Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2529
ความฝันในบั้นปลายชีวิตของ ถาวร พรประภา             
 


   
search resources

ถาวร พรประภา




ก็แน่นอนที่คนผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตมีทรัพย์สินเงินทองตลอดจนชื่อเสียงล้นเหลือแล้ว ในบั้นปลายชีวิตอาจจะคิดฝันต่างๆ กันไป

ดร.อันแวง มหาเศรษฐีอเมริกันเชื้อสายจีนเจ้าของ Wang Lab. ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Wang จนร่ำรวยล้นฟ้านั้น บั้นปลายชีวิตภายหลังการวางมือจากธุรกิจ คือการสร้างพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวใช้เงินที่สู้อุตส่าห์สะสมไว้เป็นจำนวนมากซื้อผลงานทางศิลปะมาประดับแล้วเปิดให้คนทั่วไปได้ทัศนา โดยตัวเขาแอบชื่นชมสิ่งที่เขาได้ทำปอย่างเงียบๆ

สำหรับถาวร พรประภา วัย 70 ปี เขาก็มีความฝันในบั้นปลายชีวิตเช่นกัน ตามความใฝ่ฝันของเรา เรามีบ้านอยู่ที่สุขสบายอย่างสงบ สำหรับตัวเราเองกละลูกหลาน มีสถานที่พักผ่อนและเล่นกีฬากกับมิตรสหาย มีกิจการที่มั่นคง พร้อมทั้งสถานที่ทำงานอันสง่างามและสะดวกสบาน...ทรัพย์สมบัติที่ทำมาหาได้ก้แบ่งปันให้กับมูลนิธิเพื่อเป็นกองทุนกองกลางทำประโยชนให้แก่สังคม ความหวังทั้งหมดนี้ถ้าข้าพเจ้าทำสำเร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ ข้าพเจ้าคงเป็นบุคคลที่มีความสุขที่สุด..." ครั้งหนึ่งถาวรเคยปรารภไว้เช่นนั้น

และดูเหมือนว่าถาวรพยายามทำในสิ่งที่เขาวาดภาพไว้อย่างไม่ย่อท้อ

บ้านที่สุขสบาย...สำนังงานใหญ่ของสยามกลการที่สวยงามโอ่อ่าซึ่งเพิ่งจะทำพิธีเปิดไปเมื่อเร็วๆ นี้...มูลนิธิของเขาและครอบครัวอย่างน้อย 3 มูลนิธิ และโดยเฉพาะสถานที่พักผ่อนหย่อนใจนั้นสิ่งที่ถาวรได้ทำไปแล้วตลอดจนที่จะต้องทำกันต่อไป

มีบางคนถึงกับบอกว่าเขาอยากจะฝังร่างไว้ ณ ที่สวยงามแห่งนี้ด้วยซ้ำ

ที่นี่มีอยู่บริเวณเดียวกับสยามคันทรีคลับในเขตตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง ห่างจากพัทยา เพียงประมาณ 10 กม. ติดกับสนามแข่งรถพัทยาเซอร์กิต เป็นพื้นที่ราบสลับแนวเขาเตี้ยๆ ทิวทัศน์สวยงามื จากเนินเขาสามารถมองออกไปเห็นอ่างเก็บน้ำมาบประชันกว้างใหญ่ ไกลออกไปเป็นทะเลบริเวณอ่าวพัทยาและบางละมุง "ตามตำราจีนบอกว่าเป็นที่ดีมากเข้าลักษณะมังกรกำลังเริงร่ากับคลื่น ใครครอบครองที่แบบนี้ และทำนุบำรุงจะจำเริญรุ่งเรือง..." คนจีนรุ่นเก่าซึ่งมีความรู้ทางด้านการดูแลที่ตั้งฮวงซุ้ยอธิบายให้ฟัง

ภาวร พรประภา ซื้อที่ดินตรงนี้มานานกว่า 30 ปีแล้ว ด้วยราคา 1 ล้านบาทจาก จำนวนที่ดินทั้งหมด 13,500 ไร่ "ซื้อทิ้งไว้แล้วไม่เคยไปดูเป็น 10 ปี ปรากฏว่าจากหมื่นหว่าไร่ ไปดูอีกทีเหลือ 6 พันไร่ สมัยก่อนเข้าไปใช้เวลาเป็นชั่วโมง ต้องเอารถจี๊ปบุกเข้าไป..." ถาวร บอกกับ "ผู้จัดการ"

และที่ตรงนี้เริ่มต้นด้วยการเป็นไร่ก่อน ถาวร พรประภาตั้งชื่อว่าไร่ "ทองถาวร"

จากนั้นในปี 2511 ส่วนหนึ่งได้กลายเป็นบริเวณ ที่จะต้องใช้สร้างสนามกอล์ฟ มาตรฐาน 18 หลุม ดำเนินงานโดยบริษัทกีฬาสยามที่ถาวรเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น "มีเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งชื่อ มร.มาซูดะ แกอยากสร้างสนามกอล์ฟในเมืองไทย ตอนนั้นผมยังเล่นกอล์ฟไม่เป็น ก็ไม่ทราบใครพาแกไปดูที่ตรงนี้เข้าจนแกชอบใจ ก็เลยมาคุยกับผม ผมก็มาคิดว่าถ้าสร้างที่มันก็จะเจริญขึ้นและกีฬามันก็ให้ประโยชน์ต่อธุรกิจการท่องเที่ยว ก็ตกลงที่จะสร้าง" ถาวรเล่าถึงที่มาของสนามกอล์ฟซึ่งเป็นสนามกอล์ฟที่ออกแบบและสร้างขึ้นมาโดยทีมงานของ โซเดงาอุระ คันทรีคลับราชาสนามกอล์ฟของประเทศญี่ปุ่น

เมื่อสร้างเสร็จในปี 2514 สนามกอล์ฟแห่งนี้มีชื่อเรียกว่าสโมสรกอล์ฟกีฬาสยาม อีกหลายปีต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน...สยามคันทรีคลับ

ประมาณ 10 ปีที่แล้วในวาระครบรอบ 60 ปีของถาวร พรประภาเขาได้กล่าวถึงความพยายามที่จะใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนที่เหลือจากการสร้างสนามกอล์ฟ สยามคันทรีคลับว่า "คนเราเมื่อได้หลายอย่างตามที่ใฝ่ฝันแล้ว ในบั้นปลายชีวิตควรจะมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับตัวเอง เพื่อนฝูงและคนอื่นๆ ด้วย ข้าพเจ้ามีโครงการจะสร้างศูนย์พักผ่อนหย่อนใจขึ้นที่พัทยา..."

เขาหมายถึงบริเวณสยามคันทรีคลับ

โครงการขณะนั้นของถาวร วาดภาพที่จะสร้างสวนพฤกษชาติบริเวณที่ราบเชิงเขาในสวนพฤกษชาตินี้จะปลูกต้นไม้แปลกๆ ที่หายากอันนับวันจะหมดไปและก็รวมทั้งพันธุ์ไม้ทางวรรณคดีตลอดจนสมุนไพรต่างๆ ด้วย

และนอกจากสวนพฤกษชาติก็ยังจะมีศาลานุสรณ์ (Memorial Hall) ที่ภายในศาลมีป้ายชื่อของผู้ใหญ่ผู้ล่วงลับอีกอย่างหนึ่ง

ช่วงปี 2522 ขณะที่ถาวรพยายามนำสิ่งที่เขาวาดไว้ในความคิดออกมาเป็นการปฏิบัติจริงๆ จังๆ ก็เผอิญเป็นช่วงที่เขาต้องสูญเสียภรรยาผู้เป็นเสมือน "ยอดหญิง" ไปอย่างไม่มีวันกลับ

ความฝันที่พยายามจะเนรมิตขึ้นมาต้องต้องแปรสภาพเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับอุษา ภรรยาของเขาอย่างช่วยไม่ได้

และดูเหมือนบั้นปลายชีวิตของถาวรจะยิ่งผูกตรึงกับที่ตรงนี้ยิ่งขึ้น

ถาวรทำห้องเอาไว้ห้องหนึ่งที่อนุสรณ์สถานที่เป็นที่เก็บอดีตของเขากับภรรยาไว้ไม่ว่าจะป็นเสื้อผ้าเครื่องใช้ไม้สอย เช่นเดียวกับที่เขาได้สร้างไว้นานแล้วบริเวณห้องใต้ดินของบ้านในซอยทองหล่อ ซึ่งสิ่งที่สะดุดที่สุดเป็นจักรยานที่ถาวรเคยใช้เมื่อตอนเด็กด้วยการซื้อมาจากน้ำพักน้ำแรงของเขาเอง

ในห้องที่เก็บอดีตมีภาพเขียนที่บ่งบอกอนาคตที่ถาวรต้องการด้วย

เป็นจินตนาการที่ถาวรคงจะเข้าใจลึกซึ้งที่สุดเพียงคนเดียว

เป็นภาพทิวทัศน์ที่สวยงามร่มรื่นมาก มีทิวเขาแมกไม้สายธารและทะเล ดูแล้วประหนึ่งมังกรที่กำลังระเริงคลื่น

มังกรที่เป็นอมตะยิ่งใหญ่และผู้คนล้วนยกย่องสรรเสริญ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us