Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2529
เอ็นบีเอส V.S. ยูเรเชี่ยน ผลพวงการบริหารธุรกิจส่งออก THAI-CHINESE STYLE "แยกกันเราอยู่ รวมกันเราตาย"!!             
 


   
search resources

Import-Export
Logistics & Supply Chain
นารายณ์ชิปปิ้ง
มหาทุนการพัฒนา




เคยมีคนปรามาสว่าพ่อค้าไทยไม่สามารถรวมกลุ่มดำเนินธุรกิจได้โดยเฉพาะวงการค้าส่งออกพืชไร่ ความเชื่อเช่นนี้นับวันจะพิสูจน์ว่าเป็นจริงขึ้นทุกขณะ ท่ามกลางความพยายามในการรวมตัวกันของพ่อค้าหลายครั้งหลายครา ยูเรเชี่ยน-แคริเออร์รายแรกของวงการส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นตำนานหนึ่งซึ่งตอกย้ำคำปรามาสข้างต้น!

ปมของเรื่องเกิดขึ้นกลางเดือนมิถุนายน 2529 เมื่อบริษัทนารายณ์ชิปปิ้งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัทมหาทุนการพัฒนา (ยูเรเชี่ยน) ต่อศาลแพ่งในข้อหาผิดสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 25,949,514.49 บาท

นารายณ์ชิปปิ้งอ้างว่าเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2526 ยูเรเชี่ยนได้ตกลงว่าจ้างตนทำการขนถ่ายสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังโดยใช้เครื่องทุ่นแรง ทำการขนส่งจากเรือลำเลียง (LIGHTER) ไปบรรทุกเรือเดินสมุทรที่บริเวณเกาะสีชังหรือบริเวณใกล้เคียง โดยมีข้อตกลงว่าจะมีสินค้าให้นารายณ์ชิปปิ้งทำการขนถ่ายไม่น้อยกว่าปีละ 6 แสนตันหากมีสินค้าน้อยกว่าข้อตกลง ยูเรเชี่ยนยินดีจะชำระเงินชดเชยให้ครบตามอัตราที่กำหนดไว้

แล้วก็ปรากฏว่ายูเรเชี่ยนมีสินค้าส่งผ่านนารายณ์ชิปปิ้งน้อยกว่าข้อตกลงเสมอ

นารายณ์ชิปปิ้งรอมา 4 ปีเต็ม ๆ รอให้ยูเรเชี่ยนจ่ายเงินชดเชยส่วนนั้น ในที่สุดได้ตัดสินใจฟ้องร้องเมื่อสัญญาว่าจ้างสิ้นสุดลงและจะหมดอายุความ

มองกันอย่างผิวเผินก็แค่คดีแพ่งธรรมด าๆ คดีหนึ่ง พิจารณาตามตัวบทกฎหมายก็ต้องว่ากันไป

แต่ทว่า...สำหรับคนในวงการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแล้ว ล้วนมองเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าไม่ธรรมดา ทั้งเชื่อกันว่ามีเบื้องหลังอีกมาก!!!

หากฟังคนของยูเรเชี่ยน (ปัจจุบัน) กับนารายณ์ชิปปิ้งคนละทีถึงข้อขัดแย้งนี้ก็ต้องนับคะแนนกันไม่ทันทีเดียว

ส่วนมืออาชีพด้านบริหารธุรกิจก็น่าจะศึกษาเรื่องนี้เป็นบทเรียนที่มีค่าซึ่งย่อมจะหาไม่ได้ใน CASE STUDY ของ HARVARD หรือแม้กระทั่งธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เพราะหากสาวลึกลงไปจะพบ "จุดอับ" บางจุดของธุรกิจทั้งระบบอันอยู่ภายใต้การบริหารแบบ "เถ้าแก่" หรือ THAI-CHINESE STYLE ที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า

โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเทศเสียด้วย!

สมัยนั้น บุญชู โรจนเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และตามใจ ขำภโต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แท้ที่จริงตามใจก็คือคนที่พลิกผันวงการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปยังประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (อีอีซี) และหลังจากนั้นวงการนี้ไม่เคยหยุดนิ่ง ไม่เคยสงบก่อตัวเป็นคลื่นใหญ่ลูกแล้วลูกเล่าตราบเท่าทุกวันนี้

ปลายเดือนตุลาคม 2523 ตามใจ ขำภโต ได้ลงนามข้อตกลงกับฟินน์ โอลาฟ กุนเดอร์ลาซ ผู้แทนอีอีซี (ขณะนั้น) กำหนดโควต้าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังครั้งแรกระยะสัญญา 6 ปี โดยกำหนดว่าช่วงแรกปี 2524-2525 ส่งออกปีละ 5 ล้านตันยืดหยุ่น 10% ช่วงที่สอง (2526-2557) ปีละไม่เกิน 4.5 ล้านตัน ส่วนช่วง 2 ปีสุดท้ายตอนนั้นยังไม่ได้กำหนดกัน

ความจำเป็นที่ ตามใจ ยกขึ้นมาอ้างอย่างมีเหตุผลก็คือตามข้อตกลงใหม่นี้ อีอีซี. จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากไทยเพียง 6% ในขณะที่กำหนดเก็บจากประเทศอื่นๆ 30%

ก่อนหน้านี้ผู้ส่งออกไทยแท้ที่จริงก็คือพ่อค้าขายส่งธรรมดา โดยต้องส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้กับสาขาบริษัทต่างชาติซึ่งเข้ามาดำเนินการค้ามันสำปะหลังแทบทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นการขายโดยตรงถึงผู้ใช้บริษัทต่างชาติผูกขาดทำหน้าที่ โดยนำเรือเข้ามารับสินค้าขนส่งไปยัง อีอีซี. สุรพล อัศวโยธิน ผู้คลุกคลีวงการค้ามันสำปะหลังเป็นปีที่ 31 ในปีนี้กล่าวว่าควรจะเรียกฝรั่งพวกนี้ว่า "BUYER" แทนที่จะเรียก "CARRIER" ซึ่งหมายถึงบริษัทเรือเท่านั้นอย่างไรก็ตามคำว่า CARRIER ก็ถูกเรียกติดปากกันมาจนหนังสือพิมพ์เรียกตามไปด้วย

บริษัทต่างชาติสำคัญในขณะนั้นมี 4 ราย ได้แก่ปีเตอร์เครมเมอร์, คาร์กิลล์,โครห์นและท็อฟเฟอร์ จากสภาพแคริเออร์ ฝรั่งควบคุมแทบจะครบวงจรในธุรกิจค้าน้ำมันสำปะหลัง อำนาจต่อรองจึงสูงอย่างยิ่ง ผู้ส่งออกไทยต้องวิ่งหา หลายต่อหลายครั้งต้อง "เจ็บปวด" อย่างมาก ๆ เมื่อล่วงรู้ว่าราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ขายผ่านบริษัทเหล่านี้ เมื่อหักลบค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว กำไรมันช่างมากมายเสียเหลือเกิน!

"การรวมตัวของเราไม่ใช่กำจัดแคริเออร์ฝรั่ง หรือไม่ใช่รวมตัวกันมาต่อสู้กับเขาเพียงแต่เราก็เป็นผู้หนึ่งที่เป็นแคริเออร์ที่ค้าโดยตรง ยิ่งมื่อมีระบบโควต้าอำนาจต่อรองของฝรั่งยิ่งมากขึ้น" สุรพล อัศวโยธินกรรมการผู้จัดการบริษัทวรพลพาณิชย์ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทยท้าวความถึงความจำเป็นของการรวมตัวอย่างเร่งรีบของ 23 บริษัทตั้ง "ตัวแทน" ของตนเองขึ้นภายใต้ชื่อว่าบริษัทมหาทุนการพัฒนา (ยูเรเชี่ยน)

ยูเรเชี่ยนมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ถือหุ้นโดยบริษัท 23 แห่งเฉลี่ยตามสัดส่วนโควต้าส่งออกมันสำปะหลัง (คำนวณจากประวัติส่งออกย้อนหลัง 3 ปี) และผู้ถือหุ้นทุกรายจะต้องทำสัญญาขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้กับยูเรเชี่ยนเท่านั้น

ในระยะแรกยูเรเชี่ยนก็ต้องส่งสินค้าผ่านแคริเออร์ฝรั่งอยู่ดี

"พูดแล้วคุณจะไม่เชื่อ เรารวมกันภายในสัปดาห์เดียว ฝรั่งตกใจ ไม่มีใครรู้มาก่อนเหมือนสายฟ้าแลบจริง ๆ ภายในสัปดาห์เดียวฝรั่งหาซื้อมันไม่ได้ เพราะทุกคนบอกว่าต้องซื้อกับยูเรเชี่ยน...เพราะผลประโยชน์ตรงกัน ความเห็นก็เลยตรงกันไปหมด" สุรพล สาธยายเป็นสีสันถึงจุดเริ่มต้นของยูเรเชี่ยนให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ด้านการเงินนั้นไม่มีปัญหา เมื่อบุญชู โรจนเสถียร รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจสนับสนุน ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารแห่งนี้จึงออกโรงหนุนเต็มที่ ที่ยุโรป สุรพล อัศวศิรโยธิน ประธานยูเรเชี่ยน (ปี 2523-2529) เล่าว่าได้ AM-ROT BANK ก็สนับสนุนอีกแรงหนึ่ง

"คุณพชร อิศรเสนาฯ อธิบดรกรมการค้าต่างประเทศในเวลานั้นสนับสนุนเรามาก เพราะความคิดของท่านพยายามจะให้พ่อค้าลดการแข่งขัน พ่อค้าเลิกตัดราคากันเองเสี่ยงขายต่างประเทศ" สุรพล ยอมรับ

23 บริษัทรวมตัวกัน รวมโควต้าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ได้รับจัดสรรสูงถึง 61.28% ย่อมเป็นพลังที่มองข้ามไม่ได้

เมื่อข่าวการรวมตัวออกไปเพียง 2-3 วันราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ยืนนิ่งอยู่นานได้เขยิบปรู๊ดปร๊าดตันละกว่า 5 เหรียญสหรัฐ

"มันเป็นปรากฏการณ์ในช่วงแรกที่พวกฝรั่งตั้งตัวไม่ติดเท่านั้น" คนในวงการสรุป

ก็เป็นจริงอย่างที่คาดไว้ เมื่อแคริเออร์ฝรั่งตั้งหลักได้ ก็เริ่มเปิดศึกเผชิญหน้า และประลองกำลังครั้งใหญ่ ซึ่งกลุ่มผู้ส่งออกไทย 23 รายได้ผลสรุปในกาลต่อมาว่าแคริเออร์ฝรั่งนั้นดูเบาไม่ได้เด็ดขาด

หลังจากนั้นเพียงสัปดาห์เศษ ๆ แคริเออร์ฝรั่งประกาศไม่ซื้อมันสำปะหลัง อ้างว่าไม่มีเรือเข้ามารับในช่วงนั้น ราคาภายในประเทศเริ่มตกต่ำอย่างรวดเร็ว

"วิธีการนี้ทำให้บรรดาโรงงานผลิตภัณฑ์มัน พ่อค้าในต่างจังหวัดไม่พอใจและร้องขึ้นมา ซึ่งปะทุออกมาในรูปของการโจมตีกลุ่มยูเรเชี่ยนว่ากดราคารับซื้อ ทำลายกลไกตลาดเสรี" ผู้รู้คนหนึ่งกล่าวซึ่งตรงกับความเห็นของสุรพล อัศวศิรโยธิน ซึ่งเชื่อว่าผู้อยู่เบื้องหลังแผนดังกล่าวคือแคริเออร์ฝรั่งนั่นเอง

เป้าหมายไม่ได้ยุติที่ยูเรเชี่ยนเท่านั้น หากต้องการให้มีการประกาศยกเลิกระบบโควต้าในที่สุด

แรงกดดันทั้งหลายทั้งปวงกระหน่ำหนักหน่วง ปะทุออกมาหลายทาง ทุกรูปแบบ ทั้งโรงงานผลิตพ่อค้าท้องถิ่นประท้วงกันเป็นระลอก จนมาถึงนักการเมืองแม้แต่รัฐมนตรีกระทรวงเดียวกันก็เริ่มมีความเห็นขัดแย้งกัน ทวี ไกรคุปต์ รมช. พาณิชย์ หนุนให้ยกเลิกระบบโควต้า ในขณะที่ ชวน หลีกภัย รัฐมนตรีพาณิชย์ต่อจากตามใจ ขำภโต ไม่เห็นด้วย

แรก ๆ กรมการค้าต่างประเทศก็ออกโรงสนับสนุนยูเรเชี่ยน แถลงการณ์ขู่สำทับแคริเออร์ฝรั่งหลายครั้งให้เร่งส่งออกสินค้า ครั้นเมื่อราคาหัวมันตกต่ำสุดขีดประกอบกับเสียงเรียกร้องให้ยกเลิกระบบโควต้ามากขึ้น กรมการค้าต่างประเทศเลยหันมากดดันยูเรเชี่ยนให้ออกมารับซื้อผลิตภัณฑ์มันตามสัดส่วนที่ได้รับโควต้า แต่ยูเรเชี่ยนไม่พร้อมในการขยายการค้าเนื่องจากความใหม่ในตลาดโลกประกอบกับแคริเออร์ต่างชาติดำเนินแผนปิดล้อม

แคริเออร์ฝรั่งประกาศไม่ง้อยูเรเชี่ยนไม่รับซื้อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังหลังจากยูเรเชี่ยน หันไปกว้านซื้อโควต้าจากรายย่อย อีกทั้งกรมการค้าต่างประเทศเพิ่มโควต้าส่งออกให้ด้วยเพื่อหวังจะเริ่งการส่งออก

ยูเรเชี่ยนตกที่นั่งลำบาก จำเป็นต้องทะยานออกต่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่ความพร้อมไม่มี โดยเช่าเรือขนาดใหญ่ขนมันสำปะหลังออกเร่ขายถึงยุโรป และประสบการณ์ครั้งแรกคือขาดทุนกว่า 20 ล้านบาทในช่วงนั้น

ยูเรเชี่ยนอยู่ในภาวะอึดอัด ตึงเครียดและสับสน ผู้ถือหุ้น 2-3 รายถอนตัวออกเป็นระลอกแรก

ในที่สุด วันที่ 16 มิถุนายน 2524 ชวน หลีกภัย ทนแรงกดดันไม่ไหวได้ประกาศยกเลิกระบบโควต้า

ห้วงเวลา 6-7 เดือนหลังจากยูเรเชี่ยนเกิดขึ้นสถานการณ์ได้แปรเปลี่ยนไปมากจากยูเรเชี่ยน ที่รวมพลังผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอย่างเป็นปึกแผ่นได้เริ่มก่อตัวเป็นเค้าของความยุ่งยากในอนาคต ปัจจัยเหล่านั้นคือ หนึ่ง-ความเรรวนไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาล อันเป็นที่ตระหนักกันดีแล้วในวงการธุรกิจบ้านเรา

สอง-จากข้อหนึ่งนั้นยูเรเชี่ยนต้องตกกระไดพลอยโจนเข้าสู่วังวนแห่งการแข่งขันมากขึ้น "เราก็คิดว่าถึงแม้กรมการค้าต่างประเทศจะไม่หนุน การรวมตัวของเราก็ยังเป็นผลดีที่เราจะพัฒนาการค้ามันสำปะหลังไทยให้ถึงมือผู้ใช้เสียที และเมื่อแคริเออร์ฝรั่งแอนตี้เราเราก็จำเป็นต้องไปเปิดสาขาที่ร็อตเตอร์ดัมส์" ผู้ถือหุ้นใหญ่ยูเรเชี่ยนปัจจุบันแจงเหตุผลและความจำเป็นในการเปิดสาขาร็อตเตอร์ดัมส์ ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ศูนย์กลางผู้ใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในช่วงนั้น

ผู้รู้เล่าว่าผลจากการประเมินพลังตนเองสูงเกินไป และดูเบาแคริเออร์ฝรั่งโดยใช้นโยบาย "แข็งกร้าว" นั้นเป็นผลเสียให้ยูเรเชี่ยนถูกต่อต้านมากเกินความจำเป็น "ผู้ถือหุ้น 20 กว่ารายก็เริ่มมีความเห็นไม่ตรงกันแล้วเรื่องนี้" เขาบอกความนัยที่ 2-3 บริษัทแยกตัวออกไปก่อนที่กรมการค้าต่างประเทศจะประกาศยกเลิกระบบโควต้าด้วยซ้ำ

ยิ่งไม่ต้องพูดถึงหลังจากเลิกระบบโควต้าที่ผู้ถือหุ้นได้แยกตัวออกเป็นระยะ ๆ อาทิ แสงไทย,ไทยบำรุง, ล้อจิ้นเส็ง ฯลฯ

"มันเป็นเรื่องธรรมดายูเรเชี่ยนฟอร์มขึ้นมา การถือหุ้นแบ่งตามสัดส่วนโควต้าได้ออเดอร์ต่างประเทศมาก็แบ่งกันตามเปอร์เซ็นต์ของโควต้าที่ตนได้รับ จะค้ามากก็ไม่ได้ ต้องอยู่ภายใต้กรอบของโควต้า พอยกเลิกโควต้าใครเขาจะมาอยู่ เขาบอกว่าจะค้ามากขึ้นพวกนี้ก็ถอนตัวไป" สุรพล อัศวศิรโยธินให้เหตุผล

ช่วงนี้ยูเรเชี่ยนเผชิญศึกสองด้านแล้ว บรรดาเถ้าแก่นับสิบคนที่เคยคุ้นเคยกันรู้เรื่องมีผลประโยชน์ตรงกันความเห็นตรงกันก็เริ่มขัดแย้งตั้งแต่นั้นมา ว่ากันว่าที่ไทยบำรุงและล้อจิ้นเส็งผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรุ่นเก่าที่มีสไตล์การค้าแบบ CONSERVATIVE เป็นบทเรียนที่ชัดเจน

"สองรายนี้เขาเห็นว่าขืนอยู่ต่อไปก็พากันไปตาย" ผู้คร่ำหวอดวงการค้ามันสำปะหลังคนหนึ่งกล่าว

เนื่องจากผู้ส่งออกทุกรายมีพื้นฐานไม่เหมือนกันทั้งด้านแนวความคิดและวิธีทำงานที่สำคัญมีกำลังทรัพย์ไม่เท่ากัน อันขัดแย้งกับข้อตกลงที่มาอยู่ด้วยกันต้องทำตามแนวเดียวกัน อาทิการขยายสินค้าไปต่างประเทศ เมื่อส่วนใหญ่เห็นว่าต้องขายและต้องระดมสต็อคสินค้าตามส่วนของตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยไม่ได้คำนึงว่าความสามารถของแต่ละรายจะเป็นเช่นไร

"ถึงแม้ผมจะเห็นว่าราคามันจะตกหรืออันตราย ผมก็ต้องทำตามในเมื่อเสียงส่วนใหญ่ว่าอย่างนั้น อีกประการหนึ่งก็คือกลัวเสียหน้า ทุกคนเขากล้าเราไม่กล้าพรรคพวกก็ว่าเราใจปลาซิว นี่ละที่เขาพากันไปตาย" ผู้ที่เคยถูกพาไปขาดทุนรายหนึ่งกล่าวอย่างขมขื่น

"สำหรับล้อจิ้นเส็งผมพูดได้ ในการประชุมครั้งหนึ่งผมจำเรื่องที่พูดกันไม่ได้แล้ว คุณวิเชียร วงศ์เทียนชัย เขาเป็นผู้แทนของล้อจิ้นเส็งมาประชุม เขาบอกกับผมภายหลัง พวกคุณให้ผมถือหุ้นแต่ไม่ให้อำนาจให้ผมจัดการเลย" สุรพลยอมรับปัญหาดังกล่าว

พอถึงปลายปี 2524 ยูเรเชี่ยนก็เหลือเพียง 6-7 กลุ่มหรือ 7-8 บริษัทเท่านั้น

ปลายปี 2524 ยูเรเชี่ยนดำริจะสร้างระบบขนถ่ายสินค้าด้วยเครื่องจักรทันสมัย เช่นเดียวกับแคริเออร์ต่างประเทศอันเป็นผลโดยตรงมาจากระเบียบการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

หลังจากเลิกระบบโควต้าไม่นาน ปุณมี ปุณศรี ก็เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ต่อจาก ชวน หลีกภัย และเปลี่ยนวิธีการส่งออกเป็น FIRST COME FIRST SERVE แบ่งการส่งออกเป็นหลาย ๆ งวดกำหนดปริมาณที่แน่นอน ผู้ส่งออกต้องนำเรือเข้ามาขอเอกสารการส่งออกก็สามารถส่งออกได้ ใครมาก่อนได้ก่อน ไม่จำกัดเวลา แต่จำกัดจำนวน "พ่อค้าเราหัวไวแห่กันเอาเรือเข้ามารับโดยใช้เวลาเพียงสัปดาห์เดียวก็หมดโควต้า ทำให้วุ่นวายไปหมด" พ่อค้าคนหนึ่งบอก

ระบบการขนถ่ายสินค้าจากฝรั่งลงสู่เรือใหญ่นั้นมีหลายวิธี อาทิผ่านระบบขนถ่ายของบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโล ซึ่งมีสายพานทอดยาวลงสู่เรือใหญ่ได้เลย (แต่วิธีนี้คาร์กิลล์-แคริเออร์ฝรั่งเช่าสัญญาผูกขาอยู่) หรือผ่านท่าเรือสัตหีบ แต่ส่วนใหญ่จะต้องเช่าเรือลำเลียง (LIGHTER) ขนสินค้าไปถ่ายให้เรือใหญ่บริเวณเกาะสีชัง การขนถ่ายสินค้าจากเรือลำเลียงลงเรือเดินสมุทรกระทำได้ 2 วิธี ใช้เครื่องสูบหรือที่เรียกว่าระบบทีบีเอส (เป็นชื่อบริษัทใช้เครื่องสูบสินค้าลงเรือใหญ่) ซึ่งรวดเร็วและทันสมัยกว่าวิธีใช้ MOBILE CRAIN ยกสินค้าลงเรือ

FACILITY เช่นว่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขัน ยิ่งถ้าต้องเช่าอุปกรณ์ในช่วงเวลาอันจำกัดช่วงเวลาเป็นเงินเป็นทอดนั้น แล้วค่าใช้จ่ายจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างช่วยไม่ได้

โอฬาร อัศวฤทธิกุล คนแซ่เบ๊เช่นเดียวกับสุรพล อัศวศิรโยธิน และเป็นคนสาย "อินทรบางเขน" เช่นเดียวกัน โอฬารทำธุรกิจด้านขนส่งทางน้ำเลียบชายฝั่งทะเลมีสถานีพักสินค้า (STEVEDORE) จำนวนมากจนได้ชื่อว่าเป็น "เจ้าพ่อ STEVEDORE" เขาทั้งสองตัดสินใจร่วมลงทุนเรือขนถ่ายสินค้าขึ้นด้วยเหตุผลสองประการ

1. เอื้ออำนวยประโยชน์ให้ยูเรเชี่ยนในการพัฒนาระบบขนถ่ายทัดเทียมแคริเออร์ฝรั่ง

2. ด้วยมองว่าธุรกิจเรือขนถ่ายสินค้าลอยน้ำแล้ว ค่อนข้างแจ่มใสหากวิธีส่งออกมันยังเป็น FIRST COME FIRST SERVE อยู่เช่นนี้

"ระบบใหม่ที่เขาทั้งสองจะนำมาใช้ก็แบบเดียวกับทีบีเอสของกลุ่มโครห์นและทอฟเฟอร์นั่นเอง"

ทีบีเอส. ชื่อเต็ม ๆ ว่าไทยบัลท์เซอร์วิส ตั้งบริษัทดำเนินกิจการเมื่อปี 2520 โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมดกลุ่มโครห์นและทอฟเฟอร์แห่งเยอรมัน

ส่วนบริษัทที่สุรพลกับโอฬารร่วมตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2524 นั้นใช้ชื่อว่านารายณ์ชิปปิ้ง (เอ็นบีเอส.) ทุนจดทะเบียนครั้งแรก 10 ล้านบาท ในครั้งแรก ๆ สุรพลและโอฬารถือหุ้นใหญ่ ดังนั้นสุรพลจึงดำรงตำแหน่งประธานและโอฬารเป็นกรรมการผู้จัดการ

เมื่อเดือนเมษายน 2525 ได้ตกลงซื้อเรือ 2 ลำคือเรือบางไทรจากบริษัทเจ้าพระยาขนส่งและเรือแฮปปี้วิลลิ่งจากบริษัทไทยอาร์โกเนวิเกชั่น ราคา 20 ล้านบาทเพื่อจัดทำโครงการสถานีขนส่งสินค้าลอยน้ำ" เรือทั้งสองลำแท้ที่จริงก็เป็นของสุรพลนั้นเอง" ผู้ถือหุ้นในยูเรเชี่ยนคนหนึ่งบอก ซึ่งต่อมาเลยกลายเป็นจุดครหาประการหนึ่ง

แผนการจะสร้างสถานีขนส่งต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศอีกโดยใช้เงินรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 60 ล้านบาท นารายณ์ชิปปิ้งจึงติดต่อธนาคารกรุงเทพเพื่อขอกู้เงิน 50 ล้านบาท โดยคาดหวังว่าปลายปี 2525 จะสามารถเริ่มดำเนินการบริการ

ในรายงานการประชุมบริษัทเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2526 กล่าวอ้างคำรายงานของโอฬาร อัศวฤทธิกุล "เดิมโครงการจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2525 แต่เนื่องจากอุปกรณ์และเครื่องจักรบางส่วนที่ได้สั่งซื้อจากประเทศเยอรมันมาถึงช้ากว่าที่กำหนดไว้ จึงทำให้การติดตั้งล่าช้าและไม่สามารถที่จะรับบริการในเดือนธันวาคม 2525 ได้ ส่วนเดือนมกราคม 2526 นั้นก็มีการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังน้อยมาก เนื่องจากทางราชการได้มีนโยบายส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในระบบโควต้าซึ่งแบ่งออกเป็น 4 งวด จึงทำให้การทำงานของบริษัทไม่เป็นไปตามเป้าหมาย"

แต่ข่าวบางกระแสระบุว่าเหตุล่าช้าจริงเกิดจากธนาคารกรุงเทพไม่ยอมปล่อยสินเชื่อประมาณ 50 ล้านบาทสำหรับซื้อเครื่องจักร ด้วยเหตุนี้สัญญาว่าจ้างระยะยาวระหว่างยูเรเชี่ยนกับนารายณ์ชิปปิ้งจึงเกิดขึ้น ทั้งยูเรเชี่ยนก็เข้าถือหุ้นในนารายณ์ชิปปิ้ง 15 % ด้วย

ทุกวันนี้ยังถกเถียงกันไม่เสร็จว่าใครเป็นบุญคุณใครระหว่างยูเรเชี่ยนกับนารายณ์ชิปปิ้ง นารายณ์ชิปปิ้งอ้างว่าเขาเกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนยูเรเชี่ยนให้เข้มแข็ง ยูเรเชี่ยนก็อ้างว่าหากไม่ได้เขานารายณ์ชิปปิ้งก็ไม่มีสิทธิ์ได้เกิด

เมื่อโครงการนี้ดำเนินการสำเร็จสถานการณ์ก็ได้เปลี่ยนไปอย่างคาดไม่ถึง!

การขนถ่ายมันสำปะหลังลงเรือเดินสมุทรที่ต้องเร่งรัดแย่งชิงและซื้อด้วยเวลานั้นได้เปลี่ยนเป็นค่อยขนค่อยส่ง อันเนื่องมาจากกรมการค้าต่างประเทศทีเปลี่ยนระบบการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นโควต้า โดยพิจารณาจากสต็อคสินค้าของผู้ส่งออกแต่ละราย ทั้งกำหนดระยะเวลาส่งออกยาวออกไปกว่าเดิมมาก

นั่นคือปัญหาพื้นฐานการขาดทุนประมาณ 40 ล้านบาทของนารายณ์ชิปปิ้งในปัจจุบัน

"มันอยู่ค่าบริการ เมื่อทีบีเอสว่างงานจากโครห์นและทอฟเฟอร์ ก็แข่งขันรับจ้างรายอื่นต่อไปด้วยการ ตัดราคากับเอ็นบีเอส ทีบีเอสเขาเกิดมานานมีกำไรคุ้มทุนไปแล้ว ไหนเลยเอ็นบีเอสจะแข่งขันได้ ยิ่งเมื่อยูเรเชี่ยนไม่ยอมใช้บริการตามสัญญาด้วยแล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร" ผู้บริหารคนหนึ่งของนารายณ์ชิปปิ้งโอดครวญ

ปลายปี 2526 ทรัพย์สถาพร (ซุ่ยเฮงหลี) และสหมันอัดไทย ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ถอนตัวออกจากยูเรเชี่ยน อันหมายถึงเฉลิม สถาพร ผู้แทนจากซุ่ยเฮงหลีซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการยูเรเชี่ยนมาแต่ต้นได้พ้นจากตำแหน่ง กิตติ ดำเนินชาญวนิชย์ แห่งซุ่นหั่วเซ้งจึงเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน

ในช่วงนั้นยูเรเชี่ยนจึงเหลือเพียง 4 กลุ่ม (ประมาณ 7 บริษัท) คือกลุ่มสุ่นหั่วเซ้ง กลุ่มโชคชัยพืชผล (ของ ชัยพล แสงศิริพงษ์พันธ์) กลุ่มวรพลพาณิชย์ (ของสุรพล อัศวศิรโยธิน) และกลุ่มสหพันธ์พืชผล (ปรีชา ปริญญาคณิต)

สำหรับเหตุผลว่ากันว่าไม่แตกต่างจากรายก่อน ๆ

ว่ากันตามประวัติศาสตร์ผู้ส่งออกสินค้าพืชไร่บ้านเราเติบโตมาจากพื้น แทบจะกล่าวได้ว่าทุกคนไม่ใช่นักบริหารมืออาชีพ พอไต่เต้าหรือประสบความสำเร็จทางการค้าจะด้วยเสี่ยงโชคหรือความบังเอิญก็สุดแต่ ก็มักจะถือว่าตนมีความสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประสบความสำเร็จติดต่อกันระยะหนึ่งจะยิ่งมองข้ามความเห็นของคนอื่น ความเห็นของคนอื่นไม่มีความหมาย

"ในประเทศไทยการบริหารที่ล้าหลังแท้ที่จริงกลับไม่ใช่กลุ่มที่เติบโตมาจากขุนนางหรือราชนิกูล หากเป็นพ่อค้าไทยเชื้อสายจีน ทั้งนี้โดยรากเหง้าของวัฒนธรรมของเขาด้วย" อาจารย์สอนวิชาบริหารธุรกิจที่ตีนติดดินคนหนึ่งแสดงทัศนะ

"พื้นฐานของคนต่างกัน ต่างคนต่างความคิด มีความระแวง ไม่เชื่อใจกัน ทุกคนคิดถึงแต่ประโยชน์ หากรู้สึกว่าตนเองเสียเปรียบ การเจรจาหรือตกลงอะไรจะยุติทันที ที่สำคัญไม่กล้าเผชิญความขัดแย้งในที่ประชุม" สุรพล อัศวศิรโยธิน ขยายประสบการณ์จากยูเรเชี่ยน อย่างเป็นรูปธรรมสนับสนุน เขาเน้าว่าผู้ศึกษาวิชาบริหารธุรกิจในเมืองไทยสมควรจะนำเรื่องราวเช่นนี้ไปศึกษาบ้าง

"เวลาประชุมไม่มีแบบแผน พอโทรศัพท์มาก็ไปโทรศัพท์ นึกอะไรขึ้นได้ก็ไปทำหรือใครเสนอความเห็นไม่ตรงกับตนก็บอกว่าธุระเยอะเอาไว้ประชุมคราวหน้า" เขาขยายความต่อ

แม้ยูเรเชี่ยนจะเป็น "ตัวอย่าง" ของปัญหารากเหง้าอันหนึ่งของธุรกิจส่งออกเช่นว่านั้น แต่ก็หาใช่จะสิ้นความพยายามในการแก้ปัญหาโดยใช้มืออาชีพเป็นคนบริหารงานเสียทีเดียว

ชาญชัย ตุลยะเสถียร ปริญญาโทด้านการเงิน เคยมีตำแหน่งระดับคีย์แมนในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการเงินของบริษัทไทยออยล์ก็เคยมาเป็นผู้จัดการทั่วไปให้ยูเรเชี่ยนในอัตราเงินเดือนเกือบ 1 แสนบาท

เขาอดทนนั่งทำงานท่ามกลางเถ้าแก่ 10 กว่าคนที่ความคิดไม่ตรงกัน เพียงปีเศษ ชาญชัยก็เผ่น

คนที่สองเป็นฝรั่งชาวดัชท์ชื่อ HOOY MEYER ซึ่งเคยทำงานอยู่ที่ปีเตอร์เครมเมอร์-แคริเออร์ ฝรั่งคู่แข่งของยูเรเชี่ยน "มิสเตอร์ไมเยอร์อยู่นานกว่าคนอื่นตรงที่เขาเป็นฝรั่ง พูดภาษาไทยไม่ได้ บรรดาเถ้าแก่ไม่ค่อยเข้ามายุ่ง เพราะเถ้าแก่เกือบทุกคนพูดภาษาอังกฤษไม่ได้"

แต่ประมาณ 2 ปีที่พยายามสร้างระบบก็ต้องล้มเหลวไปเพราะเจ้านายแตกกัน

นอกจากนั้นยังมีคนไทยระดับผู้บริหารอีกสองคนที่เข้ามาในสนามปราบเซียนนี้คือ ทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ จากปีเตอร์เครมเมอร์ คนหนุ่มหัวดีเข้ามาอยู่พักหนึ่งลาออกไปอยู่กลุ่มเอเชียคอร์ป-แคริเออร์ ของคนไทยที่เกิดขึ้นในปี 2527 ซึ่งในที่สุดเขาก็ต้องพบประสบการณ์เช่นเดียวกัน ปัจจุบันประกอบธุรกิจส่วนตัว

คนสุดท้ายไพบูลย์ ไชยสมพงษ์พันธ์ ผู้ชำนาญด้านการตลาดสินค้าพืชไร่จากคอนติเนนตัล โอเวอร์ซีส์ (ซีโอซี) ยักษ์ใหญ่ COMMODITY สาขาของคอนติเนนตัลเกรนส์ เพิ่งตัดสินใจลาออกจากยูเรเชี่ยนไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้เอง

"ผมเคยบอกพวกเขาว่าโครงสร้างบริษัทนี้เป็นเช่นไรคุณก็รู้ คุณทำงานที่นี่คุณต้องมีหูฟัง แต่ต้องไม่มีปากพูด อย่านำเรื่องของเถ้าแก่คนนี้ว่าคนนั้นไปให้เถ้าแก่คนนั้นฟัง คุณต้องละเว้นการถ่ายทอดเรื่องราวทำนองนั้น แต่ส่วนใหญ่เขาทำไม่ได้" อดีตผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในยูเรเชี่ยนพูดถึงมืออาชีพบางคนที่กล่าวแต่ต้น

อย่างไรก็ตามมีฝรั่งคนหนึ่งทำงานให้ยูเรเชี่ยนมาแต่ต้นจนถึงทุกวันนี้-โบชาร์ตเป็นคนเยอรมันครอบครัวของเขามีกิจการโรงงานอาหารสัตว์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ หลังจากจบการศึกษาเขาเริ่มดำเนินธุรกิจด้านการค้ามันสำปะหลังทำงานกับบริษัทโครห์นและปีเตอร์เครมเมอร์ในเมืองไทยถึง 6 ปีเต็ม ในช่วงที่ยูเรเชี่ยนเกิดขึ้นโบชาร์ตทำงานอยู่ที่บริษัทมาร์โบรโบรกเกอร์ด้าน COMMODITY ของอังกฤษ ในที่สุดถูกชวนมาเป็นผู้จัดการสาขาร็อตเตอร์ดัมส์ ในเนเธอร์แลนด์ของยูเรเชี่ยน

สาขาของยูเรเชี่ยนที่นั่นทำงานค่อนข้างอิสระ บรรดาเถ้าแก่จึงไม่มีโอกาสเข้ายุ่งเกี่ยวมากนัก "เถ้าแก่ของยูเรเชี่ยนส่วนใหญ่มักใจถึง หากใครทำงานให้เขาดี ๆ ผลตอบแทนย่อมสูง โบชาร์ตก็ได้ผลตอบแทนในปริมาณมากพอที่จะไม่ไปทำงานที่ไหน" ผู้บริหารยูเรเชี่ยนคนหนึ่งกล่าว

ตามสัญญาว่าจ้างขนถ่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากเรือลำเลียงสู่เรือเดินสมุทรนั้น นารายณ์ชิปปิ้งกำหนดราคาไว้ตายตัวว่า หากส่งเกินกว่าที่กำหนดไว้จะได้ส่วนลดทุก ๆ แสนตัน ๆ ละ 2 บาท เช่นหากส่งระหว่าง 6-7 แสนตันคิดราคาตันละ 58 บาท (มันอัดเม็ด) จากราคาเดิม 60 บาท/ตัน หากส่งเกิน 8 แสนตันต่อปีขึ้นจะคิดเพียง 50 บาท/ตัน (มันอัดเม็ด) 52 บาท/ตัน (มันเส้น)

ระยะสัญญา 3 ปี จากวันที่ 1 มิถุนายน 2526-31 พฤษภาคม 2529 ในระหว่างนี้ยูเรเชี่ยนส่งสินค้าไม่เป็นไปตามข้อตกลงทุกปีในส่วนขาดที่ต้องชดเชยนี้คิดเป็นเงิน 20,100,896.80 บาท นอกจากนี้ค่าขนถ่ายสินค้าก็ไม่ได้ชำระครบถ้วนเป็น 5,445,642.46 บาท

ทำไมไม่ทวงถามกันให้เรียบร้อย?

ในนารายณ์ชิปปิ้งนอกจากยูเรเชี่ยนถือหุ้นอยู่ 15% แล้ว สุรพล อัศวศิรโยธินในฐานะประธานทั้งสองบริษัท (ในช่วงนั้น) ยังถือหุ้นอยู่ 5% นอกจากนี้กลุ่มโชคชัยพืชผล 1 ใน 4 กลุ่มยูเรเชี่ยนก็ถือถึง 15%

ยูเรเชี่ยนเผชิญปัญหาภาวะราคาผลิตภัณฑ์มันตกต่ำอย่างมากในปี 2527 ต่อปี 2528 ประกอบกับปลายปี 2527 ยูเรเชี่ยนประสบการขาดทุนอย่างหนักอันเนื่องมากจากการลดค่าเงินในปลายปีเป็นเงินถึง 150 ล้านบาท (ตามบัญชี)

ว่ากันด้วยว่า ชัยพล แสงศิริพงษ์พันธ์มีปัญหาด้านเทคนิคเกี่ยวกับส่งมอบผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังลำหนึ่งหลายหมื่นตัน จนทำให้ 3 กลุ่มที่เหลือในยูเรเชี่ยนไม่พอใจกล่าวหากันว่ามีการ "เบี้ยว" กันเอง ในที่สุดโชคชัยพืชผลตัดสินใจผละออกจากยูเรเชี่ยนในปลายปี 2527 นั่นเอง

ข่าวยืนยันว่า ชัยพล แสงศิริพงษ์พันธ์ กับกิตติ ดำเนินชาญวณิชย์ไม่มองหน้ากันในปัจจุบัน

ไม่หยุดเพียงแค่นั้น วรพลพาณิชย์ของสุรพล อัศวศิรโยธิน ก็เริ่มมีปัญหากับหุ้นส่วนที่เหลือ ต่อจากโชคชัยพืชผลทันทีต่างฝ่ายต่างโจมตีกัน จนถึงขั้นเอาเรื่องส่วนตัวเข้ามาพัวพัน บางกระแสข่าวอ้างว่าสุรพลชอบเสี่ยงโชคกับอัตราแลกเปลี่ยนขาดทุนจำนวนมาก ทำให้หุ้นส่วนไม่พอใจถึงลิดรอนอำนาจ

ในที่สุดสุรพล จึงตัดสินใจลาออกจากยูเรเชี่ยน ในทางปฏิบัติแทบจะไม่ทำงานตั้งแต่กลางปี 2528 แต่ในกฎหมายเพิ่งจะถอยฉากออกมาเมื่อประมาณดือนเมษายน 2529 ที่ผ่านมา

ยูเรเชี่ยนปัจจุบันจึงเหลือเพียง 2 กลุ่ม-กลุ่มสุ่นหัวเซ้งถือหุ้น 70% และสหพันธ์พืชผลถือหุ้น 30%

หลังจากที่สุรพล อัศวศิริโยธินออกจากตำแหน่งประธานยูเรเชี่ยนไม่นานนารายณ์ชิปปิ้งก็ยื่นฟ้องร้องค่าเสียหายดังกล่าวทันที

"ผมว่าคนที่เป็นตัวตั้งตัวตีหนุนให้ฟ้องคือคุณชัยพล ซึ่งไม่ถูกกับคุณกิตติส่วนคุณสุรพลนั้นที่ผ่านมาคอยปรามเอาไว้ แต่ตอนนี้วางเฉยซึ่งก็เท่ากับไฟเขียว" แหล่งข่าวจากยูเรเชี่ยนกล่าว

อย่างไรก็ตามยูเรเชี่ยนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบนอกศาล ตามสไตล์พ่อค้าเชื้อสายจีนที่ไม่จำเป็นไม่ค้าความ

ดูเหมือนว่า 6 ปีของยูเรเชี่ยนในท้ายที่สุดจะมายืนอยู่ในจุดเดิม คือเป็นกิจการของผู้ส่งออกไทยรายเดียวที่มีอำนาจการบริหารงานอย่างเต็มที่คือกลุ่มเกษตรรุ่งเรือง (สุ่นหั่วเซ้ง)

ซึ่งคนวงการหลายคนมองว่าสุ่นหั่วเซ้งเก็บดอกผลจากความพยายามของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปอีอีซีกว่า 20 ราย เป็นยุทธวิธีที่กิตติ ดำเนินชาญวนิชย์เคยประกาศท่ามกลางเถ้าแก่ยูเรเชี่ยนในอดีตไม่นานมานี้ว่า "คนที่มีโกดัง มีเงินหนาก็คือผู้ชนะ"

เพราะยูเรเชี่ยนคือแคริเออร์ของคนไทยรายแรก ที่ถึงแม้ผู้ถือหุ้นจะถอยฉากไปทีละรายสองรายแต่ความสามารถในการส่งออกมิได้ถดถอยไปตามสัดส่วนนั้นเท่าใดนัก วันนี้จะมีเพียง 2 รายก็ยังถือว่าเป็นเคริเออร์รายใหญ่ มั่นคงและมีประสบการณ์ด้านการตลาดในต่างประเทศไม่แพ้แคริเออร์ฝรั่งแล้ว

จะว่าไปแล้วยูเรเชี่ยนได้เดินมาบรรลุจุดประสงค์ของ "เถ้าแก่" 23 รายเมื่อปลายปี 2523 เพียงแต่ผลกลับตกอยู่ที่สุ่นหั่วเซ้งกับหสหพันธ์พืชผลเท่านั้น

"ยูเรเชี่ยนปัจจุบันแทบจะเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่ทำกำไรตลอดเวลา เพราะไม่ต้องลงทุนอะไรรายได้มาจากค่า COMMISSION หากมีการส่งสินค้ามากรายได้ก็มาก ที่เสี่ยงมีเพียงประการเดียวคืออัตราแลกเปลี่ยน" มืออาชีพที่เคยทำงานให้ยูเรเชี่ยนคนหนึ่งแสดงความเห็น

หากจะถามบรรดาอดีตเถ้าแก่ยูเรเชี่ยนในตอนนั้ว่ายูเรเชี่ยนผิดพลาดตรงไหนเสียงตอบค่อนข้างจะเป็นไปตามแนวเดียวกันคือ ผิดพลาดที่โครงสร้างการถือหุ้นและการบริหารโดยรวมเอาบรรดาเถ้าแก่มาดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามแนวเดียวกัน บทเรียนระยะหลังมานี้ได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่าทำไม่ได้

"รวมกลุ่มกันค้าข้าว หรือค้ามันสำปะหลังเพื่อมิให้ตัดราคากันและมีอำนาจต่อรองกับผู้ซื้อซึ่งเป็นการรวมตัวชั่วคราวยังรวมกันไม่ได้เลย" พ่อค้าใหญ่คนหนึ่งยกตัวอย่าง

แต่แนวทางยูเรเชี่ยนไม่ผิด ยูเรเชี่ยนเป็นต้นแบบในการพัฒนาการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทยไปต่างประเทศซึ่งได้พัฒนาครบวงจร เหตุการณ์ได้พิสูจน์เช่นกันว่ากลุ่มที่แตกตัวจากยูเรเชี่ยนหลายรายเช่นแสงไทย-ตระกูลคำ เอเชียคอร์ป

ขณะเดียวกันก็มีจำนวนไม่น้อยที่ "ทุนน้อย ความกล้าน้อย" ก็ยอมจำยอมสภาพเดิมเช่นเมื่อก่อนปี 2523 ก่อนที่ยูเรเชี่ยนจะเกิด เพียงสภาพได้พัฒนาขึ้นมาระดับหนึ่งคือแคริเออร์ฝรั่งมีอำนาจต่อรองลดลงไปมากเมื่อมีแคริเออร์ของคนไทย

เคยมีคนสงสัยกันมากว่าเพราะเหตุใดไทยวาและพูนผล (ของตระกูลหวั่งหลี) ไม่ยอมรวมกลุ่มกับเถ้าแก่ 23 รายเมื่อปลายปี 2523 ทั้ง ๆ ที่สองรายนี้เป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายใหญ่

กิตติ ดำเนินชาญวณิชย์ กรรมการผู้จัดการยูเรเชี่ยนปัจจุบันกับสุรพล อัศวศิรโยธิน อดีตประธานกรรมการยูเรเชี่ยนต่างมีความเห็นสอดคล้องกันต่อปริศนาข้างต้น

"ถ้าจะให้ผมพูดตอนนี้ก็ต้องชมว่า 2 รายนั้นมองการณ์ไกล เขาฉลาดที่มองเห็นว่าการรวมตัวแบบนี้เป็นไปไม่ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us