ว่าเนือย ๆ นั้นอาจจะเป็นเพราะว่าสิ่งที่พูด ๆ กันอยู่มันไม่ตรงกับปัญหาของนักธุรกิจที่นั่งฟังอยู่ก็เป็นได้ เพราะปัญหาของเขาอาจจะอยู่ที่ "ทำอย่างไรถึงจะได้กู้เงิน" เหมือนกับลูกค้ารายหนึ่งพูดกับ "ผู้จัดการ" ในช่วงพักระหว่างอภิปราย

เอกกมล คีรีวัฒน์ร่ายยาวให้ฟังถึงเรื่องการปรับตัวของทิศทางการดำเนินงานของสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไป ว่าจะต้องหันมาเน้นในเรื่องการให้สินเชื่อ แทนการเร่งระดมเงินฝาก เพราะมีเงินเหลือในระบบอยู่มาก…ก็เหมือนกับเนื้อข่าวที่ลงหนังสือพิมพ์รายวันรายสัปดาห์ที่ลงติดต่อกันเป็นเดือน นักธุรกิจที่อยากได้เงินกู้ใจจะขาดฟังดูแล้วไม่รู้จะหัวร่อหรือร้องไห้ดี

ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ เดินทางมาถึงสถานที่จัดอภิปรายเมื่อเวลาบ่ายสามโมงเกือบครึ่ง เนื่องจากติดคิวการอภิปรายในกรุงเทพฯ โดยพ่วงศลัย พานิชภักดิ์ ปริญญ์และนฤณ ภรรยาและลูกชาย-หญิงมาด้วย เพราะมีโปรแกรมเดินทางต่อไปพักผ่อนที่พัทยาในช่วงวันหยุดพร้อมกับเป็นการฉลองวันเกิดลูกชายที่อายุครบ 8 ขวบไปในตัว

"รัฐบาลยังคงเน้นเรื่องความมั่นคงของสถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ที่ถูกต้อง ให้สามารถอยู่ได้โดยการประกอบธุรกิจอย่างตรงไปตรงมารวมทั้งเน้นให้ช่วยเหลือบริการด้านการเงินแก่ท้องถิ่น ไม่ใช่มุ่งระดมเงินออมเข้าไปส่วนกลางเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ปัจจุบันทิศทางการลงทุนค่อนข้างชัดเจนคือมุ่งในแนวอุตสาหกรมเกษตร อุตสาหกรรมแปสภาพผลผลิต การเกษตร หรือแม้แต่อุตสาหกรมในครัวเรือนที่ต้องใช้คนเป็นจำนวนมาก" ตอนหนึ่งของการอภิปายของ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ พูดในท่วงทำนองที่ยังคงสไตล์แบบคนแบงก์ชาติ

ตัวอย่างอุตสาหกรรมต่อเนื่องการเกษตรที่ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ยกให้ฟังก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เช่นเรื่องการปรับปรุงวิธีการชำแหละสุกร เพื่อที่จะได้ "หนัง" มาใช้ในอุตสาหกรมเครื่องหนังซึ่งทุกวันนี้ยังคงต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศหรือการส่งออกขนเป็ดที่เป็นขนอ่อนที่ต่างประเทศนิยมใช้ยัดหมอน-ที่นอน

"อย่างอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่ผมไปเจอในเขตที่ผมสมัครรับเลือกตั้งก็คือการทำกรงนกเขา พ่อแม่พี่น้องเชื่อไหมครับว่ากรงไม้ไผ่สานที่ใช้วัสดุในท้องที่นั้นเขาขายกันราคาหลายพันบาท ทำกันด้วยแรงงานในครอบครัว…เรื่องอย่างนี้นี่แหละครับที่เป็นเรื่องที่เราต้องคิดต้องมองและช่วยการสนับสนุน" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังพูดต่อในลีลาของผู้แทนราษฎร

การอภิปรายเสร็จสิ้นลงในเวลาบ่ายสี่โมงกับ 10 นาที หลังจากที่เริ่มมาตั้งแต่บ่ายโมงครึ่ง… นักธุรกิจท้องถิ่นแยกย้ายกันกลับทิ้งให้ทีมผู้อภิปรายถูกนักข่าวส่วนกลางป้อนคำถามที่ต้องโดนถามอยู่แล้วหากเป็นการอภิปรายในกรุงเทพฯ เพียงแต่ย้ายสถานที่ถามมาเป็นจังหวัดชลบุรีเท่านั้น

คำถามที่ "ผู้จัดการ" และเพื่อนนักข่าวถูกสต๊าฟบริหารของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอทีเอฟ.ถามย้ำอยู่หลายครั้งในช่วงของอาหารมื้อเย็นก็คือ "การจัดอภิปรายครั้งนี้เป็นอย่างไรบ้าง?" ก็ขอโอกาสให้ความเห็นในรายงานชิ้นนี้เสียเลย

เรื่องที่ว่าเป็นเรื่องดีหรือไม่ก็ต้องบอกว่าดีแน่ คือดีสำหรับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอทีเอฟ.โดยเฉพาะสาขาที่ชลบุรี เพราะนอกจากจะได้จัดกิจกรรมเชิงวิชาการให้ลูกค้าที่จัดได้ว่าเป็นบริการให้ความรู้อย่างหนึ่งที่สถาบันการเงินชั้นนำพึงมี ผลอีกด้านหนึ่งก็คือการสร้าง IMAGE ของสถาบันการเงินแห่งนี้ ในการที่สามารถดึงคนระดับบริหารของแบงก์ชาติหรือแม้แต่ระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการมาอภิปรายได้ เท่ากับเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่อยากจะติงกันสักนิดก็คือหัวข้อของการอภิปรายที่ออกจะกว้างเกินไป ด้วยหัวข้ออย่างนี้ไปจัดอภิปรายที่ไหนหรือจัดในกรุงเทพฯ ก็คงไม่แตกต่างกันนักแต่ในเมื่ออุตส่าห์ไปจัดกันถึงจังหวัดชลบุรีที่เป็นเมืองเอกของภาคตะวันออกของประเทศ ก็น่าจะใช้หัวข้อเรื่องที่เกี่ยวพันกับธุรกิจท้องถิ่นมากกว่านี้

นักข่าวส่วนกลางไปฟังอภิปรายก็ได้ฟังในสิ่งที่ได้รับฟังในการอภิปรายเป็นประจำในกรุงเทพฯ ผู้อภิปรายก็เป็นคนที่ต้องพบเจอกันเป็นประจำในสายงานข่าวในกรุงเทพฯ นักธุรกิจท้องถิ่นก็ได้รับฟังในสิ่งที่หาอ่านได้ในสิ่งพิมพ์ที่ส่งมาจากกรุงเทพฯ

เรื่องราวของธุรกิจในชลบุรีหรือธุรกิจภาคตะวันออก ปัญหาของธุรกิจในภูมิภาคนี้ลักษณะการดำเนินงานของสถาบันการเงินกับธุรกิจท้องถิ่น ที่ควรจะเอามาเขียนถึงอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังคงต้องรอให้มีการจัดอภิปรายในครั้งต่อไปกระมัง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us