Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
Shinawatra University นวัตกรรมทางการศึกษาของไทย?             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
search resources

มหาวิทยาลัยชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
สุนทร บุญญาธิการ
Education




มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ที่มีรูปแบบการเรียนการสอนแตกต่างไปจาก กรอบการศึกษาแบบเดิมกำลังรอการพิสูจน์ ์ให้เห็นว่า ภาพฝันและอุดมคติจะดำเนินไปอย่างไร

หากภาพของท้องทุ่งสีเขียว ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ลุ่มกว้างขวาง กว่า 300 ไร่ ที่ได้รับการปรับสภาพเพื่อปลูกสร้างอาคารรูปทรงนำ สมัย กำลังสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่แห่งนี้ ปรากฏการณ์ที่กำลังจะพลิกผันจินตภาพในแวดวงการศึกษาของไทย ได้เริ่มเคลื่อนตัวเข้าสู่การรับรู้ของสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง จากบทสนทนาหารือในช่วงเย็นก่อนวันคริสต์มาส เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2539 ระหว่าง ทักษิณ ชินวัตร และ ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยม สมบูรณ์ ซึ่งต่างเป็นอดีตนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ท่ามกลางคำศัพท์ที่ ถือเป็นนวัตกรรมและรูปแบบของมหาวิทยาลัยในอุดมคติ ได้กลาย เป็นการวางเค้าโครงในการก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาแห่งใหม่ ภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยชินวัตร แห่งนี้

แนวความคิดและคำศัพท์ที่เกิดขึ้นจากการสนทนาในครั้งนั้น ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย (Research University), Research Park, Virtual Campus, Virtual Museum, Electronic Campus, Electronic Library, Interactive Electronic Classroom, Learning Innovation, Edutainment และศัพท์แสงอีกจำนวนหนึ่ง ได้รับการต่อยอดและขยับขยายให้มีความจริงจังยิ่งขึ้น กระทั่ง ทักษิณ ชินวัตร แสดงความมุ่งมั่นที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ขึ้นในพื้นที่อำเภอสาม โคก จังหวัดปทุมธานี ใกล้กับสถานีถ่ายทอดสัญญาณ ไทยคม 2

วิสัยทัศน์ที่ได้รับการตกผลึกในค่ำคืนวันนั้น ได้รับการปรับปรุงให้มีความเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นเป็นลำดับอย่างช้าๆ ท่ามกลาง ความละเอียดประณีตในการวางฐานรากให้สถาบันการศึกษาแห่งใหม่นี้มีฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย" ท่ามกลางบรรยากาศ ของสิ่งที่เรียกว่า Research Park ในอนาคต

"เรามีความมุ่งหมายอย่างมากที่จะสร้างมหาวิทยาลัยแห่ง การวิจัยขึ้นมาในประเทศไทย ซึ่งเราจะไม่มีทางประสบความสำเร็จ ได้เลย หากเราละเลยที่จะวิจัยตัวเองเสียก่อน กระบวนการก่อนหน้า ที่จะมีการก่อสร้างมหาวิทยาลัยจึงมีความสำคัญมาก และก็ใช้เวลา ไปเกือบ 1 ปีเลยทีเดียว" ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งในช่วงก่อนหน้านี้ไม่นาน ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร และถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดทิศทางให้กับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ย้อนอดีตหมาดๆ ให้ได้ฟัง

และด้วยเหตุที่ ปุระชัย เป็นบุคคลที่รับผิดชอบดูแลการก่อ ตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาตั้งแต่ต้น ในฐานะประธานโครงการจัดตั้ง และอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร เขาอธิบายว่า ปรัชญาหลักของ มหาวิทยาลัยแห่งนี้อยู่ที่การสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ และ คุณธรรม โดยเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับการเพิ่มศักยภาพ ของสังคม ควบคู่กับการเป็นพลเมืองที่มีจริยธรรมดีงาม

ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ที่มีดวงอาทิตย์ครึ่งดวงอยู่ระหว่างปีกที่มีรูปทรงคล้ายช่อฟ้าในสถาปัตยกรรมไทย โดยด้าน หนึ่งเป็นสีส้ม และอีกด้านหนึ่งเป็นสีเทา บนพื้นที่เปิดสีเขียว ได้รับ การอธิบายว่าเป็นการสะท้อนปรัชญาหลักของมหาวิทยาลัย ไว้อย่างครบถ้วนเบ็ดเสร็จ

"ทำอย่างไรที่แม้จะอยู่ในช่วงชีวิตที่รุ่งเรืองเหมือนอาทิตย์กำลังขึ้น ในฝั่งสีส้ม ก็สามารถดำรงอยู่ได้อย่างงดงาม และเมื่อถึง คราวที่กำลังจะตกในฝั่งสีเทา ก็เป็นการจบลงอย่างสง่า" ซึ่งสิ่งนี้เป็นภูมิปัญญาไทยที่สามารถมาประยุกต์ใช้ในโลกปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม และเป็นกรอบแนวความคิดในเชิง ปรัชญาเบื้องต้นของการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้

ในส่วนของการก่อสร้างตัวอาคารและสถานที่ตั้งมหาวิทยา ลัย แนวความคิดเบื้องต้นของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย เพื่ออนาคต ได้รับการสานต่ออย่างเป็นรูปธรรม ในการประชุมคณะ ทำงานเพื่อการก่อตั้งมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2540 โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปและมีความเห็นร่วมกันอย่างเอกฉันท์ว่า ผัง แม่บทของมหาวิทยาลัย ที่ประกอบด้วยกลุ่มอาคารที่มีรูปทรงของสถาปัตยกรรมล้ำสมัย ซึ่ง ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ หนึ่งในคณะทำงานเพื่อก่อตั้งมหาวิทยาลัยชินวัตรเป็นผู้ออกแบบสามารถตอบสนองปรัชญา และความต้องการทั้งปวงของมหาวิทยาลัยได้อย่างสมบูรณ์

แม้ในการรับรู้ของสาธารณชน ทักษิณ ชินวัตร จะมีความพรั่งพร้อมทั้งในด้านทุน ด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยี และการจัดการ แต่ด้วยเหตุที่การขออนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่นี้ อยู่ในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ การลงทุนในโครงการ ขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาทย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายประกอบ กับนโยบายเกี่ยวกับการอุดมศึกษาเอกชนในห้วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน ทำให้กว่าที่จะมีการเริ่มดำเนินการก่อสร้างตัวอาคาร ก็เข้าสู่ช่วงปลายของปี 2542 แล้ว

รูปแบบอาคารและภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยชินวัตร มิได้แสดงออกถึงนวัตกรรมทางเทคโนโลยีแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการผสมผสานเข้ากับธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอาศัยพื้นฐานของธรรมชาติแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อการประหยัด พลังงาน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและกระตุ้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคมไป พร้อมกันด้วย อาคารทรงยาวที่ได้รับการออกแบบให้เป็นแกนกลางของระบบสัญจรภายในมหาวิทยาลัย เป็นตัวอย่างของการออกแบบที่ได้ผนวกแนวความคิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนี้ไว้อย่างชัดเจน และมีส่วนช่วยประหยัดพลังงานได้ เป็นอย่างดีอีกทางหนึ่ง

"ในเบื้องต้นเรามีความคิดที่จะสร้างทางเดินเชื่อมอาคารทุกหลังในลักษณะอุโมงค์ใต้ดิน แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่ซึ่งเป็น ที่ลุ่ม มีน้ำท่วมขังได้ง่าย จึงมาได้ข้อสรุปที่การยกพื้นอาคารให้สูงขึ้น" ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร อธิบายถึงที่มาของอาคารทรงยาว

ตัวอาคารซึ่งได้รับการยกระดับให้อยู่ในชั้นที่ 3 ซึ่งเป็นระดับกึ่งกลางของอาคารแต่ละแห่งที่มี 5 ชั้น ทำให้สามารถประหยัดพลังงานในการใช้ลิฟต์ได้อีกมากนี้ นอกจากจะเป็นทางสัญจรหลักของประชาคมในมหาวิทยาลัยนี้แล้ว ยังเป็นเส้นทางที่ผสานระบบสาธารณูปโภคเข้าสู่โครงสร้างของอาคารแต่ละแห่งอีกด้วย

ความโดดเด่นของ ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ ในฐานะนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2543 สาขาปรัชญา ประเภทกลุ่มสถาปัตยกรรม และเป็นนักประดิษฐ์ไทยที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง จากงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม จากผลงาน "นวัตกรรมบ้านแห่งอนาคต" ส่งผลให้กิจกรรมของมหา วิทยาลัยชินวัตร ในช่วงของการ เปิดตัวออกสู่สาธารณะในระยะ เริ่มต้นนี้ ผูกพันอยู่กับการกล่าว ถึงรูปแบบตัวอาคารมากกว่าที่จะกล่าวถึงหลักสูตร และปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย แห่งนี้อย่างจริงจัง

แม้ว่า มหาวิทยาลัยชินวัตร จะประกอบด้วยสื่อการเรียนการสอนที่มีจุดเน้นอยู่ที่ระดับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่าย ข่าวสารข้อมูล รวมถึงการจัดและควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การเรียนรู้ด้วยเทคโน โลยีล้ำสมัย แต่กรณีดังกล่าวมีฐานะเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ Virtual Campus แห่งนี้มีความแตกต่างจากสถานศึกษาอื่นๆ บ้างเท่านั้น

ขณะที่ปรัชญาพื้นฐานของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการวิจัยในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปัจจัยสี่ ในลักษณะของสหวิทยาการ (Multi-disciplinary) กลับเป็นประเด็นที่สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีความโดดเด่น และก้าวออกไปจากขนบการศึกษาแบบเดิม

นอกจากนี้ ภายใต้แนวคิดและภารกิจหลักว่าด้วยการวิจัย เพื่อการพัฒนาควบคู่ไปกับการเรียนการสอนตามหลักสูตร ที่เน้นความเป็นมหาวิทยาลัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (The Research University of Sciences and Technology) ทำให้มหาวิทยาลัย ชินวัตรมีคณะที่เปิดสอนเพียง 3 คณะประกอบด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะการจัดการ เท่านั้น

แต่ "วิธีการเรียนการสอนจะเป็นการเรียนร่วมกันโดยไม่แยก คณะ ซึ่งเทคนิคการวางหลักสูตรในลักษณะเช่นนี้ทำให้การพัฒนา หลักสูตรสามารถทำได้อย่างไร้ขอบเขต และเป็นไปเพื่อการรองรับ กับบริบทของสังคมเศรษฐกิจของโลกในอนาคตด้วย" ศ.ดร.สุนทร กล่าวไว้ครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้

สิ่งที่คณะผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยชินวัตร พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังอยู่ที่การสร้างให้เกิดวัฒนธรรมของการค้นคว้าวิจัยร่วมกัน มากกว่าที่จะดำเนินการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม ที่คณาจารย์อยู่ในฐานะของผู้ประสาทวิทยาการแต่ฝ่ายเดียว

จุดเน้นของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จึงไม่ได้อยู่ที่การผลิตบุคลากรเพื่อการเข้าสู่ระบบราชการ หรือแม้กระทั่งการเป็นลูกจ้างในองค์กรเอกชนอื่นใด หากแต่มุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิตที่สามารถก้าวไปสู่การเป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง เพื่อรองรับกับระบบเศรษฐกิจ ยุคใหม่ ในลักษณะของเครือข่ายการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ต่อ เนื่อง

อย่างไรก็ดี การรับนักศึกษาเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2545 โดย ในระยะต้นจะรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีทั้ง 3 คณะรวมประมาณ 450 คนและอาจมีนักศึกษาปริญญาโทอีกประมาณ 50 คน โดยขณะนี้มหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างการสรรหาบุคลากรทางวิชาการ ประมาณ 56 อัตรา ซึ่งเทียบสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาได้ในระดับ เฉลี่ย 1:9 เท่านั้น หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและจัดจ้างคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยชินวัตร เป็นอีกกรณีหนึ่งที่มีความน่าสนใจไม่น้อย

บุคคลที่จะเข้ามาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้จะต้อง มีคุณสมบัติพื้นฐานอยู่ที่การเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญา โท และปริญญาเอก โดยมีสัดส่วน 1:1 แต่คุณสมบัติดังกล่าวอาจไม่ใช่เงื่อนไขหลักของการจัดจ้าง เช่นที่สถาบันการศึกษาแห่งอื่นๆ ก็อาจมีข้อกำหนดไม่แตกต่างกัน เพราะภายใต้สูตรของสัญญาการจัดจ้างในระบบ 3-3-4 ซึ่งมีนัยของการประเมินผลอยู่ในคราวเดียวกันนั้น เป็นกรอบกำหนด ให้อาจารย์เหล่านี้ต้องผลิตผลงานการวิจัยอยู่ตลอดเวลา โดยในช่วง 3 ปีแรกผลงานการวิจัยควรจะมีคุณภาพ และมาตรฐานที่ส่งให้เจ้าของผลงานได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ก่อนที่จะมีการจัดจ้างในระยะต่อไปอีก 3 ปี ซึ่งระหว่างนี้จะต้องมีผลงานในระดับที่ทำให้ได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และหลังจากนั้นจะต้องทำ การวิจัยจนสามารถได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ในที่สุด

เมื่อพิจารณาจากช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ข้างต้น นั่นหมายความว่า นอกจากจะผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมแล้ว ภายในระยะเวลา 10 ปี มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะสร้างบุคลากรทางวิชาการ ในระดับรองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 50 คน

ทั้งนี้ หัวข้อและผลงานการวิจัยเหล่านี้มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของการพัฒนาในเชิงวิชาการแต่เพียงลำพัง หากยังครอบคลุมมิติหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายขอบเขตไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ จากการนำผลการวิจัยไปพัฒนาโดยหน่วยธุรกิจอื่นๆ

ภายใต้กรอบที่มุ่งหมายจะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ผลงานชิ้นแรกๆ ที่กำหนดจะนำเสนอต่อสาธารณชนในช่วง 3-5 ปี นับจากนี้จึงอยู่ที่การวิจัยว่าด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio-Technology) เพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรให้มีมูลค่าสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมด้วย

การวิจัยและพัฒนาตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวส่งผลให้มหาวิทยาลัยชินวัตร ต้องมีความใกล้ชิดกับเจ้าของเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของความ ร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา การให้บุคลากรเข้ามาช่วยเป็นวิทยากร และการรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน ขณะเดียวกัน ก็ได้ร่วมมือ กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ในการรับการสอนสาขาวิชา เทคโนโลยีพื้นฐานของนักศึกษาในระดับปีแรกๆ และการร่วมมือวิจัยและพัฒนาในระดับปีต่อๆ ไป

ตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ นอกเหนือจากกลุ่ม อาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ รวมถึงหอพักนักศึกษาที่ดำเนิน การก่อสร้างแล้วเสร็จไปกว่า 80% แล้วนั้น พื้นที่โดยรอบของวิทยา เขตแห่งนี้ ยังได้รับการจัดเตรียมไว้ สำหรับการปลูกสร้างอาคารสำนักงานของหน่วยวิจัยจากองค์กรธุรกิจเอกชนอื่นๆ ที่คาดว่าจะทยอยเข้ามาร่วมใช้บริการของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะทำให้บรรยา กาศของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก้าวไปสู่การเป็น research park อย่างจริงจังในอนาคต

รูปแบบของการจัดการบริหารงบประมาณในมหาวิทยาลัย แห่งนี้ จึงผูกพันอย่างมากต่อรายได้จากลิขสิทธิ์ในผลการวิจัย (Research Royalty) และรายได้จากหน่วยงานภายนอกที่เข้ามา "ว่าจ้าง" ให้มหาวิทยาลัยทำการวิจัยในกรณีต่างๆ ขณะที่ค่าเล่าเรียน จากนักศึกษาเป็นเพียงองค์ประกอบที่มีสัดส่วนไม่เกิน 1 ใน 3 ของงบประมาณการดำเนินการในมหาวิทยาลัยแห่งนี้

"ค่าเล่าเรียนไม่ใช่เรื่องที่สำคัญเลยสำหรับมหาวิทยาลัยชินวัตร เพราะหากนักศึกษามีความสามารถสูงจริงจนเป็นที่ประจักษ์ เราพร้อมที่จะสนับสนุนให้เรียนฟรีด้วยซ้ำ" ดร.แสงสันติ์ พานิช คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และรักษาการอธิการบดี กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ไว้อย่างน่าสนใจ

ขณะเดียวกัน การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ยังหนุนนำให้นักศึกษาในระดับชั้นปีที่ 3-4 มีฐานะเป็นผู้ช่วยการวิจัย และเป็นผู้ที่สร้างเสริมประสบการณ์และอยู่ร่วมกับสังคม มากกว่าที่จะเก็บรับจากการบอกเล่าผ่านตำราเรียนโดยอาจารย์ เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน หากสัญลักษณ์ของสถาบันการศึกษาคือภาพสะท้อนขององค์ความคิดโดยรวมของผู้ก่อตั้ง และวิถีที่มหาวิทยาลัยจะดำเนินไปแล้ว อนาคตของมหาวิทยาลัยชินวัตร ซึ่งมีตราสัญลักษณ์เป็นรูปดวงอาทิตย์ครึ่งดวง อยู่ระหว่างการขึ้นและลงแล้ว ก็ต้องติดตาม ต่อไปว่าความมุ่งหมายที่จะเป็นธงนำในการก้าวสู่มิติใหม่ของการศึกษาไทย ภายใต้แนวคิดมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย จะปรากฏผล เป็นจริงเช่นไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us