Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2529
เปิดตัวเครือข่ายธนไทยการผนึกกำลังของ 7 แบงก์ ที่จะไม่หยุดอยู่เพียงเอทีเอ็มพูล             
 


   
search resources

Electronic Banking
เครือข่ายธนไทย




การรวมตัวของแบงก์หลาย ๆ แบงก์เพื่อความร่วมมือกันบางประการนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เช่นเดียวกับการใช้เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติร่วมกันหรือที่เรียกว่า "เอทีเอ็ม พูล" ก็เป็นเรื่องที่ได้ยินได้ฟังกันมานานพอสมควรแล้ว

เครือข่ายธนไทยนั้นเป็นการรวมตัวของแบงก์ไทย 7 แบงก์ประกอบด้วยทหารไทย, ไทยพาณิชย์, กสิกรไทย, สหธนาคาร, มหานคร, กรุงศรีอยุธยาและธนาคารสยามและเป็นการรวมตัวที่เป้าหมายประการสำคัญก็คือ "เอทีเอ็ม พูล"

ดู ๆ ไปแล้วก็น่าจะเป็นเรื่องเก่าแก่ที่ตามหลังกลุ่ม "แบงก์เน็ท" ที่มีแบงก์กรุงเทพเป็นผู้นำซึ่งก็มีการ "พูล" ระบบเอทีเอ็มของ 7 แบงก์เท่ากัน (แบงก์เน็ท ประกอบด้วย กรุงเทพ, กรุงไทย, ไทยทนุ, ศรีนคร, เอเชีย, นครธนและแหลมทอง) ซึ่งเปิดตัวไปก่อนน้านี้ด้วยซ้ำ

แต่จะด่วนสรุปเช่นนั้นก็คงจะไม่ถูกต้องนัก เพราะการเปิดตัวเครือข่ายธนไทยที่จัดทำกันอย่างเป็นทางการเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยรูปแบบและเนื้อหาแล้วก็น่าจะต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องใหม่ซึ่งแม้ว่าจะเปิดตัวภายหลังแต่ก็ไม่น้อยหน้ากลุ่ม "แบงก์เน็ท"

ความแปลกใหม่ทางด้านรูปแบบนั้น ถ้าจะว่าไปก็เห็นจะได้แก่เครืข่ายธนไทยนี้แทนที่จะเป็นการรวมตัวแบบหลวม ๆ มีศูนย์กลางอยู่ที่แบงก์ใดแบงก์หนึ่งที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสมองกลสูงสุด ก็ต่างออกไปด้วยการจัดตั้งบริษัทกลางขึ้นเป็นศูนย์ที่แน่นอน โดยบริษัทกลางดังกล่าวก็ใช้ชื่อว่าบริษัทเครือข่ายธนไทยจำกัด "เป็นการยึดหลักความเสมอภาคและภารดรภาพระหว่างแบงก์ทั้ง 7…" บรรณวิทย์ บุญญรัตน์ จากค่ายไทยพาณิชย์ให้เหตุผล

ทั้งนี้โครงสร้างของบริษัทเครือข่ายธนไทยก็คือแบงก์ทั้ง7ถือหุ้นเท่ากันจำนวน 3,000 หุ้นมูลค่า 3 แสนบาทจากทุนจดทะเบียน 2.1 ล้านบาท คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้แทนแบงก์ละ 2 คน ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ประธานเป็นวาระ ๆ และมีอัตรากำลังรวม 20 คน มี ดร.สุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล อดีตวิศวกรระดับ 5 แผนกวาง แผนกองโทรเลข การสื่อสารแห่งประเทศไทยรับตำแหน่งผู้จัดการ

"ก็จะเป็นบริษัทที่มีฐานะอิสระ เรื่องความลับของแต่ละแบงก์ก็เลยไม่มีปัญหาเพราะไม่มีแบงก์ใดแบงก์หนึ่งเป็นแกน เราใช้บริษัทกลางนี้แทนก็จะให้เลี้ยงตัวเองได้ด้วยการเก็บรายได้จากการใช้บริการแบงก์ต่าง ๆ นับตามจำนวนทรานเซ็คชั่นที่ใช้ซึ่งอันนี้ก็แฟร์คือใครลูกค้ามากก็เสียค่าใช้จ่ายมาก…" ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับครือข่ายธนไทยกล่าว

และก็แน่นอนไม่มีปัญหาที่ภารกิจชิ้นแรกสุดของเครือข่ายธนไทยนี้ก็คือการทำ "เอทีเอ็มพูล" ระหว่างทั้ง 7 แบงก์

เครือข่ายธนไทยเริ่มพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายเอทีเอ็มของทั้ง 7แบงก์เข้าด้วยกันและให้ชื่อการให้บริการนี้แก่กลุ่มลูกค้าทั้ง 7 ว่า "สยามเน็ท" ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งทำหน้าที่ควบคุมระบบเครือข่าย SWITCHING CPU เป็นเครื่อง SYSTEM 88 ของไอบีเอ็ม ส่วน SOFTWARE นั้นเป็นระบบ ON/2 ของบริษัทโลจิก้า ระบบนี้จะทำหน้าที่รายงานด้าน RECONCILS และ SETTLEMENT ระหว่างธนาคารทั้ง 7

การพัฒนาระบบ "เอทีเอ็มพูล" สยามเน็ท เครือข่ายธนไทยได้ลงมือไปแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม และคาดว่าในราวเดือนพฤศจิกายนนี้ก็จะให้บริการได้

ถึงตอนนั้นก็ลองเปรียบเทียบกันดูก็แล้วกันว่าระหว่าง "แบงก์เน็ท" กับ "สยามเน็ทฎ นั้นใครจะเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพมากกว่ากัน

และก็ใช้แต่เฉพาะ "สยามเน็ท" เป้าหมายของเครือข่ายธนไทยนั้นมองยาวไกลออกไปอีกหลายเรื่อง "มันยังมีการพูลกันระหว่าง 7แบงก์นี้อีกมากที่ทำได้และเราก็ตั้งใจว่าจะต้องทำอย่างเช่นการเคลียร์เช็ค การโอนเงินระหว่างแบงก์ โดยสรุปแล้วเราต้องการให้เครือข่ายธนไทยนี้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาระบบธนาคารอีเล็กทรนิกส์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด และได้มาตรฐานสากล…" ผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ของแบงก์หนึ่งใน 7 วาดภาพให้ฟัง

ซึ่งก็คงจะสิ่งนี้เองที่เป็นความแปลกใหม่ ทิ้งห่างค่ายแบงก์เน็ทออกไปอีกก้าวหนึ่ง หลังจากผลัดกันนำผลัดกันตามมาตลอด 2-3 ปีนี้

ก็ลองจับตาดูเถอะ เพราะลองอีกค่ายเกทับบลัฟแหลกกันอย่างนี้ ค่ายแบงก์เน็ทก็คงต้องเตรียมอะไรใหม่ๆ ออกมาต่อกรบ้างเป็นแน่

สำคัญก็แต่จะมีใครเหลียวมองไปที่แบงก์กรุงเทพพาณิชย์การกับแบงก์นครหลวงไทยกันบ้างหรือเปล่ามิทราบ ไม่ว่าใครจะพยายามเป็นแบงก์สมองกลทำเอทีเอ็ม พูล กันจนครบถ้วนเป็นจำนวนถึง 14 แบงก์แล้ว ทั้ง 2 แบงก์นี้ก็คงยืนหยัดคงเส้นคงวาไม่เปลี่ยนแปลง

คือขอเป็นกลางไม่เข้าค่ายไหนต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีกำหนด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us